ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒ -พุทธวังสะ-จริยาปิฎก
๘. โพธิสัมมัชชกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระโพธิสัมมัชชกเถระ
(พระโพธิสัมมัชชกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า) [๔๘] เมื่อชาติปางก่อน ข้าพเจ้าเก็บใบโพธิ์ที่ถูกทิ้งไว้ ที่ลานพระเจดีย์ไปทิ้ง จึงได้คุณ ๒๐ ประการ [๔๙] ด้วยเดชแห่งกรรมนั้น เมื่อข้าพเจ้าเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในภพน้อยภพใหญ่ ก็เวียนว่ายตายเกิดอยู่ใน ๒ ภพ คือ (๑) ในภพเทวดา (๒) ภพมนุษย์ [๕๐] จุติจากเทวโลกแล้วมาสู่ภพมนุษย์ ก็เกิดเฉพาะใน ๒ ตระกูล คือ (๑) ตระกูลกษัตริย์ (๒) ตระกูลพราหมณ์ [๕๑] ข้าพเจ้ามีอวัยวะน้อยใหญ่ครบถ้วน มีร่างกายสูงใหญ่ รูปงาม สะอาดสะอ้าน สมบูรณ์ ไม่บกพร่อง [๕๒] ข้าพเจ้าเกิดในภพใดภพหนึ่ง คือในเทวโลกหรือในหมู่มนุษย์ มีผิวพรรณดังทองคำ เหมือนทองคำที่นายช่างหลอมดีแล้ว {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า : ๒๒๔}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๓. ติณทายกวรรค]

๘. โพธิสัมมัชชกเถราปทาน

[๕๓] ผิวของข้าพเจ้า อ่อนนุ่ม สนิท ละเอียดอ่อนอยู่ตลอดเวลา ในเพราะใบโพธิ์ที่ข้าพเจ้าได้ขนไปทิ้ง [๕๔] ในคติไหนๆ ก็ตามเถิด ฝุ่นละออง ย่อมไม่ติดร่างกาย ที่ประชุมกันขึ้น นี้เป็นวิบากในเพราะใบไม้ที่ข้าพเจ้าได้ขนไปทิ้ง [๕๕] เพราะความร้อนจากลม แดด หรือเพราะความร้อนจากไฟก็ตาม ที่กายของข้าพเจ้าเหงื่อไม่ไหล นี้เป็นวิบากในเพราะใบไม้ที่ข้าพเจ้าได้ขนไปทิ้ง [๕๖] ที่กายของข้าพเจ้าไม่มีโรคเรื้อน ฝี โรคกลาก ตกกระ พุพอง และหิดเปื่อย นี้เป็นวิบากในเพราะใบไม้ที่ข้าพเจ้าได้ขนไปทิ้ง [๕๗] อีกข้อหนึ่ง คุณของกรรมนั้น ย่อมบังเกิดในภพน้อยภพใหญ่ คือโรคไม่มีในกาย นี้เป็นวิบากในเพราะใบไม้ที่ข้าพเจ้าได้ขนไปทิ้ง [๕๘] อีกข้อหนึ่ง คุณของกรรมนั้น ย่อมบังเกิดในภพน้อยภพใหญ่ คือความบีบคั้นทางใจไม่มี นี้เป็นวิบากในเพราะใบไม้ที่ข้าพเจ้าได้ขนไปทิ้ง [๕๙] อีกข้อหนึ่ง คุณของกรรมนั้น ย่อมบังเกิดในภพน้อยภพใหญ่ คือข้าพเจ้าไม่มีศัตรู นี้เป็นวิบากในเพราะใบไม้ที่ข้าพเจ้าได้ขนไปทิ้ง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า : ๒๒๕}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๓. ติณทายกวรรค]

๘. โพธิสัมมัชชกเถราปทาน

[๖๐] อีกข้อหนึ่ง คุณของกรรมนั้น ย่อมบังเกิดในภพน้อยภพใหญ่ คือโภคสมบัติไม่มีความบกพร่องเลย นี้เป็นวิบากในเพราะใบไม้ที่ข้าพเจ้าได้ขนไปทิ้ง [๖๑] อีกข้อหนึ่ง คุณของกรรมนั้น ย่อมบังเกิดในภพน้อยภพใหญ่ คือไม่มีอัคคีภัย ราชภัย โจรภัย และอุทกภัย [๖๒] อีกข้อหนึ่ง คุณของกรรมนั้น ย่อมบังเกิดในภพน้อยภพใหญ่ คือทาสหญิงชายเป็นผู้ติดตามคล้อยตามความคิดของข้าพเจ้า [๖๓] บุคคลเกิดในมนุษยโลกที่มีอายุขัยเท่าใด อายุของข้าพเจ้าไม่หย่อนไปกว่านั้น ดำรงอยู่ได้จนชั่วอายุขัย [๖๔] คนภายใน คนภายนอก ชาวนิคม ตลอดจนชาวแว่นแคว้น ล้วนแต่เป็นผู้คอยช่วยเหลือ มุ่งความเจริญ ปรารถนาความสุขแก่ข้าพเจ้าไปทุกคน [๖๕] ทุกๆ ภพ ข้าพเจ้าเป็นผู้มีโภคะ มียศ มีสิริ มีญาติ มีพวกพ้อง ไม่มีเวร ปราศจากความสะดุ้งกลัวภัย ในกาลทั้งปวง [๖๖] เมื่อข้าพเจ้ายังเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในภพ เทวดา มนุษย์ อสูร คนธรรพ์ ยักษ์ และรากษส ล้วนคอยอารักขาป้องกันอยู่ทุกเมื่อ [๖๗] ข้าพเจ้าเสวยยศทั้ง ๒ ทั้งในเทวโลกและมนุษยโลก และในอวสานก็ได้บรรลุนิพพานอันเกษมอย่างยอดเยี่ยม [๖๘] คนเช่นใดพึงได้บุญเพราะเจาะจงพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือต้นไม้เป็นสถานที่ตรัสรู้ของพระศาสดาพระองค์นั้น สำหรับคนเช่นนั้น อะไรเล่าที่พึงได้โดยยาก {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า : ๒๒๖}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๓. ติณทายกวรรค]

๙. อามัณฑผลทายกเถราปทาน

[๖๙] เขาเป็นผู้ยิ่งใหญ่กว่าคนอื่นๆ ในมรรค ผล และปริยัติธรรม และในคุณคือฌาน และอภิญญา เป็นผู้ไม่มีอาสวะแล้วปรินิพพาน [๗๐] เมื่อชาติก่อน ข้าพเจ้ามีใจร่าเริงเก็บใบโพธิ์ไปทิ้ง จึงเป็นผู้พรั่งพร้อมด้วยองค์คุณ ๒๐ ประการนี้ ในกาลทั้งปวง [๗๑] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ [๗๒] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า เป็นการมาดีแล้วโดยแท้ วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว [๗๓] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล ได้ทราบว่า ท่านพระโพธิสัมมัชชกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
โพธิสัมมัชชกเถราปทานที่ ๘ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๓ หน้าที่ ๒๒๔-๒๒๗. http://84000.org/tipitaka/english/m_siri.php?B=33&siri=118              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/english/v.php?B=33&A=2544&Z=2589                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=33&i=118              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=33&item=118&items=1              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=33&item=118&items=1                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu33              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/tha-ap530/en/walters



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :