ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย วิมาน-เปตวัตถุ เถร-เถรีคาถา
๙. มัฏฐกุณฑลีวิมาน
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่มัฏฐกุณฑลีมาณพ
ผู้ทำใจให้เลื่อมใสในพระพุทธเจ้าก่อนสิ้นใจ
(พราหมณ์ถามเทพบุตรตนนั้นว่า) [๑๒๐๗] เจ้าประดับตกแต่งร่างกาย ใส่ต่างหูเกลี้ยง ทัดทรงดอกไม้ มีกายลูบไล้ด้วยจุรณแก่นจันทน์แดง ประคองแขนคร่ำครวญอยู่กลางป่า เจ้าเป็นทุกข์เรื่องอะไร @เชิงอรรถ : @ ห้วงน้ำคือกิเลส {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า : ๑๕๑}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๒. ปุริสวิมาน]

๗. สุนิกขิตตวรรค ๙. มัฏฐกุณฑลีวิมาน

(มัฏฐกุณฑลีเทพบุตรตอบว่า) [๑๒๐๘] เรือนรถที่ทำด้วยทองคำ งามผุดผ่องเกิดขึ้นแก่ข้าพเจ้า ข้าพเจ้ายังหาล้อรถทั้งคู่นั้นไม่ได้ เพราะความทุกข์นั้น ข้าพเจ้าจักยอมสละชีวิต (พราหมณ์กล่าวว่า) [๑๒๐๙] พ่อมาณพผู้เจริญ ล้อทองคำ ล้อแก้วมณี ล้อทองแดง หรือล้อเงิน จงบอกข้ามา ข้าจะจัดล้อทั้งคู่ให้เจ้า [๑๒๑๐] มาณพนั้นกล่าวแก่พราหมณ์นั้นว่า ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ทั้งสองย่อมปรากฏในท้องฟ้านั้น รถทองคำของข้าพเจ้าย่อมงามด้วยล้อทั้งคู่นั้น (พราหมณ์กล่าวว่า) [๑๒๑๑] พ่อมาณพ เจ้าโง่นัก ที่มาปรารถนาสิ่งที่ไม่ควรปรารถนา ข้าเข้าใจว่า เจ้าจักตายเสียเปล่า เพราะเจ้าไม่มีทางที่จะได้ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์เลย (มาณพกล่าวว่า) [๑๒๑๒] แม้การโคจรไปมาของดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ก็ยังปรากฏอยู่ รัศมีก็ยังปรากฏอยู่ในวิถีทั้งสอง ส่วนคนที่ตายไปแล้วย่อมไม่ปรากฏ เราทั้งสองผู้ร้องไห้คร่ำครวญอยู่ในที่นี้ ใครหนอโง่กว่ากัน (พราหมณ์กล่าวว่า) [๑๒๑๓] พ่อมาณพ เจ้าพูดจริงแท้ เราทั้งสองผู้ร้องไห้คร่ำครวญอยู่ ข้านี่แหละโง่กว่า ที่มาปรารถนาคนที่ตายไปแล้ว เหมือนทารกร้องไห้อยากได้ดวงจันทร์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า : ๑๕๒}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๒. ปุริสวิมาน]

๗. สุนิกขิตตวรรค ๙. มัฏฐกุณฑลีวิมาน

[๑๒๑๔] เจ้าช่วยระงับข้าผู้เร่าร้อนให้สงบ ดับความกระวนกระวายทั้งหมดได้ เหมือนคนใช้น้ำราดดับไฟที่ติดเปรียง [๑๒๑๕] เจ้าบรรเทาความเศร้าโศกถึงบุตรของข้าผู้กำลังเศร้าโศก ชื่อว่าได้ช่วยถอนลูกศรคือความโศก ซึ่งเสียบที่หัวใจของข้าขึ้นได้แล้วหนอ [๑๒๑๖] พ่อมาณพ ข้าซึ่งเจ้าช่วยถอนลูกศรคือความโศกขึ้นให้แล้ว ก็เย็นสงบแล้ว จะไม่เศร้าโศก ไม่ร้องไห้ เพราะได้ฟังคำของเจ้า (พราหมณ์เมื่อจะถามต่อไป จึงกล่าวว่า) [๑๒๑๗] เจ้าเป็นเทวดาหรือคนธรรพ์ หรือเป็นท้าวสักกปุรินททะ เจ้าเป็นใคร เป็นบุตรของใครหรือ เราจะรู้จักเจ้าได้อย่างไร (มาณพเปิดเผยตนแก่พราหมณ์นั้นว่า) [๑๒๑๘] ท่านเองเผาบุตรคนใดที่ป่าช้าแล้ว คร่ำครวญร้องไห้ถึงบุตรคนใด บุตรคนนั้นคือข้าพเจ้า ซึ่งทำกุศลกรรมแล้ว ได้เกิดร่วมกับหมู่เทพชั้นไตรทศ (พราหมณ์ถามว่า) [๑๒๑๙] เมื่อเจ้าให้ทานน้อยหรือมาก ในเรือนของตน หรือรักษาอุโบสถกรรมเช่นนั้น ข้าพเจ้ามิได้เห็น เพราะกรรมอะไรเจ้าจึงไปเทวโลกได้ (มาณพตอบว่า) [๑๒๒๐] ข้าพเจ้าป่วยเป็นไข้ ทุกข์ทรมาน มีกายกระสับกระส่ายอยู่ในที่อยู่ของตน ได้เห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ปราศจากกิเลสดังธุลี ทรงข้ามพ้นความสงสัย เสด็จไปดีแล้ว มีพระปัญญาไม่ต่ำทราม {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า : ๑๕๓}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๒. ปุริสวิมาน]

๗. สุนิกขิตตวรรค ๙. มัฏฐกุณฑลีวิมาน

[๑๒๒๑] ข้าพเจ้านั้นมีใจเบิกบาน มีจิตเลื่อมใส ได้ทำอัญชลีกรรมแด่พระตถาคต ครั้นทำกุศลกรรมนั้นแล้ว ได้เกิดร่วมกับหมู่เทพชั้นไตรทศ (พราหมณ์กล่าวว่า) [๑๒๒๒] น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยมีมาแล้วหนอ อัญชลีกรรมมีผลเป็นได้ถึงเช่นนี้ แม้ข้าพเจ้าก็มีใจเบิกบาน มีจิตเลื่อมใส จึงขอถึงพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งที่ระลึกในวันนี้นี่เอง (มาณพกล่าวว่า) [๑๒๒๓] ท่านจงมีจิตเลื่อมใส ถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์เป็นที่พึ่งที่ระลึกในวันนี้นี่แหละ อนึ่ง ท่านจงสมาทานสิกขาบท ๕ อย่าให้ขาดและด่างพร้อย [๑๒๒๔] คือ จงรีบงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ จากการลักทรัพย์ ยินดีเฉพาะภรรยาของตน อย่ากล่าวเท็จ อย่าดื่มน้ำเมา (พราหมณ์กล่าวว่า) [๑๒๒๕] เทวดาผู้น่าบูชา ท่านเป็นผู้ปรารถนาประโยชน์ หวังความเกื้อกูลแก่ข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจะทำตามคำของท่าน ท่านเป็นอาจารย์ของข้าพเจ้า [๑๒๒๖] ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า พระธรรมอันยอดเยี่ยม และพระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้า ผู้ทรงเป็นเทพของนรชนเป็นที่พึ่งที่ระลึก [๑๒๒๗] ข้าพเจ้าจะรีบงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ จากการลักทรัพย์ ยินดีเฉพาะภรรยาของตน ไม่กล่าวเท็จ ไม่ดื่มน้ำเมา
มัฏฐกุณฑลีวิมานที่ ๙ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า : ๑๕๔}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๖ หน้าที่ ๑๕๑-๑๕๔. http://84000.org/tipitaka/english/m_siri.php?B=26&siri=83              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/english/v.php?B=26&A=2705&Z=2770                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=26&i=83              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=26&item=83&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=30&A=7983              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=26&item=83&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=30&A=7983                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu26



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :