ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒ -พุทธวังสะ-จริยาปิฎก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๙. ปังสุกูลวรรค]

๘. ตรณิยเถราปทาน

๘. ตรณิยเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระตรณิยเถระ
(พระตรณิยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า) [๑๔๘] พระผู้มีพระภาคพระนามว่าอัตถทัสสี ผู้เป็นพระสยัมภู ผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก เป็นพระตถาคต ได้เสด็จไปที่ฝั่งแม่น้ำวินดา [๑๔๙] ข้าพเจ้าเป็นเต่าเที่ยวไปมาในแม่น้ำ ขึ้นจากน้ำแล้ว ประสงค์จะอัญเชิญพระพุทธเจ้าเสด็จข้ามฟาก จึงเข้าเฝ้าพระองค์ผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก กราบทูลว่า [๑๕๐] ขอทูลเชิญพระพุทธเจ้า ผู้เป็นมหามุนีพระนามว่าอัตถทัสสี เสด็จขึ้นหลังของข้าพระองค์เถิด ข้าพระองค์จะนำเสด็จพระองค์ผู้ทำที่สุดทุกข์ข้ามฟาก [๑๕๑] พระพุทธเจ้าผู้มีพระยศยิ่งใหญ่ ผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลกพระนามว่าอัตถทัสสี ทราบความดำริของข้าพเจ้าแล้ว จึงเสด็จขึ้นประทับยืนบนหลังของข้าพเจ้า [๑๕๒] ในเวลาที่ข้าพเจ้าจำความได้ และรู้เดียงสา ข้าพเจ้าไม่มีความสุขเช่นกับความสุข(ที่ได้รับ) ในขณะที่ฝ่าพระบาทถูกต้องเลย [๑๕๓] พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าอัตถทัสสี ผู้มีพระยศยิ่งใหญ่ เสด็จขึ้นประทับยืนที่ริมฝั่งแม่น้ำแล้ว ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า : ๑๕๕}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๙. ปังสุกูลวรรค]

๘. ตรณิยเถราปทาน

[๑๕๔] เราข้ามกระแสน้ำเพียงชั่วขณะจิตเป็นไป ก็พญาเต่าตัวนี้มีบุญส่งเราข้ามฟาก [๑๕๕] ด้วยการส่งพระพุทธเจ้า ข้ามฟากนี้ และด้วยความเป็นผู้มีจิตเมตตา เขาจักรื่นรมย์ในเทวโลกตลอด ๑,๘๐๐ กัป [๑๕๖] เขาจากเทวโลกมามนุษยโลกนี้ อันกุศลมูลตักเตือนแล้ว นั่ง ณ อาสนะเดียวจักข้ามกระแสความสงสัยได้ [๑๕๗] พืชแม้น้อยที่ชาวนาหว่านลงในผืนนาที่ดี เมื่อฝนตกลงอยู่โดยชอบ ผลย่อมทำให้ชาวนายินดี แม้ฉันใด [๑๕๘] พุทธเขตที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงไว้นี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อบุญให้ผลสม่ำเสมอ ผลก็จักทำให้ข้าพเจ้ายินดี [๑๕๙] ข้าพเจ้ามีจิตเด็ดเดี่ยวเพื่อบำเพ็ญเพียร สงบระงับ ไม่มีอุปธิ กำหนดรู้อาสวะทั้งปวงแล้ว อยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ [๑๖๐] ในกัปที่ ๑,๘๐๐ (นับจากกัปนี้ไป) ข้าพเจ้าได้ทำกรรมไว้ในครั้งนั้น จึงไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการส่งพระพุทธเจ้าข้ามฟาก [๑๖๑] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า : ๑๕๖}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๙. ปังสุกูลวรรค]

๙. ธัมมรุจิเถราปทาน

[๑๖๒] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า เป็นการมาดีแล้วโดยแท้ วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว [๑๖๓] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล ได้ทราบว่า ท่านพระตรณิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
ตรณิยเถราปทานที่ ๘ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๓ หน้าที่ ๑๕๕-๑๕๗. http://84000.org/tipitaka/english/m_siri.php?B=33&siri=78              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/english/v.php?B=33&A=1762&Z=1791                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=33&i=78              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=33&item=78&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=50&A=5561              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=33&item=78&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=50&A=5561                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu33              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/tha-ap490/en/walters



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :