ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] วิภังคปกรณ์
พระอภิธรรมปิฎก
วิภังค์
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
๑. ขันธภังค์
๑. สุตตันตภาชนีย์
[๑] ขันธ์๑- ๕ คือ ๑. รูปขันธ์ (กองรูป) ๒. เวทนาขันธ์ (กองเวทนา) ๓. สัญญาขันธ์ (กองสัญญา) ๔. สังขารขันธ์ (กองสังขาร) ๕. วิญญาณขันธ์ (กองวิญญาณ)
๑. รูปขันธ์
[๒] บรรดาขันธ์ ๕ นั้น รูปขันธ์ เป็นไฉน รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ รูปที่เป็นอดีต รูปที่เป็นอนาคต รูปที่เป็นปัจจุบัน รูปที่เป็นภายในตน รูปที่เป็นภายนอกตน รูปหยาบ รูปละเอียด รูปชั้นต่ำ รูปชั้น ประณีต รูปไกล หรือรูปใกล้ ประมวลย่อเข้าเป็นกองเดียวกัน นี้เรียกว่า รูปขันธ์ @เชิงอรรถ : @ สฺวายมิธ ราสิโต อธิปฺเปโต ขันธ์ในที่นี้ท่านหมายถึงกอง เช่นกองรูป ฯลฯ (อภิ.วิ.อ. ๑/๒-๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๑}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑. ขันธวิภังค์]

๑. สุตตันตภาชนีย์ ๑. รูปขันธ์

[๓] ในรูปขันธ์นั้น รูปที่เป็นอดีต เป็นไฉน รูปใดล่วงไปแล้ว ดับไปแล้ว ปราศจากไปแล้ว แปรไปแล้ว ถึงความดับแล้ว ถึงความดับสิ้นแล้ว ที่เกิดขึ้นปราศจากไปแล้ว ที่เป็นอดีต สงเคราะห์เข้ากับส่วนอดีต ได้แก่ มหาภูตรูป ๔ และรูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ (อุปาทายรูป) นี้เรียกว่า รูปที่ เป็นอดีต รูปที่เป็นอนาคต เป็นไฉน รูปใดยังไม่เกิด ยังไม่เป็น ยังไม่เกิดพร้อม ยังไม่บังเกิด ยังไม่บังเกิดเฉพาะ ยังไม่ปรากฏ ยังไม่เกิดขึ้น ยังไม่เกิดขึ้นพร้อม ยังไม่ตั้งขึ้น ยังไม่ตั้งขึ้นพร้อม ที่ เป็นอนาคต สงเคราะห์เข้ากับส่วนอนาคต ได้แก่ มหาภูตรูป ๔ และรูปที่อาศัย มหาภูตรูป ๔ นี้เรียกว่า รูปที่เป็นอนาคต รูปที่เป็นปัจจุบัน เป็นไฉน รูปใดเกิดอยู่ เป็นอยู่ เกิดพร้อม บังเกิด บังเกิดเฉพาะ ปรากฏ เกิดขึ้น เกิดขึ้นพร้อม ตั้งขึ้น ตั้งขึ้นพร้อม ที่เป็นปัจจุบัน สงเคราะห์เข้ากับส่วนปัจจุบัน ได้แก่ มหาภูตรูป ๔ และรูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ นี้เรียกว่า รูปที่เป็นปัจจุบัน [๔] รูปที่เป็นภายในตน เป็นไฉน รูปใดของสัตว์นั้นๆ ที่เป็นภายในตน มีเฉพาะตน เกิดในตน มีเฉพาะ บุคคล ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือ๑- ได้แก่ มหาภูตรูป ๔ และ รูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ นี้เรียกว่า รูปที่เป็นภายในตน รูปที่เป็นภายนอกตน เป็นไฉน รูปใดของสัตว์อื่น ของบุคคลอื่นนั้นๆ ที่เป็นภายในตน มีเฉพาะตน เกิดในตน มีเฉพาะบุคคล ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือ ได้แก่ มหาภูตรูป ๔ และรูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ นี้เรียกว่า รูปที่เป็นภายนอกตน [๕] รูปหยาบ เป็นไฉน จักขายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ นี้เรียกว่า รูปหยาบ @เชิงอรรถ : @ ตัณหาและทิฏฐิที่เกิดพร้อมกับการกระทำที่ยึดติดโดยความเป็นอารมณ์ (อภิ.สงฺ.อ. ๔/๙๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๒}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑. ขันธวิภังค์]

๑. สุตตันตภาชนีย์ ๑. รูปขันธ์

รูปละเอียด เป็นไฉน อิตถินทรีย์ ฯลฯ กวฬิงการาหาร๑- นี้เรียกว่า รูปละเอียด [๖] รูปชั้นต่ำ เป็นไฉน รูปใดของสัตว์นั้นๆ ที่น่าดูหมิ่น น่าเหยียดหยาม น่าเกลียด น่าตำหนิ ไม่น่า ยกย่อง เป็นชั้นต่ำ รู้กันว่าเป็นชั้นต่ำ สมมติกันว่าเป็นชั้นต่ำ ไม่น่าปรารถนา ไม่น่ารัก ไม่น่าชอบใจ ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะ นี้เรียกว่า รูปชั้นต่ำ รูปชั้นประณีต เป็นไฉน รูปใดของสัตว์นั้นๆ ที่ไม่น่าดูหมิ่น ไม่น่าเหยียดหยาม ไม่น่าเกลียด ไม่ น่าตำหนิ น่ายกย่อง เป็นชั้นประณีต รู้กันว่าเป็นชั้นประณีต สมมติกันว่าเป็นชั้น ประณีต น่าปรารถนา น่ารัก น่าชอบใจ ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะ นี้เรียกว่า รูปชั้นประณีต พึงทราบรูปชั้นต่ำ รูปชั้นประณีต โดยอาศัยเทียบเคียงรูปนั้นๆ เป็นชั้นๆ ไป [๗] รูปไกล เป็นไฉน อิตถินทรีย์ ฯลฯ กวฬิงการาหาร หรือรูปแม้อื่น มีอยู่ในที่ไม่ใกล้ ในที่ไม่ ใกล้ชิด ในที่ไกล ในที่ไม่ใกล้ นี้เรียกว่า รูปไกล๒- รูปใกล้ เป็นไฉน จักขายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ หรือรูปแม้อื่น มีอยู่ในที่ใกล้ ในที่ใกล้ชิด ในที่ไม่ไกล ในที่ใกล้ นี้เรียกว่า รูปใกล้๓- พึงทราบรูปไกล รูปใกล้ โดยอาศัยเทียบเคียงรูปนั้นๆ เป็นชั้นๆ ไป @เชิงอรรถ : @ อภิ.สงฺ. ๓๔/๖๓๒-๖๔๕/๑๙๔-๙๖ @ หมายถึงสุขุมรูป รูปละเอียด (อภิ.วิ.อ. ๗/๑๓) @ หมายถึงโอฬาริกรูป รูปหยาบ (อภิ.วิ.อ. ๗/๑๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๓}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑. ขันธวิภังค์]

๑. สุตตันตภาชนีย์ ๒. เวทนาขันธ์

๒. เวทนาขันธ์
[๘] บรรดาขันธ์ ๕ นั้น เวทนาขันธ์ เป็นไฉน เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง๑- คือ เวทนาที่เป็นอดีต เวทนาที่เป็นอนาคต เวทนาที่ เป็นปัจจุบัน เวทนาที่เป็นภายในตน เวทนาที่เป็นภายนอกตน เวทนาหยาบ เวทนา ละเอียด เวทนาชั้นต่ำ เวทนาชั้นประณีต เวทนาไกล หรือเวทนาใกล้ ประมวลย่อเข้า เป็นกองเดียวกัน นี้เรียกว่า เวทนาขันธ์ [๙] ในเวทนาขันธ์นั้น เวทนาที่เป็นอดีต เป็นไฉน เวทนาใดล่วงไปแล้ว ดับไปแล้ว ปราศจากไปแล้ว แปรไปแล้ว ถึงความดับแล้ว ถึงความดับสิ้นแล้ว ที่เกิดขึ้นปราศจากไปแล้ว ที่เป็นอดีต สงเคราะห์เข้ากับส่วนอดีต ได้แก่ สุขเวทนา ทุกขเวทนา และอทุกขมสุขเวทนา นี้เรียกว่า เวทนาที่เป็นอดีต เวทนาที่เป็นอนาคต เป็นไฉน เวทนาใดยังไม่เกิด ยังไม่เป็น ยังไม่เกิดพร้อม ยังไม่บังเกิด ยังไม่บังเกิดเฉพาะ ยังไม่ปรากฏ ยังไม่เกิดขึ้น ยังไม่เกิดขึ้นพร้อม ยังไม่ตั้งขึ้น ยังไม่ตั้งขึ้นพร้อม ที่เป็น อนาคต สงเคราะห์เข้ากับส่วนอนาคต ได้แก่ สุขเวทนา ทุกขเวทนา และ อทุกขมสุขเวทนา นี้เรียกว่า เวทนาที่เป็นอนาคต เวทนาที่เป็นปัจจุบัน เป็นไฉน เวทนาใดเกิดอยู่ เป็นอยู่ เกิดพร้อม บังเกิด บังเกิดเฉพาะ ปรากฏ เกิดขึ้น เกิดขึ้นพร้อม ตั้งขึ้น ตั้งขึ้นพร้อม ที่เป็นปัจจุบัน สงเคราะห์เข้ากับส่วนปัจจุบัน ได้แก่ สุขเวทนา ทุกขเวทนา และอทุกขมสุขเวทนา นี้เรียกว่า เวทนาที่เป็นปัจจุบัน [๑๐] เวทนาที่เป็นภายในตน เป็นไฉน เวทนาใดของสัตว์นั้นๆ ที่เป็นภายในตน มีเฉพาะตน เกิดในตน มีเฉพาะ บุคคล ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือ ได้แก่ สุขเวทนา ทุกขเวทนา และอทุกขมสุขเวทนา นี้เรียกว่า เวทนาที่เป็นภายในตน @เชิงอรรถ : @ หมายถึงเวทนาขันธ์ที่เป็นไปในภูมิ ๔ คือ กามภูมิ รูปภูมิ อรูปภูมิ และโลกุตตรภูมิ (อภิ.วิ.อ. ๘/๑๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๔}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑. ขันธวิภังค์]

๑. สุตตันตภาชนีย์ ๒. เวทนาขันธ์

เวทนาที่เป็นภายนอกตน เป็นไฉน เวทนาใดของสัตว์อื่น ของบุคคลอื่นนั้นๆ ที่เป็นภายในตน มีเฉพาะตน เกิดในตน มีเฉพาะบุคคล ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือ ได้แก่ สุขเวทนา ทุกขเวทนา และอทุกขมสุขเวทนา นี้เรียกว่า เวทนาที่เป็นภายนอกตน [๑๑] เวทนาหยาบ เวทนาละเอียด เป็นไฉน เวทนาที่เป็นอกุศลเป็นเวทนาหยาบ เวทนาที่เป็นกุศลและอัพยากฤตเป็น เวทนาละเอียด เวทนาที่เป็นกุศลและอกุศลเป็นเวทนาหยาบ เวทนาที่เป็นอัพยา- กฤตเป็นเวทนาละเอียด ทุกขเวทนาเป็นเวทนาหยาบ สุขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนา เป็นเวทนาละเอียด สุขเวทนาและทุกขเวทนาเป็นเวทนาหยาบ อทุกขมสุขเวทนา เป็นเวทนาละเอียด เวทนาของผู้ไม่เข้าสมาบัติเป็นเวทนาหยาบ เวทนาของผู้เข้า สมาบัติเป็นเวทนาละเอียด เวทนาที่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นเวทนาหยาบ เวทนา ที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นเวทนาละเอียด พึงทราบเวทนาหยาบ เวทนาละเอียด โดยอาศัยเทียบเคียงเวทนานั้นๆ เป็น ชั้นๆ ไป [๑๒] เวทนาชั้นต่ำ เวทนาชั้นประณีต เป็นไฉน เวทนาที่เป็นอกุศลเป็นเวทนาชั้นต่ำ เวทนาที่เป็นกุศลและอัพยากฤตเป็นเวทนา ชั้นประณีต เวทนาที่เป็นกุศลและอกุศลเป็นเวทนาชั้นต่ำ เวทนาที่เป็นอัพยากฤตเป็น เวทนาชั้นประณีต ทุกขเวทนาเป็นเวทนาชั้นต่ำ สุขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนาเป็น เวทนาชั้นประณีต สุขเวทนาและทุกขเวทนาเป็นเวทนาชั้นต่ำ อทุกขมสุขเวทนาเป็น เวทนาชั้นประณีต เวทนาของผู้ไม่เข้าสมาบัติเป็นเวทนาชั้นต่ำ เวทนาของผู้เข้า สมาบัติเป็นเวทนาชั้นประณีต เวทนาที่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นเวทนาชั้นต่ำ เวทนาที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นเวทนาชั้นประณีต พึงทราบเวทนาชั้นต่ำ เวทนาชั้นประณีต โดยอาศัยเทียบเคียงเวทนานั้นๆ เป็น ชั้นๆ ไป {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๕}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑. ขันธวิภังค์]

๑. สุตตันตภาชนีย์ ๒. เวทนาขันธ์

[๑๓] เวทนาไกล เป็นไฉน เวทนาที่เป็นอกุศลเป็นเวทนาไกลจากเวทนาที่เป็นกุศลและอัพยากฤต เวทนา ที่เป็นกุศลและอัพยากฤตเป็นเวทนาไกลจากเวทนาที่เป็นอกุศล เวทนาที่เป็นกุศลเป็น เวทนาไกลจากเวทนาที่เป็นอกุศลและอัพยากฤต เวทนาที่เป็นอกุศลและอัพยากฤต เป็นเวทนาไกลจากเวทนาที่เป็นกุศล เวทนาที่เป็นอัพยากฤตเป็นเวทนาไกลจาก เวทนาที่เป็นกุศลและอกุศล เวทนาที่เป็นกุศลและอกุศลเป็นเวทนาไกลจากเวทนาที่ เป็นอัพยากฤต ทุกขเวทนาเป็นเวทนาไกลจากสุขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนา สุข- เวทนาและอทุกขมสุขเวทนาเป็นเวทนาไกลจากทุกขเวทนา สุขเวทนาเป็นเวทนาไกล จากทุกขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนา ทุกขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนาเป็นเวทนา ไกลจากสุขเวทนา อทุกขมสุขเวทนาเป็นเวทนาไกลจากสุขเวทนาและทุกขเวทนา สุขเวทนาและทุกขเวทนาเป็นเวทนาไกลจากอทุกขมสุขเวทนา เวทนาของผู้ไม่เข้า สมาบัติเป็นเวทนาไกลจากเวทนาของผู้เข้าสมาบัติ เวทนาของผู้เข้าสมาบัติเป็น เวทนาไกลจากเวทนาของผู้ไม่เข้าสมาบัติ เวทนาที่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นเวทนา ไกลจากเวทนาที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ เวทนาที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็น เวทนาไกลจากเวทนาที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ นี้เรียกว่า เวทนาไกล เวทนาใกล้ เป็นไฉน เวทนาที่เป็นอกุศลเป็นเวทนาใกล้กับเวทนาที่เป็นอกุศล เวทนาที่เป็นกุศลเป็น เวทนาใกล้กับเวทนาที่เป็นกุศล เวทนาที่เป็นอัพยากฤตเป็นเวทนาใกล้กับเวทนาที่ เป็นอัพยากฤต ทุกขเวทนาเป็นเวทนาใกล้กับทุกขเวทนา สุขเวทนาเป็นเวทนาใกล้ กับสุขเวทนา อทุกขมสุขเวทนาเป็นเวทนาใกล้กับอทุกขมสุขเวทนา เวทนาของผู้ไม่ เข้าสมาบัติเป็นเวทนาใกล้กับเวทนาของผู้ไม่เข้าสมาบัติ เวทนาของผู้เข้าสมาบัติเป็น เวทนาใกล้กับเวทนาของผู้เข้าสมาบัติ เวทนาที่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นเวทนา ใกล้กับเวทนาที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ เวทนาที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นเวทนา ใกล้กับเวทนาที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ นี้เรียกว่า เวทนาใกล้ พึงทราบเวทนาไกล เวทนาใกล้ โดยอาศัยเทียบเคียงเวทนานั้นๆ เป็นชั้นๆ ไป {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๖}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑. ขันธวิภังค์]

๑. สุตตันตภาชนีย์ ๓. สัญญาขันธ์

๓. สัญญาขันธ์
[๑๔] บรรดาขันธ์ ๕ นั้น สัญญาขันธ์ เป็นไฉน สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง๑- คือ สัญญาที่เป็นอดีต สัญญาที่เป็นอนาคต สัญญาที่เป็นปัจจุบัน สัญญาที่เป็นภายในตน สัญญาที่เป็นภายนอกตน สัญญา หยาบ สัญญาละเอียด สัญญาชั้นต่ำ สัญญาชั้นประณีต สัญญาไกล หรือสัญญา ใกล้ ประมวลย่อเข้าเป็นกองเดียวกัน นี้เรียกว่า สัญญาขันธ์ [๑๕] ในสัญญาขันธ์นั้น สัญญาที่เป็นอดีต เป็นไฉน สัญญาใดล่วงไปแล้ว ดับไปแล้ว ปราศจากไปแล้ว แปรไปแล้ว ถึงความดับ แล้ว ถึงความดับสิ้นแล้ว ที่เกิดขึ้นปราศจากไปแล้ว ที่เป็นอดีต สงเคราะห์เข้ากับ ส่วนอดีต ได้แก่ สัญญาที่เกิดแต่จักขุสัมผัส สัญญาที่เกิดแต่โสตสัมผัส สัญญาที่ เกิดแต่ฆานสัมผัส สัญญาที่เกิดแต่ชิวหาสัมผัส สัญญาที่เกิดแต่กายสัมผัส สัญญา ที่เกิดแต่มโนสัมผัส นี้เรียกว่า สัญญาที่เป็นอดีต สัญญาที่เป็นอนาคต เป็นไฉน สัญญาใดยังไม่เกิด ยังไม่เป็น ยังไม่เกิดพร้อม ยังไม่บังเกิด ยังไม่บังเกิดเฉพาะ ยังไม่ปรากฏ ยังไม่เกิดขึ้น ยังไม่เกิดขึ้นพร้อม ยังไม่ตั้งขึ้น ยังไม่ตั้งขึ้นพร้อม ที่ เป็นอนาคต สงเคราะห์เข้ากับส่วนอนาคต ได้แก่ สัญญาที่เกิดแต่จักขุสัมผัส ฯลฯ สัญญาที่เกิดแต่มโนสัมผัส นี้เรียกว่า สัญญาที่เป็นอนาคต สัญญาที่เป็นปัจจุบัน เป็นไฉน สัญญาใดเกิดอยู่ เป็นอยู่ เกิดพร้อม บังเกิด บังเกิดเฉพาะ ปรากฏ เกิดขึ้น เกิดขึ้นพร้อม ตั้งขึ้น ตั้งขึ้นพร้อม ที่เป็นปัจจุบัน สงเคราะห์เข้ากับส่วนปัจจุบัน ได้แก่ สัญญาที่เกิดแต่จักขุสัมผัส ฯลฯ สัญญาที่เกิดแต่มโนสัมผัส นี้เรียกว่า สัญญาที่เป็นปัจจุบัน [๑๖] สัญญาที่เป็นภายในตน เป็นไฉน @เชิงอรรถ : @ หมายถึงสัญญาขันธ์ที่เป็นไปในภูมิ ๔ คือ กามภูมิ รูปภูมิ อรูปภูมิ และโลกุตตรภูมิ (อภิ.วิ.อ. ๑๔/๒๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๗}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑. ขันธวิภังค์]

๑. สุตตันตภาชนีย์ ๓. สัญญาขันธ์

สัญญาใดของสัตว์นั้นๆ ที่เป็นภายในตน มีเฉพาะตน เกิดในตน มีเฉพาะ บุคคล ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือ ได้แก่ สัญญาที่เกิดแต่จักขุ- สัมผัส ฯลฯ สัญญาที่เกิดแต่มโนสัมผัส นี้เรียกว่า สัญญาที่เป็นภายในตน สัญญาที่เป็นภายนอกตน เป็นไฉน สัญญาใดของสัตว์อื่น ของบุคคลอื่นนั้นๆ ที่เป็นภายในตน มีเฉพาะตน เกิด ในตน มีเฉพาะบุคคล ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือ ได้แก่ สัญญา ที่เกิดแต่จักขุสัมผัส ฯลฯ สัญญาที่เกิดแต่มโนสัมผัส นี้เรียกว่า สัญญาที่เป็นภาย นอกตน [๑๗] สัญญาหยาบ สัญญาละเอียด เป็นไฉน สัญญาที่เกิดแต่ปฏิฆสัมผัส๑- (คือสัมผัสที่เกิดทางปัญจทวาร) เป็นสัญญาหยาบ สัญญาที่เกิดแต่อธิวจนสัมผัส(คือสัมผัสที่เกิดทางมโนทวาร) เป็นสัญญาละเอียด สัญญาที่เป็นอกุศลเป็นสัญญาหยาบ สัญญาที่เป็นกุศลและอัพยากฤตเป็นสัญญา ละเอียด สัญญาที่เป็นกุศลและอกุศลเป็นสัญญาหยาบ สัญญาที่เป็นอัพยากฤตเป็น สัญญาละเอียด สัญญาที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาเป็นสัญญาหยาบ สัญญาที่สัมปยุต ด้วยสุขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนาเป็นสัญญาละเอียด สัญญาที่สัมปยุตด้วยสุข- เวทนาและทุกขเวทนาเป็นสัญญาหยาบ สัญญาที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาเป็น สัญญาละเอียด สัญญาของผู้ไม่เข้าสมาบัติเป็นสัญญาหยาบ สัญญาของผู้เข้าสมาบัติ เป็นสัญญาละเอียด สัญญาที่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นสัญญาหยาบ สัญญาที่ไม่ เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นสัญญาละเอียด พึงทราบสัญญาหยาบ สัญญาละเอียด โดยอาศัยเทียบเคียงสัญญานั้นๆ เป็น ชั้นๆ ไป [๑๘] สัญญาชั้นต่ำ สัญญาชั้นประณีต เป็นไฉน สัญญาที่เป็นอกุศลเป็นสัญญาชั้นต่ำ สัญญาที่เป็นกุศลและอัพยากฤตเป็น สัญญาชั้นประณีต สัญญาที่เป็นกุศลและอกุศลเป็นสัญญาชั้นต่ำ สัญญาที่เป็น @เชิงอรรถ : @ หมายถึงความสัมผัสถูกต้องกันแห่งรูปที่กระทบกันได้ เช่นจักขุปสาทกระทบกับรูปารมณ์เป็นต้น @(อภิ.วิ.อ. ๑๗/๒๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๘}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑. ขันธวิภังค์]

๑. สุตตันตภาชนีย์ ๓. สัญญาขันธ์

อัพยากฤตเป็นสัญญาชั้นประณีต สัญญาที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาเป็นสัญญาชั้นต่ำ สัญญาที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนาเป็นสัญญาชั้นประณีต สัญญาที่ สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและทุกขเวทนาเป็นสัญญาชั้นต่ำ สัญญาที่สัมปยุตด้วย อทุกขมสุขเวทนาเป็นสัญญาชั้นประณีต สัญญาของผู้ไม่เข้าสมาบัติเป็นสัญญาชั้นต่ำ สัญญาของผู้เข้าสมาบัติเป็นสัญญาชั้นประณีต สัญญาที่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็น สัญญาชั้นต่ำ สัญญาที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นสัญญาชั้นประณีต พึงทราบสัญญาชั้นต่ำ สัญญาชั้นประณีต โดยอาศัยเทียบเคียงสัญญานั้นๆ เป็นชั้นๆ ไป [๑๙] สัญญาไกล เป็นไฉน สัญญาที่เป็นอกุศลเป็นสัญญาไกลจากสัญญาที่เป็นกุศลและอัพยากฤต สัญญาที่เป็นกุศลและอัพยากฤตเป็นสัญญาไกลจากสัญญาที่เป็นอกุศล สัญญาที่ เป็นกุศลเป็นสัญญาไกลจากสัญญาที่เป็นอกุศลและอัพยากฤต สัญญาที่เป็นอกุศล และอัพยากฤตเป็นสัญญาไกลจากสัญญาที่เป็นกุศล สัญญาที่เป็นอัพยากฤตเป็น สัญญาไกลจากสัญญาที่เป็นกุศลและอกุศล สัญญาที่เป็นกุศลและอกุศลเป็นสัญญา ไกลจากสัญญาที่เป็นอัพยากฤต สัญญาที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาเป็นสัญญาไกล จากสัญญาที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนา สัญญาที่สัมปยุตด้วยสุข เวทนาและอทุกขมสุขเวทนาเป็นสัญญาไกลจากสัญญาที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา สัญญาที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาเป็นสัญญาไกลจากสัญญาที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา และอทุกขมสุขเวทนา สัญญาที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนาเป็น สัญญาไกลจากสัญญาที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา สัญญาที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุข- เวทนาเป็นสัญญาไกลจากสัญญาที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและทุกขเวทนา สัญญาที่ สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและทุกขเวทนาเป็นสัญญาไกลจากสัญญาที่สัมปยุตด้วย อทุกขมสุขเวทนา สัญญาของผู้ไม่เข้าสมาบัติเป็นสัญญาไกลจากสัญญาของผู้เข้า สมาบัติ สัญญาของผู้เข้าสมาบัติเป็นสัญญาไกลจากสัญญาของผู้ไม่เข้าสมาบัติ สัญญาที่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นสัญญาไกลจากสัญญาที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ สัญญาที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นสัญญาไกลจากสัญญาที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ นี้เรียกว่า สัญญาไกล {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๙}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑. ขันธวิภังค์]

๑. สุตตันตภาชนีย์ ๔. สังขารขันธ์

สัญญาใกล้ เป็นไฉน สัญญาที่เป็นอกุศลเป็นสัญญาใกล้กับสัญญาที่เป็นอกุศล สัญญาที่เป็นกุศล เป็นสัญญาใกล้กับสัญญาที่เป็นกุศล สัญญาที่เป็นอัพยากฤตเป็นสัญญาใกล้กับ สัญญาที่เป็นอัพยากฤต สัญญาที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาเป็นสัญญาใกล้กับสัญญา ที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา สัญญาที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาเป็นสัญญาใกล้กับสัญญา ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา สัญญาที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาเป็นสัญญาใกล้กับ สัญญาที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา สัญญาของผู้ไม่เข้าสมาบัติเป็นสัญญาใกล้ กับสัญญาของผู้ไม่เข้าสมาบัติ สัญญาของผู้เข้าสมาบัติเป็นสัญญาใกล้กับสัญญาของ ผู้เข้าสมาบัติ สัญญาที่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นสัญญาใกล้กับสัญญาที่เป็น อารมณ์ของอาสวะ สัญญาที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นสัญญาใกล้กับสัญญาที่ไม่ เป็นอารมณ์ของอาสวะ นี้เรียกว่า สัญญาใกล้ พึงทราบสัญญาไกล สัญญาใกล้ โดยอาศัยเทียบเคียงสัญญานั้นๆ เป็น ชั้นๆ ไป
๔. สังขารขันธ์
[๒๐] บรรดาขันธ์ ๕ นั้น สังขารขันธ์ เป็นไฉน สังขารเหล่าใดเหล่าหนึ่ง๑- คือ สังขารที่เป็นอดีต สังขารที่เป็นอนาคต สังขาร ที่เป็นปัจจุบัน สังขารที่เป็นภายในตน สังขารที่เป็นภายนอกตน สังขารหยาบ สังขาร ละเอียด สังขารชั้นต่ำ สังขารชั้นประณีต สังขารไกล หรือสังขารใกล้ ประมวลย่อเข้า เป็นกองเดียวกัน นี้เรียกว่า สังขารขันธ์ [๒๑] ในสังขารขันธ์นั้น สังขารที่เป็นอดีต เป็นไฉน สังขารเหล่าใดล่วงไปแล้ว ดับไปแล้ว ปราศจากไปแล้ว แปรไปแล้ว ถึงความ ดับแล้ว ถึงความดับสิ้นแล้ว ที่เกิดขึ้นปราศจากไปแล้ว ที่เป็นอดีต สงเคราะห์เข้ากับ ส่วนอดีต ได้แก่ เจตนาที่เกิดแต่จักขุสัมผัส เจตนาที่เกิดแต่โสตสัมผัส เจตนาที่เกิด แต่ฆานสัมผัส เจตนาที่เกิดแต่ชิวหาสัมผัส เจตนาที่เกิดแต่กายสัมผัส เจตนาที่เกิด แต่มโนสัมผัส เหล่านี้เรียกว่า สังขารที่เป็นอดีต @เชิงอรรถ : @ ได้แก่ที่เป็นไปในภูมิ ๔ คือ กามภูมิ รูปภูมิ อรูปภูมิ และโลกุตตรภูมิ (อภิ.วิ.อ. ๒๐/๒๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๑๐}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑. ขันธวิภังค์]

๑. สุตตันตภาชนีย์ ๔. สังขารขันธ์

สังขารที่เป็นอนาคต เป็นไฉน สังขารเหล่าใดยังไม่เกิด ยังไม่เป็น ยังไม่เกิดพร้อม ยังไม่บังเกิด ยังไม่บังเกิด เฉพาะ ยังไม่ปรากฏ ยังไม่เกิดขึ้น ยังไม่เกิดขึ้นพร้อม ยังไม่ตั้งขึ้น ยังไม่ตั้งขึ้นพร้อม ที่เป็นอนาคต สงเคราะห์เข้ากับส่วนอนาคต ได้แก่ เจตนาที่เกิดแต่จักขุสัมผัส ฯลฯ เจตนาที่เกิดแต่มโนสัมผัส เหล่านี้เรียกว่า สังขารที่เป็นอนาคต สังขารที่เป็นปัจจุบัน เป็นไฉน สังขารเหล่าใดเกิดอยู่ เป็นอยู่ เกิดพร้อม บังเกิด บังเกิดเฉพาะ ปรากฏ เกิด ขึ้น เกิดขึ้นพร้อม ตั้งขึ้น ตั้งขึ้นพร้อม ที่เป็นปัจจุบัน สงเคราะห์เข้ากับส่วนปัจจุบัน ได้แก่ เจตนาที่เกิดแต่จักขุสัมผัส ฯลฯ เจตนาที่เกิดแต่มโนสัมผัส เหล่านี้เรียกว่า สังขารที่เป็นปัจจุบัน [๒๒] สังขารที่เป็นภายในตน เป็นไฉน สังขารเหล่าใดของสัตว์นั้นๆ ที่เป็นภายในตน มีเฉพาะตน เกิดในตน มี เฉพาะบุคคล ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือ ได้แก่ เจตนาที่เกิดแต่ จักขุสัมผัส ฯลฯ เจตนาที่เกิดแต่มโนสัมผัส เหล่านี้เรียกว่า สังขารที่เป็นภายในตน สังขารที่เป็นภายนอกตน เป็นไฉน สังขารเหล่าใดของสัตว์อื่น ของบุคคลอื่นนั้นๆ ที่เป็นภายในตน มีเฉพาะตน เกิดในตน มีเฉพาะบุคคล ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือ ได้แก่ เจตนาที่เกิดแต่จักขุสัมผัส ฯลฯ เจตนาที่เกิดแต่มโนสัมผัส เหล่านี้เรียกว่า สังขารที่ เป็นภายนอกตน [๒๓] สังขารหยาบ สังขารละเอียด เป็นไฉน สังขารที่เป็นอกุศลเป็นสังขารหยาบ สังขารที่เป็นกุศลและอัพยากฤตเป็น สังขารละเอียด สังขารที่เป็นกุศลและอกุศลเป็นสังขารหยาบ สังขารที่เป็นอัพยากฤต เป็นสังขารละเอียด สังขารที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาเป็นสังขารหยาบ สังขารที่ สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนาเป็นสังขารละเอียด สังขารที่สัมปยุตด้วย สุขเวทนาและทุกขเวทนาเป็นสังขารหยาบ สังขารที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา เป็นสังขารละเอียด สังขารของผู้ไม่เข้าสมาบัติเป็นสังขารหยาบ สังขารของผู้เข้า สมาบัติเป็นสังขารละเอียด สังขารที่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นสังขารหยาบ สังขารที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นสังขารละเอียด {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๑๑}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑. ขันธวิภังค์]

๑. สุตตันตภาชนีย์ ๔. สังขารขันธ์

พึงทราบสังขารหยาบ สังขารละเอียด โดยอาศัยเทียบเคียงสังขารนั้นๆ เป็น ชั้นๆ ไป [๒๔] สังขารชั้นต่ำ สังขารชั้นประณีต เป็นไฉน สังขารที่เป็นอกุศลเป็นสังขารชั้นต่ำ สังขารที่เป็นกุศลและอัพยากฤตเป็น สังขารชั้นประณีต สังขารที่เป็นกุศลและอกุศลเป็นสังขารชั้นต่ำ สังขารที่เป็น อัพยากฤตเป็นสังขารชั้นประณีต สังขารที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาเป็นสังขารชั้นต่ำ สังขารที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนาเป็นสังขารชั้นประณีต สังขารที่ สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและทุกขเวทนาเป็นสังขารชั้นต่ำ สังขารที่สัมปยุตด้วยอทุกขม- สุขเวทนาเป็นสังขารชั้นประณีต สังขารของผู้ไม่เข้าสมาบัติเป็นสังขารชั้นต่ำ สังขาร ของผู้เข้าสมาบัติเป็นสังขารชั้นประณีต สังขารที่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นสังขาร ชั้นต่ำ สังขารที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นสังขารชั้นประณีต พึงทราบสังขารชั้นต่ำ สังขารชั้นประณีต โดยอาศัยเทียบเคียงสังขารนั้นๆ เป็นชั้นๆ ไป [๒๕] สังขารไกล เป็นไฉน สังขารที่เป็นอกุศลเป็นสังขารไกลจากสังขารที่เป็นกุศลและอัพยากฤต สังขาร ที่เป็นกุศลและอัพยากฤตเป็นสังขารไกลจากสังขารที่เป็นอกุศล สังขารที่เป็นกุศล เป็นสังขารไกลจากสังขารที่เป็นอกุศลและอัพยากฤต สังขารที่เป็นอกุศลและ อัพยากฤตเป็นสังขารไกลจากสังขารที่เป็นกุศล สังขารที่เป็นอัพยากฤตเป็นสังขาร ไกลจากสังขารที่เป็นกุศลและอกุศล สังขารที่เป็นกุศลและอกุศลเป็นสังขารไกลจาก สังขารที่เป็นอัพยากฤต สังขารที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาเป็นสังขารไกลจากสังขาร ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนา สังขารที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและ อทุกขมสุขเวทนาเป็นสังขารไกลจากสังขารที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา สังขารที่ สัมปยุตด้วยสุขเวทนาเป็นสังขารไกลจากสังขารที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาและอทุกขม- สุขเวทนา สังขารที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนาเป็นสังขารไกลจาก สังขารที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา สังขารที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาเป็นสังขารไกล จากสังขารที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและทุกขเวทนา สังขารที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา และทุกขเวทนาเป็นสังขารไกลจากสังขารที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา สังขารของ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๑๒}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑. ขันธวิภังค์]

๑. สุตตันตภาชนีย์ ๕. วิญญาณขันธ์

ผู้ไม่เข้าสมาบัติเป็นสังขารไกลจากสังขารของผู้เข้าสมาบัติ สังขารของผู้เข้าสมาบัติ เป็นสังขารไกลจากสังขารของผู้ไม่เข้าสมาบัติ สังขารที่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็น สังขารไกลจากสังขารที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ สังขารที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ เป็นสังขารไกลจากสังขารที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ เหล่านี้เรียกว่า สังขารไกล สังขารใกล้ เป็นไฉน สังขารที่เป็นอกุศลเป็นสังขารใกล้กับสังขารที่เป็นอกุศล สังขารที่เป็นกุศลเป็น สังขารใกล้กับสังขารที่เป็นกุศล สังขารที่เป็นอัพยากฤตเป็นสังขารใกล้กับสังขารที่ เป็นอัพยากฤต สังขารที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาเป็นสังขารใกล้กับสังขารที่สัมปยุต ด้วยทุกขเวทนา สังขารที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาเป็นสังขารใกล้กับสังขารที่สัมปยุต ด้วยสุขเวทนา สังขารที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาเป็นสังขารใกล้กับสังขารที่ สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา สังขารของผู้ไม่เข้าสมาบัติเป็นสังขารใกล้กับสังขาร ของผู้ไม่เข้าสมาบัติ สังขารของผู้เข้าสมาบัติเป็นสังขารใกล้กับสังขารของผู้เข้า สมาบัติ สังขารที่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นสังขารใกล้กับสังขารที่เป็นอารมณ์ของ อาสวะ สังขารที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นสังขารใกล้กับสังขารที่ไม่เป็นอารมณ์ ของอาสวะ เหล่านี้เรียกว่า สังขารใกล้ พึงทราบสังขารไกล สังขารใกล้ โดยอาศัยเทียบเคียงสังขารนั้นๆ เป็นชั้นๆ ไป
๕. วิญญาณขันธ์
[๒๖] บรรดาขันธ์ ๕ นั้น วิญญาณขันธ์ เป็นไฉน วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง๑- คือ วิญญาณที่เป็นอดีต วิญญาณที่เป็นอนาคต วิญญาณที่เป็นปัจจุบัน วิญญาณที่เป็นภายในตน วิญญาณที่เป็นภายนอกตน วิญญาณหยาบ วิญญาณละเอียด วิญญาณชั้นต่ำ วิญญาณชั้นประณีต วิญญาณไกล หรือวิญญาณใกล้ ประมวลย่อเข้าเป็นกองเดียวกัน นี้เรียกว่า วิญญาณขันธ์ @เชิงอรรถ : @ ได้แก่ที่เป็นไปในภูมิ ๔ คือ กามภูมิ รูปภูมิ อรูปภูมิ และโลกุตตรภูมิ (อภิ.วิ.อ. ๒๖/๒๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๑๓}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑. ขันธวิภังค์]

๑. สุตตันตภาชนีย์ ๕. วิญญาณขันธ์

[๒๗] ในวิญญาณขันธ์นั้น วิญญาณที่เป็นอดีต เป็นไฉน วิญญาณใดล่วงไปแล้ว ดับไปแล้ว ปราศจากไปแล้ว แปรไปแล้ว ถึงความดับแล้ว ถึงความดับสิ้นแล้ว ที่เกิดขึ้นปราศจากไปแล้ว ที่เป็นอดีต สงเคราะห์เข้ากับส่วนอดีต ได้แก่ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ และมโนวิญญาณ นี้เรียกว่า วิญญาณที่เป็นอดีต วิญญาณที่เป็นอนาคต เป็นไฉน วิญญาณใดยังไม่เกิด ยังไม่เป็น ยังไม่เกิดพร้อม ยังไม่บังเกิด ยังไม่บังเกิด เฉพาะ ยังไม่ปรากฏ ยังไม่เกิดขึ้น ยังไม่เกิดขึ้นพร้อม ยังไม่ตั้งขึ้น ยังไม่ตั้งขึ้นพร้อม ที่เป็นอนาคต สงเคราะห์เข้ากับส่วนอนาคต ได้แก่ จักขุวิญญาณ ฯลฯ มโนวิญญาณ นี้เรียกว่า วิญญาณที่เป็นอนาคต วิญญาณที่เป็นปัจจุบัน เป็นไฉน วิญญาณใดเกิดอยู่ เป็นอยู่ เกิดพร้อม บังเกิด บังเกิดเฉพาะ ปรากฏ เกิดขึ้น เกิดขึ้นพร้อม ตั้งขึ้น ตั้งขึ้นพร้อม ที่เป็นปัจจุบัน สงเคราะห์เข้ากับส่วนปัจจุบัน ได้แก่ จักขุวิญญาณ ฯลฯ มโนวิญญาณ นี้เรียกว่า วิญญาณที่เป็นปัจจุบัน [๒๘] วิญญาณที่เป็นภายในตน เป็นไฉน วิญญาณใด ของสัตว์นั้นๆ ที่เป็นภายในตน มีเฉพาะตน เกิดในตน มีเฉพาะ บุคคล ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือ ได้แก่ จักขุวิญญาณ ฯลฯ มโนวิญญาณ นี้เรียกว่า วิญญาณที่เป็นภายในตน วิญญาณที่เป็นภายนอกตน เป็นไฉน วิญญาณใดของสัตว์อื่น ของบุคคลอื่นนั้นๆ ที่เป็นภายในตน มีเฉพาะตน เกิดในตน มีเฉพาะบุคคล ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือ ได้แก่ จักขุวิญญาณ ฯลฯ มโนวิญญาณ นี้เรียกว่า วิญญาณที่เป็นภายนอกตน [๒๙] วิญญาณหยาบ วิญญาณละเอียด เป็นไฉน วิญญาณที่เป็นอกุศลเป็นวิญญาณหยาบ วิญญาณที่เป็นกุศลและอัพยากฤต เป็นวิญญาณละเอียด วิญญาณที่เป็นกุศลและอกุศลเป็นวิญญาณหยาบ วิญญาณที่ เป็นอัพยากฤตเป็นวิญญาณละเอียด วิญญาณที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาเป็นวิญญาณ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๑๔}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑. ขันธวิภังค์]

๑. สุตตันตภาชนีย์ ๕. วิญญาณขันธ์

หยาบ วิญญาณที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนาเป็นวิญญาณละเอียด วิญญาณที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและทุกขเวทนาเป็นวิญญาณหยาบ วิญญาณที่ สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาเป็นวิญญาณละเอียด วิญญาณของผู้ไม่เข้าสมาบัติเป็น วิญญาณหยาบ วิญญาณของผู้เข้าสมาบัติเป็นวิญญาณละเอียด วิญญาณที่เป็น อารมณ์ของอาสวะเป็นวิญญาณหยาบ วิญญาณที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็น วิญญาณละเอียด พึงทราบวิญญาณหยาบ วิญญาณละเอียด โดยอาศัยเทียบเคียงวิญญาณนั้นๆ เป็นชั้นๆ ไป [๓๐] วิญญาณชั้นต่ำ วิญญาณชั้นประณีต เป็นไฉน วิญญาณที่เป็นอกุศลเป็นวิญญาณชั้นต่ำ วิญญาณที่เป็นกุศลและอัพยากฤต เป็นวิญญาณชั้นประณีต วิญญาณที่เป็นกุศลและอกุศลเป็นวิญญาณชั้นต่ำ วิญญาณ ที่เป็นอัพยากฤตเป็นวิญญาณชั้นประณีต วิญญาณที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาเป็น วิญญาณชั้นต่ำ วิญญาณที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนาเป็นวิญญาณ ชั้นประณีต วิญญาณที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและทุกขเวทนาเป็นวิญญาณชั้นต่ำ วิญญาณที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาเป็นวิญญาณชั้นประณีต วิญญาณของผู้ไม่ เข้าสมาบัติเป็นวิญญาณชั้นต่ำ วิญญาณของผู้เข้าสมาบัติเป็นวิญญาณชั้นประณีต วิญญาณที่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นวิญญาณชั้นต่ำ วิญญาณที่ไม่เป็นอารมณ์ของ อาสวะเป็นวิญญาณชั้นประณีต พึงทราบวิญญาณชั้นต่ำ วิญญาณชั้นประณีต โดยอาศัยเทียบเคียงวิญญาณ นั้นๆ เป็นชั้นๆ ไป [๓๑] วิญญาณไกล เป็นไฉน วิญญาณที่เป็นอกุศลเป็นวิญญาณไกลจากวิญญาณที่เป็นกุศลและอัพยากฤต วิญญาณที่เป็นกุศลและอัพยากฤตเป็นวิญญาณไกลจากวิญญาณที่เป็นอกุศล วิญญาณ ที่เป็นกุศลเป็นวิญญาณไกลจากวิญญาณที่เป็นอกุศลและอัพยากฤต วิญญาณที่เป็น อกุศลและอัพยากฤตเป็นวิญญาณไกลจากวิญญาณที่เป็นกุศล วิญญาณที่เป็น อัพยากฤตเป็นวิญญาณไกลจากวิญญาณที่เป็นกุศลและอกุศล วิญญาณที่เป็นกุศล และอกุศลเป็นวิญญาณไกลจากวิญญาณที่เป็นอัพยากฤต วิญญาณที่สัมปยุตด้วย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๑๕}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑. ขันธวิภังค์]

๑. สุตตันตภาชนีย์ ๕. วิญญาณขันธ์

ทุกขเวทนาเป็นวิญญาณไกลจากวิญญาณที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา และอทุกขมสุขเวทนา วิญญาณที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนาเป็นวิญญาณไกลจากวิญญาณ ที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา วิญญาณที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาเป็นวิญญาณไกลจาก วิญญาณที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนา วิญญาณที่สัมปยุตด้วย ทุกขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนาเป็นวิญญาณไกลจากวิญญาณที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา วิญญาณที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาเป็นวิญญาณไกลจากวิญญาณที่สัมปยุตด้วย สุขเวทนาและทุกขเวทนา วิญญาณที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและทุกขเวทนาเป็นวิญญาณ ไกลจากวิญญาณที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา วิญญาณของผู้ไม่เข้าสมาบัติเป็น วิญญาณไกลจากวิญญาณของผู้เข้าสมาบัติ วิญญาณของผู้เข้าสมาบัติเป็นวิญญาณ ไกลจากวิญญาณของผู้ไม่เข้าสมาบัติ วิญญาณที่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นวิญญาณ ไกลจากวิญญาณที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ วิญญาณที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ เป็นวิญญาณไกลจากวิญญาณที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ นี้เรียกว่า วิญญาณไกล วิญญาณใกล้ เป็นไฉน วิญญาณที่เป็นอกุศลเป็นวิญญาณใกล้กับวิญญาณที่เป็นอกุศล วิญญาณที่เป็น กุศลเป็นวิญญาณใกล้กับวิญญาณที่เป็นกุศล วิญญาณที่เป็นอัพยากฤตเป็นวิญญาณ ใกล้กับวิญญาณที่เป็นอัพยากฤต วิญญาณที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาเป็นวิญญาณ ใกล้กับวิญญาณที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา วิญญาณที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาเป็น วิญญาณใกล้กับวิญญาณที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา วิญญาณที่สัมปยุตด้วยอทุกขม- สุขเวทนาเป็นวิญญาณใกล้กับวิญญาณที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา วิญญาณ ของผู้ไม่เข้าสมาบัติเป็นวิญญาณใกล้กับวิญญาณของผู้ไม่เข้าสมาบัติ วิญญาณของผู้ เข้าสมาบัติเป็นวิญญาณใกล้กับวิญญาณของผู้เข้าสมาบัติ วิญญาณที่เป็นอารมณ์ ของอาสวะเป็นวิญญาณใกล้กับวิญญาณที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ วิญญาณที่ไม่เป็น อารมณ์ของอาสวะเป็นวิญญาณใกล้กับวิญญาณที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ นี้เรียก ว่า วิญญาณใกล้ พึงทราบวิญญาณไกล วิญญาณใกล้ โดยอาศัยเทียบเคียงวิญญาณนั้นๆ เป็น ชั้นๆ ไป
สุตตันตภาชนีย์ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๑๖}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๕ หน้าที่ ๑-๑๖. http://84000.org/tipitaka/english/m_siri.php?B=35&siri=1              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4], [5], [6].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/english/v.php?B=35&A=1&Z=392                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=35&i=1              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=35&item=1&items=31              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=54&A=1              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=35&item=1&items=31              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=54&A=1                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu35              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/vb1/en/thittila



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :