ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต [๕. ปารายนวรรค]

๖. อุปสีวมาณวกปัญหา

๖. อุปสีวมาณวกปัญหา๑-
ว่าด้วยปัญหาของอุปสีวมาณพ
[๑๐๗๖] (อุปสีวมาณพทูลถามดังนี้) ข้าแต่พระองค์ผู้สักกะ ข้าพระองค์ผู้เดียว ไม่ได้อาศัย(ใครๆ หรือสิ่งใดๆ) จึงไม่สามารถข้ามห้วงกิเลสอันยิ่งใหญ่๒- ได้ ข้าแต่พระองค์ผู้มีสมันตจักขุ ขอพระองค์โปรดตรัสบอกอารมณ์ ที่ข้าพระองค์ได้อาศัยแล้ว พึงข้ามห้วงกิเลสนี้ได้ [๑๐๗๗] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า อุปสีวะ) เธอจงมีสติ เพ่งพิจารณาอากิญจัญญายตนสมาบัติ ยึดเอาเป็นอารมณ์ว่า ‘ไม่มีอะไร’ ดังนี้แล้วก็จะข้ามห้วงกิเลสได้ เธอจงละกามทั้งหลาย เป็นผู้งดเว้นจากความสงสัยทั้งหลาย พิจารณาดูความสิ้นตัณหาทั้งคืนทั้งวัน [๑๐๗๘] (อุปสีวมาณพทูลถามดังนี้) บุคคลใดเป็นผู้ปราศจากราคะในกามทั้งปวง ละสมาบัติอื่น๓- อาศัยอากิญจัญญายตนสมาบัติ น้อมใจไปในสัญญาวิโมกข์ชั้นสูง๔- @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ ขุ.จู. (แปล) ๓๐/๙๔-๑๐๑/๒๐-๒๒ @ ห้วงกิเลสอันยิ่งใหญ่ หมายถึงโอฆะ ๔ คือ กาม ภพ ทิฏฐิ และอวิชชา (ขุ.จู. (แปล) ๓๐/๓๘/๑๗๗) @ ละสมาบัติอื่น ในที่นี้หมายถึงละสมาบัติ ๖ เบื้องต่ำ (รูปฌาน ๔ อรูปฌาน ๒) (ขุ.จู. (แปล) ๓๐/๔๐/๑๘๔, @ขุ.สุ.อ. ๒/๑๐๗๘/๔๔๒) @ สัญญาวิโมกข์ หมายถึงสัญญาสมาบัติ คุณธรรมชั้นสูงที่บุคคลบรรลุ มี ๗ ประการ ได้แก่ รูปฌาน ๔ @อรูปฌาน ๓ (ยกเว้นเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ) (ขุ.จู. (แปล) ๓๐/๔๐/๑๘๔, ขุ.สุ.อ. ๒/๑๐๗๘/๔๔๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๗๕๗}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต [๕. ปารายนวรรค]

๗. นันทมาณวกปัญหา

บุคคลนั้นไม่หวั่นไหว ดำรงอยู่ ในพรหมโลกชั้นอากิญจัญญายตนะนั้นได้หรือ [๑๐๗๙] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า อุปสีวะ) บุคคลใดเป็นผู้ปราศจากราคะในกามทั้งปวง ละสมาบัติอื่น อาศัยอากิญจัญญายตนสมาบัติ น้อมใจไปในสัญญาวิโมกข์ชั้นสูง บุคคลนั้นไม่หวั่นไหว ดำรงอยู่ในพรหมโลกชั้นอากิญจัญญายตนะนั้นได้ [๑๐๘๐] (อุปสีวมาณพทูลถามดังนี้) ข้าแต่พระองค์ผู้มีสมันตจักขุ ถ้าบุคคลนั้นไม่หวั่นไหว ดำรงอยู่ในพรหมโลกนั้นนานนับปีไม่ได้ไซร้ บุคคลนั้นเป็นผู้หลุดพ้นแล้ว มีความสงบเย็นอยู่ในพรหมโลกนั่นนั้นแลหรือ หรือว่าวิญญาณของบุคคลนั้นจะพึงจุติอีก [๑๐๘๑] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า อุปสีวะ) เปลวไฟถูกกำลังลมพัดไป ย่อมดับ กำหนดไม่ได้ ฉันใด มุนีพ้นแล้วจากนามกาย ย่อมดับไป กำหนดไม่ได้ ฉันนั้น [๑๐๘๒] (ท่านอุปสีวะทูลถามดังนี้) มุนีนั้นถึงความสลายไป หรือว่าไม่มี หรือว่าไม่แตกทำลาย เพราะมีความแน่แท้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๗๕๘}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต [๕. ปารายนวรรค]

๗. นันทมาณวกปัญหา

พระองค์ผู้เป็นพระมุนี ขอโปรดตรัสตอบปัญหานั้น แก่ข้าพระองค์ให้แจ่มแจ้งด้วยเถิด เพราะธรรมนั้นพระองค์ทรงรู้ชัดแล้ว [๑๐๘๓] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า อุปสีวะ) มุนีผู้ถึงความสลายไปย่อมไม่มี(อะไร)เป็นประมาณ ชนทั้งหลายพึงว่ากล่าวมุนีนั้นด้วยกิเลสใด กิเลสนั้นย่อมไม่มีแก่มุนีนั้น (เพราะ)เมื่อมุนีนั้นถอนธรรม๑- ทั้งปวงได้เด็ดขาดแล้ว แม้ครรลองแห่งวาทะทั้งปวงท่านก็ถอนได้เด็ดขาดแล้ว
อุปสีวมาณวกปัญหาที่ ๖ จบ
๗. นันทมาณวกปัญหา๒-
ว่าด้วยปัญหาของนันทมาณพ
[๑๐๘๔] (นันทมาณพทูลถามดังนี้) ชนทั้งหลายกล่าวว่า มุนีทั้งหลายมีอยู่ในโลก คำกล่าวนี้นั้นเป็นอย่างไร ชนทั้งหลายย่อมเรียกบุคคลผู้เป็นไปด้วยญาณ๓- หรือว่าย่อมเรียกบุคคลผู้เป็นไปด้วยความเป็นอยู่๔- ว่า เป็นมุนี @เชิงอรรถ : @ ธรรม ในที่นี้หมายถึงขันธ์ ธาตุ อายตนะ คติ เป็นต้น (ขุ.จู. (แปล) ๓๐/๔๕/๑๙๓) @ ดูเทียบ ขุ.จู. (แปล) ๓๐/๑๐๒-๑๐๘/๒๒-๒๔ @ ผู้เป็นไปด้วยญาณ หมายถึงผู้เพียบพร้อมด้วยญาณในสมาบัติ ๘ หรือ ญาณในอภิญญา ๕ @(ขุ.จู. (แปล) ๓๐/๔๖/๑๙๖) @ ผู้เป็นไปด้วยความเป็นอยู่ หมายถึงผู้เพียบพร้อมด้วยความเพียรของบุคคลผู้ดำเนินชีวิตเศร้าหมอง @ผู้ทำกิจที่ทำได้ยากยิ่งหลายอย่าง (ขุ.จู. (แปล) ๓๐/๔๖/๑๙๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๗๕๙}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๕ หน้าที่ ๗๕๗-๗๕๙. http://84000.org/tipitaka/english/m_siri.php?B=25&siri=288              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/english/v.php?B=25&A=11154&Z=11193                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=430              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=25&item=430&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=29&A=9941              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=25&item=430&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=29&A=9941                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu25              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- http://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/25i424-e.php#sutta7 https://accesstoinsight.org/tipitaka/kn/snp/snp.5.06.than.html https://suttacentral.net/snp5.7/en/mills https://suttacentral.net/snp5.7/en/anandajoti https://suttacentral.net/snp5.7/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :