ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒ -พุทธวังสะ-จริยาปิฎก
๑๐. มัจฉราชจริยา
ว่าด้วยจริยาของพญาปลา
[๘๓] อีกเรื่องหนึ่ง ในกาลที่เราเป็นพญาปลาอยู่ในสระใหญ่ น้ำในสระแห้งขอด เพราะแสงดวงอาทิตย์ในฤดูร้อน @เชิงอรรถ : @ กรีส หมายถึงมาตรานับ ๑ กรีสเท่ากับ ๑๒๕ ศอก (พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตย์ ๒๕๒๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า : ๗๖๘}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก [๓. ยุธัญชยวรรค]

๑๐. มัจฉราชจริยา

[๘๔] ทีนั้น นกกา นกแร้ง นกกระสา นกตะกรุม และเหยี่ยว มาคอยจับปลากินทั้งกลางวันและกลางคืน [๘๕] ครั้งนั้น เรากับหมู่ญาติถูกเบียดเบียนจึงคิดอย่างนี้ว่า โดยอุบายอะไรหนอ หมู่ญาติจะพึงพ้นทุกข์ได้ [๘๖] เราคิดถึงเหตุและผลแล้ว ได้เห็นสัจจะว่าเป็นที่พึ่งได้ จึงตั้งอยู่ในความสัตย์แล้ว เปลื้องความพินาศใหญ่ของหมู่ญาตินั้นได้ [๘๗] เราระลึกธรรมของสัตบุรุษ คิดถึงปรมัตถธรรม ได้กระทำสัจจกิริยา ซึ่งเป็นธรรมอันยั่งยืนเที่ยงแท้ในโลก [๘๘] ตั้งแต่เราจำความได้ ตั้งแต่เรารู้เดียงสาได้มาจนถึงบัดนี้ เราไม่รู้สึกว่าจงใจเบียดเบียนสัตว์แม้ตัวหนึ่งเลย [๘๙] ด้วยสัจจวาจานี้ ขอเมฆจงทำฝนห่าใหญ่ให้ตก แน่ะเมฆ ท่านจงคำราม จงทำขุมทรัพย์ของกาให้พินาศไป ท่านจงทำกาให้ตรอมตรมด้วยความโศก จงปลดเปลื้องฝูงปลาจากความโศก [๙๐] พร้อมกับเมื่อเราทำสัจจะอันประเสริฐ เมฆส่งเสียงสนั่นครั่นครืน ทำฝนให้ตก ครู่เดียว ก็เต็มเปี่ยมทั้งที่ดอนและที่ลุ่ม [๙๑] ครั้นเราทำสัจจะอันประเสริฐเห็นปานนี้ อันเป็นความเพียรอันสูงสุด อาศัยกำลังเดชความสัตย์ บรรดาลฝนห่าใหญ่ให้ตก บุคคลมีสัจจะเสมอเราไม่มี นี้เป็นสัจจบารมีของเรา ฉะนี้แล
มัจฉราชจริยาที่ ๑๐ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า : ๗๖๙}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๓ หน้าที่ ๗๖๘-๗๖๙. http://84000.org/tipitaka/english/m_siri.php?B=33&siri=249              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/english/v.php?B=33&A=9346&Z=9367                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=33&i=238              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=33&item=238&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=52&A=6099              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=33&item=238&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=52&A=6099                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu33



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :