ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒ -พุทธวังสะ-จริยาปิฎก
๒. กังขาเรวตเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระกังขาเรวตเถระ
(พระกังขาเรวตเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า) [๓๔] พระชินเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ ผู้มีพระจักษุในธรรมทั้งปวง ทรงเป็นผู้นำ เสด็จอุบัติขึ้นแล้วในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป [๓๕] พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น มีพระหนุเหมือนคางราชสีห์ พระดำรัสเหมือนเสียงพรหม พระดำรัสที่เปล่งออกดุจเสียงหงส์และเสียงมโหระทึก {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า : ๒๙๓}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๕. ภัททิยวรรค]

๒. กังขาเรวตเถราปทาน

เสด็จดำเนินประดุจการก้าวย่างของพญากุญชร มีพระรัศมีประหนึ่งรัศมีของดวงจันทร์และดวงอาทิตย์เป็นต้น [๓๖] ทรงพระปรีชามาก มีความเพียรมาก มีความเพ่งพินิจมาก ทรงรู้คติของเหล่าสัตว์จำนวนมาก ประกอบด้วยพระมหากรุณา เป็นที่พึ่งของสรรพสัตว์ ทรงขจัดความมืดใหญ่ [๓๗] บางคราว พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้เลิศในโลกทั้ง ๓ เป็นมุนี ทรงทราบวารจิตของสัตว์ทั้งหลายพระองค์นั้น เมื่อจะทรงแนะนำเวไนยสัตว์หมู่ใหญ่จึงทรงแสดงธรรม [๓๘] พระชินเจ้าตรัสสรรเสริญภิกษุผู้มีปกติเข้าฌาน ยินดีในฌาน มีความเพียร สงบระงับ มีจิตไม่ขุ่นมัว ทรงทำหมู่ชนผู้เป็นบริษัทให้ยินดี [๓๙] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าเป็นพราหมณ์ชาวกรุงหงสาวดี จบไตรเพท ได้ฟังพระธรรมแล้วก็พลอยยินดี จึงปรารถนาตำแหน่งนั้น [๔๐] ครั้งนั้น พระชินเจ้าทรงเป็นผู้นำวิเศษ ได้ตรัสพยากรณ์ในท่ามกลางสงฆ์ว่า จงยินดีเถิด พราหมณ์ เธอจักได้ตำแหน่งนั้นสมความปรารถนา [๔๑] ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป พระศาสดาพระนามว่าโคดม ตามพระโคตร ทรงสมภพในราชสกุลโอกกากราช จักอุบัติขึ้นในโลก [๔๒] เขาจักมีนามว่าเรวตะ เป็นธรรมทายาท เป็นโอรสที่ธรรมเนรมิต เป็นสาวกของพระศาสดาพระองค์นั้น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า : ๒๙๔}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๕. ภัททิยวรรค]

๒. กังขาเรวตเถราปทาน

[๔๓] ด้วยกรรมที่ข้าพเจ้าทำไว้ดีแล้วนั้น และด้วยเจตนาที่ตั้งไว้มั่น ข้าพเจ้าละกายมนุษย์แล้ว จึงได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ [๔๔] บัดนี้ เป็นภพสุดท้าย ข้าพเจ้าเกิดในตระกูลกษัตริย์ ที่มั่งคั่งสมบูรณ์ มีทรัพย์มาก ในกรุงโกลิยะ [๔๕] ในคราวที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมในกรุงกบิลพัสดุ์ ข้าพเจ้าเลื่อมใสในพระสุคต จึงออกบวชเป็นบรรพชิต [๔๖] ความสงสัยของข้าพเจ้าในสิ่งที่ควรและไม่ควรนั้นๆ มีมาก พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงธรรมที่ประเสริฐ กำจัดข้อสงสัยทั้งปวงนั้น [๔๗] จากนั้น ข้าพเจ้าก็ข้ามพ้นสงสารได้ เป็นผู้มีความยินดีอยู่ในสุขที่เกิดแต่ฌานทุกเมื่อ ครั้งนั้น พระพุทธเจ้าทอดพระเนตรเห็นข้าพเจ้าจึงตรัสพระดำรัสนี้ว่า [๔๘] ความสงสัยบางอย่างในความรู้ของตน หรือในความรู้ของผู้อื่นทั้งในโลกนี้และโลกหน้า ความสงสัยทั้งปวงนั้น บุคคลผู้มีปกติเข้าฌาน มีความเพียรประพฤติพรหมจรรย์ย่อมละได้ [๔๙] กรรมที่ข้าพเจ้าทำได้ไว้ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ ได้แสดงผลแก่ข้าพเจ้าแล้วในอัตภาพนี้ ข้าพเจ้าหลุดพ้นดีแล้ว(จากกิเลส) ดุจความเร็วแห่งลูกศรที่พ้นไปจากแล่ง ข้าพเจ้าเผากิเลสทั้งหลายได้แล้ว {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า : ๒๙๕}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๕. ภัททิยวรรค]

๓. สีวลีเถราปทาน

[๕๐] ลำดับนั้น พระมุนีผู้มีพระปรีชามาก ทรงถึงที่สุดโลก ทรงเห็นข้าพเจ้าว่ายินดีในฌานเนืองนิจ จึงทรงตั้งข้าพเจ้าว่าเป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายฝ่ายที่ยินดีในฌาน [๕๑] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ [๕๒] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า เป็นการมาดีแล้วโดยแท้ วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว [๕๓] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล ได้ทราบว่า ท่านพระกังขาเรวตเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
กังขาเรวตเถราปทานที่ ๒ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๓ หน้าที่ ๒๙๓-๒๙๖. http://84000.org/tipitaka/english/m_siri.php?B=33&siri=132              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/english/v.php?B=33&A=3498&Z=3539                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=33&i=132              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=33&item=132&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=50&A=6469              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=33&item=132&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=50&A=6469                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu33              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/tha-ap544/en/walters



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :