ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค
๑๐. โคตรภูญาณนิทเทส
แสดงโคตรภูญาณ
[๕๙] ปัญญาในการออกและหลีกไปจากนิมิตภายนอก ชื่อว่าโคตรภูญาณ เป็นอย่างไร คือ ชื่อว่าโคตรภู เพราะครอบงำความเกิดขึ้น ชื่อว่าโคตรภู เพราะครอบงำ ความเป็นไป ชื่อว่าโคตรภู เพราะครอบงำนิมิต ชื่อว่าโคตรภู เพราะครอบงำกรรม เป็นเครื่องประมวลมา ชื่อว่าโคตรภู เพราะครอบงำปฏิสนธิ ชื่อว่าโคตรภู เพราะ ครอบงำคติ ชื่อว่าโคตรภู เพราะครอบงำความบังเกิด ชื่อว่าโคตรภู เพราะครอบงำ ความอุบัติ ชื่อว่าโคตรภู เพราะครอบงำความเกิด ชื่อว่าโคตรภู เพราะครอบงำความ แก่ ชื่อว่าโคตรภู เพราะครอบงำความเจ็บไข้ ชื่อว่าโคตรภู เพราะครอบงำความตาย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๙๔}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๑. ญาณกถา ๑๐. โคตรภูญาณนิทเทส

ชื่อว่าโคตรภู เพราะครอบงำความเศร้าโศก ชื่อว่าโคตรภู เพราะครอบงำความ รำพัน ชื่อว่าโคตรภู เพราะครอบงำความคับแค้นใจ ชื่อว่าโคตรภู เพราะครอบงำ สังขารนิมิตภายนอก ชื่อว่าโคตรภู เพราะแล่นไปสู่ความไม่เกิดขึ้น ฯลฯ ชื่อว่าโคตรภู เพราะแล่นไป สู่ความดับคือนิพพาน ชื่อว่าโคตรภู เพราะครอบงำความเกิดขึ้นแล้วแล่นไปสู่ความไม่เกิดขึ้น ชื่อว่า โคตรภู เพราะครอบงำความเป็นไปแล้วแล่นไปสู่ความไม่เป็นไป ชื่อว่าโคตรภู เพราะ ครอบงำนิมิตแล้วแล่นไปสู่อนิมิต ฯลฯ ชื่อว่าโคตรภู เพราะครอบงำสังขารนิมิต ภายนอกแล้วแล่นไปสู่ความดับคือนิพพาน ชื่อว่าโคตรภู เพราะออกจากความเกิดขึ้น ชื่อว่าโคตรภู เพราะออกจากความ เป็นไป ชื่อว่าโคตรภู เพราะออกจากนิมิต ชื่อว่าโคตรภู เพราะออกจากกรรมเป็น เครื่องประมวลมา ชื่อว่าโคตรภู เพราะออกจากปฏิสนธิ ชื่อว่าโคตรภู เพราะออก จากคติ ชื่อว่าโคตรภู เพราะออกจากความบังเกิด ชื่อว่าโคตรภู เพราะออกจาก ความอุบัติ ชื่อว่าโคตรภู เพราะออกจากความเกิด ชื่อว่าโคตรภู เพราะออกจาก ความแก่ ชื่อว่าโคตรภู เพราะออกจากความเจ็บไข้ ชื่อว่าโคตรภู เพราะออกจาก ความตาย ชื่อว่าโคตรภู เพราะออกจากความเศร้าโศก ชื่อว่าโคตรภู เพราะออก จากความรำพัน ชื่อว่าโคตรภู เพราะออกจากความคับแค้นใจ ชื่อว่าโคตรภู เพราะ ออกจากสังขารนิมิตภายนอก ชื่อว่าโคตรภู เพราะแล่นไปสู่ความไม่เกิดขึ้น ชื่อว่าโคตรภู เพราะแล่นไปสู่ ความไม่เป็นไป ฯลฯ ชื่อว่าโคตรภู เพราะแล่นไปสู่ความดับคือนิพพาน ชื่อว่าโคตรภู เพราะออกจากความเกิดขึ้นแล้วแล่นไปสู่ความไม่เกิดขึ้น ชื่อว่า โคตรภู เพราะออกจากความเป็นไปแล้วแล่นไปสู่ความไม่เป็นไป ชื่อว่าโคตรภู เพราะ ออกจากนิมิตแล้วแล่นไปสู่อนิมิต ชื่อว่าโคตรภู เพราะออกจากกรรมเป็นเครื่อง ประมวลมาแล้วแล่นไปสู่ความไม่มีกรรมเป็นเครื่องประมวลมา ชื่อว่าโคตรภู เพราะ ออกจากปฏิสนธิแล้วแล่นไปสู่ความไม่มีปฏิสนธิ ชื่อว่าโคตรภู เพราะออกจากคติแล้ว {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๙๕}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๑. ญาณกถา ๑๐. โคตรภูญาณนิทเทส

แล่นไปสู่อคติ ชื่อว่าโคตรภู เพราะออกจากความบังเกิดแล้วแล่นไปสู่ความไม่ บังเกิด ชื่อว่าโคตรภู เพราะออกจากความอุบัติแล้วแล่นไปสู่ความไม่อุบัติ ชื่อว่า โคตรภู เพราะออกจากความเกิดแล้วแล่นไปสู่ความไม่เกิด ชื่อว่าโคตรภู เพราะออก จากความแก่แล้วแล่นไปสู่ความไม่แก่ ชื่อว่าโคตรภู เพราะออกจากความเจ็บไข้แล้ว แล่นไปสู่ความไม่เจ็บไข้ ชื่อว่าโคตรภู เพราะออกจากความตายแล้วแล่นไปสู่ความ ไม่ตาย ชื่อว่าโคตรภู เพราะออกจากความเศร้าโศกแล้วแล่นไปสู่ความไม่เศร้าโศก ชื่อว่าโคตรภู เพราะออกจากความรำพันแล้วแล่นไปสู่ความไม่รำพัน ชื่อว่าโคตรภู เพราะออกจากความคับแค้นใจแล้วแล่นไปสู่ความไม่คับแค้นใจ ชื่อว่าโคตรภู เพราะ ออกจากสังขารนิมิตภายนอกแล้วแล่นไปสู่ความดับคือนิพพาน ชื่อว่าโคตรภู เพราะหลีกออกจากความเกิดขึ้น ชื่อว่าโคตรภู เพราะหลีกออก จากความเป็นไป ฯลฯ ชื่อว่าโคตรภู เพราะหลีกออกจากสังขารนิมิตภายนอก ชื่อว่าโคตรภู เพราะแล่นไปสู่ความไม่เกิดขึ้น ชื่อว่าโคตรภู เพราะแล่นไปสู่ ความไม่เป็นไป ฯลฯ ชื่อว่าโคตรภู เพราะแล่นไปสู่ความดับคือนิพพาน ชื่อว่าโคตรภู เพราะหลีกออกจากความเกิดขึ้นแล้วแล่นไปสู่ความไม่เกิดขึ้น ชื่อว่าโคตรภู เพราะหลีกออกจากความเป็นไปแล้วแล่นไปสู่ความไม่เป็นไป ฯลฯ ชื่อว่าโคตรภู เพราะหลีกออกจากสังขารนิมิตภายนอกแล้วแล่นไปสู่ความดับ คือนิพพาน [๖๐] โคตรภูธรรมเท่าไรเกิดขึ้นด้วยอำนาจสมถะ โคตรภูธรรมเท่าไร เกิดขึ้นด้วยอำนาจวิปัสสนา คือ โคตรภูธรรม ๘ ประการเกิดขึ้นด้วยอำนาจสมถะ โคตรภูธรรม ๑๐ ประการเกิดขึ้นด้วยอำนาจวิปัสสนา โคตรภูธรรม ๘ ประการ อะไรบ้าง เกิดขึ้นด้วยอำนาจสมถะ คือ ๑. ญาณที่ครอบงำนิวรณ์ เพื่อได้ปฐมฌาน ชื่อว่าโคตรภู ๒. ญาณที่ครอบงำวิตกวิจาร เพื่อได้ทุติยฌาน ชื่อว่าโคตรภู ๓. ญาณที่ครอบงำปีติ เพื่อได้ตติยฌาน ชื่อว่าโคตรภู {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๙๖}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๑. ญาณกถา ๑๐. โคตรภูญาณนิทเทส

๔. ญาณที่ครอบงำสุขและทุกข์ เพื่อได้จตุตถฌาน ชื่อว่าโคตรภู ๕. ญาณที่ครอบงำรูปสัญญา ปฏิฆสัญญา นานัตตสัญญา เพื่อได้ อากาสานัญจายตนสมาบัติ ชื่อว่าโคตรภู ๖. ญาณที่ครอบงำอากาสานัญจายตนสัญญา เพื่อได้วิญญาณัญจายตน- สมาบัติ ชื่อว่าโคตรภู ๗. ญาณที่ครอบงำวิญญาณัญจายตนสัญญา เพื่อได้อากิญจัญญายตน- สมาบัติ ชื่อว่าโคตรภู ๘. ญาณที่ครอบงำอากิญจัญญายตนสัญญา เพื่อได้เนวสัญญา- นาสัญญายตนสมาบัติ ชื่อว่าโคตรภู โคตรภูธรรม ๘ ประการนี้เกิดขึ้นด้วยอำนาจสมถะ โคตรภูธรรม ๑๐ ประการ อะไรบ้าง เกิดขึ้นด้วยอำนาจวิปัสสนา คือ ๑. ญาณที่ครอบงำความเกิดขึ้น ความเป็นไป นิมิต กรรมเป็นเครื่อง ประมวลมา ปฏิสนธิ คติ ความบังเกิด ความอุบัติ ความเกิด ความแก่ ความเจ็บไข้ ความตาย ความเศร้าโศก ความรำพัน ความคับแค้นใจ สังขารนิมิตภายนอก เพื่อได้ โสดาปัตติมรรค ชื่อว่าโคตรภู ๒. ญาณที่ครอบงำความเกิดขึ้น ฯลฯ เพื่อได้โสดาปัตติผลสมาบัติ ชื่อว่าโคตรภู ๓. ญาณที่ครอบงำความเกิดขึ้น ฯลฯ เพื่อได้สกทาคามิมรรค ชื่อว่าโคตรภู ๔. ญาณที่ครอบงำความเกิดขึ้น ฯลฯ เพื่อได้สกทาคามิผลสมาบัติ ชื่อว่าโคตรภู ๕. ญาณที่ครอบงำความเกิดขึ้น ฯลฯ เพื่อได้อนาคามิมรรค ชื่อว่าโคตรภู ๖. ญาณที่ครอบงำความเกิดขึ้น ฯลฯ เพื่อได้อนาคามิผลสมาบัติ ชื่อว่าโคตรภู ๗. ญาณที่ครอบงำความเกิดขึ้น ฯลฯ เพื่อได้อรหัตตมรรค ชื่อว่าโคตรภู ๘. ญาณที่ครอบงำความเกิดขึ้น ฯลฯ เพื่อได้อรหัตตผลสมาบัติ ชื่อ ว่าโคตรภู ๙. ญาณที่ครอบงำความเกิดขึ้น ฯลฯ เพื่อได้สุญญตวิหารสมาบัติ ชื่อว่าโคตรภู {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๙๗}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๑. ญาณกถา ๑๐. โคตรภูญาณนิทเทส

๑๐. ญาณที่ครอบงำความเกิดขึ้น ความเป็นไป นิมิต กรรมเป็นเครื่อง ประมวลมา ปฏิสนธิ คติ ความบังเกิด ความอุบัติ ความเกิด ความแก่ ความเจ็บไข้ ความตาย ความเศร้าโศก ความรำพัน ความคับแค้นใจ สังขารนิมิตภายนอก เพื่อได้อนิมิตตวิหารสมาบัติ ชื่อว่าโคตรภู โคตรภูธรรม ๑๐ ประการนี้เกิดขึ้นด้วยอำนาจวิปัสสนา โคตรภูธรรม ฝ่ายกุศลมีเท่าไร ฝ่ายอกุศลมีเท่าไร ฝ่ายอัพยากฤตมีเท่าไร คือ โคตรภูธรรม ฝ่ายกุศลมี ๑๕ ฝ่ายอัพยากฤตมี ๓ ฝ่ายอกุศลไม่มี โคตรภูธรรม ๘ ประการ คือ (๑) มีอามิส๑- (๒) ไม่มีอามิส (๓) มีที่ตั้ง๒- (๔) ไม่มีที่ตั้ง (๕) เป็นสุญญตะ๓- (๖) เป็นวิสุญญตะ (๗) เป็นวุฏฐิตะ๔- (๘) เป็นอวุฏฐิตะ ๘ ประการเป็นปัจจัยแห่งสมาธิ ๑๐ ประการเป็นโคจรแห่งญาณ ๑๘ ประการเป็นปัจจัยแห่งวิโมกข์ ๓ อาการ ๑๘ ประการนี้ อันพระโยคาวจรใดอบรมแล้วด้วยปัญญา พระโยคาวจรนั้นเป็นผู้ฉลาดในญาณ ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะทิฏฐิต่างๆ ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการออกและหลีกไปจากนิมิตภายนอก ชื่อว่าโคตรภูญาณ
โคตรภูญาณนิทเทสที่ ๑๐ จบ
@เชิงอรรถ : @ อามิส ในที่นี้หมายถึงวัฏฏามิส โลกามิส และกิเลสามิส (ขุ.ป.อ. ๑/๖๐/๒๙๕) @ ที่ตั้ง ในที่นี้หมายถึงนิกันติ (ขุ.ป.อ. ๑/๖๐/๒๙๕) @ สุญญตะ ในที่นี้หมายถึงโคตรภูธรรมที่ประกอบด้วยนิกันติ (ขุ.ป.อ. ๑/๖๐/๒๙๕) @ วุฏฐิตะ ในที่นี้หมายถึงวิปัสสนาโคตรภูญาณ (ขุ.ป.อ. ๑/๖๐/๒๙๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๙๘}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๑ หน้าที่ ๙๔-๙๘. http://84000.org/tipitaka/english/m_siri.php?B=31&siri=23              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/english/v.php?B=31&A=1584&Z=1645                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=31&i=136              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=31&item=136&items=7              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=47&A=6559              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=31&item=136&items=7              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=47&A=6559                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu31



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :