ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค
๕. สัมมสนญาณนิทเทส
แสดงสัมมสนญาณ
[๔๘] ปัญญาในการย่อธรรมทั้งหลาย ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน แล้วกำหนดไว้ ชื่อว่าสัมมสนญาณ เป็นอย่างไร คือ พระโยคาวจรกำหนดรูปทุกอย่างทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน เป็น ภายในก็ตาม เป็นภายนอกก็ตาม หยาบก็ตาม ละเอียดก็ตาม เลวก็ตาม ประณีต ก็ตาม มีในที่ไกลก็ตาม มีในที่ใกล้ก็ตาม โดยความไม่เที่ยง การกำหนดนี้ ชื่อว่า @เชิงอรรถ : @ สังเขป ๔ หมายถึงธรรม ๔ กลุ่ม ได้แก่ (๑) อดีตเหตุ คือ อวิชชาและสังขาร เรียกว่า เหตุสังเขป (๒) ปัจจุบัน- @ผล คือ วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ และเวทนา เรียกว่า ผลสังเขป (๓) ปัจจุบันเหตุ คือ ตัณหา @อุปาทานและภพ เรียกว่า เหตุสังเขป (๔) อนาคตผล คือชาติ ชรา มรณะและโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส @อุปายาส เรียกว่า ผลสังเขป (ขุ.ป.อ. ๑/๔๗/๒๖๑) @ กาล ๓ หมายถึงธรรมที่เป็นไปในกาล ๓ กาล ได้แก่ (๑) อดีตกาล คือ อวิชชาและสังขาร (๒) ปัจจุบันกาล @คือ วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน และภพ (๓) อนาคตกาล คือ ชาติ ชรา @มรณะ และโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส (ขุ.ป.อ. ๑/๔๗/๒๖๑) @ สนธิ ๓ หมายถึงขั้วต่อระหว่างสังเขป ๔ มี ๓ ขั้วต่อ ได้แก่ (๑) ขั้วต่อระหว่างอดีตเหตุกับปัจจุบันผล เรียกว่า @เหตุผลสนธิ (๒) ขั้วต่อระหว่างปัจจุบันผลกับปัจจุบันเหตุ เรียกว่าผลเหตุสนธิ (๓) ขั้วต่อระหว่างปัจจุบัน- @เหตุกับอนาคตผล เรียกว่า เหตุผลสนธิ (ขุ.ป.อ. ๑/๔๗/๒๖๑) @ อาการ ๒๐ หมายถึงองค์ประกอบแต่ละอย่างดุจกำของล้อที่ต้องกระจายให้เต็มตามช่องแห่งสังเขป ๔ @อาการ ๒๐ ประการนี้ จำแนกตามส่วนที่เป็นเหตุและส่วนที่เป็นผลได้ดังนี้ คือ อดีตเหตุ ๕ ได้แก่ อวิชชา @สังขาร ตัณหา อุปาทาน และภพ ปัจจุบันผล ๕ ได้แก่ วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ และเวทนา @ปัจจุบันเหตุ ๕ ได้แก่ อวิชชา สังขาร ตัณหา อุปาทานและภพ อนาคตผล ๕ ได้แก่ วิญญาณ นามรูป @สฬายตนะ ผัสสะ และเวทนา (ขุ.ป.อ. ๑/๔๗/๒๖๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๗๔}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๑. ญาณกถา ๕. สัมมสนญาณนิทเทส

สัมมสนญาณอย่างหนึ่ง กำหนดโดยความเป็นทุกข์ การกำหนดนี้ ชื่อว่าสัมมสน- ญาณอย่างหนึ่ง กำหนดโดยความเป็นอนัตตา การกำหนดนี้ ชื่อว่าสัมมสนญาณ อย่างหนึ่ง พระโยคาวจรกำหนดเวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ พระโยคาวจรกำหนดวิญญาณทุกอย่างทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน เป็น ภายในก็ตาม เป็นภายนอกก็ตาม หยาบก็ตาม ละเอียดก็ตาม เลวก็ตาม ประณีตก็ตาม มีในที่ไกลก็ตาม มีในที่ใกล้ก็ตาม โดยความไม่เที่ยง การกำหนดนี้ ชื่อว่าสัมมสน- ญาณอย่างหนึ่ง กำหนดโดยความเป็นทุกข์ การกำหนดนี้ ชื่อว่าสัมมสนญาณอย่าง หนึ่ง กำหนดโดยความเป็นอนัตตา การกำหนดนี้ ชื่อว่าสัมมสนญาณอย่างหนึ่ง พระโยคาวจรกำหนดจักขุทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน โดยความไม่เที่ยง การกำหนดนี้ ชื่อว่าสัมมสนญาณอย่างหนึ่ง ฯลฯ๑- พระโยคาวจรกำหนดชราและมรณะทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน โดย ความไม่เที่ยง การกำหนดนี้ ชื่อว่าสัมมสนญาณอย่างหนึ่ง กำหนดโดย ความเป็นทุกข์ การกำหนดนี้ ชื่อว่าสัมมสนญาณอย่างหนึ่ง กำหนดโดยความเป็น อนัตตา การกำหนดนี้ ชื่อว่าสัมมสนญาณอย่างหนึ่ง ปัญญาในการย่อแล้วกำหนดว่า “รูปทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ชื่อว่าไม่เที่ยง เพราะมีสภาวะสิ้นไป ชื่อว่าเป็นทุกข์ เพราะมีสภาวะเป็นภัย ชื่อว่า เป็นอนัตตา เพราะมีสภาวะไม่มีแก่นสาร” ชื่อว่าสัมมสนญาณ ปัญญาในการย่อแล้วกำหนดว่า “เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณ ฯลฯ ปัญญาในการย่อแล้วกำหนดว่า “จักขุ ฯลฯ ชราและมรณะทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ชื่อว่าไม่เที่ยง เพราะมีสภาวะสิ้นไป ชื่อว่าเป็นทุกข์ เพราะมี สภาวะเป็นภัย ชื่อว่าเป็นอนัตตา เพราะมีสภาวะไม่มีแก่นสาร” ชื่อว่าสัมมสนญาณ ปัญญาในการย่อแล้วกำหนดรูปทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบันว่า “ไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยกันเกิดขึ้น มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา เสื่อมไปเป็นธรรมดา คลายไปเป็นธรรมดา ดับไปเป็นธรรมดา” ชื่อว่าสัมมสนญาณ @เชิงอรรถ : @ ดูความเต็มองค์ธรรม ในข้อ ๓-๖ หน้า ๙-๑๓ แห่งสุตมยญาณนิทเทส ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๗๕}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๑. ญาณกถา ๕. สัมมสนญาณนิทเทส

ปัญญาในการย่อแล้วกำหนดเวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณ ฯลฯ ปัญญาในการย่อแล้วกำหนดจักขุ ฯลฯ ชราและมรณะ ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบันว่า “ไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยกันเกิดขึ้น มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา เสื่อมไปเป็นธรรมดา คลายไปเป็นธรรมดา ดับไปเป็นธรรมดา” ชื่อว่าสัมมสนญาณ ปัญญาในการย่อแล้วกำหนดว่า “เพราะชาติเป็นปัจจัย ชราและมรณะจึงมี เมื่อชาติไม่มี ชราและมรณะก็ไม่มี” ชื่อว่าสัมมสนญาณ ปัญญาในการย่อแล้วกำหนด ในอดีตกาลก็ดี ในอนาคตกาลก็ดีว่า “เพราะ ชาติเป็นปัจจัย ชราและมรณะจึงมี เมื่อชาติไม่มี ชราและมรณะก็ไม่มี” ชื่อว่า สัมมสนญาณ ปัญญาในการย่อแล้วกำหนดว่า “เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี เมื่อภพไม่มี ชาติก็ไม่มี ฯลฯ เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี เมื่ออุปาทานไม่มี ภพก็ไม่มี ฯลฯ เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี เมื่อตัณหาไม่มี อุปาทานก็ไม่มี ฯลฯ เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี เมื่อเวทนาไม่มี ตัณหาก็ไม่มี ฯลฯ เพราะผัสสะ เป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เมื่อผัสสะไม่มี เวทนาก็ไม่มี ฯลฯ เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี เมื่อสฬายตนะไม่มี ผัสสะก็ไม่มี ฯลฯ เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี เมื่อนามรูปไม่มี สฬายตนะก็ไม่มี ฯลฯ เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี เมื่อวิญญาณไม่มี นามรูปก็ไม่มี ฯลฯ เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณ จึงมี เมื่อสังขารไม่มี วิญญาณก็ไม่มี ฯลฯ เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี เมื่ออวิชชาไม่มี สังขารก็ไม่มี” ชื่อว่าสัมมสนญาณ ปัญญาในการย่อแล้วกำหนด ในอดีตกาลก็ดี ในอนาคตกาลก็ดีว่า “เพราะ อวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี เมื่ออวิชชาไม่มี สังขารก็ไม่มี” ชื่อว่าสัมมสนญาณ ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด เพราะ เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการย่อธรรมทั้งหลายทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบันแล้วกำหนดไว้ ชื่อว่าสัมมสนญาณ
สัมมสนญาณนิทเทสที่ ๕ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๗๖}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๑ หน้าที่ ๗๔-๗๖. http://84000.org/tipitaka/english/m_siri.php?B=31&siri=18              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/english/v.php?B=31&A=1219&Z=1266                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=31&i=99              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=31&item=99&items=4              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=47&A=5895              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=31&item=99&items=4              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=47&A=5895                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu31



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :