ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒ -พุทธวังสะ-จริยาปิฎก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔. ขัตติยกัญญาวรรค]

๓. อุปปลทายิกาเถริยาปทาน

๓. อุปปลทายิกาเถริยาปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระอุปปลทายิกาเถรี
(พระอุปปลทายิกาเถรี เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า) [๕๗] ในกรุงอรุณวดี มีกษัตริย์พระองค์หนึ่งพระนามว่าอรุณ หม่อมฉันเป็นพระมเหสีของท้าวเธอ ย่อมสนทนากันเป็นบางครั้งบางคราวเท่านั้น [๕๘] ครั้งนั้น หม่อมฉันนั่งอยู่ในที่สงัด คิดอย่างนี้ว่า ‘กุศลที่จะนำติดตัวไปซึ่งเราทำไว้ไม่มีเลย [๕๙] เราต้องตกนรกที่มีความเร่าร้อนมาก ทั้งเผ็ดร้อนร้ายกาจแสนจะทารุณอย่างแน่นอน เราไม่มีความสงสัยในข้อนี้เลย’ [๖๐] ครั้นหม่อมฉันคิดอย่างนี้แล้ว ทำจิตให้ร่าเริงเข้าเฝ้าพระราชาแล้ว กราบทูลดังนี้ว่า [๖๑] ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นกษัตริย์ หม่อมฉันทั้งหลายชื่อว่าเป็นสตรี หม่อมฉันทั้งหลายไม่ใช่บุรุษ ขอพระองค์ทรงพระราชทานพระสมณะ แก่หม่อมฉันทั้งหลายสักองค์หนึ่งเถิด หม่อมฉันทั้งหลายจักนิมนต์ท่านให้ฉัน” [๖๒] ครั้งนั้น พระราชาได้พระราชทานพระสมณะ ผู้มีอินทรีย์อันอบรมแล้วให้หม่อมฉัน หม่อมฉันรับบาตรของท่านมาแล้ว ใส่ภัตตาหารอย่างประณีตจนเต็ม [๖๓] แล้วบรรจุอาหารอันประณีตของหอมและเครื่องลูบไล้ ไปพร้อมกัน มีใจยินดีได้ถวายให้ครองผ้าผืนใหญ่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า : ๕๒๗}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔. ขัตติยกัญญาวรรค]

๓. อุปปลทายิกาเถริยาปทาน

[๖๔] ด้วยกรรมที่หม่อมฉันได้ทำไว้ดีแล้วนั้น และด้วยเจตนาที่ตั้งไว้มั่น หม่อมฉันละกายมนุษย์แล้วจึงได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ [๖๕] ได้เป็นพระมเหสีของท้าวเทวราช ๑,๐๐๐ ชาติ ได้เป็นพระมเหสีของพระเจ้าจักรพรรดิ ๑,๐๐๐ ชาติ [๖๖] และได้เป็นพระมเหสีของพระเจ้าประเทศราช อันไพบูลย์นับชาติไม่ถ้วน แต่นั้น ผลอื่นอีกมากมายหลายชนิด เป็นผลกรรมแห่งทานนั้น [๖๗] หม่อมฉันมีผิวพรรณเหมือนดอกอุบล เป็นสตรีมีรูปงาม น่าดูน่าชม มีองค์สมบัติทั้งปวงสมบูรณ์๑- เป็นอภิชาตบุตร ทรงไว้ซึ่งความเปล่งปลั่ง [๖๘] เมื่อถึงภพสุดท้าย หม่อมฉันเกิดในศากยตระกูล เป็นหัวหน้าของนารี ๑,๐๐๐ นาง ของพระโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะ [๖๙] หม่อมฉันเบื่อหน่ายการครองเรือน จึงออกบวชเป็นบรรพชิต เพียง ๗ ราตรี ก็ได้บรรลุสัจจะ ๔ [๗๐] หม่อมฉันไม่สามารถจะประมาณจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารได้ นี้เป็นผลแห่งการถวายบิณฑบาต [๗๑] ข้าแต่พระมหาวีระ ผู้เป็นพระมุนี ขอพระองค์พึงหวนระลึกถึงกุศลกรรมเก่าของหม่อมฉันเถิด หม่อมฉันได้สละวัตถุเป็นอันมาก ก็เพื่อประโยชน์แก่พระองค์ @เชิงอรรถ : @ องค์สมบัติทั้งปวง ในที่นี้หมายถึงมีอวัยวะทุกส่วนสมบูรณ์ได้สัดส่วน (ขุ.อป.อ. ๑/๑๗๓/๒๖๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า : ๕๒๘}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔. ขัตติยกัญญาวรรค]

๓. อุปปลทายิกาเถริยาปทาน

[๗๒] ในกัปที่ ๓๑ นับจากกัปนี้ไป หม่อมฉันได้ถวายทานไว้ในครั้งนั้น จึงไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายบิณฑบาต [๗๓] หม่อมฉันรู้จักเพียง ๒ คติ คือ (๑) คติเทวดา (๒) คติมนุษย์ คติอื่นหม่อมฉันไม่รู้จักเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายบิณฑบาต [๗๔] หม่อมฉันรู้จักแต่ตระกูลสูงซึ่งเป็นตระกูลมหาศาลมีทรัพย์มาก ตระกูลอื่นๆ หม่อมฉันไม่รู้จักเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายบิณฑบาต [๗๕] หม่อมฉันเวียนว่ายตายเกิดในภพน้อยภพใหญ่ ถูกกุศลมูลตักเตือนแล้ว ไม่เห็นสิ่งที่ไม่พอใจเลย นี้เป็นผลแห่งโสมนัส [๗๖] ข้าแต่พระมหามุนี หม่อมฉันเป็นผู้มีความชำนาญในฤทธิ์ ในทิพพโสตธาตุ และในเจโตปริยญาณ [๗๗] รู้ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ทิพยจักษุหม่อมฉันก็ชำระให้หมดจดแล้ว อาสวะทั้งปวงก็สิ้นไปแล้ว บัดนี้ ภพใหม่ไม่มีอีก [๗๘] ข้าแต่พระมหาวีระ อัตถปฏิสัมภิทาญาณ ธัมมปฏิสัมภิทาญาณ นิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ และปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณของหม่อมฉันที่มีอยู่ ล้วนเกิดขึ้นแล้วในสำนักของพระองค์ [๗๙] กิเลสทั้งหลายหม่อมฉันก็เผาได้แล้ว ภพทั้งปวงหม่อมฉันก็ถอนได้แล้ว หม่อมฉันตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า : ๕๒๙}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔. ขัตติยกัญญาวรรค]

๔. สิงคาลมาตุเถริยาปทาน

[๘๐] การที่หม่อมฉันมาในสำนักของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด เป็นการมาดีแล้วโดยแท้ วิชชา ๓ หม่อมฉันได้บรรลุแล้วโดยลำดับ คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันก็ได้ทำสำเร็จแล้ว [๘๑] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖ หม่อมฉันก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล ได้ทราบว่า พระอุปปลทายิกาภิกษุณีได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
อุปปลทายิกาเถริยาปทานที่ ๓ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๓ หน้าที่ ๕๒๗-๕๓๐. http://84000.org/tipitaka/english/m_siri.php?B=33&siri=184              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/english/v.php?B=33&A=6319&Z=6366                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=33&i=173              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=33&item=173&items=1              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=33&item=173&items=1                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu33              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/thi-ap33/en/walters



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :