ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [๓. นันทวรรค]

๕. มหาโมคคัลลานสูตร

๔. สารีปุตตสูตร
ว่าด้วยพระสารีบุตรเถระ
[๒๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก- เศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น ท่านพระสารีบุตรนั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติ ไว้เฉพาะหน้าอยู่ในที่ไม่ไกลจากพระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคได้ทอดพระเนตรเห็นท่านพระสารีบุตรผู้กำลังนั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้าอยู่ ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว จึงทรงเปล่งอุทานนี้ ในเวลานั้นว่า
พุทธอุทาน
ภูเขาศิลาล้วนตั้งมั่นไม่หวั่นไหว ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้น เพราะสิ้นโมหะ ย่อมไม่หวั่นไหวดุจภูเขา๑-
สารีปุตตสูตรที่ ๔ จบ
๕. มหาโมคคัลลานสูตร
ว่าด้วยพระมหาโมคคัลลานเถระ
[๒๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก- เศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะนั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง มีกายคตาสติ๒- ที่ตั้งมั่นภายในตนอยู่ในที่ไม่ไกลจากพระผู้มีพระภาค @เชิงอรรถ : @ ขุ.เถร. (แปล) ๒๖/๙๙๙/๕๐๓ @ กายคตาสติ มีความหมายหลายนัย คือ นัยที่ ๑ หมายถึงสติที่ตั้งมั่นในกายด้วยอุปจารสมาธิ และ @อัปปนาสมาธิ โดยวิธีมนสิการความปฏิกูลในอาการ ๓๒ มีผม ขน เล็บ เป็นต้น นัยที่ ๒ หมายถึงสติที่ตั้ง @มั่นในกายด้วยอุปจารสมาธิและให้มนสิการเป็นไปด้วยสติสัมปชัญญะที่กำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก กำหนด @รู้อิริยาบถทั้ง ๔ และการพิจารณาอสุภะ นัยที่ ๓ หมายถึงสติที่สัมปยุตด้วยวิปัสสนาตั้งขึ้นด้วยพิจารณา @เห็นกฎไตรลักษณ์ในธาตุ ๔ แต่ในที่นี้ทรงประสงค์เอานัยที่ ๓ (ขุ.อุ.อ. ๒๕/๒๐๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๒๑๙}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๕ หน้าที่ ๒๑๙. http://84000.org/tipitaka/english/m_siri.php?B=25&siri=59              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/english/v.php?B=25&A=2254&Z=2265                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=76              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=25&item=76&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=26&A=4447              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=25&item=76&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=26&A=4447                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu25              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://accesstoinsight.org/tipitaka/kn/ud/ud.3.04.than.html https://suttacentral.net/ud3.4/en/anandajoti https://suttacentral.net/ud3.4/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :