ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค
             [๗] ทุกข์ควรรู้ยิ่ง ทุกขสมุทัย (เหตุให้เกิดทุกข์) ควรรู้ยิ่ง ทุกขนิโรธ (ความ
ดับทุกข์) ควรรู้ยิ่ง ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา (ข้อปฏิบัติที่ให้ถึงความดับทุกข์) ควรรู้ยิ่ง
รูปควรรู้ยิ่ง รูปสมุทัย (เหตุให้เกิดรูป) ควรรู้ยิ่ง รูปนิโรธ (ความดับรูป) ควรรู้ยิ่ง
รูปนิโรธคามินีปฏิปทา (ข้อปฏิบัติที่ให้ถึงความดับรูป) ควรรู้ยิ่ง
@เชิงอรรถ :
@ คำว่า โวการเดียว หมายถึงขันธ์เดียวคือรูปขันธ์ (ขุ.ป.อ. ๑/๕/๙๗)
@ คำว่า ๔ โวการ หมายถึงอรูปขันธ์ ๔ (ขุ.ป.อ. ๑/๕/๙๗)
@ คำว่า ๕ โวการ หมายถึงขันธ์ ๕ (ขุ.ป.อ. ๑/๕/๙๗)
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๑๓}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๑. ญาณกถา ๑. สุตมยญาณนิทเทส

เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณ ฯลฯ จักขุ ฯลฯ ชราและมรณะควรรู้ยิ่ง ชรามรณสมุทัย (เหตุให้เกิดชราและมรณะ) ควรรู้ยิ่ง ชรามรณนิโรธ (ความดับแห่งชราและมรณะ) ควรรู้ยิ่ง ชรามรณนิโรธคามินีปฏิปทา (ข้อปฏิบัติที่ให้ถึงความดับแห่งชราและมรณะ) ควรรู้ยิ่ง สภาวะที่ควรกำหนดรู้แห่งทุกข์ควรรู้ยิ่ง สภาวะที่ควรละแห่งทุกขสมุทัยควรรู้ยิ่ง สภาวะที่ควรทำให้แจ้งแห่งทุกขนิโรธควรรู้ยิ่ง สภาวะที่ควรเจริญแห่งทุกขนิโรธ- คามินีปฏิปทาควรรู้ยิ่ง สภาวะที่ควรกำหนดรู้แห่งรูปควรรู้ยิ่ง สภาวะที่ควรละแห่งรูปสมุทัยควรรู้ยิ่ง สภาวะที่ควรทำให้แจ้งแห่งรูปนิโรธควรรู้ยิ่ง สภาวะที่ควรเจริญแห่งรูปนิโรธคามินีปฏิปทา ควรรู้ยิ่ง สภาวะที่ควรกำหนดรู้แห่งเวทนา ฯลฯ สภาวะที่ควรกำหนดรู้แห่งสัญญา ฯลฯ สภาวะที่ควรกำหนดรู้แห่งสังขาร ฯลฯ สภาวะที่ควรกำหนดรู้แห่งวิญญาณ ฯลฯ สภาวะที่ควรกำหนดรู้แห่งจักขุ ฯลฯ สภาวะที่ควรกำหนดรู้แห่งชราและมรณะควรรู้ยิ่ง สภาวะที่ควรละแห่งชรา- มรณสมุทัยควรรู้ยิ่ง สภาวะที่ควรทำให้แจ้งแห่งชรามรณนิโรธควรรู้ยิ่ง สภาวะที่ควร เจริญแห่งชรามรณนิโรธคามินีปฏิปทาควรรู้ยิ่ง สภาวะที่รู้แจ้งด้วยการกำหนดรู้แห่งทุกข์ควรรู้ยิ่ง สภาวะที่รู้แจ้งด้วยการละ แห่งทุกขสมุทัยควรรู้ยิ่ง สภาวะที่รู้แจ้งด้วยการทำให้แจ้งแห่งทุกขนิโรธควรรู้ยิ่ง สภาวะที่รู้แจ้งด้วยการเจริญแห่งทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาควรรู้ยิ่ง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๑๔}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๑. ญาณกถา ๑. สุตมยญาณนิทเทส

สภาวะที่รู้แจ้งด้วยการกำหนดรู้แห่งรูปควรรู้ยิ่ง สภาวะที่รู้แจ้งด้วยการละแห่ง รูปสมุทัยควรรู้ยิ่ง สภาวะที่รู้แจ้งด้วยการทำให้แจ้งแห่งรูปนิโรธควรรู้ยิ่ง สภาวะที่ รู้แจ้งด้วยการเจริญแห่งรูปนิโรธคามินีปฏิปทาควรรู้ยิ่ง สภาวะที่รู้แจ้งด้วยการกำหนดรู้แห่งเวทนา ฯลฯ สภาวะที่รู้แจ้งด้วยการกำหนดรู้แห่งสัญญา ฯลฯ สภาวะที่รู้แจ้งด้วยการกำหนดรู้แห่งสังขาร ฯลฯ สภาวะที่รู้แจ้งด้วยการกำหนดรู้แห่งวิญญาณ ฯลฯ สภาวะที่รู้แจ้งด้วยการกำหนดรู้แห่งจักขุ ฯลฯ สภาวะที่รู้แจ้งด้วยการกำหนดรู้แห่งชราและมรณะควรรู้ยิ่ง สภาวะที่รู้แจ้งด้วย การละแห่งชรามรณสมุทัยควรรู้ยิ่ง สภาวะที่รู้แจ้งด้วยการทำให้แจ้งแห่งชรามรณนิโรธ ควรรู้ยิ่ง สภาวะที่รู้แจ้งด้วยการเจริญแห่งชรามรณนิโรธคามินีปฏิปทาควรรู้ยิ่ง [๘] ทุกข์ควรรู้ยิ่ง ทุกขสมุทัยควรรู้ยิ่ง ทุกขนิโรธควรรู้ยิ่ง ความดับเหตุเกิด แห่งทุกข์ควรรู้ยิ่ง ความดับฉันทราคะในทุกข์ควรรู้ยิ่ง คุณ๑- แห่งทุกข์ควรรู้ยิ่ง โทษ๒- แห่งทุกข์ควรรู้ยิ่ง เครื่องสลัดออกจากทุกข์ควรรู้ยิ่ง รูปควรรู้ยิ่ง รูปสมุทัย ... รูปนิโรธ ... ความดับเหตุให้เกิดรูป ... ความดับ ฉันทราคะในรูป ... คุณแห่งรูป ... โทษแห่งรูป ... เครื่องสลัดออกจากรูปควรรู้ยิ่ง เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณ ฯลฯ จักขุ ฯลฯ ชราและมรณะควรรู้ยิ่ง ชรามรณสมุทัย ... ชรามรณนิโรธ ... ความดับเหตุให้ เกิดชราและมรณะ ... ความดับฉันทราคะในชราและมรณะ ... คุณแห่งชราและมรณะ ... โทษแห่งชราและมรณะ ... เครื่องสลัดออกจากชราและมรณะควรรู้ยิ่ง @เชิงอรรถ : @ คุณ (อัสสาทะ) หมายถึงสภาวะที่อร่อย หรือสภาวะที่สุขกายและสุขใจ ซึ่งเกี่ยวข้องกับกามคุณ @(องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๑๐/๒๘๘, องฺ.จตุกฺก.ฏีกา ๒/๑๐/๒๘๘) @ โทษ (อาทีนวะ) หมายถึงสภาวะที่ไม่อร่อย หรือสภาวะที่ทุกข์กายและทุกข์ใจ ซึ่งมีธรรมเป็นเหตุ @(องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๑๐/๒๘๘, องฺ.จตุกฺก.ฏีกา ๒/๑๐/๒๘๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๑๕}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๑. ญาณกถา ๑. สุตมยญาณนิทเทส

ทุกข์ควรรู้ยิ่ง ทุกขสมุทัย ... ทุกขนิโรธ ... ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ... คุณแห่ง ทุกข์ ... โทษแห่งทุกข์ ... เครื่องสลัดออกจากทุกข์ควรรู้ยิ่ง รูปควรรู้ยิ่ง รูปสมุทัย ... รูปนิโรธ ... รูปนิโรธคามินีปฏิปทา ... คุณแห่งรูป ... โทษแห่งรูป ... เครื่องสลัดออกจากรูปควรรู้ยิ่ง เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณ ฯลฯ จักขุ ฯลฯ ชราและมรณะควรรู้ยิ่ง ชรามรณสมุทัย ... ชรามรณนิโรธ ... ชรามรณ- นิโรธคามินีปฏิปทา ... คุณแห่งชราและมรณะ ... โทษแห่งชราและมรณะ ... เครื่อง สลัดออกจากชราและมรณะควรรู้ยิ่ง [๙] อนิจจานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง) ควรรู้ยิ่ง ทุกขานุ- ปัสสนา (การพิจารณาเห็นทุกข์) ... อนัตตานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นอนัตตา) ... นิพพิทานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นความเบื่อหน่าย) ... วิราคานุปัสสนา (การ พิจารณาเห็นความคลายกำหนัด) ... นิโรธานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นความดับ) ... ปฏินิสสัคคานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นความสละคืน) ควรรู้ยิ่ง อนิจจานุปัสสนาในรูปควรรู้ยิ่ง ทุกขานุปัสสนาในรูป ... อนัตตานุปัสสนา ในรูป ... นิพพิทานุปัสสนาในรูป ... วิราคานุปัสสนาในรูป ... นิโรธานุปัสสนาในรูป ... ปฏินิสสัคคานุปัสสนาในรูปควรรู้ยิ่ง อนิจจานุปัสสนาในเวทนา ฯลฯ อนิจจานุปัสสนาในสัญญา ฯลฯ อนิจจานุปัสสนาในสังขาร ฯลฯ อนิจจานุปัสสนาในวิญญาณ ฯลฯ อนิจจานุปัสสนาในจักขุ ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๑๖}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๑. ญาณกถา ๑. สุตมยญาณนิทเทส

อนิจจานุปัสสนาในชราและมรณะควรรู้ยิ่ง ทุกขานุปัสสนาในชราและมรณะ ... อนัตตานุปัสสนาในชราและมรณะ ... นิพพิทานุปัสสนาในชราและมรณะ ... วิราคานุปัสสนาในชราและมรณะ ... นิโรธานุปัสสนาในชราและมรณะ ... ปฏินิสสัคคานุปัสสนาในชราและมรณะควรรู้ยิ่ง [๑๐] ความเกิดขึ้นควรรู้ยิ่ง ความเป็นไป ... นิมิต (เครื่องหมาย) ... กรรม เป็นเครื่องประมวลมา ... ปฏิสนธิ ... คติ (ภพที่ไปเกิด) ... ความบังเกิด ... ความ อุบัติ ... ความเกิด ... ความแก่ ... ความเจ็บไข้ ... ความตาย ... ความเศร้าโศก ... ความรำพัน ... ความคับแค้นใจควรรู้ยิ่ง ความไม่เกิดขึ้นควรรู้ยิ่ง ความไม่เป็นไป ... อนิมิต (ความไม่มีเครื่องหมาย) ... ความไม่มีกรรมเป็นเครื่องประมวลมา ... ความไม่มีปฏิสนธิ ... อคติ (ความไม่มีภพ ที่ไปเกิด) ... ความไม่บังเกิด ... ความไม่อุบัติ ... ความไม่เกิด ... ความไม่แก่ ... ความไม่เจ็บไข้ ... ความไม่ตาย ... ความไม่เศร้าโศก ... ความไม่รำพัน ... ความไม่คับ แค้นใจควรรู้ยิ่ง ความเกิดขึ้นควรรู้ยิ่ง ความไม่เกิดขึ้น ... ความเป็นไป ... ความไม่เป็นไป ... นิมิต ... อนิมิต ... กรรมเป็นเครื่องประมวลมา ... ความไม่มีกรรมเป็นเครื่องประมวลมา ... ปฏิสนธิ ... ความไม่มีปฏิสนธิ ... คติ ... อคติ ... ความบังเกิด ... ความไม่บังเกิด ... ความอุบัติ ... ความไม่อุบัติ ... ความเกิด ... ความไม่เกิด ... ความแก่ ... ความไม่แก่ ... ความเจ็บไข้ ... ความไม่เจ็บไข้ ... ความตาย ... ความไม่ตาย ... ความเศร้าโศก ... ความไม่เศร้าโศก ... ความรำพัน ... ความไม่รำพัน ... ความคับแค้นใจ ... ความไม่ คับแค้นใจควรรู้ยิ่ง ควรรู้ยิ่งว่า “ความเกิดขึ้นเป็นทุกข์” ... “ความเป็นไปเป็นทุกข์” ... “นิมิต เป็นทุกข์” ...“กรรมเป็นเครื่องประมวลมาเป็นทุกข์” ... “ปฏิสนธิเป็นทุกข์” ... “คติเป็นทุกข์” ... “ความบังเกิดเป็นทุกข์” ... “ความอุบัติเป็นทุกข์” ... “ความเกิด เป็นทุกข์” ... “ความแก่เป็นทุกข์” ... “ความเจ็บไข้เป็นทุกข์” ... “ความตายเป็น ทุกข์” ... “ความเศร้าโศกเป็นทุกข์” ... “ความรำพันเป็นทุกข์” ควรรู้ยิ่งว่า “ความคับแค้นใจเป็นทุกข์” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๑๗}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๑. ญาณกถา ๑. สุตมยญาณนิทเทส

ควรรู้ยิ่งว่า “ความไม่เกิดขึ้นเป็นสุข” ... “ความไม่เป็นไปเป็นสุข” ... “อนิมิต เป็นสุข” ... “ความไม่มีกรรมเป็นเครื่องประมวลมาเป็นสุข” ... “ความไม่มีปฏิสนธิ เป็นสุข” ... “อคติเป็นสุข” ... “ความไม่บังเกิดเป็นสุข” ... “ความไม่อุบัติเป็นสุข” ... “ความไม่เกิดเป็นสุข” ... “ความไม่แก่เป็นสุข” ... “ความไม่เจ็บไข้เป็นสุข” ... “ความไม่ตายเป็นสุข” ... “ความไม่เศร้าโศกเป็นสุข” ... “ความไม่รำพันเป็นสุข” ควรรู้ยิ่งว่า “ความไม่คับแค้นใจเป็นสุข” ควรรู้ยิ่งว่า “ความเกิดขึ้นเป็นทุกข์ ความไม่เกิดขึ้นเป็นสุข” ... “ความเป็น ไปเป็นทุกข์ ความไม่เป็นไปเป็นสุข” ... “นิมิตเป็นทุกข์ อนิมิตเป็นสุข” ... “กรรม เป็นเครื่องประมวลมาเป็นทุกข์ ความไม่มีกรรมเป็นเครื่องประมวลมาเป็นสุข” ... “ปฏิสนธิเป็นทุกข์ ความไม่มีปฏิสนธิเป็นสุข” ... “คติเป็นทุกข์ อคติเป็นสุข” ... “ความบังเกิดเป็นทุกข์ ความไม่บังเกิดเป็นสุข” ... “ความอุบัติเป็นทุกข์ ความไม่ อุบัติเป็นสุข” ... “ความเกิดเป็นทุกข์ ความไม่เกิดเป็นสุข” ... “ความแก่เป็น ทุกข์ ความไม่แก่เป็นสุข” ... “ความเจ็บไข้เป็นทุกข์ ความไม่เจ็บไข้เป็นสุข” ... “ความตายเป็นทุกข์ ความไม่ตายเป็นสุข” ... “ความเศร้าโศกเป็นทุกข์ ความไม่ เศร้าโศกเป็นสุข” ... “ความรำพันเป็นทุกข์ ความไม่รำพันเป็นสุข” ควรรู้ยิ่งว่า “ความคับแค้นใจเป็นทุกข์ ความไม่คับแค้นใจเป็นสุข” ควรรู้ยิ่งว่า “ความเกิดขึ้นเป็นภัย” ... “ความเป็นไปเป็นภัย” ... “นิมิตเป็นภัย” ... “กรรมเป็นเครื่องประมวลมาเป็นภัย” ... “ปฏิสนธิเป็นภัย” ... “คติเป็นภัย” ... “ความบังเกิดเป็นภัย” ... “ความอุบัติเป็นภัย” ... “ความเกิดเป็นภัย” ... “ความแก่ เป็นภัย” ... “ความเจ็บไข้เป็นภัย” ... “ความตายเป็นภัย” ... “ความเศร้าโศก เป็นภัย” ... “ความรำพันเป็นภัย” ควรรู้ยิ่งว่า “ความคับแค้นใจเป็นภัย” ควรรู้ยิ่งว่า “ความไม่เกิดขึ้นปลอดภัย” ... “ความไม่เป็นไปปลอดภัย” ... “อนิมิตปลอดภัย” ... “ความไม่มีกรรมเป็นเครื่องประมวลมาปลอดภัย” ... “ความ ไม่มีปฏิสนธิปลอดภัย” ... “อคติปลอดภัย” ... “ความไม่บังเกิดปลอดภัย” ... “ความไม่อุบัติปลอดภัย” ... “ความไม่เกิดปลอดภัย” ... “ความไม่แก่ปลอดภัย” ... “ความไม่เจ็บไข้ปลอดภัย” ... “ความไม่ตายปลอดภัย” ... “ความไม่เศร้าโศก ปลอดภัย” ... “ความไม่รำพันปลอดภัย” ควรรู้ยิ่งว่า “ความไม่คับแค้นใจปลอดภัย” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๑๘}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๑. ญาณกถา ๑. สุตมยญาณนิทเทส

ควรรู้ยิ่งว่า “ความเกิดขึ้นเป็นภัย ความไม่เกิดขึ้นปลอดภัย” ... “ความเป็นไป เป็นภัย ความไม่เป็นไปปลอดภัย” ... “นิมิตเป็นภัย อนิมิตปลอดภัย” ... “กรรม เป็นเครื่องประมวลมาเป็นภัย ความไม่มีกรรมเป็นเครื่องประมวลมาปลอดภัย” ... “ปฏิสนธิเป็นภัย ความไม่มีปฏิสนธิปลอดภัย” ... “คติเป็นภัย อคติปลอดภัย” ... “ความบังเกิดเป็นภัย ความไม่บังเกิดปลอดภัย” ... “ความอุบัติเป็นภัย ความไม่ อุบัติปลอดภัย” ... “ความเกิดเป็นภัย ความไม่เกิดปลอดภัย” ... “ความแก่เป็นภัย ความไม่แก่ปลอดภัย” ... “ความเจ็บไข้เป็นภัย ความไม่เจ็บไข้ปลอดภัย” ... “ความ ตายเป็นภัย ความไม่ตายปลอดภัย” ... “ความเศร้าโศกเป็นภัย ความไม่เศร้าโศก ปลอดภัย” ... “ความรำพันเป็นภัย ความไม่รำพันปลอดภัย” ควรรู้ยิ่งว่า “ความ คับแค้นใจเป็นภัย ความไม่คับแค้นใจปลอดภัย” ควรรู้ยิ่งว่า “ความเกิดขึ้นเป็นอามิส๑-” ... “ความเป็นไปเป็นอามิส” ... “นิมิต เป็นอามิส” ... “กรรมเป็นเครื่องประมวลมาเป็นอามิส” ... “ปฏิสนธิเป็นอามิส” ... “คติเป็นอามิส” ... “ความบังเกิดเป็นอามิส” ... “ความอุบัติเป็นอามิส” ... “ความ เกิดเป็นอามิส” ... “ความแก่เป็นอามิส” ... “ความเจ็บไข้เป็นอามิส” ... “ความ ตายเป็นอามิส” ... “ความเศร้าโศกเป็นอามิส” ... “ความรำพันเป็นอามิส” ควรรู้ ยิ่งว่า “ความคับแค้นใจเป็นอามิส” ควรรู้ยิ่งว่า “ความไม่เกิดขึ้นไม่เป็นอามิส” ... “ความไม่เป็นไปไม่เป็นอามิส”... “อนิมิตไม่เป็นอามิส” ... “ความไม่มีกรรมเป็นเครื่องประมวลมาไม่เป็นอามิส” ... “ความไม่มีปฏิสนธิไม่เป็นอามิส” ... “อคติไม่เป็นอามิส” ... “ความไม่บังเกิดไม่เป็น อามิส” ... “ความไม่อุบัติไม่เป็นอามิส” ... “ความไม่เกิดไม่เป็นอามิส” ... “ความ ไม่แก่ไม่เป็นอามิส” ... “ความไม่เจ็บไข้ไม่เป็นอามิส” ... “ความไม่ตายไม่เป็น อามิส” ... “ความไม่เศร้าโศกไม่เป็นอามิส” ... “ความไม่รำพันไม่เป็นอามิส” ควรรู้ ยิ่งว่า “ความไม่คับแค้นใจไม่เป็นอามิส” ควรรู้ยิ่งว่า “ความเกิดขึ้นเป็นอามิส ความไม่เกิดขึ้นไม่เป็นอามิส” ... “ความ เป็นไปเป็นอามิส ความไม่เป็นไปไม่เป็นอามิส” ... “นิมิตเป็นอามิส อนิมิตไม่เป็น @เชิงอรรถ : @ เป็นอามิส ในที่นี้หมายถึงสภาวะที่ไม่พ้นไปจากการเกี่ยวข้องอยู่ในวัฏฏะและโลก (ขุ.ป.อ. ๑/๑๐/๑๐๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๑๙}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๑. ญาณกถา ๑. สุตมยญาณนิทเทส

อามิส” ... “กรรมเป็นเครื่องประมวลมาเป็นอามิส ความไม่มีกรรมเป็นเครื่อง ประมวลมาไม่เป็นอามิส” ... “ปฏิสนธิเป็นอามิส ความไม่มีปฏิสนธิไม่เป็นอามิส” ... “คติเป็นอามิส อคติไม่เป็นอามิส” ... “ความบังเกิดเป็นอามิส ความไม่บังเกิดไม่ เป็นอามิส” ... “ความอุบัติเป็นอามิส ความไม่อุบัติไม่เป็นอามิส” ... “ความเกิด เป็นอามิส ความไม่เกิดไม่เป็นอามิส” ... “ความแก่เป็นอามิส ความไม่แก่ไม่เป็น อามิส” ... “ความเจ็บไข้เป็นอามิส ความไม่เจ็บไข้ไม่เป็นอามิส” ... “ความตายเป็น อามิส ความไม่ตายไม่เป็นอามิส” ... “ความเศร้าโศกเป็นอามิส ความไม่เศร้าโศก ไม่เป็นอามิส” ... “ความรำพันเป็นอามิส ความไม่รำพันไม่เป็นอามิส” ควรรู้ยิ่งว่า “ความคับแค้นใจเป็นอามิส ความไม่คับแค้นใจไม่เป็นอามิส” ควรรู้ยิ่งว่า “ความเกิดขึ้นเป็นสังขาร” ... “ความเป็นไปเป็นสังขาร” ... “นิมิต เป็นสังขาร” ... “กรรมเป็นเครื่องประมวลมาเป็นสังขาร” ... “ปฏิสนธิเป็นสังขาร” ... “คติเป็นสังขาร” ... “ความบังเกิดเป็นสังขาร” ... “ความอุบัติเป็นสังขาร” ... “ความเกิดเป็นสังขาร” ... “ความแก่เป็นสังขาร” ... “ความเจ็บไข้เป็นสังขาร” ... “ความตายเป็นสังขาร” ... “ความเศร้าโศกเป็นสังขาร” ... “ความรำพันเป็นสังขาร” ควรรู้ยิ่งว่า “ความคับแค้นใจเป็นสังขาร” ควรรู้ยิ่งว่า “ความไม่เกิดขึ้นเป็นนิพพาน” ... “ความไม่เป็นไปเป็นนิพพาน” ... “อนิมิตเป็นนิพพาน” ... “ความไม่มีกรรมเป็นเครื่องประมวลมาเป็นนิพพาน” ... “ความไม่มีปฏิสนธิเป็นนิพพาน” ... “อคติเป็นนิพพาน” ... “ความไม่บังเกิดเป็น นิพพาน” ... “ความไม่อุบัติเป็นนิพพาน” ... “ความไม่เกิดเป็นนิพพาน” ... “ความ ไม่แก่เป็นนิพพาน” ... “ความไม่เจ็บไข้เป็นนิพพาน” ... “ความไม่ตายเป็นนิพพาน” ... “ความไม่เศร้าโศกเป็นนิพพาน” ... “ความไม่รำพันเป็นนิพพาน” ควรรู้ยิ่งว่า “ความไม่คับแค้นใจเป็นนิพพาน” ควรรู้ยิ่งว่า “ความเกิดขึ้นเป็นสังขาร ความไม่เกิดขึ้นเป็นนิพพาน” ... “ความ เป็นไปเป็นสังขาร ความไม่เป็นไปเป็นนิพพาน” ... “นิมิตเป็นสังขาร อนิมิตเป็น นิพพาน” ... “กรรมเป็นเครื่องประมวลมาเป็นสังขาร ความไม่มีกรรมเป็นเครื่อง ประมวลมาเป็นนิพพาน” ... “ปฏิสนธิเป็นสังขาร ความไม่มีปฏิสนธิเป็นนิพพาน” ... “คติเป็นสังขาร อคติเป็นนิพพาน” ... “ความบังเกิดเป็นสังขาร ความไม่บังเกิดเป็น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๒๐}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๑. ญาณกถา ๑. สุตมยญาณนิทเทส

นิพพาน” ... “ความอุบัติเป็นสังขาร ความไม่อุบัติเป็นนิพพาน” ... “ความเกิดเป็น สังขาร ความไม่เกิดเป็นนิพพาน” ... “ความแก่เป็นสังขาร ความไม่แก่เป็นนิพพาน” ... “ความเจ็บไข้เป็นสังขาร ความไม่เจ็บไข้เป็นนิพพาน” ... “ความตายเป็นสังขาร ความไม่ตายเป็นนิพพาน” ... “ความเศร้าโศกเป็นสังขาร ความไม่เศร้าโศกเป็น นิพพาน” ... “ความรำพันเป็นสังขาร ความไม่รำพันเป็นนิพพาน” ควรรู้ยิ่งว่า “ความคับแค้นใจเป็นสังขาร ความไม่คับแค้นใจเป็นนิพพาน”
ปฐมภาณวาร จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๑ หน้าที่ ๑๓-๒๑. http://84000.org/tipitaka/english/m_siri.php?B=31&siri=4              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/english/v.php?B=31&A=160&Z=304                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=31&i=10              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=31&item=10&items=20              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=47&A=2206              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=31&item=10&items=20              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=47&A=2206                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu31



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :