ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย วิมาน-เปตวัตถุ เถร-เถรีคาถา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑๖. วีสตินิบาต]

๑. อธิมุตตเถรคาถา

๑๖. วีสตินิบาต
๑. อธิมุตตเถรคาถา
ภาษิตของพระอธิมุตตเถระ
(หัวหน้าโจร เมื่อจะสรรเสริญพระเถระ ได้กล่าว ๒ ภาษิตเหล่านี้ว่า) [๗๐๕] เมื่อก่อน เหล่าสัตว์ที่พวกเราฆ่าเพื่อบูชายัญหรือเพื่อทรัพย์ ย่อมเกิดความกลัวทั้งนั้น ย่อมพากันหวาดหวั่นและบ่นเพ้อรำพัน [๗๐๖] ท่านนั้นไม่มีความกลัว สีหน้าผ่องใสยิ่งนัก เพราะเหตุไร ท่านจึงไม่คร่ำครวญ ในเมื่อเกิดภัยใหญ่เช่นนี้ (พระเถระ เมื่อจะแสดงธรรมโปรดหัวหน้าโจร จึงได้กล่าวภาษิตเหล่านี้ว่า) [๗๐๗] ท่านหัวหน้า สำหรับผู้ที่ไม่เยื่อใยในชีวิตย่อมไม่มีทุกข์ทางใจ ภัยทุกอย่างผู้ที่สิ้นสังโยชน์ล่วงพ้นภัยทุกอย่างได้แล้ว [๗๐๘] เมื่อสิ้นตัณหาที่นำไปสู่ภพก็ย่อมไม่มีความกลัวตายโดยประการ ใดประการหนึ่งในปัจจุบันนั้น เหมือนคนที่ไม่กลัวความหนัก ในเมื่อ วางของหนักลงแล้ว [๗๐๙] พรหมจรรย์อาตมาประพฤติดีแล้ว และแม้มรรคอาตมาก็อบรมดีแล้ว อาตมาจึงไม่มีความกลัวตาย เหมือนคนไม่กลัวโรคในเมื่อหายโรค [๗๑๐] พรหมจรรย์อาตมาประพฤติดีแล้ว และแม้มรรคอาตมาก็อบรมดีแล้ว อาตมาได้เห็นภพว่าเป็นสิ่งที่ไม่น่ายินดี เหมือนคนดื่มยาพิษแล้วสำรอกออกมา [๗๑๑] ผู้ที่ถึงฝั่ง ไม่ยึดมั่น เสร็จกิจ หมดอาสวะ ย่อมพอใจเพราะความสิ้นอายุ เหมือนผู้ร้ายพ้นจากการถูกประหารชีวิต ก็ร่าเริงยินดีอยู่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า : ๔๖๐}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑๖. วีสตินิบาต]

๑. อธิมุตตเถรคาถา

[๗๑๒] ผู้บรรลุสภาวธรรมชั้นสูงสุด ไม่มีความเยื่อใยในโลกทั้งมวล เมื่อจะตายก็ไม่เศร้าโศก เหมือนคนที่พ้นจากเรือนที่ถูกไฟไหม้ [๗๑๓] พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ตรัสว่า ความเกี่ยวข้องกันอย่างใดอย่างหนึ่งก็ดี ภพที่ได้ในหมู่สัตว์ก็ดี พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ตรัสว่า สิ่งนี้ทั้งหมดไม่มีอิสระ [๗๑๔] พระอริยสาวกผู้รู้แจ้งภพ ๓ นั้นตามที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้แล้ว ไม่ยึดภพไรๆ เหมือนคนไม่จับก้อนเหล็กแดงลุกโชน [๗๑๕] อาตมาไม่มีความคิดว่า เราได้เป็น เราจะเป็น เราจักไม่เป็นเช่นนี้อีก สังขารทั้งหลายจักดับไป อาตมาจะคร่ำครวญถึงสังขารนั้นไปทำไม [๗๑๖] ท่านหัวหน้า สำหรับผู้พิจารณาเห็นความเกิดขึ้นแห่งธรรม ล้วนๆ ความสืบเนื่องแห่งสังขารล้วนๆ ตามที่เป็นจริง ย่อมไม่มีความกลัว [๗๑๗] เมื่อใด บุคคลพิจารณาเห็นโลกว่า เสมอด้วยหญ้าและไม้ด้วยปัญญา เมื่อนั้น เขาซึ่งไม่ยึดถือว่าเป็นของเรา ย่อมไม่เศร้าโศกว่า ของเราไม่มี [๗๑๘] อาตมาเบื่อหน่ายร่างกาย ไม่ต้องการภพ กายนี้จะแตก และจะไม่มีกายอื่นอีก [๗๑๙] หากพวกท่านปรารถนาจะทำกิจใดด้วยร่างกาย ขอเชิญทำกิจนั้นได้ตามความปรารถนาเถิด ในการทำหรือไม่ทำนั้น อาตมาจะไม่มีทั้งความเคียดแค้นและพอใจ เพราะการทำนั้นเป็นเหตุ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า : ๔๖๑}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑๖. วีสตินิบาต]

๑. อธิมุตตเถรคาถา

[๗๒๐] พวกโจรฟังคำของพระอธิมุตตเถระนั้นซึ่งน่าอัศจรรย์ ทำให้ขนชูชันนั้นแล้ว วางศัสตราวุธแล้ว ได้กล่าวเนื้อความนี้ว่า [๗๒๑] ท่านผู้เจริญ ท่านไม่มีความเศร้าโศกนี้ เพราะท่านทำกรรมอะไรไว้ หรือใครเป็นอาจารย์ของท่าน หรือเพราะอาศัยคำสอนของใคร พระอธิมุตตเถระ (ได้ฟังดังนั้นแล้ว เมื่อจะให้คำตอบ จึงได้กล่าวภาษิตเหล่านี้ว่า) [๗๒๒] พระศาสดาผู้เป็นสัพพัญญู ทรงรู้เห็นธรรมทั้งปวง ทรงชนะหมู่มาร มีพระกรุณาอย่างใหญ่หลวง ทรงเยียวยารักษาสัตว์โลกทั้งมวล เป็นอาจารย์ของอาตมา [๗๒๓] พระองค์ได้ทรงแสดงธรรม ที่ให้ถึงความสิ้นอาสวะอย่างยอดเยี่ยมนี้ไว้ เพราะอาศัยคำสั่งสอนของพระองค์ อาตมาจึงได้ความไม่เศร้าโศกนี้แล [๗๒๔] พวกโจรฟังคำสุภาษิตของพระอธิมุตตเถระผู้เป็นฤๅษี จึงพากันวางศัสตราและอาวุธ บางพวกก็ได้งดเว้นกรรมนั้น และบางพวกก็ได้ขอบวช [๗๒๕] พวกเขา ครั้นบวชในพระศาสนาของพระสุคต เจริญโพชฌงค์ ๗ และพละ ๕ แล้ว เป็นบัณฑิต มีจิตเบิกบาน ยินดี อบรมอินทรีย์แล้ว ได้บรรลุสันตบทคือนิพพาน อันไม่มีปัจจัยอะไรๆ ปรุงแต่ง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า : ๔๖๒}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๖ หน้าที่ ๔๖๐-๔๖๒. http://84000.org/tipitaka/english/m_siri.php?B=26&siri=385              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/english/v.php?B=26&A=7366&Z=7416                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=26&i=385              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=26&item=385&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=33&A=6695              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=26&item=385&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=33&A=6695                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu26              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://accesstoinsight.org/tipitaka/kn/thag/thag.16.01.than.html https://suttacentral.net/thag16.1/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :