ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
๘. สุปปวาสาสูตร
ว่าด้วยพระนางสุปปวาสา
[๑๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ป่ากุณฑิฏฐานวัน ใกล้หมู่บ้าน กุณฑิยา สมัยนั้น พระนางสุปปวาสา โกลิยธิดา ทรงครรภ์อยู่ถึง ๗ ปี มีพระครรภ์ หลง๒- อยู่ถึง ๗ วัน พระนางได้รับทุกขเวทนากล้าแข็ง เจ็บปวด เผ็ดร้อน แต่ทรง อดกลั้นไว้ด้วยความตรึก ๓ ประการ คือ (๑) พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นตรัสรู้ ด้วยพระองค์เองโดยชอบ ทรงแสดงธรรมเพื่อละทุกข์เห็นปานนี้ (๒) พระสงฆ์ สาวกของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเป็นผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติเพื่อละทุกข์เห็นปานนี้ (๓) พระนิพพานซึ่งไม่มีทุกข์เห็นปานนี้ เป็นสุขดีอย่างแท้จริง ครั้นต่อมา พระนางสุปปวาสา โกลิยธิดา ได้ทูลเชิญพระราชสวามีมาตรัสว่า “ข้าแต่พระลูกเจ้า ขอพระองค์เสด็จมานี่เถิด พระองค์จงเสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มี พระภาคถึงที่ประทับ แล้วถวายอภิวาทพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า @เชิงอรรถ : @ มูลเหตุแห่งทุกข์ ในที่นี้หมายถึงตัณหาพร้อมทั้งอวิชชา (ขุ.อุ.อ. ๑๗/๑๒๖) @ ครรภ์หลง หมายถึงอาการที่ทารกขวางช่องคลอด ทำให้เกิดความปั่นป่วนขึ้นในครรภ์ เพราะลมกรรมชวาต @พัดหมุนทำให้ทารกพลิกหมุนกลับไปกลับมา ไม่สามารถคลอดได้ตามปกติ (ขุ.อุ.อ. ๑๘/๑๒๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๑๙๙}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [๒. มุจจลินทวรรค]

๘. สุปปวาสาสูตร

แล้วจงทูลถามถึงสุขภาพ ความมีโรคาพาธน้อย กระปรี้ประเปร่า มีพระพลานามัย สมบูรณ์ อยู่สำราญตามคำของหม่อมฉันว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระนางสุปป- วาสา โกลิยธิดา ขอถวายอภิวาทพระยุคลบาทพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า พร้อมกับทูลถามถึงสุขภาพ ความมีโรคาพาธน้อย กระปรี้ประเปร่า มีพระพลานามัย สมบูรณ์ อยู่สำราญ’ อนึ่ง ขอพระองค์จงกราบทูลอย่างนี้ว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระนางสุปปวาสา โกลิยธิดา ทรงครรภ์อยู่ถึง ๗ ปี มีครรภ์หลงอยู่ถึง ๗ วัน พระนางได้รับทุกขเวทนากล้าแข็ง เจ็บปวด เผ็ดร้อน แต่ทรงอดกลั้นไว้ได้ด้วย ความตรึก ๓ ประการ คือ (๑) พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง โดยชอบ ทรงแสดงธรรมเพื่อละทุกข์เห็นปานนี้ (๒) พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค พระองค์นั้นเป็นผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติเพื่อละทุกข์เห็นปานนี้ (๓) พระนิพพานซึ่งไม่มีทุกข์ เห็นปานนี้ เป็นสุขดีอย่างแท้จริง” พระราชบุตรพระเจ้าโกลิยะนั้นทรงรับคำของพระนาง จึงเสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มี พระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วประทับนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มี พระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระนางสุปปวาสา โกลิยธิดา ขอถวาย อภิวาทพระยุคลบาทพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า พร้อมกับทูลถามถึงสุขภาพ ความมีโรคาพาธน้อย กระปรี้ประเปร่า มีพระพลานามัยสมบูรณ์ อยู่สำราญ อนึ่ง พระนางยังรับสั่งอย่างนี้ว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระนางสุปปวาสา โกลิยธิดา ทรงครรภ์อยู่ถึง ๗ ปี มีพระครรภ์หลงอยู่ถึง ๗ วัน พระนางได้รับทุกขเวทนากล้าแข็ง เจ็บปวด เผ็ดร้อน แต่ทรงอดกลั้นไว้ได้ด้วยความตรึก ๓ ประการ คือ (๑) พระผู้มี พระภาคพระองค์นั้น ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ ทรงแสดงธรรมเพื่อละทุกข์เห็น ปานนี้ (๒) พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเป็นผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติเพื่อละ ทุกข์เห็นปานนี้ (๓) พระนิพพานซึ่งไม่มีทุกข์เห็นปานนี้ เป็นสุขดีอย่างแท้จริง” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๒๐๐}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [๒. มุจจลินทวรรค]

๘. สุปปวาสาสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ขอพระนางสุปปวาสา โกลิยธิดา จงมีสุข อย่ามี โรคเลย ขอจงประสูติโอรสผู้ไม่มีโรคด้วยเถิด” ด้วยพระดำรัสของพระผู้มีพระภาค นั่นแล พระนางสุปปวาสา โกลิยธิดาก็ทรงพระเกษมสำราญ หายจากพระโรค ประสูติพระโอรสผู้ไม่มีโรค พระราชบุตรพระเจ้าโกลิยะนั้นทูลรับว่า “ขอจงเป็นอย่างนั้นเถิด พระพุทธ- เจ้าข้า” แล้วทรงยินดีชื่นชมพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค เสด็จลุกขึ้นจากที่ประทับ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค ทรงทำประทักษิณแล้วเสด็จกลับพระราชนิเวศน์ของ พระองค์ ได้ทรงเห็นพระนางสุปปวาสา โกลิยธิดาทรงพระเกษมสำราญ หายจาก พระโรค ประสูติพระโอรสผู้ไม่มีโรค ครั้นทรงเห็นแล้ว ได้เกิดความอัศจรรย์พระทัย ขึ้นมาว่า “น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ พระตถาคตทรงมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพ มากจริง พระนางสุปปวาสา โกลิยธิดานี้คงจักทรงพระเกษมสำราญ หายจาก พระโรค ประสูติพระโอรสผู้ไม่มีโรค ด้วยพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคนั่นแล เป็นแน่แท้” จึงทรงดีพระทัย เบิกบาน ทรงเกิดปีติโสมนัสอย่างยิ่ง ครั้นต่อมา พระนางสุปปวาสา โกลิยธิดา ได้ทูลเชิญพระราชสวามีมาตรัสว่า “ข้าแต่พระลูกเจ้า ขอพระองค์เสด็จมาที่นี่เถิด พระองค์จงเสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มี พระภาคถึงที่ประทับ แล้วถวายอภิวาทพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า กราบทูลตามคำของหม่อมฉันว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระนางสุปปวาสา โกลิยธิดาขอถวายอภิวาทพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า’ อนึ่ง ขอพระองค์จงกราบทูลอย่างนี้ว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระนางสุปปวาสา โกลิยธิดา ทรงครรภ์อยู่ถึง ๗ ปี มีครรภ์หลงอยู่ถึง ๗ วัน บัดนี้ พระนางทรงพระ เกษมสำราญ หายจากพระโรค ประสูติพระโอรสผู้ไม่มีโรค พระนางจึงขอนิมนต์ ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธานฉันภัตตาหารเป็นเวลา ๗ วัน ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์โปรดรับภัตตาหารของพระนาง สุปปวาสา โกลิยธิดาตลอด ๗ วันเถิด” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๒๐๑}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [๒. มุจจลินทวรรค]

๘. สุปปวาสาสูตร

พระราชบุตรพระเจ้าโกลิยะนั้นทรงรับคำของพระนาง แล้วเสด็จเข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วประทับนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูล พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระนางสุปปวาสา โกลิยธิดาขอถวาย อภิวาทพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า อนึ่ง พระนางยังรับสั่ง อย่างนี้ว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระนางสุปปวาสา โกลิยธิดาทรงครรภ์อยู่ถึง ๗ ปี มีพระครรภ์หลงอยู่ถึง ๗ วัน บัดนี้ พระนางทรงพระเกษมสำราญ หายจากพระโรค ประสูติพระโอรสผู้ไม่มีโรค พระนางจึงขอนิมนต์ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน ฉันภัตตาหารเป็นเวลา ๗ วัน ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคพร้อมด้วย ภิกษุสงฆ์โปรดรับภัตตาหารของพระนางสุปปวาสา โกลิยธิดาตลอด ๗ วันเถิด” อนึ่ง เวลานั้น อุบาสกคนหนึ่งได้นิมนต์ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน ฉันภัตตาหารในวันรุ่งขึ้นไว้(ก่อน)แล้ว และอุบาสกนั้นเป็นโยมอุปัฏฐากของท่านพระ มหาโมคคัลลานะ ทีนั้น พระผู้มีพระภาคจึงรับสั่งเรียกท่านพระมหาโมคคัลลานะมา ตรัสว่า “มาเถิด โมคคัลลานะ เธอจงเข้าไปหาอุบาสกนั้นถึงที่อยู่ ครั้นแล้วจงพูดกับ เขาอย่างนี้ว่า ‘พระนางสุปปวาสา โกลิยธิดา ทรงครรภ์อยู่ถึง ๗ ปี มีพระครรภ์หลง อยู่ถึง ๗ วัน บัดนี้ พระนางทรงพระเกษมสำราญ หายจากพระโรค ประสูติพระโอรส ผู้ไม่มีโรค พระนางจึงนิมนต์ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธานฉันภัตตาหารเป็น เวลา ๗ วัน ขอให้พระนางสุปปวาสา โกลิยธิดา จัดอาหารถวายตลอด ๗ วันเถิด หลังจากนั้น อุบาสกผู้เป็นโยมอุปัฏฐากของเธอ จึงจัดอาหารถวาย” ท่านพระมหาโมคคัลลานะทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว จึงเข้าไปหาอุบาสกนั้น ถึงที่อยู่ ได้กล่าวดังนี้ว่า “พระนางสุปปวาสา โกลิยธิดา ทรงครรภ์อยู่ถึง ๗ ปี มีพระครรภ์หลงอยู่ถึง ๗ วัน บัดนี้ พระนางทรงพระเกษมสำราญ หายจากพระโรค ประสูติพระโอรสผู้ไม่มีโรค พระนางจึงทรงนิมนต์ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน ฉันภัตตาหารเป็นเวลา ๗ วัน ขอให้พระนางสุปปวาสา โกลิยธิดาจัดอาหารถวาย ตลอด ๗ วันเถิด หลังจากนั้น ท่านจึงจัดอาหารถวาย” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๒๐๒}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [๒. มุจจลินทวรรค]

๘. สุปปวาสาสูตร

อุบาสกนั้นกราบเรียนว่า “ท่านขอรับ ถ้าพระคุณเจ้ามหาโมคคัลลานะจะเป็นผู้ ค้ำประกันธรรม ๓ ประการ คือ โภคสมบัติ ชีวิต และศรัทธาของกระผมได้ ก็ขอ พระนางสุปปวาสา โกลิยธิดาทรงจัดอาหารถวายตลอด ๗ วันเถิด หลังจากนั้น ผมจึงจัดอาหารถวาย” ท่านพระมหาโมคคัลลานะจึงพูดว่า “อาตมภาพ ขอค้ำ ประกันธรรม ๒ ประการ คือ โภคสมบัติและชีวิตของท่าน ส่วนศรัทธา ท่านต้อง ค้ำประกันเอง” อุบาสกนั้นกราบเรียนว่า “ท่านขอรับ ถ้าพระคุณเจ้ามหาโมคคัลลานะจะเป็น ผู้ค้ำประกันธรรม ๒ ประการ คือ โภคสมบัติและชีวิตของกระผมได้ พระนาง สุปปวาสา โกลิยธิดาทรงจัดอาหารถวายตลอด ๗ วันเถิด หลังจากนั้น ผมจึง จัดอาหารถวาย” ครั้งนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะให้อุบาสกนั้นยินยอมแล้วจึงเข้าไปเฝ้าพระ ผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้กราบทูลดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ให้ อุบาสกนั้นยินยอมแล้ว ขอพระนางสุปปวาสา โกลิยธิดาจัดอาหารถวายตลอด ๗ วันเถิด หลังจากนั้น อุบาสกนั้นจึงจัดอาหารถวาย” ครั้นแล้ว พระนางสุปปวาสา โกลิยธิดา ทรงนำของขบฉันอันประณีต ประเคน ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธานให้อิ่มหนำด้วยตนเองตลอด ๗ วัน และทรงให้ พระโอรสน้อยนั้นถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคและไหว้ภิกษุสงฆ์ทุกรูป ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรกล่าวกับพระโอรสน้อยนั้นดังนี้ว่า “พระโอรสน้อย พระองค์ทรงพระเกษมสำราญดีหรือ ทรงพอดำรงอยู่ได้หรือ ไม่มีทุกข์อะไรหรือ” พระโอรสน้อยนั้นตรัสตอบว่า “ท่านพระสารีบุตรขอรับ กระผมอยู่ในครรภ์เปื้อน โลหิตถึง ๗ ปี จะสบายแต่ที่ไหน” ต่อจากนั้น พระนางสุปปวาสา โกลิยธิดาทรงดีพระทัยชื่นชม เกิดปีติโสมนัสว่า “บุตรของเรารู้จักสนทนากับท่านพระธรรมเสนาบดี” ทีนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๒๐๓}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [๒. มุจจลินทวรรค]

๙. วิสาขาสูตร

พระนางสุปปวาสา โกลิยธิดาทรงดีพระทัยชื่นชม เกิดปีติโสมนัส จึงได้ตรัสกับ พระนางดังนี้ว่า “สุปปวาสา เธอยังปรารถนาจะมีพระโอรสเช่นนี้อีกหรือไม่” พระนางกราบทูลว่า “ข้าแต่พระผู้มีพระภาคผู้เจริญ ข้าพระองค์ยังปรารถนาจะมี พระโอรสเช่นนี้อีก ๗ พระองค์ พระพุทธเจ้าข้า” ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว จึงทรงเปล่งอุทานนี้ ในเวลานั้นว่า
พุทธอุทาน๑-
สิ่งที่ไม่น่ายินดี ย่อมครอบงำคนผู้ประมาทด้วยอาการที่น่ายินดี สิ่งที่ไม่น่ารัก ย่อมครอบงำคนผู้ประมาทด้วยอาการที่น่ารัก สิ่งที่เป็นทุกข์ย่อมครอบงำคนผู้ประมาทด้วยอาการที่เป็นสุข๒-
สุปปวาสาสูตรที่ ๘ จบ
๙. วิสาขาสูตร
ว่าด้วยนางวิสาขา
[๑๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ บุพพาราม ปราสาทของนางวิสาขา มิคารมาตา เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น นางวิสาขา มิคารมาตามีประโยชน์บางอย่าง เกี่ยวข้องในพระเจ้าปเสนทิโกศล แต่พระเจ้าปเสนทิโกศลไม่ทรงยังประโยชน์นั้นให้ สำเร็จตามความประสงค์ @เชิงอรรถ : @ พุทธอุทานนี้ ทรงเปล่งแสดงว่าความรักที่ประกอบด้วยตัณหาสามารถทำความฉิบหายใหญ่หลวงแก่ @บุคคลผู้ประมาทได้ (ขุ.อุ.อ. ๑๘/๑๖๔) @ ดูเทียบ ขุ.เปต. (แปล) ๒๖/๗๙๙/๒๙๘, ขุ.ชา. (แปล) ๒๗/๑๐๐/๔๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๒๐๔}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๕ หน้าที่ ๑๙๙-๒๐๔. http://84000.org/tipitaka/english/m_siri.php?B=25&siri=53              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/english/v.php?B=25&A=1870&Z=1976                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=59              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=25&item=59&items=4              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=26&A=2826              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=25&item=59&items=4              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=26&A=2826                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu25              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://accesstoinsight.org/tipitaka/kn/ud/ud.2.08.than.html https://suttacentral.net/ud2.8/en/anandajoti https://suttacentral.net/ud2.8/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :