ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย มหานิทเทส

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๐. ปุราเภทสุตตนิทเทส

๑๐. ปุราเภทสุตตนิทเทส๑-
อธิบายปุราเภทสูตร
ว่าด้วยก่อนการดับขันธปรินิพพาน
พระสารีบุตรเถระจะกล่าวอธิบายปุราเภทสูตร ดังต่อไปนี้ [๘๓] (พระพุทธเนรมิตทูลถามว่า) บุคคลมีทัสสนะ๒- อย่างไร มีศีลอย่างไร จึงเรียกว่า เป็นผู้สงบแล้ว ข้าแต่พระโคตมะ ข้าพระองค์ทูลถามแล้ว ขอพระองค์โปรดตรัสบอกนรชนผู้สูงสุดนั้นแก่ข้าพระองค์เถิด
ว่าด้วยคำถามของพระพุทธเนรมิต
คำว่า มีทัสสนะอย่างไร ในคำว่า บุคคลมีทัสสนะอย่างไร มีศีลอย่างไร จึงเรียกว่า เป็นผู้สงบแล้ว อธิบายว่า บุคคลประกอบด้วยทัสสนะอย่างไร คือ มี จุดยืนอย่างไร มีท่าทีอย่างไร มีแนวเทียบอย่างไร รวมความว่า มีทัสสนะอย่างไร คำว่า มีศีลอย่างไร อธิบายว่า บุคคลประกอบด้วยศีลอย่างไร คือ มีจุดยืน อย่างไร มีท่าทีอย่างไร มีแนวเทียบอย่างไร รวมความว่า มีทัสสนะอย่างไร มีศีล อย่างไร คำว่า จึงเรียกว่า เป็นผู้สงบแล้ว อธิบายว่า จึงตรัสเรียก คือ กล่าว พูด บอก แสดง ชี้แจงว่า เป็นผู้สงบแล้ว ระงับแล้ว เย็นแล้ว สงัดแล้ว พระพุทธเนรมิต ทูลถามถึงอธิปัญญาด้วยคำว่า มีทัสสนะอย่างไร ทูลถามถึงอธิสีลด้วยคำว่า มี ศีลอย่างไร ทูลถามถึงอธิจิตด้วยคำว่า เป็นผู้สงบแล้ว รวมความว่า บุคคลมี ทัสสนะอย่างไร มีศีลอย่างไร จึงเรียกว่า เป็นผู้สงบแล้ว @เชิงอรรถ : @ ขุ.สุ. ๒๕/๘๕๕-๘๖๘/๕๐๑-๕๐๓ @ ทัสสนะ ในที่นี้หมายถึง อธิปัญญา @ศีล ในที่นี้หมายถึง อธิสีล @สงบ ในที่นี้หมายถึง อธิจิต (ขุ.สุ.อ. ๒/๘๕๕/๓๘๘, ขุ.ม.อ. ๘๓/๓๑๕) และดู ขุ.สุ. ๒๕/๓๖๒/๔๐๒, @ขุ.สุ.อ. ๒/๓๖๒/๑๗๐ ประกอบ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๒๔๖}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๐. ปุราเภทสุตตนิทเทส

คำว่า นรชนนั้น ในคำว่า ข้าแต่พระโคตมะ ขอพระองค์โปรดตรัสบอก นรชน ... นั้น แก่ข้าพระองค์เถิด อธิบายว่า ข้าพระองค์ทูลถาม ทูลขอ ทูลอัญเชิญ ทูลให้ทรงประกาศ นรชนใด พระพุทธเนรมิตเรียกพระผู้มีพระภาค พุทธเจ้าโดยพระโคตรว่า พระโคตมะ คำว่า โปรดตรัสบอก อธิบายว่า โปรดตรัส คือ โปรดบอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่าย ทรงประกาศ รวมความว่า ข้าแต่พระโคตมะ ขอพระองค์โปรดตรัสบอกนรชน ... นั้น แก่ข้าพระองค์เถิด คำว่า ทูลถามแล้ว ในคำว่า ข้าพระองค์ทูลถามแล้ว ... นรชนผู้สูงสุด อธิบายว่า ข้าพระองค์ทูลสอบถาม ทูลถามแล้ว ทูลขอแล้ว ทูลอัญเชิญแล้ว ทูลให้ ทรงประกาศแล้ว คำว่า นรชนผู้สูงสุด อธิบายว่า นรชนผู้ยอดเยี่ยม ประเสริฐ วิเศษ นำหน้า สูงสุด ประเสริฐสุด รวมความว่า ข้าพระองค์ทูลถามแล้ว ... นรชนผู้สูงสุด ด้วย เหตุนั้น พระพุทธเนรมิตนั้นจึงทูลถามว่า บุคคลมีทัสสนะอย่างไร มีศีลอย่างไร จึงเรียกว่า เป็นผู้สงบแล้ว ข้าแต่พระโคตมะ ข้าพระองค์ทูลถามแล้ว ขอพระองค์โปรดตรัสบอกนรชนผู้สูงสุดนั้นแก่ข้าพระองค์เถิด [๘๔] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบดังนี้) ก่อนดับขันธปรินิพพาน พระอรหันต์เป็นผู้คลายตัณหา ไม่ติดอยู่กับความเพลิดเพลินที่มีอยู่ในส่วนเบื้องต้น ใครๆ กำหนดไม่ได้ในส่วนท่ามกลาง พระอรหันต์นั้นมิได้มุ่งหวังถึงตัณหาและทิฏฐิ(ในส่วนเบื้องปลาย) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๒๔๗}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๐. ปุราเภทสุตตนิทเทส

อธิบายคำว่า ภควา
คำว่า ก่อนดับขันธปรินิพพาน พระอรหันต์เป็นผู้คลายตัณหา อธิบายว่า ก่อนกายแตก ก่อนอัตภาพแตก ก่อนการทิ้งซากศพ ก่อนการขาดชีวิตินทรีย์ พระอรหันต์เป็นผู้คลายตัณหาแล้ว คือ ปราศจากตัณหาแล้ว สละตัณหาได้แล้ว คายตัณหาได้แล้ว ปล่อยตัณหาได้แล้ว ละตัณหาได้แล้ว สลัดทิ้งตัณหาได้แล้ว คือ เป็นผู้คลายความกำหนัดแล้ว ปราศจากราคะแล้ว สละราคะได้แล้ว คายราคะ ได้แล้ว ปล่อยราคะได้แล้ว ละราคะได้แล้ว สลัดทิ้งราคะได้แล้ว เป็นผู้หมดความ อยากแล้ว เป็นผู้ดับแล้ว เป็นผู้เย็นแล้ว มีตนอันประเสริฐเสวยสุขอยู่ คำว่า พระผู้มีพระภาค เป็นคำกล่าวโดยความเคารพ อีกนัยหนึ่ง ชื่อว่าพระผู้มีพระภาค เพราะทรงทำลายราคะได้แล้ว ชื่อว่าพระผู้มีพระภาค เพราะทรงทำลายโทสะได้แล้ว ชื่อว่าพระผู้มีพระภาค เพราะทรงทำลายโมหะได้แล้ว ชื่อว่าพระผู้มีพระภาค เพราะทรงทำลายมานะได้แล้ว ชื่อว่าพระผู้มีพระภาค เพราะทรงทำลายทิฏฐิได้แล้ว ชื่อว่าพระผู้มีพระภาค เพราะทรงทำลายเสี้ยนหนามได้แล้ว ชื่อว่าพระผู้มีพระภาค เพราะทรงทำลายกิเลสได้แล้ว ชื่อว่าพระผู้มีพระภาค เพราะทรงจำแนก แยกแยะ แจกแจงธรรมรัตนะ ชื่อว่าพระผู้มีพระภาค เพราะทรงทำที่สุดแห่งภพได้แล้ว ชื่อว่าพระผู้มีพระภาค เพราะทรงอบรมพระวรกายแล้ว ชื่อว่าพระผู้มีพระภาค เพราะทรงอบรมศีล อบรมจิต อบรมปัญญาแล้ว อีกนัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงใช้สอยเสนาสนะที่เป็นป่าละเมาะและป่าทึบ อันสงัด มีเสียงน้อย มีเสียงอึกทึกน้อย ปราศจากการสัญจรไปมาของผู้คน ควรเป็น สถานที่ทำการลับของมนุษย์ สมควรเป็นที่หลีกเร้น จึงชื่อว่าพระผู้มีพระภาค อีกนัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงมีส่วนแห่งจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และ คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร จึงชื่อว่าพระผู้มีพระภาค อีกนัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงเป็นผู้มีส่วนแห่งอรรถรส ธรรมรส วิมุตติรส อธิสีล อธิจิต อธิปัญญา จึงชื่อว่าพระผู้มีพระภาค {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๒๔๘}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๐. ปุราเภทสุตตนิทเทส

อีกนัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงเป็นผู้มีส่วนแห่งฌาน ๔ อัปปมัญญา ๔ อรูปสมาบัติ ๔ จึงชื่อว่าพระผู้มีพระภาค อีกนัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงเป็นผู้มีส่วนแห่งวิโมกข์ ๘ อภิภายตนะ ๘ อนุปุพพวิหารสมาบัติ ๙ จึงชื่อว่าพระผู้มีพระภาค อีกนัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงเป็นผู้มีส่วนแห่งสัญญาภาวนา ๑๐ กสิณ- สมาบัติ ๑๐ อานาปานสติสมาธิ อสุภสมาบัติ จึงชื่อว่าพระผู้มีพระภาค อีกนัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงเป็นผู้มีส่วนแห่งสติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ จึงชื่อว่าพระ ผู้มีพระภาค อีกนัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงเป็นผู้มีส่วนแห่งตถาคตพลญาณ ๑๐ เวสารัชช- ญาณ ๔ ปฏิสัมภิทา ๔ อภิญญา ๖ พุทธธรรม ๖ จึงชื่อว่าพระผู้มีพระภาค พระนามว่า พระผู้มีพระภาค นี้ มิใช่พระชนนีทรงตั้ง มิใช่พระชนกทรงตั้ง มิใช่พระภาดาทรงตั้ง มิใช่พระภคินีทรงตั้ง มิใช่มิตรและอำมาตย์ตั้ง มิใช่พระญาติ และผู้ร่วมสายโลหิตทรงตั้ง มิใช่สมณพราหมณ์ตั้ง มิใช่เทวดาตั้ง คำว่า พระผู้มีพระภาค นี้ เป็นวิโมกขันติกนาม เป็นสัจฉิกาบัญญัติ ของ พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งหลาย พร้อมกับการบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ ที่โคน ต้นโพธิ์ รวมความว่า พระผู้มีพระภาคตรัสตอบดังนี้ ก่อนดับขันธปรินิพพาน พระอรหันต์เป็นผู้คลายตัณหา คำว่า ไม่ติดอยู่กับความเพลิดเพลินที่มีอยู่ในส่วนเบื้องต้น อธิบายว่า อดีตกาล ตรัสเรียกว่า ส่วนเบื้องต้น พระอรหันต์ปรารภอดีตกาล ละตัณหาได้แล้ว สลัดทิ้งทิฏฐิได้แล้ว เพราะเป็นผู้ละตัณหา สลัดทิ้งทิฏฐิได้แล้ว พระอรหันต์จึงชื่อว่า ไม่ติดอยู่กับความเพลิดเพลินที่มีอยู่ในส่วนเบื้องต้น อย่างนี้บ้าง อีกนัยหนึ่ง พระอรหันต์ย่อมไม่ดำเนินไปตามความเพลิดเพลินที่มีอยู่ก่อนนั้นว่า “ในอดีตกาล เราได้มีรูปอย่างนี้ ... มีเวทนาอย่างนี้ ... มีสัญญาอย่างนี้ ... มีสังขาร อย่างนี้” ... พระอรหันต์ย่อมไม่ดำเนินไปตามความเพลิดเพลินที่มีอยู่ก่อนนั้นว่า “ในอดีตกาล เราได้มีวิญญาณอย่างนี้” พระอรหันต์จึงชื่อว่าไม่ติดอยู่กับความ เพลิดเพลินที่มีอยู่ในส่วนเบื้องต้นอย่างนี้บ้าง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๒๔๙}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๐. ปุราเภทสุตตนิทเทส

อีกนัยหนึ่ง พระอรหันต์ย่อมไม่มีวิญญาณเกี่ยวเนื่องด้วยฉันทราคะที่มีอยู่ก่อน นั้นว่า ในอดีตกาล เราได้มีตาเช่นนี้ เห็นรูปเช่นนี้ จึงไม่เพลิดเพลินตาและรูปนั้น เพราะเป็นผู้ไม่มีวิญญาณเกี่ยวเนื่องด้วยฉันทราคะ พระอรหันต์ จึงชื่อว่าไม่ติดอยู่กับ ความเพลิดเพลินที่มีอยู่ในส่วนเบื้องต้น เพราะไม่ใยดีในตาและรูปนั้น อย่างนี้บ้าง พระอรหันต์ไม่มีวิญญาณเกี่ยวเนื่องด้วยฉันทราคะที่มีอยู่ก่อนนั้นว่า ในอดีตกาล เราได้มีหูเช่นนี้ ได้ยินเสียงเช่นนี้ ... เราได้มีจมูกเช่นนี้ ได้กลิ่นเช่นนี้ ... เราได้มีลิ้นเช่นนี้ รู้รสเช่นนี้ ... เราได้มีกายเช่นนี้ สัมผัสกับโผฏฐัพพะเช่นนี้ ... พระอรหันต์ย่อมไม่มี วิญญาณเกี่ยวเนื่องด้วยฉันทราคะที่มีอยู่ก่อนนั้นว่า ในอดีตกาลเราได้มีใจเช่นนี้ รู้ธรรมารมณ์เช่นนี้ จึงไม่เพลิดเพลินอายตนะภายในและอายตนะภายนอกนั้น เพราะ ไม่มีวิญญาณเกี่ยวเนื่องด้วยฉันทราคะ พระอรหันต์ จึงชื่อว่าไม่ติดอยู่กับความ เพลิดเพลินที่มีอยู่ในส่วนเบื้องต้น เพราะไม่ใยดีในใจและธรรมารมณ์นั้น อย่างนี้บ้าง อีกนัยหนึ่ง พระอรหันต์ย่อมไม่ชื่นใจ ไม่ใยดี ไม่ถึงความปลาบปลื้มใจ ด้วย การหัวเราะ การพูดจา การปราศรัย และการเล่นหัวกับมาตุคาม ในครั้งก่อน แม้ ด้วยประการอย่างนี้ พระอรหันต์จึงชื่อว่าไม่ติดอยู่กับความเพลิดเพลินที่มีอยู่ในส่วน เบื้องต้น คำว่า ใครๆ กำหนดไม่ได้ในส่วนท่ามกลาง อธิบายว่า ปัจจุบันกาล ตรัส เรียกว่า ส่วนท่ามกลาง พระอรหันต์ปรารภปัจจุบันกาล ละตัณหาได้แล้ว สลัดทิ้ง ทิฏฐิได้แล้ว เพราะเป็นผู้ละตัณหา สลัดทิ้งทิฏฐิได้แล้ว ใครๆ จึงกำหนดไม่ได้ว่า เป็นผู้กำหนัด เป็นผู้ขัดเคือง เป็นผู้หลง เป็นผู้ยึดติด เป็นผู้ยึดมั่น เป็นผู้ฟุ้งซ่าน เป็นผู้ลังเล เป็นผู้ตกอยู่ในพลังกิเลส พระอรหันต์ละอภิสังขารเหล่านั้นได้แล้ว เพราะเป็นผู้ละอภิสังขารได้แล้ว ใครๆ จึงกำหนดไม่ได้โดยคติว่า “เป็นผู้เกิดในนรก เป็นผู้เกิดในกำเนิดเดรัจฉาน เป็นผู้เกิด ในเปตวิสัย เป็นมนุษย์ เป็นเทวดา เป็นผู้มีรูป เป็นผู้ไม่มีรูป เป็นผู้มีสัญญา เป็นผู้ไม่มี สัญญา หรือเป็นผู้มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่” พระอรหันต์นั้นจะพึงกำหนด ด้วยเหตุ ปัจจัย และการณ์ใด เหตุ ปัจจัย และการณ์นั้นไม่มี รวมความว่า ใครๆ กำหนดไม่ได้ในส่วนท่ามกลาง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๒๕๐}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๐. ปุราเภทสุตตนิทเทส

ว่าด้วยความมุ่งหวัง ๒ อย่าง
คำว่า นั้น ในคำว่า พระอรหันต์นั้นมิได้มุ่งหวังตัณหาและทิฏฐิ(ในส่วน เบื้องปลาย) ได้แก่ พระอรหันตขีณาสพ คำว่า ความมุ่งหวังตัณหาและทิฏฐิ(ในส่วนเบื้องปลาย) ได้แก่ ความมุ่ง หวังในส่วนเบื้องปลาย ๒ อย่าง คือ (๑) ความมุ่งหวังด้วยอำนาจตัณหาในส่วน เบื้องปลาย (๒) ความมุ่งหวังด้วยอำนาจทิฏฐิในส่วนเบื้องปลาย ... นี้ชื่อว่าความมุ่ง หวังด้วยอำนาจตัณหาในส่วนเบื้องปลาย ... นี้ชื่อว่าความมุ่งหวังด้วยอำนาจทิฏฐิใน ส่วนเบื้องปลาย พระอรหันต์นั้นละความมุ่งหวังด้วยอำนาจตัณหาในส่วนเบื้องปลายได้แล้ว สลัดทิ้งความมุ่งหวังด้วยอำนาจทิฏฐิในส่วนเบื้องปลายได้แล้ว เพราะเป็นผู้ละความ มุ่งหวังด้วยอำนาจตัณหาในส่วนเบื้องปลาย สลัดทิ้งความมุ่งหวังด้วยอำนาจทิฏฐิใน ส่วนเบื้องปลายได้แล้ว พระอรหันต์จึงไม่เที่ยวมุ่งหวังตัณหาหรือทิฏฐิ คือไม่มีตัณหา เป็นธงชัย ไม่มีตัณหาเป็นยอดธง ไม่มีตัณหาเป็นใหญ่ ไม่มีทิฏฐิเป็นธงชัย ไม่มีทิฏฐิ เป็นยอดธง ไม่มีทิฏฐิเป็นใหญ่ ไม่ถูกตัณหาหรือทิฏฐิครอบงำเที่ยวไป รวมความว่า พระอรหันต์นั้นมิได้มุ่งหวังตัณหาและทิฏฐิ(ในส่วนเบื้องปลาย) อีกนัยหนึ่ง พระอรหันต์ย่อมไม่ดำเนินไปตามความเพลิดเพลินในเบญจขันธ์ว่า “ในอนาคตกาล เราพึงมีรูปอย่างนี้ ... มีเวทนาอย่างนี้ ... มีสัญญาอย่างนี้ ... มีสังขารอย่างนี้” ... พระอรหันต์ย่อมไม่ดำเนินไปตามความเพลิดเพลินในเบญจขันธ์ว่า “ในอนาคตกาล เราพึงมีวิญญาณอย่างนี้” พระอรหันต์นั้นจึงชื่อว่าไม่มีความมุ่งหวัง เบญจขันธ์ในอนาคตกาล อย่างนี้บ้าง อีกนัยหนึ่ง พระอรหันต์ย่อมไม่ตั้งใจเพื่อให้ได้ตาและรูปที่ยังไม่ได้ว่า “ใน อนาคตกาล เราพึงมีตาเช่นนี้ เห็นรูปเช่นนี้” เพราะไม่มีความตั้งใจเช่นนั้นเป็นปัจจัย พระอรหันต์จึงไม่เพลิดเพลินตาและรูปนั้น เมื่อไม่เพลิดเพลินตาและรูปนั้น พระ อรหันต์นั้นจึงไม่มีความมุ่งหวังในอนาคตกาล อย่างนี้บ้าง พระอรหันต์ย่อมไม่ตั้งใจเพื่อให้ได้หูและเสียงที่ยังไม่ได้ว่า “ในอนาคตกาล เรา พึงมีหูเช่นนี้ ได้ยินเสียงเช่นนี้ ... ในอนาคตกาล เราพึงมีจมูกเช่นนี้ ได้กลิ่นเช่นนี้... ในอนาคตกาล เราพึงมีลิ้นเช่นนี้ รู้รสเช่นนี้ ... ในอนาคตกาล เราพึงมีกายเช่นนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๒๕๑}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๐. ปุราเภทสุตตนิทเทส

สัมผัสโผฏฐัพพะเช่นนี้” ... ไม่ตั้งใจเพื่อให้ได้ใจและธรรมารมณ์ที่ยังไม่ได้ว่า “ใน อนาคตกาล เราพึงมีใจเช่นนี้ รู้ธรรมารมณ์เช่นนี้” เพราะไม่มีความตั้งใจเช่นนั้นเป็น ปัจจัย พระอรหันต์จึงไม่เพลิดเพลินใจและธรรมารมณ์นั้น เมื่อไม่เพลิดเพลินใจและ ธรรมารมณ์นั้น พระอรหันต์นั้นจึงไม่มีความมุ่งหวังในอนาคตกาล อย่างนี้บ้าง อีกนัยหนึ่ง พระอรหันต์ย่อมไม่ตั้งใจเพื่อให้ได้ภพที่ยังไม่ได้ว่า “เราจักเป็น เทพเจ้า หรือเทวดาตนใดตนหนึ่งด้วยศีล วัตร ตบะ หรือพรหมจรรย์นี้” เพราะการ ไม่ตั้งใจเช่นนั้นเป็นปัจจัย พระอรหันต์จึงไม่เพลิดเพลินภพนั้น เมื่อไม่เพลิดเพลิน ภพนั้น พระอรหันต์จึงไม่มีความมุ่งหวังในอนาคตกาล อย่างนี้บ้าง ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบดังนี้) ก่อนดับขันธปรินิพพาน พระอรหันต์เป็นผู้คลายตัณหา ไม่ติดอยู่กับความเพลิดเพลินที่มีอยู่ในส่วนเบื้องต้น ใครๆ กำหนดไม่ได้ในส่วนท่ามกลาง พระอรหันต์นั้นมิได้มุ่งหวังถึงตัณหาและทิฏฐิ(ในส่วนเบื้องปลาย) [๘๕] (พระผู้มีพระภาคตรัสต่อไปว่า) บุคคลผู้ไม่โกรธ ไม่สะดุ้ง ไม่โอ้อวด ไม่คะนอง พูดด้วยปัญญา ไม่ฟุ้งซ่าน เป็นผู้สำรวมวาจา นั้นแล ชื่อว่าเป็นมุนี
ว่าด้วยเหตุเกิดความโกรธ ๑๐ อย่าง
คำว่า ผู้ไม่โกรธ ในคำว่า ผู้ไม่โกรธ ไม่สะดุ้ง กล่าวไว้แล้วข้างต้น อนึ่ง ควรกล่าวถึงความโกรธก่อน ความโกรธ ย่อมเกิดได้เพราะเหตุ ๑๐ อย่าง คือ ๑. เพราะสำคัญว่า ผู้นี้ได้ทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา ๒. เพราะสำคัญว่า ผู้นี้กำลังทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา ๓. เพราะสำคัญว่า ผู้นี้ทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา ๔. ... ผู้นี้ได้ทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่คนผู้เป็นที่รักที่ชอบพอของเรา ๕. ... ผู้นี้กำลังทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่คนผู้เป็นที่รักที่ชอบพอของเรา ๖. ... ผู้นี้จักทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่คนผู้เป็นที่รักที่ชอบพอของเรา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๒๕๒}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๐. ปุราเภทสุตตนิทเทส

๗. ... ผู้นี้ทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่คนผู้ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบพอของเรา ๘. ... ผู้นี้กำลังทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่คนผู้ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบพอของเรา ๙. ... ผู้นี้จักทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่คนผู้ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบพอของเรา ๑๐. ความโกรธเกิดขึ้นในฐานะอันไม่สมควร ใจปองร้าย มุ่งร้าย ขัดเคือง ขุ่นเคือง เคือง เคืองมาก เคืองตลอด ชัง ชิงชัง เกลียดชัง ใจพยาบาท ใจแค้นเคือง ความโกรธ กิริยาที่โกรธ ภาวะที่โกรธ ความคิด ประทุษร้าย กิริยาที่คิดประทุษร้าย ภาวะที่คิดประทุษร้าย ความคิดปองร้าย กิริยา ที่คิดปองร้าย ภาวะที่คิดปองร้าย ความโกรธ ความแค้น ความดุร้าย ความ เกรี้ยวกราด ความไม่แช่มชื่นแห่งจิตเห็นปานนี้ นี้ตรัสเรียกว่า ความโกรธ อีกนัยหนึ่ง พึงทราบความโกรธมาก ความโกรธน้อย บางครั้งความโกรธ เพียงทำให้ใจขุ่นมัว ยังไม่ถึงกับหน้าเง้าหน้างอก็มี บางครั้งความโกรธเพียงทำให้ หน้าเง้าหน้างอ แต่ยังไม่ถึงกับคางสั่นก็มี บางครั้งความโกรธเพียงทำให้คางสั่น แต่ ยังไม่ถึงกับพูดคำหยาบก็มี บางครั้งความโกรธเพียงทำให้พูดคำหยาบ แต่ยังไม่ถึง กับตาขวางมองทิศมองทางก็มี บางครั้งความโกรธเพียงทำให้ตาขวางมองทิศ มองทาง แต่ยังไม่ถึงกับคว้าไม้คว้ามีดก็มี บางครั้งความโกรธเพียงทำให้คว้าไม้ คว้ามีด แต่ยังไม่ถึงกับเงือดเงื้อไม้และมีด(ที่ถือไว้)ก็มี บางครั้งความโกรธเพียงแค่ ทำให้เงือดเงื้อไม้และมีด แต่ยังไม่ถึงกับลงมือฟาดฟันก็มี บางครั้งความโกรธเพียง แต่ฟาดฟัน แต่ยังไม่ถึงกับทำให้เกิดบาดแผลก็มี บางครั้งความโกรธเพียงแต่ทำให้ เกิดบาดแผล แต่ยังไม่ถึงกับทำให้กระดูกหักก็มี บางครั้งความโกรธเพียงแต่ทำให้ กระดูกหัก แต่ยังไม่ถึงกับทำให้อวัยวะขาดหลุดไปก็มี บางครั้งความโกรธเพียงแต่ ทำให้อวัยวะขาดหลุดไป แต่ยังไม่ถึงกับทำให้เสียชีวิตก็มี บางครั้งความโกรธเพียง แต่ทำให้ผู้อื่นเสียชีวิต แต่ยังไม่ถึงกับทำให้ดำรงอยู่เพื่อฆ่าตนเองก็มี เมื่อใด ความ โกรธทำให้ฆ่าบุคคลอื่นแล้วฆ่าตนเองเสียด้วย เมื่อนั้น ความโกรธเป็นไปรุนแรงมาก ถึงความเป็นสิ่งร้ายแรงอย่างยิ่ง ความโกรธนั้น ผู้ใด ละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว ผู้นั้น ตรัสเรียกว่า ผู้ไม่โกรธ บุคคลชื่อว่าผู้ไม่โกรธ เพราะละความโกรธได้แล้ว บุคคล ชื่อว่าผู้ไม่โกรธ เพราะกำหนดรู้วัตถุแห่งความโกรธได้แล้ว บุคคลชื่อว่าผู้ไม่โกรธ เพราะตัดเหตุแห่งความโกรธได้แล้ว รวมความว่า ผู้ไม่โกรธ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๒๕๓}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๐. ปุราเภทสุตตนิทเทส

ว่าด้วยผู้ไม่สะดุ้ง
คำว่า ไม่สะดุ้ง อธิบายว่า ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้สะดุ้ง หวาดเสียว หวั่นหวาด เธอย่อมสะดุ้ง หวาดเสียว หวั่นหวาด กลัว ถึงความสะดุ้งว่า เราไม่ได้ ตระกูล ไม่ได้หมู่คณะ ไม่ได้อาวาส ไม่ได้ลาภ ไม่ได้ยศ ไม่ได้สรรเสริญ ไม่ได้สุข ไม่ได้จีวร ไม่ได้บิณฑบาต ไม่ได้เสนาสนะ ไม่ได้คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร หรือไม่ได้ ผู้พยาบาลเวลาเจ็บป่วย ย่อมสะดุ้ง หวาดเสียว หวั่นหวาด กลัว ถึงความสะดุ้งว่า “เราเป็นผู้ไม่มีชื่อเสียงปรากฏ” ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ไม่สะดุ้ง ไม่หวาดเสียว ไม่หวั่นหวาด เธอย่อมไม่ สะดุ้ง ไม่หวาดเสียว ไม่หวั่นหวาด ไม่กลัว ไม่ถึงความสะดุ้งว่า เราไม่ได้ตระกูล ไม่ได้หมู่คณะ ไม่ได้อาวาส ไม่ได้ลาภ ไม่ได้ยศ ไม่ได้สรรเสริญ ไม่ได้สุข ไม่ได้จีวร ไม่ได้บิณฑบาต ไม่ได้เสนาสนะ ไม่ได้คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร หรือไม่ได้ผู้พยาบาล เวลาเจ็บป่วย ย่อมไม่สะดุ้ง ไม่หวาดเสียว ไม่หวั่นหวาด ไม่กลัว ไม่ถึงความ สะดุ้งว่า “เราเป็นผู้ไม่มีชื่อเสียงปรากฏ” รวมความว่า ผู้ไม่โกรธ ไม่สะดุ้ง
ว่าด้วยผู้ไม่โอ้อวด
คำว่า ไม่โอ้อวด ไม่คะนอง อธิบายว่า ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้อวด เป็นผู้โอ้อวด เธอย่อมอวด โอ้อวดว่า “เราเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศีลบ้าง สมบูรณ์ด้วย วัตรบ้าง สมบูรณ์ด้วยศีลวัตรบ้าง สมบูรณ์ด้วยชาติบ้าง สมบูรณ์ด้วยโคตรบ้าง สมบูรณ์ด้วยความเป็นบุตรของผู้มีตระกูลบ้าง สมบูรณ์ด้วยความเป็นผู้มีรูปงามบ้าง สมบูรณ์ด้วยทรัพย์บ้าง สมบูรณ์ด้วยการศึกษาบ้าง สมบูรณ์ด้วยหน้าที่การงานบ้าง สมบูรณ์ด้วยหลักแห่งศิลปวิทยาบ้าง สมบูรณ์ด้วยวิทยฐานะบ้าง สมบูรณ์ด้วยความ เป็นผู้คงแก่เรียนบ้าง สมบูรณ์ด้วยปฏิภาณบ้าง สมบูรณ์ด้วยสิ่งอื่นนอกจากที่กล่าว มาแล้วบ้าง ออกบวชจากตระกูลสูงบ้าง ออกบวชจากตระกูลใหญ่บ้าง ออกบวชจาก ตระกูลมีทรัพย์มากบ้าง ออกบวชจากตระกูลมีโภคสมบัติมากบ้าง เป็นผู้มีชื่อเสียง มียศกว่าคฤหัสถ์และบรรพชิตทั้งหลายบ้าง เป็นผู้ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และ คิลานปัจจัยเภสัชบริขารบ้าง เป็นผู้ทรงจำพระสูตรบ้าง ทรงจำพระวินัยบ้าง เป็น พระธรรมกถึกบ้าง เป็นผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตรบ้าง เป็นผู้ถือบิณฑบาตเป็นวัตรบ้าง เป็นผู้นุ่งห่มผ้าบังสุกุลเป็นวัตรบ้าง เป็นผู้ทรงไตรจีวรเป็นวัตรบ้าง เป็นผู้เที่ยว {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๒๕๔}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๐. ปุราเภทสุตตนิทเทส

บิณฑบาตไปตามลำดับตรอกเป็นวัตรบ้าง เป็นผู้งดอาหารมื้อหลังเป็นวัตรบ้าง เป็นผู้ ถือการนั่งเป็นวัตรบ้าง เป็นผู้ถือการอยู่ในเสนาสนะตามที่เขาจัดให้เป็นวัตรบ้าง เป็น ผู้ได้ปฐมฌานบ้าง เป็นผู้ได้ทุติยฌานบ้าง เป็นผู้ได้ตติยฌานบ้าง เป็นผู้ได้ จตุตถฌานบ้าง เป็นผู้ได้อากาสานัญจายตนสมาบัติบ้าง เป็นผู้ได้วิญญาณัญจายตน- สมาบัติบ้าง เป็นผู้ได้อากิญจัญญายตนสมาบัติบ้าง เป็นผู้ได้เนวสัญญานา- สัญญายตนสมาบัติบ้าง” ภิกษุนี้ย่อมไม่อวด ไม่โอ้อวด อย่างนี้ คือ เป็นผู้งด งดเว้น เว้นขาด ออกแล้ว สลัดออกแล้ว หลุดพ้นแล้ว ไม่เกี่ยวข้องแล้วกับความอวด ความโอ้อวด มีใจเป็นอิสระ(จากกิเลส) อยู่ รวมความว่า ผู้ไม่โอ้อวด
ว่าด้วยผู้ไม่คะนอง
คำว่า ความคะนอง ในคำว่า ผู้ไม่คะนอง อธิบายว่า ความคะนองมือ ชื่อว่าความคะนอง ความคะนองเท้า ชื่อว่าความคะนอง ความคะนองมือและเท้า ก็ชื่อว่าความคะนอง ความสำคัญในสิ่งไม่ควรว่าควร ความสำคัญในสิ่งที่ควรว่า ไม่ควร ความสำคัญในวิกาลว่าเป็นกาล ความสำคัญในกาลว่าเป็นวิกาล ความ สำคัญในสิ่งที่ไม่มีโทษว่ามีโทษ ความสำคัญในสิ่งที่มีโทษว่าไม่มีโทษ ความคะนอง กิริยาที่คะนอง ภาวะที่คะนอง ความเดือดร้อนจิต ใจฟุ้งซ่านเห็นปานนี้ นี้ตรัสเรียกว่า ความคะนอง อีกนัยหนึ่ง ความคะนอง ความเดือดร้อนจิต ใจฟุ้งซ่าน เกิดขึ้นเพราะเหตุ ๒ อย่าง คือ (๑) เพราะทำ (๒) เพราะไม่ทำ ความคะนอง ความเดือดร้อนจิต ใจฟุ้งซ่าน เกิดขึ้นเพราะทำและเพราะไม่ทำ เป็นอย่างไร คือ ความคะนอง ความเดือดร้อนจิต ใจฟุ้งซ่าน เกิดขึ้นว่า “เราทำแต่ กายทุจริต ไม่ทำกายสุจริต ... เราทำแต่วจีทุจริต ไม่ทำวจีสุจริต ... เราทำแต่มโนทุจริต ไม่ทำมโนสุจริต ... เราทำแต่ปาณาติบาต ไม่ทำความงดเว้นจากปาณาติปาต ... เรา ทำแต่อทินนาทาน ไม่ทำความงดเว้นจากอทินนาทาน ... เราทำแต่กาเมสุมิจฉาจาร ไม่ทำความงดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร ... เราทำแต่มุสาวาท ไม่ทำความงดเว้นจาก มุสาวาท ... เราทำแต่ปิสุณาวาจา ไม่ทำความงดเว้นจากปิสุณาวาจา ... เราทำแต่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๒๕๕}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๐. ปุราเภทสุตตนิทเทส

ผรุสวาจา ไม่ทำความงดเว้นจากผรุสวาจา ... เราทำแต่สัมผัปปลาปะ ไม่ทำความ งดเว้นจากสัมผัปปลาปะ ... เราทำแต่อภิชฌา ไม่ทำอนภิชฌา ... เราทำแต่พยาบาท ไม่ทำอัพยาบาท” ความคะนอง ความเดือดร้อนจิต ใจฟุ้งซ่าน เกิดขึ้นว่า “เราทำแต่ มิจฉาทิฏฐิ ไม่ทำสัมมาทิฏฐิ” ความคะนอง ความเดือดร้อนจิต ใจฟุ้งซ่าน เกิดขึ้น เพราะทำและเพราะไม่ทำ เป็นอย่างนี้ อีกนัยหนึ่ง ความคะนอง ความเดือดร้อนจิต ใจฟุ้งซ่าน เกิดขึ้นว่า “เรามิได้ รักษาศีลให้บริบูรณ์” ความคะนอง ความเดือดร้อนจิต ใจฟุ้งซ่าน เกิดขึ้นว่า “เรา ไม่สำรวมในอินทรีย์ทั้ง ๖ ... ไม่รู้จักประมาณในการบริโภคอาหาร ... ไม่ประกอบ ความเพียรเป็นเครื่องตื่นอยู่เสมอ ... ไม่หมั่นประกอบสติสัมปชัญญะ ... ไม่เจริญ สติปัฏฐาน ๔ ... ไม่เจริญสัมมัปปธาน ๔ ... ไม่เจริญอิทธิบาท ๔ ... ไม่เจริญ อินทรีย์ ๕ ... ไม่เจริญพละ ๕ ... ไม่เจริญโพชฌงค์ ๗ ... ไม่เจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ... ไม่กำหนดรู้ทุกข์ ... ไม่ละสมุทัย ... ไม่เจริญมรรค เราไม่ทำนิโรธให้ประจักษ์แจ้ง” ความคะนองนี้ผู้ใดละได้แล้ว คือ ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว ผู้นั้น ตรัสเรียกว่า ผู้ไม่คะนอง รวมความว่า ผู้ไม่โอ้อวด ไม่คะนอง
ว่าด้วยปัญญาเรียกว่า มันตา
คำว่า ผู้พูดด้วยปัญญา ไม่ฟุ้งซ่าน อธิบายว่า ปัญญาตรัสเรียกว่า มันตา คือ ความรู้ทั่ว กิริยาที่รู้ชัด ... ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ มีวิเคราะห์ว่า ผู้ใดกำหนดกล่าววาจาด้วยปัญญา แม้พูดมาก แม้กล่าวมาก แม้แสดงมาก แม้ชี้แจงมาก ก็ไม่กล่าวถ้อยคำที่เป็นเรื่องพูดชั่ว กล่าวชั่ว เจรจาชั่ว ปราศรัยชั่ว เล่าเรื่องชั่ว ฉะนั้น ผู้นั้น จึงชื่อว่าผู้พูดด้วยปัญญา ความฟุ้งซ่าน ในคำว่า ไม่ฟุ้งซ่าน เป็นอย่างไร คือ ความฟุ้งซ่าน ความไม่สงบแห่งจิต ใจกวัดแกว่ง ความคิดวกวน นี้ตรัส เรียกว่า ความฟุ้งซ่าน ความฟุ้งซ่านนี้ ผู้ใดละได้แล้ว คือ ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับ ได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว ผู้นั้น ตรัสเรียกว่า ผู้ไม่ ฟุ้งซ่าน รวมความว่า ผู้พูดด้วยปัญญา ไม่ฟุ้งซ่าน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๒๕๖}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๐. ปุราเภทสุตตนิทเทส

ว่าด้วยการสำรวมวาจา
คำว่า บุคคล... เป็นผู้สำรวมวาจานั้นแล ชื่อว่าเป็นมุนี อธิบายว่า ภิกษุใน ธรรมวินัยนี้ละการกล่าวเท็จ เว้นขาดจากการกล่าวเท็จได้แล้ว คือเป็นคนพูดจริง ตั้งมั่นในความสัตย์ มีถ้อยคำมั่นคง เชื่อถือได้ ไม่กล่าวคำหลอกลวงชาวโลก ละวาจาส่อเสียด เว้นขาดจากวาจาส่อเสียดได้แล้ว ฟังจากข้างนี้แล้ว ไม่ไปบอกข้าง โน้น เพื่อทำลายคนหมู่นี้ ฟังจากข้างโน้นแล้ว ไม่ไปบอกข้างนี้ เพื่อทำลายคนหมู่โน้น เป็นผู้สมานคนที่แตกแยกกัน หรือส่งเสริมคนที่มีประโยชน์ร่วมกัน มีความสามัคคี เป็นที่ชื่นชม ยินดีในความสามัคคี รื่นเริงในสามัคคีธรรม เป็นผู้กล่าววาจาก่อให้เกิด ความสามัคคี ละวาจาหยาบ เว้นขาดจากวาจาหยาบได้แล้ว วาจาใด ไร้โทษ สบายหู น่ารัก จับใจ แบบชาวเมือง คนส่วนใหญ่ชอบใจ พอใจ ก็กล่าววาจาเช่นนั้น ละการพูดเพ้อเจ้อ เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อได้แล้ว พูดถูกเวลา พูดจริง พูดอิงอรรถ พูดอิงธรรม พูดอิงวินัย กล่าววาจาเป็นหลักฐาน มีที่อ้างอิง มีต้น มีปลาย ประกอบด้วยประโยชน์ตามกาลอันสมควร ประกอบด้วยวจีสุจริต ๔ กล่าววาจาปราศจากโทษ ๔ สถาน เป็นผู้งดแล้ว งดเว้นแล้ว เว้นขาดแล้ว ออกแล้ว สลัดออกแล้ว หลุดพ้นแล้ว ไม่เกี่ยวข้องแล้วกับเดรัจฉานกถา๑- ๓๒ ประการ มีใจ เป็นอิสระ (จากกิเลส) อยู่ ภิกษุย่อมกล่าวกถาวัตถุ ๑๐ ประการ คือ ๑. ย่อมกล่าวอัปปิจฉกถา(ถ้อยคำที่ชักนำให้มีความปรารถนาน้อย) ๒. สันตุฏฐิกถา(ถ้อยคำที่ชักนำให้มีความสันโดษ) ๓. ปวิเวกกถา(ถ้อยคำที่ชักนำให้มีความสงัดกายใจ) ๔. อสังสัคคกถา(ถ้อยคำที่ชักนำให้ไม่คลุกคลีด้วยหมู่) ๕. วิริยารัมภกถา(ถ้อยคำที่ชักนำให้มุ่งมั่นทำความเพียร) ๖. สีลกถา(ถ้อยคำที่ชักนำให้ตั้งอยู่ในศีล) ๗. สมาธิกถา(ถ้อยคำที่ชักนำให้ทำจิตมั่น) ๘. ปัญญากถา(ถ้อยคำที่ชักนำให้เกิดปัญญา) ๙. วิมุตติกถา(ถ้อยคำที่ชักนำให้ทำใจให้พ้นจากกิเลสและความทุกข์) @เชิงอรรถ : @ เดรัจฉานกถา ดูเชิงอรรถข้อ ๑๕๗/๔๓๙ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๒๕๗}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๐. ปุราเภทสุตตนิทเทส

๑๐. วิมุตติญาณทัสสนกถา (ถ้อยคำที่ชักนำให้สนใจและเข้าใจเรื่องความรู้ ความเห็นในภาวะที่หลุดพ้นจากกิเลสและความทุกข์) ย่อมกล่าวสติปัฏฐานกถา สัมมัปปธานกถา อิทธิบาทกถา อินทริยกถา พลกถา โพชฌงคกถา มัคคกถา ผลกถา นิพพานกถา คำว่า ผู้สำรวมวาจา ได้แก่ ผู้สำรวม เคร่งครัด คุ้มครอง ปกปัก รักษา สังวร สงบ คำว่า มุนี อธิบายว่า ญาณ ท่านเรียกว่า โมนะ คือ ความรู้ทั่ว กิริยาที่รู้ชัด ... ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ ... ผู้ก้าวล่วงกิเลสเครื่องข้อง และตัณหาดุจตาข่ายได้แล้ว ชื่อว่ามุนี รวมความว่า บุคคล ... เป็นผู้สำรวมวาจา นั้นแล ชื่อว่าเป็นมุนี ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า บุคคลผู้ไม่โกรธ ไม่สะดุ้ง ไม่โอ้อวด ไม่คะนอง พูดด้วยปัญญา ไม่ฟุ้งซ่าน เป็นผู้สำรวมวาจา นั้นแล ชื่อว่าเป็นมุนี [๘๖] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า) บุคคลผู้ไม่มีตัณหาเครื่องเหนี่ยวรั้งในอนาคต ไม่เศร้าโศกถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว ผู้เห็นวิเวกในผัสสะทั้งหลาย ย่อมไม่ถูกนำไปในทิฏฐิทั้งหลาย
ว่าด้วยผู้ไม่มีตัณหา
คำว่า บุคคลผู้ไม่มีตัณหาเครื่องเหนี่ยวรั้งในอนาคต อธิบายว่า ตัณหา ตรัสเรียกว่า เครื่องเหนี่ยวรั้ง คือ ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ... อภิชฌา อกุศลมูลคือโลภะ ตัณหาเครื่องเหนี่ยวรั้งนั้น ผู้ใดละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทำให้ สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว รวมความว่า บุคคลผู้ไม่มีตัณหาเครื่องเหนี่ยวรั้งในอนาคต อย่างนี้บ้าง อีกนัยหนึ่ง บุคคลไม่ดำเนินตามความเพลิดเพลินในรูปว่า “ในอนาคตกาล เราพึงมีรูปอย่างนี้ ... พึงมีเวทนาอย่างนี้ ... พึงมีสัญญาอย่างนี้ ... พึงมีสังขารอย่างนี้” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๒๕๘}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๐. ปุราเภทสุตตนิทเทส

ย่อมไม่ดำเนินตามความเพลิดเพลินในวิญญาณว่า “ในอนาคตกาล เราพึงมี วิญญาณอย่างนี้” จึงชื่อว่า ผู้ไม่มีตัณหาเครื่องเหนี่ยวรั้งในอนาคต อย่างนี้บ้าง อีกนัยหนึ่ง บุคคลไม่ตั้งจิตเพื่อให้ได้ตาและรูปที่ยังไม่ได้ว่า “ในอนาคตกาล เราพึงมีตาเช่นนี้ เห็นรูปเช่นนี้” เพราะมีการไม่ตั้งจิตเป็นปัจจัย เขาจึงไม่เพลิดเพลิน ตาและรูปนั้น เมื่อไม่เพลิดเพลินตาและรูปนั้น จึงชื่อว่าไม่มีตัณหาเครื่องเหนี่ยวรั้ง ในอนาคต อย่างนี้บ้าง ... “ในอนาคตกาล ขอเราพึงมีหูเช่นนี้ ได้ยินเสียงเช่นนี้” บุคคลไม่ตั้งจิตเพื่อให้ได้ใจและธรรมารมณ์ที่ยังไม่ได้ว่า “ในอนาคตกาล เราพึงมีใจ เช่นนี้ รู้ธรรมารมณ์เช่นนี้” เพราะไม่มีความตั้งจิตเป็นปัจจัย เขาจึงไม่เพลิดเพลินใจ และธรรมารมณ์นั้น เมื่อไม่เพลิดเพลินใจและธรรมารมณ์นั้น จึงชื่อว่า ไม่มีตัณหา เครื่องเหนี่ยวรั้งในอนาคต อย่างนี้บ้าง อีกนัยหนึ่ง บุคคลไม่ตั้งจิตเพื่อให้ได้ภพที่ยังไม่ได้ว่า เราจักเป็นเทพ หรือ เทวดาตนใดตนหนึ่งด้วยศีล วัตร ตบะ หรือพรหมจรรย์นี้ เพราะมีการไม่ตั้งจิตเป็น ปัจจัย เขาจึงไม่เพลิดเพลินภพนั้น เมื่อไม่เพลิดเพลินภพนั้น จึงชื่อว่า ไม่มีตัณหา เครื่องเหนี่ยวรั้งในอนาคต อย่างนี้บ้าง
ว่าด้วยผู้ไม่เศร้าโศก
คำว่า ไม่เศร้าโศกถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว อธิบายว่า ไม่เศร้าโศกถึงสิ่งที่แปรผัน ไป หรือเมื่อสิ่งนั้นแปรผันไปแล้วก็ไม่เศร้าโศก คือ ไม่เศร้าโศก ไม่ลำบาก ไม่คร่ำครวญ ไม่ตีอกพร่ำเพ้อ ไม่ถึงความหลงใหลว่า “ตาของเราแปรผันไป” ไม่เศร้าโศก ไม่ลำบาก ไม่คร่ำครวญ ไม่ตีอกพร่ำเพ้อ ไม่ถึงความหลงใหลว่า “หูของเรา ... จมูกของเรา .... ลิ้นของเรา ... กายของเรา ... รูปของเรา ... เสียงของเรา ... กลิ่นของเรา ... รสของเรา ... โผฏฐัพพะของเรา ... ตระกูลของเรา ... จีวรของเรา ... หมู่คณะของเรา ... อาวาสของเรา ... ลาภของเรา ... ยศของเรา ... สรรเสริญของเรา ... สุขของเรา ... บิณฑบาตของเรา ... เสนาสนะของเรา ... คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ของเรา ... มารดาของเรา ... บิดาของเรา ... พี่ชายน้องชายของเรา ... พี่สาวน้อง สาวของเรา ... บุตรของเรา ... ธิดาของเรา ... มิตรและอำมาตย์ของเรา ... ญาติของเรา ผู้ร่วมสายโลหิตของเราแปรผันไป” ดังนี้ รวมความว่า ไม่เศร้าโศกถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๒๕๙}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๐. ปุราเภทสุตตนิทเทส

ว่าด้วยผัสสะ
คำว่า ผู้เห็นวิเวกในผัสสะทั้งหลาย อธิบายว่า คำว่า ผัสสะ ได้แก่ จักขุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโนสัมผัส อธิวจนสัมผัส ปฏิฆสัมผัส สุขเวทนียสัมผัส ทุกขเวทนียสัมผัส อทุกขมสุขเวทนียสัมผัส ผัสสะที่เป็นกุศล ผัสสะที่เป็นอกุศล ผัสสะที่เป็นอัพยากฤต ผัสสะที่เป็นกามาวจร ผัสสะที่เป็นรูปาวจร ผัสสะที่เป็นอรูปาวจร สุญญตผัสสะ อนิมิตตผัสสะ อัปปณิหิตผัสสะ ผัสสะที่เป็นโลกิยะ ผัสสะที่เป็นโลกุตตระ ผัสสะ ที่เป็นอดีต ผัสสะที่เป็นอนาคต ผัสสะที่เป็นปัจจุบัน ผัสสะ ความถูกต้อง กิริยาที่ถูก ต้อง ภาวะที่ถูกต้องเห็นปานนี้ นี้ตรัสเรียกว่า ผัสสะ คำว่า ผู้เห็นวิเวกในผัสสะทั้งหลาย อธิบายว่า บุคคลเห็นจักขุสัมผัสว่า ว่างจากตน จากธรรมที่เนื่องในตน จากความเที่ยง จากความยั่งยืน จากความ สืบต่อ หรือจากธรรมที่ไม่แปรผัน เห็นโสตสัมผัส ... ฆานสัมผัส ... ชิวหาสัมผัส ... กายสัมผัส ... มโนสัมผัส ... อธิวจนสัมผัส ... ปฏิฆสัมผัส ... สุขเวทนียผัสสะ ... ทุกขเวทนียผัสสะ ... อทุกขมสุขเวทนียผัสสะ ... ผัสสะที่เป็นกุศล ... ผัสสะที่เป็นอกุศล ... ผัสสะที่เป็นอัพยากฤต ... ผัสสะที่เป็นกามาวจร ... ผัสสะที่เป็นรูปาวจร ... ผัสสะ ที่เป็นอรูปาวจร ... ผัสสะที่เป็นโลกิยะ ... เห็นผัสสะที่เป็นโลกุตตระว่า ว่างจากตน จากธรรมที่เนื่องในตน จากความเที่ยง จากความยั่งยืน จากความสืบต่อ หรือจาก ธรรมที่ไม่แปรผัน อีกนัยหนึ่ง บุคคลเห็นผัสสะที่เป็นอดีตว่า ว่างจากผัสสะที่เป็นอนาคตและ ผัสสะที่เป็นปัจจุบัน เห็นผัสสะที่เป็นอนาคตว่า ว่างจากผัสสะที่เป็นอดีตและผัสสะที่ เป็นปัจจุบัน เห็นผัสสะที่เป็นปัจจุบันว่า ว่างจากผัสสะที่เป็นอดีตและผัสสะที่เป็น อนาคต อีกนัยหนึ่ง บุคคลเห็นผัสสะที่เป็นอริยะ ไม่มีอาสวะ เป็นโลกุตตระ ปฏิสังยุต ด้วยสุญญตธรรมว่า ว่างจากราคะ โทสะ โมหะ โกธะ อุปนาหะ มักขะ ปฬาสะ อิสสา มัจฉริยะ มายา สาเถยยะ ถัมภะ สารัมภะ มานะ อติมานะ มทะ ปมาทะ กิเลสทุกชนิด ทุจริตทุกทาง ความกระวนกระวายทุกอย่าง ความเร่าร้อนทุกสถาน ความเดือดร้อนทุกประการ อกุสลาภิสังขารทุกประเภท ด้วยประการอย่างนี้ รวม ความว่า ผู้เห็นวิเวกในผัสสะทั้งหลาย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๒๖๐}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๐. ปุราเภทสุตตนิทเทส

คำว่า ย่อมไม่ถูกนำไปในทิฏฐิทั้งหลาย อธิบายว่า ทิฏฐิ ๖๒ บุคคลนั้น ละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว บุคคลนั้นย่อมไม่ไป ไม่ออก ไม่ถูกพาไป ไม่ถูกนำไปด้วย ทิฏฐิ บุคคลนั้นจึงไม่กลับถือ ไม่หวนกลับมาสู่ทิฏฐินั้นว่าเป็นสาระอีก รวมความว่า ย่อมไม่ถูกนำไปในทิฏฐิทั้งหลาย ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า บุคคลผู้ไม่มีตัณหาเครื่องเหนี่ยวรั้งในอนาคต ไม่เศร้าโศกถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว ผู้เห็นวิเวกในผัสสะทั้งหลาย ย่อมไม่ถูกนำไปในทิฏฐิทั้งหลาย [๘๗] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า) บุคคลเป็นผู้หลีกเร้น ไม่หลอกลวง ไม่ทะเยอทะยาน ไม่ตระหนี่ ไม่คะนอง ไม่เป็นที่น่ารังเกียจ และไม่ประกอบในความเป็นผู้มีวาจาส่อเสียด
ว่าด้วยผู้หลีกเร้น
คำว่า บุคคลเป็นผู้หลีกเร้น ในคำว่า บุคคลเป็นผู้หลีกเร้น ไม่หลอกลวง อธิบายว่า ชื่อว่าเป็นผู้หลีกเร้น เพราะละราคะได้แล้ว ... เพราะละโทสะได้แล้ว ... เพราะละโมหะได้แล้ว ... เพราะละโกธะ ... อุปนาหะ ... มักขะ ... ปฬาสะ ... อิสสา ... มัจฉริยะ ... ชื่อว่าเป็นผู้หลีกเร้น เพราะละอกุสลาภิสังขารทุกประเภทได้แล้ว สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้หลีกเร้น เป็นอย่างไร ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใน ธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ละอัสมิมานะได้เด็ดขาดแล้ว ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาล ที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้หลีกเร้น เป็นอย่างนี้”๑- รวมความว่า เป็นผู้หลีกเร้น @เชิงอรรถ : @ องฺ.จตุกฺก. ๒๑/๓๘/๔๖ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๒๖๑}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๐. ปุราเภทสุตตนิทเทส

ว่าด้วยความหลอกลวง ๓ อย่าง
คำว่า ไม่หลอกลวง ได้แก่ ความหลอกลวง ๓ อย่าง คือ ๑. ความหลอกลวงเกี่ยวกับการใช้สอยปัจจัย ๒. ความหลอกลวงเกี่ยวกับอิริยาบถ ๓. ความหลอกลวงเกี่ยวกับการพูดเลียบเคียง ความหลอกลวงเกี่ยวกับการใช้สอยปัจจัย เป็นอย่างไร คือ คหบดีในโลกนี้ ย่อมนิมนต์ภิกษุ ถวายจีวร บิณฑบาต เสนาสนะและ คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ภิกษุนั้น มีความปรารถนาเลวทราม ถูกความอยาก ครอบงำ มีความต้องการจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร เพราะต้องการได้ให้มากยิ่งขึ้น จึงบอกคืนจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัย เภสัชบริขาร เธอพูดอย่างนี้ว่า “จีวรที่มีค่ามากจะมีประโยชน์อะไรแก่สมณะ สมณะ ควรเที่ยวเลือกเก็บผ้าเก่าจากป่าช้า กองหยากเยื่อ หรือร้านตลาด เอามาทำ สังฆาฏิใช้ จึงจะเป็นการเหมาะสม บิณฑบาตที่มีค่ามากจะมีประโยชน์อะไรแก่สมณะ สมณะควรสำเร็จความเป็นอยู่ด้วยก้อนข้าวที่ได้มาด้วยปลีแข้ง โดยการเที่ยวแสวงหา จึงจะเป็นการเหมาะสม เสนาสนะที่มีค่ามากจะมีประโยชน์อะไรแก่สมณะ สมณะควร อยู่ที่โคนไม้ อยู่ที่ป่าช้า หรืออยู่กลางแจ้ง จึงจะเป็นการเหมาะสม คิลานปัจจัย- เภสัชบริขารที่มีค่ามากจะมีประโยชน์อะไรแก่สมณะ สมณะควรทำยาด้วยน้ำมูตรเน่า หรือชิ้นลูกสมอ จึงจะเป็นการเหมาะสม” เพราะต้องการได้ให้มากยิ่งขึ้นนั้น เธอจึงครองจีวรเศร้าหมอง ฉันบิณฑบาต เศร้าหมอง ใช้สอยเสนาสนะซอมซ่อ ใช้คิลานปัจจัยเภสัชบริขารตามมีตามได้ คหบดี ทั้งหลายรู้จักภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า “สมณะรูปนี้ มีความปรารถนาน้อย สันโดษ สงบสงัด ไม่คลุกคลีด้วยหมู่คณะ ปรารภความเพียร มีวาทะกำจัดขัดเกลา” ก็ยิ่ง นิมนต์เธอให้รับจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารมากยิ่งขึ้น เธอจึงพูดอย่างนี้ว่า “เพราะพรั่งพร้อมด้วยเหตุ ๓ ประการ กุลบุตรผู้มีศรัทธา ย่อมประสบบุญมาก คือ เพราะพรั่งพร้อมด้วยศรัทธา ... เพราะพรั่งพร้อมด้วย ไทยธรรม ... เพราะพรั่งพร้อมด้วยพระทักขิไณยบุคคล กุลบุตรผู้มีศรัทธาย่อม ประสบบุญมาก ท่านทั้งหลายมีศรัทธานี้อยู่ ไทยธรรมนี้ก็มีอยู่พร้อม ทั้งอาตมภาพ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๒๖๒}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๐. ปุราเภทสุตตนิทเทส

ก็เป็นปฏิคาหก ถ้าอาตมภาพไม่รับ พวกท่านก็จักเสื่อมจากบุญไปเสีย อาตมภาพ มิได้มีความต้องการด้วยปัจจัยนี้ แต่จักรับเพื่ออนุเคราะห์พวกท่าน” เพราะอาศัย เหตุนั้น เธอจึงรับจีวรมากมาย รับบิณฑบาตมากมาย รับเสนาสนะมากมาย รับคิลานปัจจัยเภสัชบริขารมากมาย การทำหน้านิ่ว การทำคิ้วขมวด การหลอกลวง กิริยาที่หลอกลวง ภาวะที่หลอกลวง เห็นปานนี้ นี้ชื่อว่าความหลอกลวงเกี่ยวกับ การใช้สอยปัจจัย ความหลอกลวงเกี่ยวกับอิริยาบถ เป็นอย่างไร คือ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ มีความปรารถนาเลวทราม ถูกความอยาก ครอบงำ ปรารถนาจะให้เขายกย่อง คิดว่า “คนจักยกย่องเราด้วยอุบายอย่างนี้” จึงสำรวมการเดิน สำรวมการยืน สำรวมการนั่ง สำรวมการนอน ตั้งสติเดิน ตั้งสติยืน ตั้งสตินั่ง ตั้งสตินอน ทำทีเหมือนภิกษุมีสมาธิเดิน เหมือนภิกษุมี สมาธิยืน เหมือนภิกษุมีสมาธินั่ง เหมือนภิกษุมีสมาธินอน เป็นเหมือนภิกษุ เจริญฌานอวดต่อหน้า การตั้งท่า การวางท่า การดำรงมั่นอิริยาบถ การทำหน้านิ่ว การทำคิ้วขมวด การหลอกลวง กิริยาที่หลอกลวง ภาวะที่หลอกลวง เห็นปานนี้ นี้เรียกว่า ความหลอกลวงเกี่ยวกับอิริยาบถ ความหลอกลวงเกี่ยวกับการพูดเลียบเคียง เป็นอย่างไร คือ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ มีความปรารถนาเลวทราม ถูกความอยาก ครอบงำ ปรารถนาจะให้เขายกย่อง คิดว่า “คนจักยกย่องเราด้วยอุบายอย่างนี้” จึงกล่าววาจาอิงอริยธรรม คือพูดว่า “ภิกษุผู้ทรงจีวร มีรูปแบบอย่างนี้ เป็นสมณะ มีศักดิ์ใหญ่ ผู้ใช้บาตร ... ใช้ภาชนะโลหะ ... ใช้ธมกรก๑- ... ใช้ผ้ากรองน้ำ ... ใช้ลูกกุญแจ ... ใช้รองเท้า ... ใช้ประคดเอว ... ใช้สายโยกบาตร มีรูปแบบอย่างนี้ เป็นสมณะ มีศักดิ์ใหญ่” พูดว่า “ภิกษุผู้มีอุปัชฌาย์ระดับนี้ เป็นสมณะมีศักดิ์ใหญ่ มีอาจารย์ ระดับนี้ ... มีผู้ร่วมอุปัชฌาย์ระดับนี้ ... มีผู้ร่วมอาจารย์ระดับนี้ ... มีมิตร ... มีพรรคพวก ... มีคนที่คบหากัน ... มีสหายระดับนี้ เป็นสมณะมีศักดิ์ใหญ่” พูดว่า @เชิงอรรถ : @ ธมกรก คือ กระบอกกรองน้ำของพระสงฆ์ เป็นเครื่องใช้สอยอย่าง ๑ ในอัฐบริขาร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๒๖๓}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๐. ปุราเภทสุตตนิทเทส

“ภิกษุผู้อยู่ในวิหารมีรูปแบบอย่างนี้ เป็นสมณะมีศักดิ์ใหญ่ ... อยู่ในเรือนมีหลังคา ด้านเดียวมีรูปแบบอย่างนี้ ... อยู่ในปราสาท ... อยู่ในเรือนโล้น ... อยู่ในถ้ำ ... อยู่ในที่หลีกเร้น ... อยู่ในกุฎี ... อยู่ในเรือนยอด ... อยู่ที่ป้อม ... อยู่ในโรงกลม ... อยู่ในเรือนพัก ... อยู่ในเรือนรับรอง ... อยู่ในมณฑป ... อยู่ที่โคนไม้ มีรูปแบบ อย่างนี้ เป็นสมณะมีศักดิ์ใหญ่” อีกนัยหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้วางหน้าเฉยเมย ทำหน้านิ่วคิ้วขมวด โกหกหลอกลวง ปลิ้นปล้อน ตลบตะแลง เป็นผู้ได้รับยกย่องด้วยการวางหน้าว่า “สมณะนี้ได้วิหาร- สมาบัติ อันมีอยู่เห็นปานนี้” ภิกษุนั้น ย่อมกล่าวถ้อยคำเช่นนั้น อันเกี่ยวเนื่อง ด้วยโลกุตตรธรรมและสุญญตนิพพาน อันลึกซึ้ง เร้นลับ ละเอียดอ่อน ปิดบัง การทำหน้านิ่ว การทำคิ้วขมวด การหลอกลวง กิริยาที่หลอกลวง ภาวะที่หลอกลวง เห็นปานนี้ นี้เรียกว่า ความหลอกลวงเกี่ยวกับการพูดเลียบเคียง ความหลอกลวง ๓ อย่าง ผู้ใดละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว ผู้นั้น ตรัสเรียกว่า ผู้ไม่ หลอกลวง รวมความว่า เป็นผู้หลีกเร้น ไม่หลอกลวง คำว่า ไม่ทะเยอทะยาน ไม่ตระหนี่ อธิบายว่า ตัณหาตรัสเรียกว่า ความ ทะเยอทะยาน คือ ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ... อภิชฌา อกุศลมูลคือโลภะ ตัณหาคือความทะเยอทะยานนั้น ผู้ใดละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบ ได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว ผู้นั้นตรัสเรียกว่า ผู้ไม่ทะเยอทะยาน ผู้นั้นไม่มุ่งหมาย ไม่ต้องการได้ ไม่ยินดี ไม่ปรารถนา ไม่มุ่งหวัง รูป ... เสียง ... กลิ่น ... รส ... โผฏฐัพพะ ... ตระกูล ... หมู่คณะ ... อาวาส ... ลาภ ... ยศ ... สรรเสริญ ... สุข ... จีวร ... บิณฑบาต ... เสนาสนะ ... คิลานปัจจัยเภสัช- บริขาร ... กามธาตุ ... รูปธาตุ ... อรูปธาตุ ... กามภพ ... รูปภพ ... อรูปภพ ... สัญญาภพ ... อสัญญาภพ ... เนวสัญญานาสัญญาภพ ... เอกโวการภพ ... จตุโวการภพ ... ปัญจโวการภพ... อดีต ... อนาคต ... ปัจจุบัน ... ไม่มุ่งหมาย ไม่ต้องการได้ ไม่ยินดี ไม่ปรารถนา ไม่มุ่งหวังรูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่รับรู้ และธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้ง รวมความว่า ผู้ไม่ทะเยอทะยาน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๒๖๔}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๐. ปุราเภทสุตตนิทเทส

ว่าด้วยความตระหนี่ ๕ อย่าง
คำว่า ไม่ตระหนี่ ได้แก่ มัจฉริยะ ๕ อย่าง คือ ๑. อาวาสมัจฉริยะ ๒. กุลมัจฉริยะ ๓. ลาภมัจฉริยะ ๔. วัณณมัจฉริยะ ๕. ธัมมมัจฉริยะ ความตระหนี่ กิริยาที่ตระหนี่ ภาวะที่ตระหนี่ ความเห็นแก่ได้ ความถี่เหนี่ยว ความที่จิตเจ็บร้อน(ในการให้) ความที่จิตหวงแหนเห็นปานนี้ นี้ตรัสเรียกว่า ความ ตระหนี่ อีกนัยหนึ่ง ความตระหนี่ขันธ์ก็ดี ความตระหนี่ธาตุก็ดี ความตระหนี่อายตนะ ก็ดี ความมุ่งแต่จะได้ก็ดี นี้ตรัสเรียกว่า ความตระหนี่ ความตระหนี่นี้บุคคลใดละ ได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วย ไฟคือญาณแล้ว บุคคลนั้น ตรัสเรียกว่า ผู้ไม่ตระหนี่ รวมความว่า ไม่ทะเยอทะยาน ไม่ตระหนี่
ว่าด้วยความคะนอง ๓ อย่าง
คำว่า ไม่คะนอง ไม่เป็นที่น่ารังเกียจ อธิบายว่า คำว่า ความคะนอง ได้แก่ ความคะนอง ๓ อย่าง คือ ๑. ความคะนองทางกาย ๒. ความคะนองทางวาจา ๓. ความคะนองทางใจ ความคะนองทางกาย เป็นอย่างไร คือ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ อยู่ในหมู่สงฆ์ก็แสดงความคะนองทางกาย อยู่ในหมู่คณะ ... อยู่ในศาลาโรงฉัน ... อยู่ในเรือนไฟ ... อยู่ที่ท่าน้ำ ... กำลังเข้าสู่ ละแวกบ้าน ... เข้าสู่ละแวกบ้านแล้ว ก็แสดงความคะนองทางกาย ภิกษุอยู่ในหมู่สงฆ์แสดงความคะนองทางกาย เป็นอย่างไร คือ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ อยู่ในหมู่สงฆ์ก็ไม่ทำความยำเกรง ยืนเบียด เสียดภิกษุเถระบ้าง นั่งเบียดเสียดบ้าง ยืนบังหน้าบ้าง นั่งบังหน้าบ้าง นั่งบนอาสนะ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๒๖๕}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๐. ปุราเภทสุตตนิทเทส

สูงบ้าง นั่งคลุมศีรษะบ้าง ยืนพูดบ้าง แกว่งแขนพูดบ้าง ภิกษุอยู่ในหมู่สงฆ์แสดง ความคะนองทางกาย เป็นอย่างนี้ ภิกษุอยู่ในหมู่คณะแสดงความคะนองทางกาย เป็นอย่างไร คือ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ อยู่ในหมู่คณะก็ไม่ทำความยำเกรง เมื่อภิกษุ เถระไม่สวมรองเท้าเดินจงกรมอยู่ ก็สวมรองเท้าเดินจงกรม เมื่อภิกษุเถระเดิน จงกรมบนลานจงกรมต่ำ ก็เดินจงกรมบนลานจงกรมสูง เมื่อภิกษุเถระเดินจงกรมบน พื้นดิน ก็เดินจงกรมบนลานจงกรม ยืนเบียดเสียดบ้าง นั่งเบียดเสียดบ้าง ยืนบัง หน้าบ้าง นั่งบังหน้าบ้าง นั่งบนอาสนะสูงบ้าง นั่งคลุมศีรษะบ้าง ยืนพูดบ้าง แกว่งแขน พูดบ้าง ภิกษุอยู่ในหมู่คณะแสดงความคะนองทางกาย เป็นอย่างนี้ ภิกษุอยู่ในศาลาโรงฉันแสดงความคะนองทางกาย เป็นอย่างไร คือ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ อยู่ในศาลาโรงฉัน ก็ไม่ทำความยำเกรง นั่งแทรกภิกษุเถระบ้าง นั่งกีดกันอาสนะภิกษุนวกะบ้าง ยืนเบียดเสียดบ้าง นั่งเบียด เสียดบ้าง ยืนบังหน้าบ้าง นั่งบังหน้าบ้าง นั่งบนอาสนะสูงบ้าง นั่งคลุมศีรษะบ้าง ยืนพูดบ้าง แกว่งแขนพูดบ้าง ภิกษุอยู่ในศาลาโรงฉันแสดงความคะนองทางกาย เป็นอย่างนี้ ภิกษุอยู่ในเรือนไฟแสดงความคะนองทางกาย เป็นอย่างไร คือ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ อยู่ในเรือนไฟไม่ทำความยำเกรง ยืนเบียด เสียดภิกษุเถระบ้าง นั่งเบียดเสียดบ้าง ยืนบังหน้าบ้าง นั่งบังหน้าบ้าง นั่งบนอาสนะ สูงบ้าง ไม่บอกก่อนแล้วใส่ฟืนบ้าง ไม่บอกก่อนแล้วปิดประตูบ้าง แกว่งแขนพูดบ้าง ภิกษุอยู่ในเรือนไฟแสดงความคะนองทางกาย เป็นอย่างนี้ ภิกษุอยู่ที่ท่าน้ำแสดงความคะนองทางกาย เป็นอย่างไร คือ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ อยู่ที่ท่าน้ำไม่ทำความยำเกรง ลงเบียดเสียด ภิกษุเถระบ้าง ลงข้างหน้าบ้าง อาบเบียดเสียดบ้าง อาบข้างหน้าบ้าง อาบเหนือ น้ำบ้าง ขึ้นเบียดเสียดบ้าง ขึ้นข้างหน้าบ้าง ขึ้นเหนือน้ำบ้าง ภิกษุอยู่ที่ท่าน้ำแสดง ความคะนองทางกาย เป็นอย่างนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๒๖๖}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๐. ปุราเภทสุตตนิทเทส

ภิกษุกำลังเข้าสู่ละแวกบ้านแสดงความคะนองทางกาย เป็นอย่างไร คือ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ กำลังเข้าสู่ละแวกบ้าน ไม่ทำความยำเกรง เดินเบียดเสียดภิกษุเถระบ้าง เดินข้างหน้าบ้าง เดินแซงขึ้นหน้าภิกษุเถระบ้าง ภิกษุ กำลังเข้าสู่ละแวกบ้านแสดงความคะนองทางกาย เป็นอย่างนี้ ภิกษุเข้าสู่ละแวกบ้านแล้วแสดงความคะนองทางกาย เป็นอย่างไร คือ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เข้าสู่ละแวกบ้านแล้ว เมื่อเขาบอกว่า “ขออย่าเข้าไปครับท่าน” ก็ยังเข้าไป เมื่อเขาบอกว่า “อย่ายืนครับท่าน” ก็ยังยืนขึ้น เมื่อเขาบอกว่า “ขออย่านั่งครับท่าน” ก็ยังนั่งลง เข้าไปสู่ที่เป็นโอกาสไม่สมควรบ้าง ยืนในที่เป็นโอกาสไม่สมควรบ้าง นั่งในที่เป็นโอกาสไม่สมควรบ้าง ผลุนผลันเข้าไป ในห้องเล็กที่ซ่อนเร้นปกปิดของตระกูลบ้าง ในห้องที่กุลสตรี กุลธิดา สะใภ้ของ ตระกูล กุมารีของตระกูลนั่งอยู่บ้าง ลูบศีรษะเด็กเล่นบ้าง ภิกษุเข้าสู่ละแวกบ้านแล้ว แสดงความคะนองทางกาย เป็นอย่างนี้ นี้ชื่อว่าความคะนองทางกาย ความคะนองทางวาจา เป็นอย่างไร คือ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ อยู่ในหมู่สงฆ์แสดงความคะนองทางวาจาบ้าง อยู่ในหมู่คณะแสดงความคะนองทางวาจาบ้าง เข้าสู่ละแวกบ้านแล้วแสดงความ คะนองทางวาจาบ้าง ภิกษุอยู่ในหมู่สงฆ์แสดงความคะนองทางวาจา เป็นอย่างไร คือ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ อยู่ในหมู่สงฆ์ไม่ทำความยำเกรง ไม่เรียนแจ้ง ภิกษุเถระหรือไม่ได้รับอาราธนา ก็แสดงธรรม วิสัชนาปัญหา สวดปาติโมกข์แก่ ภิกษุที่อยู่ในอาราม ยืนพูดบ้าง แกว่งแขนพูดบ้าง ภิกษุอยู่ในหมู่สงฆ์แสดงความ คะนองทางวาจา เป็นอย่างนี้ ภิกษุอยู่ในหมู่คณะแสดงความคะนองทางวาจา เป็นอย่างไร คือ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ อยู่ในหมู่คณะไม่ทำความยำเกรง ไม่เรียนแจ้ง ภิกษุเถระหรือไม่ได้รับอาราธนา ก็แสดงธรรม วิสัชนาปัญหาแก่ภิกษุทั้งหลายที่อยู่ ในอาราม ยืนพูดบ้าง แกว่งแขนพูดบ้าง แสดงธรรม วิสัชนาปัญหา แก่ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาที่อยู่ในอาราม ยืนพูดบ้าง แกว่งแขนพูดบ้าง ภิกษุอยู่ในหมู่คณะ แสดงความคะนองทางวาจา เป็นอย่างนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๒๖๗}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๐. ปุราเภทสุตตนิทเทส

ภิกษุเข้าสู่ละแวกบ้านแล้ว แสดงความคะนองทางวาจา เป็นอย่างไร คือ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เข้าสู่ละแวกบ้านแล้ว พูดกับสตรีหรือเด็กหญิง อย่างนี้ว่า “แม่หนูชื่อนี้ นามสกุลนี้ มีอะไรบ้างล่ะ ข้าวต้มมีไหม ข้าวสวยมีไหม ของขบเคี้ยวมีบ้างไหม พวกอาตมาจักดื่มอะไร จักฉันอะไร จักเคี้ยวอะไร มีอะไร บ้าง หรือพวกเธอจักถวายอะไรแก่อาตมาบ้างล่ะ” พูดพร่ำเพ้อไป การพูดพล่าม การพูดเพ้อ การพูดเพ้อเจ้อ การพูดพร่ำเพ้อ กิริยาที่พูดพร่ำเพ้อ ภาวะที่พูดพร่ำเพ้อ เห็นปานนี้ ภิกษุเข้าสู่ละแวกบ้านแล้ว แสดงความคะนองทางวาจา เป็นอย่างนี้ นี้ชื่อว่าความคะนองทางวาจา ความคะนองทางใจ เป็นอย่างไร คือ ภิกษบางรูปในธรรมวินัยนี้ มิใช่ออกบวชจากตระกูลสูง ก็มีจิตวางตัวเช่น เดียวกับภิกษุผู้ออกบวชจากตระกูลสูง มิใช่ออกบวชจากตระกูลใหญ่ ก็มีจิตวางตัว เช่นเดียวกับภิกษุผู้ออกบวชจากตระกูลใหญ่ มิใช่ออกบวชจากตระกูลที่มีโภคสมบัติ มาก ... มิใช่ออกบวชจากตระกูลที่มีโภคสมบัติยิ่งใหญ่ ... มิใช่เป็นผู้ทรงจำพระสูตร ... มิใช่เป็นผู้ทรงจำพระวินัย ... มิใช่เป็นพระธรรมกถึก ... มิใช่เป็นผู้อยู่ป่าเป็นวัตร ... มิใช่เป็นผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ... มิใช่เป็นผู้นุ่งห่มผ้าบังสุกุลเป็นวัตร ... มิใช่เป็น ผู้ทรงไตรจีวรเป็นวัตร ... มิใช่เป็นผู้เที่ยวบิณฑบาตตามลำดับตรอกเป็นวัตร ... มิใช่ เป็นผู้งดอาหารมื้อหลังเป็นวัตร ... มิใช่เป็นผู้ถือการนั่งเป็นวัตร ... มิใช่เป็นผู้ถือการ อยู่ในเสนาสนะตามที่เขาจัดให้เป็นวัตร ... มิใช่เป็นผู้ได้ปฐมฌานก็มีจิตวางตัวเช่น เดียวกับภิกษุผู้ได้ปฐมฌาน ... มิใช่เป็นผู้ได้เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ก็มีจิตวางตัวเช่นเดียวกับภิกษุผู้ได้เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ นี้ชื่อว่าความ คะนองทางใจ ความคะนอง ๓ อย่างนี้ ผู้ใดละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว ผู้นั้น ตรัสเรียกว่า ผู้ไม่คะนอง รวมความว่า ผู้ไม่คะนอง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๒๖๘}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๐. ปุราเภทสุตตนิทเทส

ว่าด้วยผู้น่ารังเกียจและไม่น่ารังเกียจ
คำว่า ไม่เป็นที่น่ารังเกียจ ได้แก่ บุคคลผู้น่ารังเกียจก็มี บุคคลผู้ไม่น่า รังเกียจก็มี บุคคลผู้น่ารังเกียจ เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ทุศีล ถือความชั่วเป็นเรื่องธรรมดา มีความ ประพฤติไม่สะอาดที่นึกถึงได้ด้วยความน่ารังเกียจ มีการงานที่ปกปิด มิได้เป็นสมณะ ก็ปฏิญญาว่าเป็นสมณะ มิได้ประพฤติพรหมจรรย์ก็ปฏิญญาว่าประพฤติพรหมจรรย์ เป็นคนเน่าภายใน มีใจชุ่มโชกด้วยความกำหนัด เป็นดุจขยะ นี้ตรัสเรียกว่า บุคคล ผู้น่ารังเกียจ อีกนัยหนึ่ง เขาเป็นคนมักโกรธ มากไปด้วยความแค้นเคือง ถูกใครว่าหน่อยก็ ขัดใจ โกรธเคือง พยาบาท มุ่งร้าย ทำความโกรธ ความแค้นเคือง และความ ไม่ยินดีให้ปรากฏเสมอ นี้ตรัสเรียกว่า บุคคลผู้น่ารังเกียจ อีกนัยหนึ่ง เขาเป็นคนมักโกรธ ผูกโกรธ ลบหลู่ ตีเสมอ ริษยา ตระหนี่ โอ้อวด หลอกลวง กระด้าง ถือตัว มีความอยากที่เลวทราม มีความเห็นผิด ถือความคิดเห็นของตนเองเป็นใหญ่ ถือรั้น เปลี่ยนความคิดเห็นยาก นี้ตรัสเรียกว่า บุคคลผู้น่ารังเกียจ บุคคลผู้ไม่น่ารังเกียจ เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยการสังวรในปาติโมกข์ สมบูรณ์ ด้วยอาจาระและโคจร มองเห็นภัยในโทษแม้เพียงเล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ใน สิกขาบททั้งหลาย นี้ตรัสเรียกว่า บุคคลผู้ไม่น่ารังเกียจ อีกนัยหนึ่ง เธอเป็นคนไม่มักโกรธ ไม่มากไปด้วยความแค้นเคือง แม้ถูกใครว่า กล่าวมากมาย ก็ไม่ขัดใจ ไม่โกรธเคือง ไม่พยาบาท ไม่มุ่งร้าย ไม่ทำความโกรธ ความแค้นเคือง และความไม่ยินดีให้ปรากฏ นี้ตรัสเรียกว่า บุคคลผู้ไม่น่ารังเกียจ อีกนัยหนึ่ง เธอเป็นคนไม่มักโกรธ ไม่ผูกโกรธ ไม่ลบหลู่ ไม่ตีเสมอ ไม่ริษยา ไม่ตระหนี่ ไม่โอ้อวด ไม่หลอกลวง ไม่แข็งกระด้าง ไม่ถือตัว ไม่มีความอยากที่เลว {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๒๖๙}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๐. ปุราเภทสุตตนิทเทส

ทราม ไม่มีความเห็นผิด ไม่ถือความคิดเห็นของตนเองเป็นใหญ่ ไม่ถือรั้น เปลี่ยน ความคิดเห็นง่าย นี้ตรัสเรียกว่า บุคคลผู้ไม่น่ารังเกียจ พระอริยบุคคลทุกประเภท รวมทั้งกัลยาณปุถุชน เป็นบุคคลผู้ไม่น่ารังเกียจ รวมความว่า ผู้ไม่คะนอง ไม่เป็นที่ น่ารังเกียจ
ว่าด้วยผู้มีวาจาส่อเสียด
คำว่า และไม่ประกอบในความเป็นผู้มีวาจาส่อเสียด อธิบายว่า คำว่า ความเป็นผู้มีวาจาส่อเสียด อธิบายว่า คนบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มี วาจาส่อเสียด ฟังจากข้างนี้แล้วไปบอกคนข้างโน้นเพื่อทำลายคนหมู่นี้ หรือฟังจาก ข้างโน้นแล้วไปบอกคนข้างนี้เพื่อทำลายคนหมู่โน้น ด้วยวิธีนี้ ก็ทำคนที่สามัคคีให้ แตกแยก หรือสนับสนุนผู้ที่แตกแยกกันแล้ว ชอบการแบ่งพวกแบ่งเหล่า ยินดีการ แบ่งพวกแบ่งเหล่า สนุกกับการแบ่งพวกแบ่งเหล่า พูดแต่เรื่องก่อให้เกิดการแบ่ง พวกแบ่งเหล่า นี้ตรัสเรียกว่า ความเป็นผู้มีวาจาส่อเสียด อีกนัยหนึ่ง บุคคลย่อมนำวาจาส่อเสียดเข้าไปด้วยเหตุ ๒ อย่าง คือ ๑. ด้วยประสงค์ให้ตนเป็นที่รัก ๒. ด้วยประสงค์ให้เขาแตกกัน บุคคลย่อมนำวาจาส่อเสียดเข้าไปด้วยประสงค์ให้ตนเป็นที่รัก เป็นอย่างไร คือ บุคคลย่อมนำวาจาส่อเสียดเข้าไปด้วยความประสงค์ให้ตนเป็นที่รักด้วย คิดว่า “เราจักเป็นที่รัก เป็นที่พอใจ เป็นที่คุ้นเคย เป็นที่สนิทสนม เป็นที่ดีใจ ของผู้นี้” บุคคลย่อมนำวาจาส่อเสียดเข้าไปด้วยประสงค์ให้ตนเป็นที่รัก เป็นอย่างนี้ บุคคลย่อมนำวาจาส่อเสียดเข้าไปด้วยประสงค์จะทำให้เขาแตกกัน เป็นอย่างไร คือ บุคคลย่อมนำวาจาส่อเสียดเข้าไปด้วยคิดว่า “ทำอย่างไร ชนเหล่านี้พึงเป็น คนแปลกแยก แตกต่าง เป็นพรรคเป็นเหล่า เป็น ๒ พวก เป็น ๒ ฝัก ๒ ฝ่าย แตกแยก ไม่ปรองดองกัน อยู่ลำบาก ไม่สบาย” บุคคลย่อมนำวาจาส่อเสียดเข้าไป ด้วยประสงค์จะให้เขาแตกกัน เป็นอย่างนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๒๗๐}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๐. ปุราเภทสุตตนิทเทส

วาจาส่อเสียดนี้ ผู้ใดละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับ ได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว ผู้นั้น ชื่อว่าไม่ประกอบ คือ ไม่เกี่ยวข้อง ไม่ขวนขวาย ไม่พัวพันในความเป็นผู้มีวาจาส่อเสียด รวมความว่า และ ไม่ประกอบในความเป็นผู้มีวาจาส่อเสียด ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า บุคคลเป็นผู้หลีกเร้น ไม่หลอกลวง ไม่ทะเยอทะยาน ไม่ตระหนี่ ไม่คะนอง ไม่เป็นที่น่ารังเกียจ และไม่ประกอบในความเป็นผู้มีวาจาส่อเสียด [๘๘] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า) บุคคลผู้ไม่ยินดีในสิ่งน่ายินดี ไม่ประกอบในความดูหมิ่น ละเอียดอ่อน มีปฏิภาณ ไม่ต้องเชื่อใคร และไม่ต้องคลายกำหนัด
ว่าด้วยกามคุณ ๕
คำว่า ไม่ยินดีในสิ่งน่ายินดี อธิบายว่า กามคุณ ๕ ตรัสเรียกว่า สิ่งน่ายินดี เพราะเหตุไร กามคุณ ๕ จึงตรัสเรียกว่า สิ่งน่ายินดี เพราะโดยส่วนมาก เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ย่อมต้องการ ยินดี ปรารถนา มุ่งหมาย มุ่งหวัง กามคุณ ๕ เพราะเหตุนั้น กามคุณ ๕ จึงตรัสเรียกว่า สิ่งน่ายินดี สิ่งที่น่ายินดีคือตัณหานี้ชนเหล่าใดยังละไม่ได้ รูปตัณหาก็ย่อมไหล หลั่งไหล ซ่านไป เป็นไปทางตาของชนเหล่านั้น สัททตัณหาย่อมไหล... ทางหู ... คันธตัณหา ย่อมไหล... ทางจมูก ... รสตัณหาย่อมไหล ... ทางลิ้น ... โผฏฐัพพตัณหาย่อมไหล ... ทางกาย ... ธัมมตัณหาก็ย่อมไหล หลั่งไหล ซ่านไป เป็นไป ทางมโนวิญญาณของ ชนเหล่านั้น สิ่งน่ายินดีคือตัณหานี้ชนเหล่าใดละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบ ได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว รูปตัณหา ย่อมไม่ไหล ไม่หลั่งไหล ไม่ซ่านไป ไม่เป็นไปทางตาของชนเหล่านั้น สัททตัณหา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๒๗๑}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๐. ปุราเภทสุตตนิทเทส

ย่อมไม่ไหล... ทางหู ... คันธตัณหาย่อมไม่ไหล... ทางจมูก ... รสตัณหาย่อมไม่ไหล ... ทางลิ้น ... โผฏฐัพพตัณหาย่อมไม่ไหล... ทางกาย ... ธัมมตัณหาย่อมไม่ไหล ไม่หลั่งไหล ไม่ซ่านไป ไม่เป็นไป ทางมโนวิญญาณของชนเหล่านั้น รวมความว่า ไม่ยินดีในสิ่งน่ายินดี
ว่าด้วยความดูหมิ่น
คำว่า ไม่ประกอบในความดูหมิ่น อธิบายว่า ความดูหมิ่น เป็นอย่างไร คือ คนบางคนในโลกนี้ ดูหมิ่นผู้อื่นเพราะชาติบ้าง เพราะโคตรบ้าง ... เพราะ เรื่องอื่นนอกจากที่กล่าวแล้วบ้าง ความถือตัว กิริยาที่ถือตัว ภาวะที่ถือตัว ความ ลำพองตน ความทะนงตน ความเชิดชูตนเป็นดุจธง ความเห่อเหิม ความที่ต้องการ เชิดชูตนเป็นดุจธงเห็นปานนี้ นี้ตรัสเรียกว่า ความดูหมิ่น ความดูหมิ่นนั้น ผู้ใด ละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว ผู้นั้นชื่อว่า ไม่ประกอบ คือ ไม่เกี่ยวข้อง ไม่ขวนขวาย ไม่พัวพันในความดูหมิ่น รวมความว่า ไม่ประกอบในความดูหมิ่น คำว่า ละเอียดอ่อน มีปฏิภาณ อธิบายว่า ชื่อว่าละเอียดอ่อน เพราะ ประกอบด้วยกายกรรมอันละเอียดอ่อน ... วจีกรรมอันละเอียดอ่อน ... มโนกรรม อันละเอียดอ่อน ... สติปัฏฐานอันละเอียดอ่อน ... สัมมัปปธานอันละเอียดอ่อน ... อิทธิบาทอันละเอียดอ่อน ... อินทรีย์อันละเอียดอ่อน ... พละอันละเอียดอ่อน ... โพชฌงค์อันละเอียดอ่อน ชื่อว่าละเอียดอ่อน เพราะประกอบด้วยอริยมรรคมีองค์ ๘ อันละเอียดอ่อน
ว่าด้วยผู้มีปฏิภาณ ๓ จำพวก
คำว่า มีปฏิภาณ อธิบายว่า บุคคลผู้มีปฏิภาณ ๓ จำพวก คือ ๑. บุคคลผู้มีปฏิภาณเพราะปริยัติ ๒. บุคคลผู้มีปฏิภาณเพราะปริปุจฉา ๓. บุคคลผู้มีปฏิภาณเพราะอธิคม {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๒๗๒}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๐. ปุราเภทสุตตนิทเทส

บุคคลผู้มีปฏิภาณเพราะปริยัติ เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในศาสนานี้ ได้เล่าเรียนพระพุทธพจน์ คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธรรม เวทัลละ ญาณ(ความรู้) ของบุคคลนั้นย่อมแจ่มแจ้ง เพราะอาศัยการเล่าเรียน บุคคลนี้ชื่อว่าผู้มีปฏิภาณ เพราะปริยัติ บุคคลผู้มีปฏิภาณเพราะปริปุจฉา เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในศาสนานี้ เป็นผู้ไต่สวนในประโยชน์ของตน ในความหมาย ที่ควรรู้ ในลักษณะ ในเหตุ ในฐานะและอฐานะ ญาณของเขาย่อมแจ่มแจ้งเพราะ การไต่สวนนั้น บุคคลนี้ชื่อว่าผู้มีปฏิภาณเพราะปริปุจฉา บุคคลผู้มีปฏิภาณเพราะอธิคม เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในศาสนานี้ ได้บรรลุสติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ อริยมรรค ๔ สามัญญผล ๔ ปฏิสัมภิทา ๔ อภิญญา ๖ บุคคลนั้นรู้เหตุ รู้ผล รู้นิรุตติ เมื่อรู้เหตุ เหตุก็แจ่มแจ้ง เมื่อรู้ผล ผลก็แจ่มแจ้ง เมื่อรู้นิรุตติ๑- นิรุตติก็แจ่มแจ้ง ญาณในเหตุ ผล และนิรุตติ ทั้ง ๓ เหล่านี้ ชื่อว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ผู้ประกอบ ประกอบพร้อม ดำเนินไป ดำเนินไป พร้อม เป็นไป เป็นไปพร้อม เพียบพร้อมด้วยปฏิภาณปฏิสัมภิทานี้ บุคคลนั้นตรัสเรียกว่าผู้มีปฏิภาณ ผู้ใดไม่มีปริยัติ ไม่มีปริปุจฉา ไม่มีอธิคม ญาณอะไรเล่าจักแจ่มแจ้งแก่เขาได้ รวมความว่า ละเอียดอ่อน มีปฏิภาณ @เชิงอรรถ : @ รู้นิรุตติ คือรู้ภาษาแจ่มแจ้ง บางทีท่านเรียกว่า นิรุตติปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในนิรุตติ ปรีชาแจ้งใน @ภาษา รู้ศัพท์ ถ้อยคำบัญญัติ และภาษาต่างๆ เข้าใจใช้คำพูดชี้แจงให้ผู้อื่นเข้าใจและเห็นตามได้ @(องฺ.จตุกฺก. ๒๑/๑๗๒/๑๘๓-๑๘๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๒๗๓}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๐. ปุราเภทสุตตนิทเทส

ว่าด้วยรู้ธรรมแล้วไม่ต้องเชื่อใครอีก
คำว่า ไม่ต้องเชื่อใคร ในคำว่า ไม่ต้องเชื่อใคร ไม่ต้องคลายกำหนัด อธิบายว่า ธรรมที่ตนรู้ยิ่ง เห็นจริงด้วยตนเองแล้ว บุคคลไม่ต้องเชื่อใครๆ อื่น ไม่ว่า จะเป็นสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร หรือพรหมก็ตาม คือ ธรรมที่ตนรู้ยิ่ง เห็นจริง ด้วยตนเองแล้วว่า “สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง” บุคคลนั้นไม่ต้องเชื่อใครๆ อื่น ไม่ว่าจะ เป็นสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร หรือพรหมก็ตาม คือธรรมที่ตนรู้ยิ่ง เห็น จริงด้วยตนเองแล้วว่า “สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ... ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ... เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยสังขารจึงมี ... เพราะชาติเป็นปัจจัยชรามรณะจึงมี ... เพราะ อวิชชาดับ สังขารจึงดับ ... เพราะชาติดับ ชรามรณะจึงดับ ... นี้ทุกข์ ... นี้ทุกขนิโรธ- คามินีปฏิปทา ... เหล่านี้อาสวะ ... นี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา ... ธรรมเหล่านี้ควรรู้ แจ้ง ... ธรรมเหล่านี้ควรทำให้แจ้ง ... เหตุเกิด เหตุดับ คุณ โทษและการสลัดออก แห่งผัสสายตนะ ๖ ... เหตุเกิด เหตุดับ คุณ โทษ และการสลัดออกแห่งอุปาทาน- ขันธ์ ๕ ... เหตุเกิด เหตุดับ คุณ โทษ และการสลัดออกแห่งมหาภูตรูป ๔ ... สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา” บุคคลนั้นไม่ต้องเชื่อใครๆ อื่น ไม่ว่าจะเป็นสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร หรือ พรหมก็ตาม สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “สารีบุตร เธอเชื่อไหมว่า สัทธินทรีย์ ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตธรรม มีอมตธรรมเป็นที่ไปใน เบื้องหน้า มีอมตธรรมเป็นที่สุด ... วิริยินทรีย์ ... สตินทรีย์ ... สมาธินทรีย์ ... ปัญญินทรีย์ ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตธรรม มีอมตธรรม เป็นที่ไปในเบื้องหน้า มีอมตธรรมเป็นที่สุด” ท่านพระสารีบุตรกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในข้อนี้ข้าพระองค์ไม่ จำต้องดำเนินไปด้วยความเชื่อต่อพระผู้มีพระภาคเลยว่า สัทธินทรีย์ ... วิริยินทรีย์ ... สตินทรีย์ ... สมาธินทรีย์ ... ปัญญินทรีย์ ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อม หยั่งลงสู่อมตธรรม มีอมตธรรมเป็นที่ไปในเบื้องหน้า มีอมตธรรมเป็นที่สุด ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ ข้อนี้ ชนเหล่าใด ไม่รู้ ไม่เห็น ไม่เข้าใจ มิได้ทำให้แจ้ง มิได้สัมผัส ด้วยปัญญาแล้ว ชนเหล่านั้น พึงต้องถึงความเชื่อต่อผู้อื่นในข้อนั้นว่า สัทธินทรีย์ ... {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๒๗๔}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๐. ปุราเภทสุตตนิทเทส

ปัญญินทรีย์ ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตธรรม มีอมตธรรม เป็นที่ไปในเบื้องหน้า มีอมตธรรมเป็นที่สุด ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้อนี้ ชนเหล่าใด รู้ เห็น เข้าใจ ทำให้แจ้ง สัมผัสด้วยปัญญาแล้ว ชนเหล่านั้น ย่อมไม่มีความ สงสัย ไม่มีความแคลงใจในข้อนั้นเลยว่า สัทธินทรีย์ ... วิริยินทรีย์ ... สตินทรีย์ ... สมาธินทรีย์ ... ปัญญินทรีย์ ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่ อมตธรรม มีอมตธรรมเป็นที่ไปในเบื้องหน้า มีอมตธรรมเป็นที่สุด” “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้อนี้ข้าพระองค์รู้ เห็น เข้าใจ ทำให้แจ้ง สัมผัส ด้วยปัญญาแล้ว ข้าพระองค์ไม่มีความสงสัย ไม่มีความแคลงใจในข้อนั้นเลยว่า สัทธินทรีย์ ... วิริยินทรีย์ ... สตินทรีย์ ... สมาธินทรีย์ ... ปัญญินทรีย์ที่บุคคล เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตธรรม มีอมตธรรมเป็นที่ไปในเบื้องหน้า มีอมตธรรมเป็นที่สุด” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดีละ ดีละ สารีบุตร ข้อนี้ ชนเหล่าใด ไม่รู้ ไม่เห็น ไม่เข้าใจ มิได้ทำให้แจ้ง มิได้สัมผัสด้วยปัญญาแล้ว ชนเหล่านั้น พึงต้องดำเนินไป ด้วยความเชื่อต่อผู้อื่นในข้อนั้นว่า สัทธินทรีย์ ... ปัญญินทรีย์ ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตธรรม มีอมตธรรมเป็นที่ไปในเบื้องหน้า มีอมตธรรม เป็นที่สุด”๑- (พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสเวยยากรณ์ภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัส คาถาประพันธ์ต่อไปว่า) นรชนใดผู้ไม่ต้องเชื่อใคร รู้จักนิพพานที่ปัจจัยอะไรปรุงแต่งไม่ได้ ตัดรอยต่อแห่งการเกิดใหม่ ทำลายโอกาสแห่งการท่องเที่ยวไปในสงสาร คลายความหวังแล้ว นรชนนั้นแล เป็นบุรุษสูงสุด๒- @เชิงอรรถ : @ สํ.ม. ๑๙/๕๒๗/๒๐๔ @ ขุ.ธ. ๒๕/๙๗/๓๔ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๒๗๕}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๐. ปุราเภทสุตตนิทเทส

ว่าด้วยผู้ไม่คลายกำหนัด
คำว่า ไม่ต้องเชื่อใคร และไม่ต้องคลายกำหนัด อธิบายว่า พาลปุถุชน ทั้งหมดย่อมกำหนัด พระเสขะ ๗ จำพวก รวมทั้งกัลยาณปุถุชน ย่อมคลายกำหนัด พระอรหันต์ย่อมไม่กำหนัด จึงไม่ต้องคลายกำหนัด พระอรหันต์ชื่อว่าผู้งดเว้น เพราะหมดสิ้นราคะแล้ว เพราะหมดสิ้นโทสะแล้ว เพราะหมดสิ้นโมหะแล้ว ท่านอยู่ ใน(อริยวาสธรรม)แล้ว ประพฤติจรณธรรมแล้ว ... พระอรหันต์ไม่มีการเวียนเกิด เวียนตาย และภพใหม่ก็ไม่มีอีก รวมความว่า ไม่ต้องเชื่อใคร และไม่ต้องคลาย กำหนัด ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า บุคคลผู้ไม่ยินดีในสิ่งน่ายินดี ไม่ประกอบในความดูหมิ่น ละเอียดอ่อน มีปฏิภาณ ไม่ต้องเชื่อใคร และไม่ต้องคลายกำหนัด [๘๙] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า) บุคคลไม่ศึกษาเพราะอยากได้ลาภ ไม่โกรธเพราะไม่ได้ลาภ ไม่เดือดดาล และไม่ยินดีในรสเพราะตัณหา
ว่าด้วยศึกษาเพราะอยากได้ลาภ
คำว่า บุคคลไม่ศึกษาเพราะอยากได้ลาภ ไม่โกรธเพราะไม่ได้ลาภ อธิบายว่า บุคคลศึกษาเพราะอยากได้ลาภ เป็นอย่างไร คือ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นภิกษุได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร เธอคิดอย่างนี้ว่า “เพราะเหตุไรหนอ ท่านผู้มีอายุนี้ จึงได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร” เธอคิดต่อไปว่า “ท่านผู้มีอายุนี้เป็นผู้ทรงจำพระสูตร เพราะเหตุนั้น ท่านจึงได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร” เธอหวังลาภ จึงเล่าเรียนพระสูตร เพราะ ลาภเป็นเหตุ เพราะลาภเป็นปัจจัย เพราะลาภเป็นต้นเหตุ เพราะมุ่งหวังการเกิดลาภ โดยเฉพาะ บุคคลชื่อว่าศึกษาเพราะอยากได้ลาภ เป็นอย่างนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๒๗๖}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๐. ปุราเภทสุตตนิทเทส

อีกนัยหนึ่ง ภิกษุเห็นภิกษุได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัย- เภสัชบริขาร เธอคิดอย่างนี้ว่า “เพราะเหตุไรหนอ ท่านผู้มีอายุนี้ จึงได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร” เธอมีความคิดต่อไปว่า “ท่านผู้มีอายุนี้ เป็นผู้ทรงจำพระวินัย ... ผู้ทรงจำพระอภิธรรม เพราะเหตุนั้น ท่านจึงได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร” เธอมุ่งหวังลาภ จึงเล่าเรียน ... พระอภิธรรม เพราะลาภเป็นเหตุ เพราะลาภเป็นปัจจัย เพราะลาภเป็นต้นเหตุ เพราะมุ่งหวังการ เกิดลาภโดยเฉพาะ บุคคลชื่อว่าศึกษาเพราะอยากได้ลาภ เป็นอย่างนี้ อีกนัยหนึ่ง ภิกษุเห็นภิกษุได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัย- เภสัชบริขาร เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า “เพราะเหตุไรหนอ ท่านผู้มีอายุนี้จึงได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร” เธอมีความคิดต่อไปว่า “ท่าน ผู้มีอายุนี้ เป็นผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ... เป็นผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ... เป็นผู้ นุ่งห่มผ้าบังสุกุลเป็นวัตร ... เป็นผู้ทรงไตรจีวรเป็นวัตร ... เป็นผู้เที่ยวบิณฑบาตตาม ลำดับตรอกเป็นวัตร ... เป็นผู้งดฉันอาหารมื้อหลังเป็นวัตร ... เป็นผู้ถือการนั่งเป็นวัตร ... เป็นผู้ถือการอยู่ในเสนาสนะตามที่เขาจัดให้เป็นวัตร เพราะเหตุนั้น ท่านจึงได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร” เธอมุ่งหวังลาภ จึงเป็น ผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ... เป็นผู้ถือการอยู่ในเสนาสนะตามที่เขาจัดให้เป็นวัตร เพราะ ลาภเป็นเหตุ เพราะลาภเป็นปัจจัย เพราะลาภเป็นต้นเหตุ เพราะมุ่งหวังการเกิดลาภ โดยเฉพาะ บุคคลชื่อว่าศึกษาเพราะอยากได้ลาภ เป็นอย่างนี้ บุคคลไม่ศึกษาเพราะอยากได้ลาภ เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มิได้มุ่งหวังลาภ เล่าเรียนพระสูตร เล่าเรียนพระวินัย เล่าเรียนพระอภิธรรม เพื่อประโยชน์ในการฝึกตน เพื่อประโยชน์แก่ความสงบของตน เพื่อประโยชน์ในการทำตนให้ดับเย็น (ปรินิพพาน) มิใช่เพราะลาภเป็นเหตุ มิใช่ เพราะลาภเป็นปัจจัย มิใช่เพราะลาภเป็นต้นเหตุ มิใช่เพราะมุ่งหวังการเกิดลาภโดย เฉพาะ บุคคลชื่อว่าไม่ศึกษาเพราะอยากได้ลาภ เป็นอย่างนี้ อีกนัยหนึ่ง ภิกษุไม่มุ่งหวังลาภ เพียงอาศัยความปรารถนาน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลากิเลส ความสงัด ความเป็นผู้ต้องการกุศลนี้อย่างเดียวเท่านั้น จึงเป็น ผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ... เป็นผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ... เป็นผู้นุ่งห่มผ้าบังสุกุล {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๒๗๗}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๐. ปุราเภทสุตตนิทเทส

เป็นวัตร ... เป็นผู้ทรงไตรจีวรเป็นวัตร ... เป็นผู้เที่ยวบิณฑบาตตามลำดับตรอกเป็น วัตร ... เป็นผู้งดอาหารมื้อหลังเป็นวัตร ... เป็นผู้ถือการนั่งเป็นวัตร ... เป็นผู้ถือการ อยู่ในเสนาสนะตามที่เขาจัดให้เป็นวัตร มิใช่เพราะลาภเป็นเหตุ มิใช่เพราะลาภเป็น ปัจจัย มิใช่เพราะลาภเป็นต้นเหตุ มิใช่เพราะมุ่งหวังการเกิดลาภโดยเฉพาะ บุคคล ชื่อว่าไม่ศึกษาเพราะอยากได้ลาภ เป็นอย่างนี้ รวมความว่า บุคคลไม่ศึกษาเพราะ อยากได้ลาภ
ว่าด้วยโกรธเพราะการไม่ได้
คำว่า ไม่โกรธเพราะไม่ได้ลาภ อธิบายว่า ภิกษุโกรธเพราะไม่ได้ลาภ เป็นอย่างไร คือ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ ยังโกรธ คือ แค้น เคือง ทำความโกรธ ความขัดเคือง และความไม่พอใจให้ปรากฏว่า “เราไม่ได้ตระกูล หมู่คณะ อาวาส ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร หรือ ผู้พยาบาลยามอาพาธ เราไม่มีชื่อเสียงที่คนรู้จัก” บุคคลชื่อว่าโกรธเพราะไม่ได้ลาภ เป็นอย่างนี้ ภิกษุไม่โกรธเพราะไม่ได้ลาภ เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไม่โกรธ คือ ไม่แค้น ไม่เคือง ไม่ทำความโกรธ ความขัดเคือง และความไม่พอใจให้ปรากฏว่า “เราไม่ได้ตระกูล หมู่คณะ อาวาส ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร หรือ ผู้พยาบาลยามอาพาธ เราไม่มีชื่อเสียงที่คนรู้จัก” บุคคลชื่อว่าไม่โกรธเพราะไม่ได้ลาภ เป็นอย่างนี้ รวมความว่า บุคคลไม่ศึกษาเพราะอยากได้ลาภ ไม่โกรธเพราะไม่ได้ลาภ คำว่า เดือดดาล ในคำว่า ไม่เดือดดาล และไม่ยินดีในรสเพราะตัณหา ได้แก่ ใจปองร้าย มุ่งร้าย ขัดเคือง ขุ่นเคือง แค้นเคือง เคือง เคืองมาก เคืองตลอด ชัง ชิงชัง เกลียดชัง ใจพยาบาท ใจแค้นเคือง ความโกรธ กิริยาที่โกรธ ภาวะ ที่โกรธ ความคิดประทุษร้าย กิริยาที่คิดประทุษร้าย ภาวะที่คิดประทุษร้าย ความ คิดปองร้าย กิริยาที่คิดปองร้าย ภาวะที่คิดปองร้าย ความโกรธ ความแค้น ความ ดุร้าย ความเกรี้ยวกราด ความไม่แช่มชื่นแห่งจิตเห็นปานนี้ นี้เรียกว่า ความ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๒๗๘}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๐. ปุราเภทสุตตนิทเทส

เดือดดาล ความเดือดดาลนั้น ผู้ใดละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว ผู้นั้น ตรัสเรียกว่า ผู้ไม่ เดือดดาล คำว่า ตัณหา ได้แก่ รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธัมมตัณหา คำว่า รส ได้แก่ รสจากราก รสจากลำต้น รสจากเปลือก รสจากใบ รส จากดอก รสจากผล รสเปรี้ยว รสหวาน รสขม รสเผ็ด รสเค็ม รสปร่า รสเฝื่อน รสฝาด รสอร่อย รสไม่อร่อย รสเย็น รสร้อน สมณพราหมณ์บางพวก ยินดีในรส สมณพราหมณ์เหล่านั้นเที่ยวแสวงหารสเลิศด้วยปลายลิ้น ได้รสเปรี้ยวแล้วก็แสวง หารสไม่เปรี้ยว ได้รสไม่เปรี้ยวแล้วก็แสวงหารสเปรี้ยว ได้รสหวานแล้วก็แสวงหารส ไม่หวาน ได้รสไม่หวานแล้วก็แสวงหารสหวาน ได้รสขมแล้วก็แสวงหารสไม่ขม ได้ รสไม่ขมแล้วก็แสวงหารสขม ได้รสเผ็ดแล้วก็แสวงหารสไม่เผ็ด ได้รสไม่เผ็ดแล้วก็ แสวงหารสเผ็ด ได้รสเค็มแล้วก็แสวงหารสไม่เค็ม ได้รสไม่เค็มแล้วก็แสวงหารสเค็ม ได้รสปร่าแล้วก็แสวงหารสไม่ปร่า ได้รสไม่ปร่าแล้วก็แสวงหารสปร่า ได้รสเปรี้ยว แล้วก็แสวงหารสฝาด ได้รสฝาดแล้วก็แสวงหารสเปรี้ยว ได้รสอร่อยแล้วก็แสวงหา รสไม่อร่อย ได้รสไม่อร่อยแล้วก็แสวงหารสอร่อย ได้ของเย็นแล้วก็แสวงหาของร้อน ได้ของร้อนแล้วก็แสวงหาของเย็น สมณพราหมณ์เหล่านั้นได้รสใดๆ แล้วก็ไม่ยินดี ด้วยรสนั้นๆ ยังแสวงหารสอื่นๆ ต่อไปอีก เป็นผู้กำหนัด ยินดี ติดใจ สยบ หมกมุ่น เกาะติด เกี่ยวพัน พัวพันในรสที่ชอบใจ ตัณหาในรสนี้ภิกษุใดละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว ภิกษุ นั้นพิจารณาแล้วโดยแยบคาย จึงฉันอาหาร มิใช่เพื่อเล่น มิใช่เพื่อมัวเมา มิใช่เพื่อ ตบแต่ง มิใช่เพื่อประดับ แต่ฉันเพียงเพื่อให้ร่างกายนี้ดำรงอยู่ เพื่อให้ร่างกายนี้ ดำเนินไปได้ เพื่อระงับความลำบาก เพื่ออนุเคราะห์พรหมจรรย์อย่างเดียวเท่านั้น ด้วยมนสิการว่า เราจักบำบัดเวทนาเก่า ไม่ให้เวทนาใหม่เกิดขึ้น การดำเนินชีวิต ของเรา ความไม่มีโทษและอยู่สบายได้ด้วยวิธีการอย่างนี้ คนทาแผลเพียงเพื่อปลูกเนื้อเยื่อ หยอดเพลาเพียงเพื่อจะขนภาระไป หรือกิน อาหารที่ปรุงจากเนื้อบุตรเพียงเพื่อจะเดินทางออกจากทางกันดารให้พ้นเท่านั้น ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน พิจารณาโดยแยบคายแล้ว ฉันอาหาร มิใช่เพื่อเล่น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๒๗๙}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๐. ปุราเภทสุตตนิทเทส

มิใช่เพื่อมัวเมา มิใช่เพื่อตบแต่ง มิใช่เพื่อประดับ แต่ฉันเพียงเพื่อจะให้ร่างกายนี้ ดำรงอยู่ เพื่อให้ร่างกายนี้ดำเนินไปได้ เพื่อระงับความลำบาก เพื่ออนุเคราะห์ พรหมจรรย์เท่านั้น ด้วยมนสิการว่า เราจักบำบัดเวทนาเก่า ไม่ให้เวทนาใหม่เกิดขึ้น การดำเนินชีวิตของเรา ความไม่มีโทษและอยู่สบายได้ด้วยวิธีการอย่างนี้ ย่อมละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีกซึ่งตัณหาในรส เป็นผู้งดแล้ว งดเว้นแล้ว เว้นขาดแล้ว ออกแล้ว สลัดออกแล้ว หลุดพ้นแล้ว ไม่เกี่ยวข้องกับตัณหาในรสแล้ว มีใจเป็นอิสระ(จากกิเลส)อยู่ รวมความว่า ไม่เดือดดาล และไม่ยินดีในรสเพราะ ตัณหา ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า บุคคลไม่ศึกษาเพราะอยากได้ลาภ ไม่โกรธเพราะไม่ได้ลาภ ไม่เดือดดาล และไม่ยินดีในรสเพราะตัณหา [๙๐] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า) บุคคลเป็นผู้วางเฉย มีสติทุกเมื่อ ไม่สำคัญว่าเสมอเขา ไม่สำคัญว่าเลิศกว่าเขา ไม่สำคัญว่าด้อยกว่าเขา ในโลก กิเลสหนาย่อมไม่มีแก่บุคคลนั้น
ว่าด้วยอุเบกขามีองค์ ๖
คำว่า บุคคลเป็นผู้วางเฉย ในคำว่า บุคคลเป็นผู้วางเฉย มีสติทุกเมื่อ อธิบายว่า บุคคลเป็นผู้ประกอบด้วยอุเบกขามีองค์ ๖ เห็นรูปทางตาแล้ว ก็ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ เป็นผู้วางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่ ฟังเสียงทางหู ... ดมกลิ่นทางจมูก ... ลิ้มรสทางลิ้น ... ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกาย ... รู้ธรรมารมณ์ทางใจแล้ว ก็ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ เป็นผู้วางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่ เห็นรูปทางตาแล้ว ไม่ติดใจ ไม่ยินดีรูป ที่น่าพอใจ ไม่ให้เกิดความกำหนัด กายของเขาตั้งมั่น จิตก็ตั้งมั่น ดำรงดีอยู่ภายใน หลุดพ้นดีแล้ว ทั้งเห็นรูปที่ไม่ชอบใจทางตาแล้วก็ไม่เสียใจ ไม่โกรธ ไม่หดหู่ ไม่ พยาบาท กายของเขาตั้งมั่น จิตก็ตั้งมั่น ดำรงดีอยู่ภายใน หลุดพ้นดีแล้ว ได้ยินเสียง ทางหูแล้ว ... ดมกลิ่นทางจมูก ... ลิ้มรสทางลิ้น ... ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกาย ... รู้ธรรมารมณ์ทางใจแล้ว ก็ไม่ติดใจ ไม่ยินดีอารมณ์ที่น่าพอใจ ไม่ให้เกิดความ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๒๘๐}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๐. ปุราเภทสุตตนิทเทส

กำหนัดขึ้น กายของเขาตั้งมั่น จิตก็ตั้งมั่น ดำรงดีอยู่ภายใน หลุดพ้นดีแล้ว ทั้งรู้ ธรรมารมณ์ที่ไม่น่าชอบใจทางใจแล้ว ก็ไม่เสียใจ ไม่โกรธ ไม่หดหู่ ไม่พยาบาท กายของเขาตั้งมั่น จิตก็ตั้งมั่น ดำรงดีอยู่ภายใน หลุดพ้นดีแล้ว เห็นรูปทางตาแล้ว กายของเขาก็ตั้งมั่นในรูปที่ชอบใจและไม่ชอบใจ จิตก็ตั้งมั่น ดำรงดีอยู่ภายใน หลุดพ้นดีแล้ว ฟังเสียงทางหูแล้ว ... ดมกลิ่นทางจมูก ... ลิ้มรส ทางลิ้น ... ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกาย ... รู้ธรรมารมณ์ทางใจแล้ว ก็มีกายตั้งมั่นใน ธรรมารมณ์ทั้งที่ชอบใจและไม่ชอบใจ จิตก็ตั้งมั่น ดำรงดีอยู่ภายใน หลุดพ้นดีแล้ว เห็นรูปทางตาแล้ว ก็ไม่กำหนัดในรูปที่ชวนให้กำหนัด ไม่ขัดเคืองในรูปที่ชวน ให้ขัดเคือง ไม่หลงในรูปที่ชวนให้หลง ไม่โกรธในรูปที่ชวนให้โกรธ ไม่เศร้าหมองใน รูปที่ชวนให้เศร้าหมอง ไม่มัวเมาในรูปที่ชวนให้มัวเมา ได้ยินเสียงทางหู ... ดมกลิ่น ทางจมูก ... ลิ้มรสทางลิ้น ... ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกาย ... รู้ธรรมารมณ์ทางใจแล้ว ก็ไม่กำหนัดในธรรมารมณ์ที่ชวนให้กำหนัด ไม่ขัดเคืองในธรรมารมณ์ที่ชวนให้ ขัดเคือง ไม่หลงในธรรมารมณ์ที่ชวนให้หลง ไม่โกรธในธรรมารมณ์ที่ชวนให้โกรธ ไม่เศร้าหมองในธรรมารมณ์ที่ชวนให้เศร้าหมอง ไม่มัวเมาในธรรมารมณ์ที่ชวนให้ มัวเมา เมื่อเห็น ก็เป็นเพียงเห็น เมื่อได้ยิน ก็เป็นเพียงได้ยิน เมื่อรับรู้ กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ก็เป็นเพียงรับรู้ เมื่อรู้แจ้งธรรมารมณ์ ก็เป็นเพียงรู้แจ้ง ไม่ติดในรูป ที่เห็น ไม่ติดในเสียงที่ได้ยิน ไม่ติดในกลิ่น ไม่ติดในรส ไม่ติดในสัมผัสที่รับรู้ ไม่ติด ในธรรมารมณ์ที่รู้แจ้งแล้ว ไม่มีตัณหา ไม่มีใจประทุษร้าย ตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัย ไม่พัวพัน พ้นขาด ไม่เกี่ยวข้องในรูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน กลิ่น รส โผฏฐัพพะที่รับรู้ และธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง มีใจเป็นอิสระ(จากกิเลส)อยู่ พระอรหันต์ก็มีตา เห็นรูปทางตา แต่พระอรหันต์ไม่มีความกำหนัดเพราะพอใจ พระอรหันต์จึงมีจิตหลุดพ้นดีแล้ว พระอรหันต์ก็มีหู ได้ยินเสียงทางหู แต่พระอรหันต์ ไม่มีความกำหนัดเพราะพอใจ พระอรหันต์จึงมีจิตหลุดพ้นดีแล้ว พระอรหันต์ก็มีจมูก ได้กลิ่นทางจมูก แต่พระอรหันต์ไม่มีความกำหนัดเพราะพอใจ พระอรหันต์จึงมีจิต หลุดพ้นดีแล้ว พระอรหันต์ก็มีลิ้น ลิ้มรสทางลิ้น แต่พระอรหันต์ไม่มีความกำหนัด เพราะพอใจ พระอรหันต์จึงมีจิตหลุดพ้นดีแล้ว พระอรหันต์ก็มีกายถูกต้องโผฏฐัพพะ ทางกาย แต่พระอรหันต์ไม่มีความกำหนัดเพราะพอใจ พระอรหันต์จึงมีจิตหลุดพ้นดี แล้ว พระอรหันต์ก็มีใจ รู้ธรรมารมณ์ทางใจ แต่พระอรหันต์ไม่มีความกำหนัด เพราะพอใจ พระอรหันต์จึงมีจิตหลุดพ้นดีแล้ว {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๒๘๑}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๐. ปุราเภทสุตตนิทเทส

ตาชอบรูป ยินดีในรูป ชื่นชมในรูป พระอรหันต์ฝึก คุ้มครอง รักษา สำรวมตา และแสดงธรรมเพื่อสำรวมตานั้น หูชอบเสียง ... จมูกชอบกลิ่น ... ลิ้นชอบรส ... กายชอบโผฏฐัพพะ ... ใจชอบธรรมารมณ์ ยินดีในธรรมารมณ์ ชื่นชมในธรรมารมณ์ พระอรหันต์ฝึก คุ้มครอง รักษา สำรวมใจ และแสดงธรรม เพื่อสำรวมใจนั้น (สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า) คนทั้งหลายนำสัตว์พาหนะที่ฝึกแล้วไปสู่ที่ประชุม พระราชาย่อมทรงราชพาหนะที่ฝึกแล้ว ในหมู่มนุษย์ คนที่ฝึกแล้ว ซึ่งอดกลั้นต่อคำล่วงเกินได้ ประเสริฐสุด ม้าอัสดร ม้าอาชาไนย ม้าสินธพ ช้างใหญ่ ที่ได้รับการฝึกหัดแล้ว ประเสริฐ แต่คนที่ฝึกหัดแล้ว ประเสริฐกว่าสัตว์พาหนะเหล่านั้น เพราะใครก็ไปถึงนิพพานอันเป็นทิศที่ไม่เคยไป ด้วยยานพาหนะเหล่านั้นไม่ได้ เหมือนบุคคลผู้ฝึกแล้ว มีตนฝึกหัดแล้วอย่างดี ไปถึงได้๑- พระอรหันต์ทั้งหลาย หลุดพ้นจากภพใหม่แล้ว บรรลุถึงภูมิที่ฝึกแล้ว ย่อมไม่หวั่นไหวในมานะทั้งหลาย ท่านเป็นผู้ชนะแล้วในโลก๒- ผู้ใดอบรมอินทรีย์แล้วในโลกทั้งปวง ทั้งภายในและภายนอก ผู้นั้นเป็นผู้อบรมแล้ว ฝึกดีแล้ว รู้ชัดทั้งโลกนี้และปรโลก รอคอยอยู่แต่เวลาเท่านั้น๓- @เชิงอรรถ : @ ขุ.ธ. ๒๕/๓๒๑-๓๒๓/๗๒ @ สํ.ข. ๑๗/๗๖/๖๘ @ ขุ.สุ. ๒๕/๕๒๒/๔๓๕ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๒๘๒}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๐. ปุราเภทสุตตนิทเทส

คำว่า บุคคลเป็นผู้วางเฉย ... ทุกเมื่อ อธิบายว่า ทุกเมื่อ คือ ในกาลทั้งปวง ตลอดกาลทั้งปวง ตลอดกาลเป็นนิจ ตลอดกาลยั่งยืน ... ปัจฉิมวัย คำว่า มีสติ อธิบายว่า มีสติด้วยเหตุ ๔ อย่าง คือ ๑. ชื่อว่ามีสติ เมื่อเจริญสติปัฏฐานพิจารณากายในกาย ๒. ชื่อว่ามีสติ เมื่อเจริญสติปัฏฐานพิจารณาเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ๓. ชื่อว่ามีสติ เมื่อเจริญสติปัฏฐานพิจารณาจิตในจิต ๔. ชื่อว่ามีสติ เมื่อเจริญสติปัฏฐานพิจารณาธรรมในธรรมทั้งหลาย ผู้นั้นพระผู้มีพระภาคตรัสเรียกว่า มีสติ รวมความว่า บุคคลเป็นผู้วางเฉย มีสติทุกเมื่อ คำว่า ไม่สำคัญว่าเสมอเขา ... ในโลก อธิบายว่า ไม่ให้เกิดความถือตัวเพราะ ชาติ เพราะโคตร ... หรือเพราะสิ่งอื่นนอกจากที่กล่าวแล้วว่า “เราเป็นผู้เสมอเขา” รวมความว่า ไม่สำคัญว่าเสมอเขา ... ในโลก คำว่า ไม่สำคัญว่าเลิศกว่าเขา ไม่สำคัญว่าด้อยกว่าเขา อธิบายว่า ไม่ให้เกิด ความดูหมิ่น เพราะชาติ เพราะโคตร ... หรือเพราะสิ่งอื่นนอกจากที่กล่าวแล้วว่า “เราเลิศกว่าเขา” ไม่ให้เกิดความถือตัว เพราะชาติ เพราะโคตร ... หรือเพราะสิ่งอื่น นอกจากที่กล่าวแล้วว่า “เราด้อยกว่าเขา” รวมความว่า ไม่สำคัญว่าเลิศกว่าเขา ไม่สำคัญว่าด้อยกว่าเขา
ว่าด้วยกิเลสหนา ๗ อย่าง
คำว่า บุคคลนั้น ในคำว่า กิเลสหนาย่อมไม่มีแก่บุคคลนั้น ได้แก่ พระอรหันตขีณาสพ คำว่า กิเลสหนา ได้แก่ กิเลสหนา ๗ อย่าง คือ ๑. กิเลสหนาคือราคะ ๒. กิเลสหนาคือโทสะ ๓. กิเลสหนาคือโมหะ ๔. กิเลสหนาคือมานะ ๕. กิเลสหนาคือทิฏฐิ ๖. กิเลสหนาคือกิเลส ๗. กิเลสหนาคือกรรม {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๒๘๓}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๐. ปุราเภทสุตตนิทเทส

กิเลสหนาเหล่านั้นไม่มี ไม่มีอยู่ คือ ไม่ปรากฏ หาไม่ได้แก่พระอรหันต์นั้น คือ กิเลสหนาเหล่านั้นพระอรหันต์ละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับ ได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว รวมความว่า กิเลสหนาย่อม ไม่มีแก่บุคคลนั้น ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า บุคคลเป็นผู้วางเฉย มีสติทุกเมื่อ ไม่สำคัญว่าเสมอเขา ไม่สำคัญว่าเลิศกว่าเขา ไม่สำคัญว่าด้อยกว่าเขา ในโลก กิเลสหนาย่อมไม่มีแก่บุคคลนั้น [๙๑] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า) บุคคลใดไม่มีที่อาศัย ไม่มีตัณหาในภพหรือในวิภพ บุคคลนั้นรู้ธรรมแล้วไม่อาศัย
ว่าด้วยที่อาศัย
คำว่า บุคคลใด ในคำว่า บุคคลใดไม่มีที่อาศัย ได้แก่ พระอรหันตขีณาสพ คำว่า ที่อาศัย ได้แก่ ความอาศัย ๒ อย่าง คือ (๑) ความอาศัยด้วยอำนาจ ตัณหา (๒) ความอาศัยด้วยอำนาจทิฏฐิ ... นี้ชื่อว่าความอาศัยด้วยอำนาจตัณหา ... นี้ชื่อว่าความอาศัยด้วยอำนาจทิฏฐิ บุคคลนั้นละความอาศัยด้วยอำนาจตัณหาได้แล้ว สลัดทิ้งความอาศัยด้วย อำนาจทิฏฐิได้แล้ว เพราะเป็นผู้ละความอาศัยด้วยอำนาจตัณหา สลัดทิ้งความอาศัย ด้วยอำนาจทิฏฐิได้แล้ว บุคคลใด ไม่มี คือ ไม่มีอยู่ ไม่ปรากฏ หาไม่ได้ซึ่งที่อาศัย คือ ที่อาศัยนั้น บุคคลนั้นละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว รวมความว่า บุคคลใดไม่มีที่อาศัย คำว่า รู้แล้ว ในคำว่า รู้ธรรมแล้วไม่อาศัย อธิบายว่า รู้แล้ว คือ ทราบแล้ว เทียบเคียงแล้ว พิจารณาแล้ว ทำให้กระจ่างแล้ว ทำให้แจ่มแจ้งแล้วว่า “สังขาร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๒๘๔}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๐. ปุราเภทสุตตนิทเทส

ทั้งปวงไม่เที่ยง ... สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ... ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา” ... รู้แล้ว คือ ทราบแล้ว เทียบเคียงแล้ว พิจารณาแล้ว ทำให้กระจ่างแล้ว ทำให้แจ่มแจ้ง แล้วว่า “สิ่งใดสิ่งหนึ่ง มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดล้วนมีความดับไป เป็นธรรมดา” คำว่า ไม่อาศัย ได้แก่ ความอาศัย ๒ อย่าง คือ (๑) ความอาศัยด้วยอำนาจ ตัณหา (๒) ความอาศัยด้วยอำนาจทิฏฐิ ... นี้ชื่อว่าความอาศัยด้วยอำนาจตัณหา ... นี้ชื่อว่าความอาศัยด้วยอำนาจทิฏฐิ บุคคลนั้นละความอาศัยด้วยอำนาจตัณหาได้แล้ว สลัดทิ้งความอาศัยด้วย อำนาจทิฏฐิได้แล้ว ไม่อาศัยตา ... ไม่อาศัยหู ... ไม่อาศัยจมูก ... ไม่อาศัยลิ้น ... ไม่ อาศัยกาย ... ไม่อาศัยใจ ... คือ ไม่ติดแล้ว ไม่ติดแน่นแล้ว ไม่ติดพันแล้ว ไม่ติดใจแล้ว ออกแล้ว สลัดออกแล้ว หลุดพ้นแล้ว ไม่เกี่ยวข้องกับรูป ... เสียง ... กลิ่น ... รส ... โผฏฐัพพะ ... ธรรมารมณ์ ... ตระกูล ... หมู่คณะ ... อาวาส ... รูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน กลิ่น รส โผฏฐัพพะที่รับรู้ และธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้ง มีใจเป็นอิสระ(จากกิเลส)อยู่ รวมความว่า รู้ธรรมแล้วไม่อาศัย
ว่าด้วยตัณหา
คำว่า ตัณหา ในคำว่า ไม่มีตัณหาในภพหรือในวิภพ ได้แก่ รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธัมมตัณหา คำว่า บุคคลใด ได้แก่ พระอรหันตขีณาสพ คำว่า ในภพ ได้แก่ ในภวทิฏฐิ คำว่า ในวิภพ ได้แก่ ในวิภวทิฏฐิ คำว่า ในภพ ได้แก่ ในสัสสตทิฏฐิ คำว่า ในวิภพ ได้แก่ ในอุจเฉททิฏฐิ คำว่า ในภพ อธิบายว่า ในภพต่อไป ในคติต่อไป ในการถือกำเนิดต่อไป ในปฏิสนธิต่อไป ในความบังเกิดของอัตภาพต่อไป {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๒๘๕}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๐. ปุราเภทสุตตนิทเทส

ตัณหาไม่มี คือ ไม่มีอยู่ ไม่ปรากฏ หาไม่ได้แก่บุคคลใด คือ ตัณหานั้น บุคคล นั้นละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว รวมความว่า ไม่มีตัณหาในภพหรือในวิภพ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า บุคคลใดไม่มีที่อาศัย ไม่มีตัณหาในภพหรือในวิภพ บุคคลนั้นรู้ธรรมแล้วไม่อาศัย [๙๒] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า) เราเรียกบุคคลนั้น ผู้ไม่มุ่งหวังในกามทั้งหลายว่า เป็นผู้เข้าไปสงบ บุคคลนั้นไม่มีกิเลสเครื่องร้อยรัด ข้ามตัณหาที่ชื่อว่าวิสัตติกาได้แล้ว คำว่า เราเรียกบุคคลนั้น... เป็นผู้เข้าไปสงบ อธิบายว่า เราเรียกบุคคลนั้น คือ พูด บอก แสดง ชี้แจง บุคคลนั้นว่า เป็นผู้สงบ เข้าไปสงบ สงบเย็น คือ ดับแล้ว ระงับแล้ว รวมความว่า เราเรียกบุคคลนั้น... เป็นผู้เข้าไปสงบ คำว่า ผู้ไม่มุ่งหวังในกามทั้งหลาย อธิบายว่า คำว่า กาม ได้แก่ กาม ๒ อย่าง แบ่งตามหมวด คือ (๑) วัตถุกาม (๒) กิเลสกาม ... เหล่านี้ เรียกว่าวัตถุกาม ... เหล่านี้ เรียกว่ากิเลสกาม๑- บุคคลกำหนดรู้วัตถุกามแล้ว ละ คือ ละเว้น บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีกซึ่งกิเลสกาม ชื่อว่าไม่มุ่งหวังในกามทั้งหลาย ได้แก่ เป็นผู้ คลายกามแล้ว สละกามแล้ว คายกามแล้ว ปล่อยกามแล้ว ละกามแล้ว สลัดทิ้งกาม แล้ว คือ เป็นผู้คลายความกำหนัดแล้ว สละราคะแล้ว คายราคะแล้ว ปล่อยราคะแล้ว ละราคะแล้ว สลัดทิ้งราคะแล้ว ในกามทั้งหลาย เป็นผู้หมดความอยากแล้ว เป็นผู้ ดับแล้ว เป็นผู้เย็นแล้ว มีตนอันประเสริฐเสวยสุขอยู่ รวมความว่า ผู้ไม่มุ่งหวัง ในกามทั้งหลาย @เชิงอรรถ : @ ดูรายละเอียดข้อ ๑/๑-๒ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๒๘๖}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๐. ปุราเภทสุตตนิทเทส

ว่าด้วยกิเลสเครื่องร้อยรัด ๔ อย่าง
คำว่า กิเลสเครื่องร้อยรัด ในคำว่า บุคคลนั้นไม่มีกิเลสเครื่องร้อยรัด อธิบายว่า กิเลสเครื่องร้อยรัด ๔ อย่าง คือ ๑. กิเลสเครื่องร้อยรัดกายคืออภิชฌา ๒. กิเลสเครื่องร้อยรัดกายคือพยาบาท ๓. กิเลสเครื่องร้อยรัดกายคือสีลัพพตปรามาส ๔. กิเลสเครื่องร้อยรัดกายคือความถือมั่นว่านี้เท่านั้นจริง ความกำหนัดในทิฏฐิของตน ชื่อว่ากิเลสเครื่องร้อยรัดกายคืออภิชฌา ความอาฆาต ความไม่พอใจในวาทะของผู้อื่น ชื่อว่ากิเลสเครื่องร้อยรัดกายคือ พยาบาท ความยึดมั่นศีล วัตร หรือศีลวัตรของตน ชื่อว่ากิเลสเครื่องร้อยรัดกายคือ สีลัพพตปรามาส ทิฏฐิของตน ชื่อว่ากิเลสเครื่องร้อยรัดกายคืออิทังสัจจาภินิเวส คำว่า บุคคลนั้น ได้แก่ พระอรหันตขีณาสพ คำว่า บุคคลนั้นไม่มีกิเลสเครื่องร้อยรัด อธิบายว่า บุคคลนั้นไม่มี ไม่มีอยู่ ไม่ปรากฏ หาไม่ได้ซึ่งกิเลสเครื่องร้อยรัด คือ กิเลสเครื่องร้อยรัดบุคคลนั้นละ ได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วย ไฟคือญาณแล้ว รวมความว่า บุคคลนั้นไม่มีกิเลสเครื่องร้อยรัด
ว่าด้วยตัณหามีชื่อต่างๆ
คำว่า บุคคลนั้น... ข้ามตัณหาที่ชื่อว่าวิสัตติกาได้แล้ว อธิบายว่า ตัณหา ตรัสเรียกว่า วิสัตติกา คือ ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ... อภิชฌา อกุศลมูล คือโลภะ๑- @เชิงอรรถ : @ ดูรายละเอียดข้อ ๓/๑๐-๑๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๒๘๗}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๐. ปุราเภทสุตตนิทเทส

คำว่า วิสัตติกา อธิบายว่า ตัณหาชื่อว่าวิสัตติกา เพราะมีความหมายอย่างไร ตัณหาชื่อว่าวิสัตติกา เพราะซ่านไป ชื่อว่าวิสัตติกา เพราะแผ่ไป ชื่อว่าวิสัตติกา เพราะกระจายไป ชื่อว่าวิสัตติกา เพราะไม่สม่ำเสมอ ชื่อว่าวิสัตติกา เพราะครอบงำ ชื่อว่าวิสัตติกา เพราะสะท้อนไป ชื่อว่าวิสัตติกา เพราะเป็นตัวการให้พูดผิด ชื่อว่า วิสัตติกา เพราะมีรากเป็นพิษ ชื่อว่าวิสัตติกา เพราะมีผลเป็นพิษ ชื่อว่าวิสัตติกา เพราะเป็นตัวการให้บริโภคสิ่งมีพิษ อีกนัยหนึ่ง ตัณหานั้นซ่านไป แผ่ไป ขยายไปในรูป ... เสียง ... กลิ่น ... รส ... โผฏฐัพพะ ... ตระกูล ... หมู่คณะ ... อาวาส ... ซ่านไป แผ่ไป ขยายไปในรูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน กลิ่น รส โผฏฐัพพะที่รับรู้ และธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้ง รวมความว่า ตัณหาที่ชื่อว่าวิสัตติกา คำว่า บุคคลนั้นข้ามตัณหาที่ชื่อว่าวิสัตติกาได้แล้ว อธิบายว่า บุคคลนั้น ข้ามได้แล้ว คือ ข้ามไปได้แล้ว ข้ามพ้นแล้ว ก้าวล่วงแล้ว ล่วงเลยแล้วซึ่งตัณหา ที่ชื่อว่าวิสัตติกานี้ รวมความว่า บุคคลนั้นข้ามตัณหาที่ชื่อว่าวิสัตติกาได้แล้ว ด้วย เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า เราเรียกบุคคลนั้น ผู้ไม่มุ่งหวังในกามทั้งหลายว่า เป็นผู้เข้าไปสงบ บุคคลนั้นไม่มีกิเลสเครื่องร้อยรัด ข้ามตัณหาที่ชื่อว่าวิสัตติกาได้แล้ว [๙๓] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า) บุคคลนั้นไม่มีบุตร สัตว์เลี้ยง นาไร่และที่ดิน ทิฏฐิว่ามีอัตตา หรือทิฏฐิว่าไม่มีอัตตา หาไม่ได้ในบุคคลนั้น
ว่าด้วยบุตรเป็นต้น
คำว่า ไม่ ในคำว่า บุคคลนั้น ไม่มีบุตร สัตว์เลี้ยง นาไร่และที่ดิน เป็นคำ ปฏิเสธ คำว่า บุคคลนั้น ได้แก่ พระอรหันตขีณาสพ คำว่า บุตร ได้แก่ บุตร ๔ จำพวก คือ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๒๘๘}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๐. ปุราเภทสุตตนิทเทส

๑. บุตรเกิดจากตน ๒. บุตรเกิดในเขต ๓. บุตรที่เขาให้ ๔. บุตรที่อยู่ในสำนัก คำว่า สัตว์เลี้ยง ได้แก่ แพะ แกะ ไก่ สุกร ช้าง โค ม้า และลา คำว่า นาไร่ ได้แก่ นาข้าวสาลี นาข้าวเจ้า ไร่ถั่วเขียว ไร่ถั่วราชมาศ นาข้าวเหนียว นาข้าวละมาน ไร่งา คำว่า ที่ดิน ได้แก่ ที่ปลูกเรือน ที่สร้างยุ้งฉาง ที่หน้าเรือน ที่หลังเรือน ที่สวน ที่อยู่ คำว่า บุคคลนั้น ไม่มีบุตร สัตว์เลี้ยง นาไร่และที่ดิน อธิบายว่า บุคคลนั้น ไม่มี คือ ไม่มีอยู่ ไม่ปรากฏ หาไม่ได้ซึ่งความยึดถือว่ามีบุตร ความยึดถือว่า มีสัตว์เลี้ยง ความยึดถือว่ามีนาไร่ ความยึดถือว่ามีที่ดิน คือ ความยึดถือว่า มีบุตรเป็นต้น เขาละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว รวมความว่า บุคคลนั้น ไม่มีบุตร สัตว์เลี้ยง นาไร่และที่ดิน
ว่าด้วยทิฏฐิ
คำว่า ทิฏฐิว่ามีอัตตา ในคำว่า ทิฏฐิว่ามีอัตตา หรือทิฏฐิว่าไม่มีอัตตา หาไม่ได้ในบุคคลนั้น ได้แก่ ไม่มีสัสสตทิฏฐิ คำว่า ทิฏฐิว่าไม่มีอัตตา ได้แก่ ไม่มีอุจเฉททิฏฐิ คำว่า ทิฏฐิว่ามีอัตตา ได้แก่ ไม่มีสิ่งที่ยึดถือ คำว่า ทิฏฐิว่าไม่มีอัตตา ได้แก่ ไม่มีสิ่งที่พึงปล่อยวาง อธิบายว่า สิ่งที่ยึดถือ ไม่มีแก่บุคคลใด สิ่งที่พึงปล่อยวางก็ไม่มีแก่บุคคลนั้น สิ่งที่พึงปล่อยวางไม่มีแก่ บุคคลใด สิ่งที่ยึดถือก็ไม่มีแก่บุคคลนั้น บุคคลนั้นผู้เป็นพระอรหันต์ ก้าวพ้นการ ยึดถือ และการปล่อยวางแล้ว ล่วงพ้นความเจริญและความเสื่อมแล้ว บุคคลนั้น อยู่ใน(อริยวาสธรรม)แล้ว ประพฤติจรณธรรมแล้ว ... บุคคลนั้น ไม่มีการเวียนเกิด เวียนตาย และภพใหม่ก็ไม่มีอีก รวมความว่า ทิฏฐิว่ามีอัตตา หรือทิฏฐิว่าไม่มีอัตตา หาไม่ได้ในบุคคลนั้น ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า บุคคลนั้น ไม่มีบุตร สัตว์เลี้ยง นาไร่และที่ดิน ทิฏฐิว่ามีอัตตา หรือทิฏฐิว่าไม่มีอัตตา หาไม่ได้ในบุคคลนั้น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๒๘๙}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๐. ปุราเภทสุตตนิทเทส

[๙๔] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า) เหล่าปุถุชนหรือสมณพราหมณ์ พึงกล่าวหาบุคคลนั้นด้วยโทษใด โทษนั้นไม่เชิดชูบุคคลนั้นเลย เพราะฉะนั้น บุคคลนั้นจึงไม่หวั่นไหวในเพราะวาทะทั้งหลาย คำว่า เหล่าปุถุชน ในคำว่า เหล่าปุถุชนหรือสมณพราหมณ์พึงกล่าวหา บุคคลนั้นด้วยโทษใด อธิบายว่า ชื่อว่าปุถุชน เพราะมีความหมายว่าอย่างไร ชื่อว่าปุถุชน เพราะให้กิเลสหยาบเกิดขึ้น ชื่อว่าปุถุชน เพราะมีสักกายทิฏฐิ อันหนาแน่นยังละไม่ได้ ชื่อว่าปุถุชน เพราะปฏิญญาต่อหน้าศาสดาหลายองค์ ชื่อว่าปุถุชน เพราะถูกคติทุกอย่างร้อยรัดไว้มาก ชื่อว่าปุถุชน เพราะปรุงแต่ง อภิสังขารต่างๆ เป็นอันมาก ชื่อว่าปุถุชน เพราะถูกโอฆะกิเลสต่างๆ เป็นอันมาก พัดพาไป ชื่อว่าปุถุชน เพราะเดือดร้อนด้วยความเดือดร้อนต่างๆ เป็นอันมาก ชื่อว่าปุถุชน เพราะถูกความเร่าร้อนต่างๆ เป็นอันมากแผดเผา ชื่อว่าปุถุชน เพราะ กำหนัด ยินดี ติดใจ สยบ หมกมุ่น เกาะติด เกี่ยวพัน พัวพันในกามคุณ ๕ เป็น อันมาก ชื่อว่าปุถุชน เพราะถูกนิวรณ์ ๕ เป็นอันมาก หุ้มห่อ โอบล้อม ห้อมล้อม ครอบคลุม ปกคลุม บดบัง คำว่า สมณะ ได้แก่ คนพวกหนึ่ง เป็นผู้เข้าถึง สมบูรณ์ด้วยการบวชภายนอก ศาสนานี้ คำว่า พราหมณ์ ได้แก่ คนพวกหนึ่ง ผู้อ้างตัวว่าเป็นผู้เจริญ คำว่า เหล่าปุถุชน หรือสมณพราหมณ์พึงกล่าวหาบุคคลนั้นด้วยโทษใด อธิบายว่า เหล่าปุถุชน พึงกล่าวหาบุคคลนั้นด้วยราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ อุทธัจจะ วิจิกิจฉา อนุสัย ใดๆ ว่า “เป็นผู้กำหนัด เป็นผู้ขัดเคือง เป็นผู้หลง เป็นผู้ ยึดติด เป็นผู้ยึดมั่น เป็นผู้ฟุ้งซ่าน เป็นผู้ลังเล หรือเป็นผู้ตกอยู่ในพลังกิเลส” บุคคลนั้นละอภิสังขารเหล่านั้นได้แล้ว เพราะละอภิสังขารได้แล้ว เหล่าปุถุชน พึงกล่าวหาบุคคลนั้นโดยคติใดว่า “เป็นผู้เกิดในนรก เป็นผู้เกิดในกำเนิดเดรัจฉาน เป็นผู้เกิดในเปตวิสัย เป็นมนุษย์ เป็นเทพ เป็นผู้มีรูป เป็นผู้ไม่มีรูป เป็นผู้มีสัญญา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๒๙๐}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๐. ปุราเภทสุตตนิทเทส

เป็นผู้ไม่มีสัญญา หรือเป็นผู้มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่” บุคคลนั้นไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย ไม่มีการณ์ ที่จะให้ปุถุชนเป็นต้นกล่าวหา พูดถึง เอ่ยถึง แสดงถึง ชี้แจง ถึงได้เลย รวมความว่า เหล่าปุถุชนหรือสมณพราหมณ์พึงกล่าวหาบุคคลนั้นด้วย โทษใด
ว่าด้วยการเชิดชู ๒ อย่าง
คำว่า บุคคลนั้น ในคำว่า โทษนั้นไม่เชิดชูบุคคลนั้นเลย ได้แก่ พระอรหันตขีณาสพ คำว่า เชิดชู อธิบายว่า การเชิดชู ๒ อย่าง คือ ๑. การเชิดชูด้วยอำนาจตัณหา ๒. การเชิดชูด้วยอำนาจทิฏฐิ ... นี้ชื่อว่าการเชิดชูด้วยอำนาจตัณหา ... นี้ชื่อว่าการเชิดชูด้วยอำนาจทิฏฐิ๑- บุคคลนั้นละการเชิดชูด้วยอำนาจตัณหาได้แล้ว สลัดทิ้งการเชิดชูด้วยอำนาจ ทิฏฐิได้แล้ว เพราะเป็นผู้ละการเชิดชูด้วยอำนาจตัณหา สลัดทิ้งการเชิดชูด้วยอำนาจ ทิฏฐิได้แล้ว บุคคลนั้นจึงไม่เที่ยวเชิดชูตัณหาหรือทิฏฐิไว้ คือ ไม่มีตัณหาเป็นธงชัย ไม่มีตัณหาเป็นยอดธง ไม่มีตัณหาเป็นใหญ่ ไม่มีทิฏฐิเป็นธงชัย ไม่มีทิฏฐิเป็นยอดธง ไม่มีทิฏฐิเป็นใหญ่ ไม่ได้ถูกตัณหาหรือทิฏฐิครอบงำเที่ยวไป รวมความว่า โทษนั้น ไม่เชิดชูบุคคลนั้นเลย คำว่า เพราะฉะนั้น ในคำว่า เพราะฉะนั้น บุคคลจึงไม่หวั่นไหวในเพราะ วาทะทั้งหลาย อธิบายว่า เพราะฉะนั้น คือ เพราะการณ์นั้น เพราะเหตุนั้น เพราะปัจจัยนั้น เพราะต้นเหตุนั้น บุคคลนั้นย่อมไม่หวั่นไหว คือ ไม่โยก ไม่โคลง ไม่กระเพื่อม ไม่สั่น ไม่สะท้าน ไม่สะเทือน ในเพราะวาทะ คือ ในเพราะการว่าร้าย นินทา ติเตียน ไม่สรรเสริญ ไม่ยกย่องความดี รวมความว่า เพราะฉะนั้น บุคคลนั้น จึงไม่หวั่นไหวในเพราะวาทะทั้งหลาย ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า เหล่าปุถุชนหรือสมณพราหมณ์ พึงกล่าวหาบุคคลนั้นด้วยโทษใด โทษนั้นไม่เชิดชูบุคคลนั้นเลย เพราะฉะนั้น บุคคลนั้นจึงไม่หวั่นไหวในเพราะวาทะทั้งหลาย @เชิงอรรถ : @ เทียบกับความในข้อ ๑๒/๕๘-๕๙ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๒๙๑}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๐. ปุราเภทสุตตนิทเทส

[๙๕] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า) บุคคลผู้เป็นมุนี เป็นผู้คลายความยินดี ไม่ตระหนี่ ย่อมไม่กล่าวในเรื่องเลิศกว่าเขา ไม่กล่าวในเรื่องเสมอเขา ไม่กล่าวในเรื่องด้อยกว่าเขา เป็นผู้ไม่มีความกำหนด ย่อมไม่ถึงความกำหนด คำว่า เป็นผู้คลายความยินดี ไม่ตระหนี่ อธิบายว่า ตัณหา ตรัสเรียกว่า ความยินดี คือ ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ... อภิชฌา อกุศลมูลคือโลภะ ความยินดีนั้น บุคคลใดละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว บุคคลนั้นตรัสเรียกว่า ผู้คลายความ ยินดี คือ ผู้นั้นไม่ยินดี ไม่ติดใจ ไม่สยบ ไม่หมกมุ่นในรูป ... ในรูปที่เห็น เสียงที่ ได้ยิน กลิ่น รส โผฏฐัพพะที่รับรู้ และธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้ง ได้แก่ เป็นผู้คลาย ความยินดีแล้ว คือ ปราศจากความยินดีแล้ว สละความยินดีแล้ว คายความ ยินดีแล้ว ปล่อยความยินดี ละความยินดีแล้ว สลัดทิ้งความยินดีแล้ว เป็นผู้หมด ความอยากแล้ว เป็นผู้ดับแล้ว เป็นผู้เย็นแล้ว มีตนอันประเสริฐเสวยสุขอยู่ รวม ความว่า เป็นผู้คลายความยินดี คำว่า ไม่ตระหนี่ อธิบายว่า คำว่า ความตระหนี่ ได้แก่ มัจฉริยะ ๕ อย่าง คือ ๑. อาวาสมัจฉริยะ ๒. กุลมัจฉริยะ ๓. ลาภมัจฉริยะ ๔. วัณณมัจฉริยะ ๕. ธัมมมัจฉริยะ ความตระหนี่ ... ความมุ่งแต่จะได้เห็นปานนี้ นี้ตรัสเรียกว่า ความตระหนี่ ความตระหนี่นั้นบุคคลใดละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว บุคคลนั้นตรัสเรียกว่า ผู้ไม่ตระหนี่ รวมความว่า เป็นผู้คลายความยินดี ไม่ตระหนี่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๒๙๒}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๐. ปุราเภทสุตตนิทเทส

คำว่า มุนี ในคำว่า บุคคลผู้เป็นมุนี ... ย่อมไม่กล่าวในเรื่องเลิศกว่าเขา ไม่กล่าวในเรื่องเสมอเขา ไม่กล่าวในเรื่องด้อยกว่าเขา อธิบายว่า ญาณ ท่าน เรียกว่า โมนะ ... ผู้ก้าวล่วงกิเลสเป็นเครื่องข้องและตัณหาดุจตาข่ายได้แล้ว ชื่อว่ามุนี๑- บุคคลผู้เป็นมุนีย่อมไม่กล่าว คือ ไม่พูด ไม่บอก ไม่แสดง ไม่ชี้แจงว่า “เราเลิศ กว่าเขา เราเสมอเขา หรือเราด้อยกว่าเขา” รวมความว่า บุคคลผู้เป็นมุนี ... ย่อมไม่ กล่าวในเรื่องเลิศกว่าเขา ไม่กล่าวในเรื่องเสมอเขา ไม่กล่าวในเรื่องด้อยกว่าเขา
ว่าด้วยการกำหนด ๒ อย่าง
คำว่า เป็นผู้ไม่มีความกำหนด ย่อมไม่ถึงความกำหนด อธิบายว่า คำว่า ความกำหนด ได้แก่ ความกำหนด ๒ อย่าง คือ ๑. ความกำหนดด้วยอำนาจตัณหา ๒. ความกำหนดด้วยอำนาจทิฏฐิ ... นี้ชื่อว่าความกำหนดด้วยอำนาจตัณหา ... นี้ชื่อว่าความกำหนดด้วยอำนาจทิฏฐิ๒- บุคคลนั้นละความกำหนดด้วยอำนาจตัณหาได้แล้ว สลัดทิ้งความกำหนัดด้วย อำนาจทิฏฐิได้แล้ว เพราะเป็นผู้ละความกำหนดด้วยอำนาจตัณหา สลัดทิ้งความ กำหนัดด้วยอำนาจทิฏฐิได้แล้ว จึงไม่ถึง คือ ไม่เข้าถึง ไม่เข้าไปถึง ไม่ถือ ไม่ยึดมั่น ไม่ถือมั่นความกำหนดด้วยอำนาจตัณหา หรือความกำหนดด้วยอำนาจทิฏฐิ รวม ความว่า ย่อมไม่ถึงความกำหนด คำว่า เป็นผู้ไม่มีความกำหนด อธิบายว่า คำว่า ความกำหนด ได้แก่ ความกำหนด ๒ อย่าง คือ ๑. ความกำหนดด้วยอำนาจตัณหา ๒. ความกำหนดด้วยอำนาจทิฏฐิ ... นี้ชื่อว่าความกำหนดด้วยอำนาจตัณหา ... นี้ชื่อว่าความกำหนดด้วยอำนาจทิฏฐิ๓- @เชิงอรรถ : @ ดูรายละเอียดข้อ ๑๔/๖๘-๗๑ @ เทียบกับความในข้อ ๑๒/๕๘-๕๙ @ เทียบกับความในข้อ ๑๒/๕๘-๕๙ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๒๙๓}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๐. ปุราเภทสุตตนิทเทส

บุคคลนั้นละความกำหนดด้วยอำนาจตัณหาได้แล้ว สลัดทิ้งความกำหนดด้วย อำนาจทิฏฐิได้แล้ว เพราะเป็นผู้ละความกำหนดด้วยอำนาจตัณหา สลัดทิ้งความ กำหนดด้วยอำนาจทิฏฐิได้แล้ว จึงไม่กำหนด คือ ไม่ให้เกิด ไม่ให้เกิดขึ้น ไม่ให้ บังเกิด ไม่ให้บังเกิดขึ้นซึ่งความกำหนดด้วยอำนาจตัณหาหรือความกำหนดด้วย อำนาจทิฏฐิ รวมความว่า เป็นผู้ไม่มีความกำหนด ย่อมไม่ถึงความกำหนด ด้วย เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า บุคคลผู้เป็นมุนี เป็นผู้คลายความยินดี ไม่ตระหนี่ ย่อมไม่กล่าวในเรื่องเลิศกว่าเขา ไม่กล่าวในเรื่องเสมอเขา ไม่กล่าวในเรื่องด้อยกว่าเขา เป็นผู้ไม่มีความกำหนด ย่อมไม่ถึงความกำหนด [๙๖] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า) บุคคลใดไม่มีความถือว่าเป็นของตนในโลก เมื่อไม่มีความถือว่าเป็นของตน ย่อมไม่เศร้าโศก ไม่ถึงความลำเอียงในธรรมทั้งหลาย บุคคลนั้นแล เรียกว่า ผู้สงบ
ว่าด้วยผู้ไม่มีความถือว่าเป็นของตน
คำว่า บุคคลใด ในคำว่า บุคคลใด ไม่มีความถือว่าเป็นของตน ได้แก่ พระอรหันตขีณาสพ คำว่า ไม่มีความถือว่าเป็นของตนในโลก อธิบายว่า บุคคลใดไม่มีความถือ ความยึดมั่น ความถือมั่น ความติดใจ ความน้อมใจถึงรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณไรๆ ว่า นี้ของเรา หรือ สิ่งนี้ของผู้อื่น ความถือว่าเป็นของตน บุคคลนั้นละ ได้แล้ว ... เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว รวมความว่า บุคคลใด ไม่มีความถือว่าเป็นของ ตนในโลก {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๒๙๔}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๐. ปุราเภทสุตตนิทเทส

ว่าด้วยผู้ไม่เศร้าโศก
คำว่า เมื่อไม่มีความถือว่าเป็นของตน ย่อมไม่เศร้าโศก อธิบายว่า ไม่เศร้า โศกถึงวัตถุที่แปรผันไป หรือเมื่อวัตถุแปรผันไปแล้วก็ไม่เศร้าโศก ย่อมไม่เศร้าโศก คือ ไม่ลำบาก ไม่คร่ำครวญ ไม่ตีอกพร่ำเพ้อ ไม่ถึงความหลงใหลว่า “ตาของเราแปรผันไป ... หูของเรา ... จมูกของเรา .... ลิ้นของเรา ... กายของเรา ... ใจของเรา ... รูปของเรา ... เสียงของเรา ... กลิ่นของเรา ... รสของเรา ... โผฏฐัพพะ ของเรา ... ตระกูลของเรา ... หมู่คณะของเรา ... อาวาสของเรา ... ลาภของเรา ... ยศของเรา ... สรรเสริญของเรา ... สุขของเรา ... จีวรของเรา ... บิณฑบาตของเรา ... เสนาสนะของเรา ...คิลานปัจจัยเภสัชบริขารของเรา ... มารดาของเรา ... บิดาของเรา ... พี่ชายน้องชายของเรา ... พี่สาวน้องสาวของเรา ... บุตรของเรา ... ธิดาของเรา ... มิตรและอำมาตย์ของเรา ... ญาติของเรา ... ย่อมไม่เศร้าโศก คือ ไม่ลำบากใจ ไม่คร่ำครวญ ไม่ตีอกพร่ำเพ้อ ไม่ถึงความหลงใหลว่า “ผู้ร่วมสายโลหิตของเรา แปรผันไป” รวมความว่า เมื่อไม่มีความถือว่าเป็นของตน ย่อมไม่เศร้าโศก อย่างนี้บ้าง อีกนัยหนึ่ง บุคคลใดถูกความไม่ยินดี คือ ทุกขเวทนากระทบ ครอบงำ กลุ้มรุม ประกอบ ย่อมไม่เศร้าโศก คือ ไม่ลำบาก ไม่คร่ำครวญ ไม่ตีอกพร่ำเพ้อ ไม่ถึงความหลงใหล ได้แก่ ถูกโรคทางตากระทบ ครอบงำ กลุ้มรุม ประกอบ ย่อม ไม่เศร้าโศก คือ ไม่ลำบาก ไม่คร่ำครวญ ไม่ตีอกพร่ำเพ้อ ไม่ถึงความหลงใหล ถูกโรคทางหู .... โรคทางจมูก ... โรคทางลิ้น ... โรคทางกาย ... โรคศีรษะ ... โรคหู ... โรคปาก ... โรคฟัน ... โรคไอ ... โรคหืด ... ไข้หวัด ... ไข้พิษ ... ไข้เชื่อมซึม ... โรคท้อง ... เป็นลมสลบ ... ลงแดง ... จุกเสียด ... อหิวาตกโรค ... โรคเรื้อน ... ฝี ... กลาก ... มองคร่อ ... ลมบ้าหมู ... หิดเปื่อย ... หิดด้าน ... หิด ... หูด ... โรคละลอก ... โรค ดีซ่าน ... โรคเบาหวาน ... โรคเริม ... โรคพุพอง ... โรคริดสีดวงทวาร ... ความเจ็บป่วย ที่เกิดจากดี ... ความเจ็บป่วยที่เกิดจากเสมหะ ... ความเจ็บป่วยที่เกิดจากลม ... ไข้ สันนิบาต ... ความเจ็บป่วยที่เกิดจากการเปลี่ยนฤดูกาล ... ความเจ็บป่วยที่เกิดจาก การผลัดเปลี่ยนอริยาบถไม่ได้ส่วนกัน ... ความเจ็บป่วยที่เกิดจากความพากเพียร เกินกำลัง ... ความเจ็บป่วยที่เกิดจากผลกรรม ... ความหนาว ... ความร้อน ... ความหิว ... ความกระหาย ... ปวดอุจจาระ ... ปวดปัสสาวะ ... ทุกข์ที่เกิดจาก สัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลานกระทบ ครอบงำ กลุ้มรุม ประกอบ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๒๙๕}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๐. ปุราเภทสุตตนิทเทส

ย่อมไม่เศร้าโศก คือ ไม่ลำบากใจ ไม่คร่ำครวญ ไม่ตีอกพร่ำเพ้อ ไม่ถึงความหลงใหล รวมความว่า เมื่อไม่มีความถือว่าเป็นของตน ย่อมไม่เศร้าโศก อย่างนี้บ้าง อีกนัยหนึ่ง เมื่อความถือว่าเป็นของตนไม่มีอยู่ ไม่ปรากฏ หาไม่ได้ ย่อมไม่ เศร้าโศก คือ ไม่ลำบากใจ ไม่ตีอกพร่ำเพ้อ ไม่ถึงความหลงใหลว่า “โอ เราไม่มีสิ่ง นั้นหนอ เราพึงมีสิ่งนั้นหนอ และเราไม่ได้สิ่งนั้นหนอ” รวมความว่า เมื่อไม่มีความ ถือว่าเป็นของตน ก็ย่อมไม่เศร้าโศก อย่างนี้บ้าง
ว่าด้วยผู้ไม่ลำเอียง
คำว่า ไม่ถึงความลำเอียงในธรรมทั้งหลาย อธิบายว่า ไม่ถึงฉันทาคติ ไม่ถึงโทสาคติ ไม่ถึงโมหาคติ ไม่ถึงภยาคติ คือ ไม่ดำเนินไปตามอำนาจราคะ ไม่ดำเนินไปตามอำนาจโทสะ ไม่ดำเนินไปตามอำนาจโมหะ ไม่ดำเนินไปตามอำนาจ มานะ ไม่ดำเนินไปตามอำนาจทิฏฐิ ไม่ดำเนินไปตามอำนาจอุทธัจจะ ไม่ดำเนินไป ตามอำนาจวิจิกิจฉา ไม่ดำเนินไปตามอำนาจอนุสัย ได้แก่ ไม่ไป ไม่ออกไป ไม่ถูก พาไป ไม่ถูกนำไป ด้วยธรรมที่ก่อความเป็นฝักเป็นฝ่าย รวมความว่า ไม่ถึงความ ลำเอียงในธรรมทั้งหลาย
ว่าด้วยผู้สงบ
คำว่า บุคคลนั้นแล เรียกว่า ผู้สงบ อธิบายว่า บุคคลนั้น เรียก คือ กล่าว พูด บอก แสดง ชี้แจงว่าผู้สงบ คือ เข้าไปสงบ สงบเย็น ดับ สงัด รวมความว่า ผู้นั้นแล เรียกว่า ผู้สงบ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า บุคคลใดไม่มีความถือว่าเป็นของตนในโลก เมื่อไม่มีความถือว่าเป็นของตน ย่อมไม่เศร้าโศก ไม่ถึงความลำเอียงในธรรมทั้งหลาย บุคคลนั้นแล เรียกว่า ผู้สงบ
ปุราเภทสุตตนิทเทสที่ ๑๐ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๒๙๖}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๙ หน้าที่ ๒๔๖-๒๙๖. http://84000.org/tipitaka/english/m_siri.php?B=29&siri=10              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4], [5], [6], [7], [8], [9], [10], [11], [12], [13], [14], [15], [16], [17], [18].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/english/v.php?B=29&A=4612&Z=5616                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=29&i=374              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=29&item=374&items=68              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=45&A=7251              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=29&item=374&items=68              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=45&A=7251                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu29



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :