ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒ -พุทธวังสะ-จริยาปิฎก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๔. เอกวิหาริวรรค]

๙. อัมพปิณฑิยเถราปทาน

๙. อัมพปิณฑิยเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระอัมพปิณฑิยเถระ
(พระอัมพปิณฑิยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า) [๗๒] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าเป็นพญาช้างมีงางอนงาม๑- เหมาะที่จะเป็นราชพาหนะ เที่ยวอยู่ในป่าใหญ่ ได้เห็นพระผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก [๗๓] ข้าพเจ้าได้หยิบชิ้นมะม่วงมาถวายพระศาสดา พระมหาวีระพระนามว่าสิทธัตถะ ผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลกทรงรับแล้ว [๗๔] ขณะที่ข้าพเจ้าเพ่งดูอยู่ พระชินเจ้าได้เสวยแล้วในครั้งนั้น ข้าพเจ้าทำจิตให้เลื่อมใสในพระชินเจ้าพระองค์นั้นแล้ว จึงได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิต [๗๕] ข้าพเจ้าจุติจากสวรรค์ชั้นดุสิตนั้นแล้ว ได้เสวยสมบัติเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ โดยอุบายนั้นแล [๗๖] ข้าพเจ้ามีจิตเด็ดเดี่ยวเพื่อบำเพ็ญเพียร มีจิตสงบระงับ ไม่มีอุปธิ กำหนดรู้อาสวะ๒- ทั้งปวงแล้ว จึงอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ [๗๗] ในกัปที่ ๙๔ นับจากกัปนี้ไป ข้าพเจ้าได้ถวายทานไว้ในครั้งนั้น จึงไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้ @เชิงอรรถ : @ มีงางอนงาม หมายถึงมีงางอนเหมือนงอนรถ (ขุ.อป.อ. ๑/๖๕๗/๓๗๗, ขุ.อป.อ. ๒/๑๗๙-๑๘๐/๓๗๐) @ อาสวะ หมายถึงกิเลสเครื่องหมักดองมี ๔ คือ (๑) กามาสวะ (๒) ภวาสวะ (๓) ทิฏฐาสวะ (๔) อวิชชาสวะ @(ขุ.เถร.อ. ๒/๕๙๖/๒๓๕, ที.ปา. (แปล) ๑๑/๓๐๕/๒๖๔, องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๑๙๘/๓๑๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า : ๗๑}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๔. เอกวิหาริวรรค]

๑๐. ชัมพูผลิยเถราปทาน

[๗๘] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ [๗๙] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า เป็นการมาดีแล้วโดยแท้ วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว [๘๐] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล ได้ทราบว่า ท่านพระอัมพปิณฑิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
อัมพปิณฑิยเถราปทานที่ ๙ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๓ หน้าที่ ๗๑-๗๒. http://84000.org/tipitaka/english/m_siri.php?B=33&siri=29              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/english/v.php?B=33&A=821&Z=836                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=33&i=29              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=33&item=29&items=1              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=33&item=29&items=1                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu33              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/tha-ap441/en/walters



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :