ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๑. ญาณกถา ๖๘. อินทริยปโรปริยัตตญาณนิทเทส

๖๘. อินทริยปโรปริยัตตญาณนิทเทส
แสดงอินทริยปโรปริยัตตญาณ
[๑๑๑] ญาณในความยิ่งและความหย่อนแห่งอินทรีย์ของสัตว์ทั้งหลาย ของ พระตถาคต เป็นอย่างไร คือ ในญาณนี้ พระตถาคตทรงเห็นหมู่สัตว์ ผู้มีกิเลสดุจธุลีน้อยในปัญญาจักษุ มีกิเลสดุจธุลีมากในปัญญาจักษุ มีอินทรีย์แก่กล้า มีอินทรีย์อ่อน มีอาการดี มี อาการทราม พึงสอนให้รู้แจ้งได้ง่าย พึงสอนให้รู้แจ้งได้ยาก บางพวกมักเห็นปรโลก และโทษโดยความเป็นภัย บางพวกมักไม่เห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัย คำว่า ผู้มีกิเลสดุจธุลีน้อยในปัญญาจักษุ มีกิเลสดุจธุลีมากในปัญญาจักษุ อธิบายว่า บุคคลผู้มีศรัทธา ชื่อว่ามีกิเลสดุจธุลีน้อยในปัญญาจักษุ บุคคลผู้ไม่มี ศรัทธา ชื่อว่ามีกิเลสดุจธุลีมากในปัญญาจักษุ บุคคลผู้มีความเพียร ชื่อว่ามีกิเลส ดุจธุลีน้อยในปัญญาจักษุ บุคคลผู้มีความเกียจคร้าน ชื่อว่ามีกิเลสดุจธุลีมากใน ปัญญาจักษุ บุคคลผู้มีสติตั้งมั่น ชื่อว่ามีกิเลสดุจธุลีน้อยในปัญญาจักษุ บุคคลผู้มี สติหลงลืม ชื่อว่ามีกิเลสดุจธุลีมากในปัญญาจักษุ บุคคลผู้มีจิตตั้งมั่น ชื่อว่ามีกิเลส ดุจธุลีน้อยในปัญญาจักษุ บุคคลผู้มีจิตไม่ตั้งมั่น ชื่อว่ามีกิเลสดุจธุลีมากในปัญญา จักษุ บุคคลผู้มีปัญญาดี ชื่อว่ามีกิเลสดุจธุลีน้อยในปัญญาจักษุ บุคคลผู้มีปัญญา ทราม ชื่อว่ามีกิเลสดุจธุลีมากในปัญญาจักษุ คำว่า มีอินทรีย์แก่กล้า มีอินทรีย์อ่อน อธิบายว่า บุคคลผู้มีศรัทธาเป็น ผู้มีอินทรีย์แก่กล้า บุคคลผู้ไม่มีศรัทธาเป็นผู้มีอินทรีย์อ่อน บุคคลผู้มีความเพียร เป็นผู้มีอินทรีย์แก่กล้า บุคคลผู้เกียจคร้านเป็นผู้มีอินทรีย์อ่อน บุคคลผู้มีสติตั้งมั่น เป็นผู้มีอินทรีย์แก่กล้า บุคคลผู้มีสติหลงลืมเป็นผู้มีอินทรีย์อ่อน บุคคลผู้มีจิตตั้งมั่น เป็นผู้มีอินทรีย์แก่กล้า บุคคลผู้มีจิตไม่ตั้งมั่นเป็นผู้มีอินทรีย์อ่อน บุคคลผู้มีปัญญาดี เป็นผู้มีอินทรีย์แก่กล้า บุคคลผู้มีปัญญาทรามเป็นผู้มีอินทรีย์อ่อน คำว่า มีอาการดี มีอาการทราม อธิบายว่า บุคคลผู้มีศรัทธาเป็นผู้มีอาการดี บุคคลผู้ไม่มีศรัทธาเป็นผู้มีอาการทราม บุคคลผู้มีความเพียรเป็นผู้มีอาการดี บุคคล ผู้เกียจคร้านเป็นผู้มีอาการทราม บุคคลผู้มีสติตั้งมั่นเป็นผู้มีอาการดี บุคคลผู้มีสติ หลงลืมเป็นผู้มีอาการทราม บุคคลผู้มีจิตตั้งมั่นเป็นผู้มีอาการดี บุคคลผู้มีจิตไม่ตั้งมั่น เป็นผู้มีอาการทราม บุคคลผู้มีปัญญาดีเป็นผู้มีอาการดี บุคคลผู้มีปัญญาทรามเป็น ผู้มีอาการทราม {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๑๗๒}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๑. ญาณกถา ๖๘. อินทริยปโรปริยัตตญาณนิทเทส

คำว่า พึงสอนให้รู้แจ้งได้ง่าย พึงสอนให้รู้แจ้งได้ยาก อธิบายว่า บุคคลผู้มี ศรัทธาเป็นผู้พึงสอนให้รู้แจ้งได้ง่าย บุคคลผู้ไม่มีศรัทธาเป็นผู้พึงสอนให้รู้แจ้งได้ยาก บุคคลผู้มีความเพียรเป็นผู้พึงสอนให้รู้แจ้งได้ง่าย บุคคลผู้เกียจคร้านเป็นผู้พึงสอน ให้รู้แจ้งได้ยาก บุคคลผู้มีสติตั้งมั่นเป็นผู้พึงสอนให้รู้แจ้งได้ง่าย บุคคลผู้มีสติหลงลืม เป็นผู้พึงสอนให้รู้แจ้งได้ยาก บุคคลผู้มีจิตตั้งมั่นเป็นผู้พึงสอนให้รู้แจ้งได้ง่าย บุคคล ผู้มีจิตไม่ตั้งมั่นเป็นผู้พึงสอนให้รู้แจ้งได้ยาก บุคคลผู้มีปัญญาดีเป็นผู้พึงสอนให้รู้แจ้ง ได้ง่าย บุคคลผู้มีปัญญาทรามเป็นผู้พึงสอนให้รู้แจ้งได้ยาก คำว่า บางพวกมักเห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัย บางพวกมักไม่เห็น ปรโลกและโทษโดยความเป็นภัย อธิบายว่า บุคคลผู้มีศรัทธาเป็นผู้มักเห็นปรโลก และโทษโดยความเป็นภัย บุคคลผู้ไม่มีศรัทธาเป็นผู้มักไม่เห็นปรโลกและโทษโดย ความเป็นภัย บุคคลผู้มีความเพียรเป็นผู้มักเห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัย บุคคลผู้เกียจคร้านเป็นผู้มักไม่เห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัย บุคคลผู้มีสติ ตั้งมั่นเป็นผู้มักเห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัย บุคคลผู้มีสติหลงลืมเป็นผู้มัก ไม่เห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัย บุคคลผู้มีจิตตั้งมั่นเป็นผู้มักเห็นปรโลกและ โทษโดยความเป็นภัย บุคคลผู้มีจิตไม่ตั้งมั่นเป็นผู้มักไม่เห็นปรโลกและโทษโดยความ เป็นภัย บุคคลผู้มีปัญญาดีเป็นผู้มักเห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัย บุคคลผู้มี ปัญญาทรามเป็นผู้มักไม่เห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัย [๑๑๒] คำว่า โลก อธิบายว่า ขันธโลก (โลกคือขันธ์) ธาตุโลก (โลกคือธาตุ) อายตนโลก(โลกคืออายตนะ) วิปัตติภวโลก วิปัตติสัมภวโลก สัมปัตติภวโลก สัมปัตติสัมภวโลก๑- โลก ๑ คือ สัตว์โลกทั้งปวงดำรงอยู่ได้เพราะอาหาร โลก ๒ คือ นาม ๑ รูป ๑ โลก ๓ คือ เวทนา ๓ โลก ๔ คือ อาหาร ๔ โลก ๕ คือ อุปาทานขันธ์ ๕ @เชิงอรรถ : @ วิปัตติภวโลก หมายถึงโลกคือภพวิบัติได้แก่อบายโลก วิปัตติสัมภวโลก หมายถึงโลกคือสมภพวิบัติได้แก่ @กรรมที่ให้เกิดในอบายโลก สัมปัตติภวโลก หมายถึงโลกคือภพสมบัติได้แก่สุคติโลก สัมปัตติสัมภวโลก @หมายถึงโลกคือสมภพสมบัติได้แก่กรรมที่ให้เกิดในสุคติโลก (ขุ.ป.อ. ๒/๑๑๒/๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๑๗๓}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๑. ญาณกถา ๖๙. อาสยานุสยญาณนิทเทส

โลก ๖ คือ อายตนะภายใน ๖ โลก ๗ คือ วิญญาณัฏฐิติ ๗ โลก ๘ คือ โลกธรรม ๘ โลก ๙ คือ สัตตาวาส ๙ โลก ๑๐ คือ อายตนะ ๑๐ โลก ๑๒ คือ อายตนะ ๑๒ โลก ๑๘ คือ ธาตุ ๑๘ ๑- คำว่า โทษ อธิบายว่า กิเลสทั้งปวงเป็นโทษ ทุจริตทั้งปวงเป็นโทษ อภิสังขาร ทั้งปวงเป็นโทษ กรรมอันเป็นเหตุให้สัตว์ไปสู่ภพทั้งปวงเป็นโทษ สัญญาในโลกนี้ และในโทษนี้ว่าเป็นภัยอันแรงกล้า ปรากฏแล้วด้วยประการฉะนี้ เหมือนสัญญาใน ศัตรูผู้เงื้อดาบเข้ามาจะฆ่า ปรากฏแล้ว ฉะนั้น พระตถาคตทรงรู้ ทรงเห็น ทรงทราบ ทรงรู้แจ้งซึ่งอินทรีย์ ๕ ประการนี้ ด้วยอาการ ๕๐ อย่างนี้ นี้เป็นญาณในความยิ่งและความหย่อนแห่งอินทรีย์ของสัตว์ทั้งหลายของพระ ตถาคต
อินทริยปโรปริยัตตญาณนิทเทสที่ ๖๘ จบ
๖๙. อาสยานุสยญาณนิทเทส
แสดงอาสยานุสยญาณ
[๑๑๓] ญาณในอาสยะและอนุสัยของสัตว์ทั้งหลาย ของพระตถาคต เป็น อย่างไร คือ ในญาณนี้ พระตถาคตทรงทราบอาสยะของสัตว์ทั้งหลาย ทรงทราบอนุสัย ของสัตว์ทั้งหลาย ทรงทราบจริตของสัตว์ทั้งหลาย ทรงทราบอธิมุตติ๒- ของสัตว์ ทั้งหลาย ทรงทราบชัดภัพพสัตว์(สัตว์ที่ควรบรรลุธรรมในภพนี้)และอภัพพสัตว์ (สัตว์ที่ไม่ควรบรรลุธรรมในภพนี้) @เชิงอรรถ : @ ขุ.จู. (แปล) ๓๐/๑๐๔/๓๕๕-๓๕๖ @ อาสยะ หมายถึงทิฏฐิและยถาภูตญาณอันเป็นที่อาศัยอยู่ของเหล่าสัตว์ อนุสัย หมายถึงกิเลสที่นอนเนื่อง @ซึ่งยังละไม่ได้ จริต หมายถึงกุศลและอกุศลที่กายกรรมเป็นต้นปรุงแต่ง อธิมุตติ หมายถึงอัธยาศัยของ @เหล่าสัตว์ (อภิ.วิ.อ. ๘๑๔/๔๙๓-๔๙๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๑๗๔}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๑ หน้าที่ ๑๗๒-๑๗๔. http://84000.org/tipitaka/english/m_siri.php?B=31&siri=56              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/english/v.php?B=31&A=3035&Z=3078                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=31&i=269              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=31&item=269&items=8              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=48&A=1              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=31&item=269&items=8              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=48&A=1                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu31



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :