ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
๖. มหากัสสปสูตร
ว่าด้วยพระมหากัสสปะ
[๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน กลันทกนิวาปสถาน๒- เขตกรุงราชคฤห์ สมัยนั้น ท่านพระมหากัสสปะอยู่ที่ถ้ำปิปผลิคูหา อาพาธ ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก ครั้งนั้น ท่านพระมหากัสสปะหายจากอาพาธนั้นแล้วมีความคิดดังนี้ว่า “เอาละ เราควรเข้าไปบิณฑบาตยังกรุงราชคฤห์” สมัยนั้นแล เทวดาประมาณ ๕๐๐ องค์ ถึงความขวนขวายเพื่อให้ท่านพระ มหากัสสปะได้บิณฑบาต ท่านพระมหากัสสปะห้ามเทวดาประมาณ ๕๐๐ องค์นั้นแล้ว ในเวลาเช้าครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตยังกรุงราชคฤห์ ตามทาง ที่อยู่ของคนจน ที่อยู่ของคนกำพร้า และที่อยู่ของช่างหูก @เชิงอรรถ : @ พุทธอุทานนี้ ทรงเปล่งมุ่งประกาศความเป็นพราหมณ์โดยปรมัตถ์ (ขุ.อุ.อ. ๕/๖๐) @ หมายถึงสถานที่สำหรับพระราชทานเหยื่อแก่กระแต (ม.มู.อ. ๒/๒๕๒/๔๑-๔๒, ขุ.อุ.อ. ๕/๖๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๑๗๘}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [๑. โพธิวรรค]

๗. อชกลาปกสูตร

พระผู้มีพระภาคได้ทอดพระเนตรเห็นท่านพระมหากัสสปะ กำลังเที่ยวบิณฑบาต ตามทางที่อยู่ของคนจน ที่อยู่ของคนกำพร้า และที่อยู่ของช่างหูก ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว จึงทรงเปล่งอุทานนี้ ในเวลานั้นว่า
พุทธอุทาน๑-
ผู้ไม่เลี้ยงคนอื่น ผู้รู้จักตนดี ผู้ฝึกฝนตนได้แล้ว ดำรงมั่นอยู่ในสารธรรม๒- ผู้สิ้นอาสวะแล้ว ผู้คายโทษได้แล้ว๓- เราเรียกว่า พราหมณ์
มหากัสสปสูตรที่ ๖ จบ
๗. อชกลาปกสูตร
ว่าด้วยอชกลาปกยักษ์
[๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ อชกลาปกเจดีย์อันเป็นที่อยู่ของยักษ์ ชื่อว่า อชกลาปกะ เขตกรุงปาวา สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคประทับนั่ง ณ ที่แจ้ง ในความมืดมิดแห่งราตรี และฝนก็โปรยละอองอยู่ ครั้งนั้น อชกลาปกยักษ์ประสงค์ จะให้พระผู้มีพระภาคเกิดความกลัว หวาดหวั่น ขนพองสยองเกล้า จึงเข้าไปหา @เชิงอรรถ : @ พุทธอุทานนี้ ทรงเปล่งแสดงความเป็นผู้มั่นคงของพระขีณาสพ โดยทรงมุ่งแสดงความเป็นผู้มักน้อยอย่างยิ่ง @เป็นหลัก (ขุ.อุ.อ. ๖/๖๕) @ สารธรรม หมายถึงวิมุตติสาระ (ขุ.อุ.อ. ๖/๖๖) @ คายโทษ หมายถึงคายโทษมีราคะเป็นต้น (ขุ.อุ.อ. ๖/๖๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๑๗๙}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๕ หน้าที่ ๑๗๘-๑๗๙. http://84000.org/tipitaka/english/m_siri.php?B=25&siri=41              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/english/v.php?B=25&A=1531&Z=1548                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=43              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=25&item=43&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=26&A=1377              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=25&item=43&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=26&A=1377                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu25              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://accesstoinsight.org/tipitaka/kn/ud/ud.1.06.than.html https://suttacentral.net/ud1.6/en/anandajoti https://suttacentral.net/ud1.6/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :