ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย วิมาน-เปตวัตถุ เถร-เถรีคาถา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑๓. เตรสกนิบาต]

๑. โสณโกฬิวิสเถรคาถา

๑๓. เตรสกนิบาต
๑. โสณโกฬิวิสเถรคาถา
ภาษิตของพระโสณโกฬิวิสเถระ
(พระโสณโกฬิวิสเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า) [๖๓๒] ผู้ใดเป็นคหบดีที่ยิ่งใหญ่ สมความปรารถนาในรัฐของพระเจ้าอังคะ วันนี้ ผู้นั้นชื่อว่าโสณะ เป็นผู้เยี่ยมที่สุดในธรรมทั้งหลาย ได้ถึงที่สุดทุกข์ [๖๓๓] ภิกษุพึงตัดสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ พึงละสังโยชน์เบื้องสูง ๕ และพึงเจริญอินทรีย์ ๕ ให้ยิ่ง ภิกษุผู้ล่วงธรรมเป็นเครื่องข้องได้ทั้ง ๕ ท่านเรียกว่า ข้ามโอฆะได้แล้ว [๖๓๔] สำหรับภิกษุผู้ประมาท มีใจพองเหมือนต้นอ้อ ยังมีความยินดีในอายตนะภายนอก ศีล สมาธิ และปัญญาย่อมไม่บริบูรณ์ [๖๓๕] ภิกษุเหล่านี้ละทิ้งกิจที่ควรทำ มาทำแต่กิจที่ไม่ควรทำ อาสวะทั้งหลายของพวกเธอผู้ประมาท มีใจพองเหมือนต้นอ้อ ย่อมเจริญ [๖๓๖] ส่วนภิกษุเหล่าใดปรารภกายคตาสติด้วยดีเป็นนิตย์ ภิกษุเหล่านั้นมักกระทำกิจที่ควรทำเป็นนิตย์ ไม่ทำกิจที่ไม่ควรทำ อาสวะของพวกเธอผู้มีสติสัมปชัญญะ ย่อมถึงความสิ้นไป [๖๓๗] เมื่อพระศาสดาตรัสบอกทางตรงไว้แล้ว เธอทั้งหลายจงดำเนิน ไปเถิด อย่าหยุดเสีย กุลบุตรผู้หวังประโยชน์ เมื่อเตือนตนด้วยตนเอง พึงน้อมตนเข้าถึงนิพพานได้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า : ๔๔๙}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑๓. เตรสกนิบาต]

รวมเรื่องพระเถระที่มีในนิบาต

[๖๓๘] เมื่อเราบำเพ็ญเพียรอย่างหนัก พระศาสดาซึ่งมีพระจักษุยอดเยี่ยมในโลก ได้ทรงแสดงธรรมอุปมาด้วยสายพิณสอนเรา เราฟังพระดำรัสของพระองค์แล้วยินดีอยู่ในคำสอน [๖๓๙] ทำสมถะ๑- ให้ถึงพร้อมเพื่อบรรลุประโยชน์สูงสุด เราบรรลุวิชชา ๓ ได้ทำตามคำสั่งสองของพุทธเจ้าแล้ว [๖๔๐] เราผู้น้อมไปในเนกขัมมะ๒- และความสงัดใจ น้อมไปในความไม่เบียดเบียน หมดความยึดมั่นถือมั่น [๖๔๑] น้อมไปในความสิ้นตัณหาและความไม่หลงแห่งใจ เพราะเห็นความเกิดขึ้นแห่งอายตนะ จิตจึงหลุดพ้นได้โดยชอบ [๖๔๒] ภิกษุผู้มีจิตสงบระงับหลุดพ้นโดยชอบ ทำกิจเสร็จแล้วนั้น ย่อมไม่มีการสั่งสม ทั้งไม่มีกิจอื่นที่จะต้องทำ [๖๔๓] ภูเขาหินแท่งทึบย่อมไม่สะเทือนเพราะลมฉันใด รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะและธรรมารมณ์ทั้งมวล [๖๔๔] ทั้งที่เป็นอิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์ ทำจิตของผู้คงที่ให้หวั่นไหวไม่ได้ ฉันนั้น จิตของผู้คงที่นั้น เป็นจิตตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว ไม่เกาะเกี่ยวด้วยอารมณ์อะไร เพราะผู้คงที่นั้นได้เห็นความเสื่อมไปแห่งอารมณ์นั้นแล้ว
เตรสกนิบาต จบ
รวมเรื่องพระเถระที่มีในนิบาตนี้ คือ
๑. พระโสณโกฬิวิสเถระมีฤทธิ์มากรูปเดียวเท่านั้น และในเตรสกนิบาตนี้ มี ๑๓ คาถา ฉะนี้แล @เชิงอรรถ : @ สมาธิที่ทำให้เกิดวิปัสสนา (ขุ.เถร.อ. ๒/๖๓๙/๒๖๑) @ การออกบวช (ขุ.เถร.อ. ๒/๖๔๐/๒๖๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า : ๔๕๐}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๖ หน้าที่ ๔๔๙-๔๕๐. http://84000.org/tipitaka/english/m_siri.php?B=26&siri=380              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/english/v.php?B=26&A=7178&Z=7213                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=26&i=380              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=26&item=380&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=33&A=5818              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=26&item=380&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=33&A=5818                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu26              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/thag13.1/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :