ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] วิภังคปกรณ์
ปัญจังคิกวาร
[๒๑๑] สัจจะ ๔ คือ ๑. ทุกข์ (ทุกข์) ๒. ทุกขสมุทัย (เหตุเกิดแห่งทุกข์) ๓. ทุกขนิโรธ (ความดับทุกข์) ๔. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา (ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์) บรรดาสัจจะ ๔ นั้น ทุกขสมุทัย เป็นไฉน ตัณหา นี้เรียกว่า ทุกขสมุทัย ทุกข์ เป็นไฉน กิเลสที่เหลือ สภาวธรรมที่เป็นอกุศลที่เหลือ กุศลมูล ๓ ที่เป็นอารมณ์ของ อาสวะ สภาวธรรมที่เป็นกุศลที่เหลือซึ่งเป็นอารมณ์ของอาสวะ วิบากแห่งสภาวธรรม ที่เป็นกุศลและอกุศลซึ่งเป็นอารมณ์ของอาสวะ สภาวธรรมที่เป็นกิริยา ไม่เป็นกุศล ไม่เป็นอกุศล ไม่เป็นวิบากแห่งกรรมและรูปทั้งหมด นี้เรียกว่า ทุกข์ ทุกขนิโรธ เป็นไฉน การละตัณหาเสียได้ นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๑๗๘}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๔. สัจจวิภังค์]

๒. อภิธรรมภาชนีย์ ปัญจังคิกวาร

ที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น มรรคมีองค์ ๕ คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ และสัมมาสมาธิ ก็เกิดขึ้น สัมมาทิฏฐิ เป็นไฉน ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมา- ทิฏฐิ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ เป็นไฉน ความตรึก ความตรึกโดยอาการต่างๆ ความดำริ ฯลฯ สัมมาสังกัปปะ อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า สัมมาสังกัปปะ สัมมาวายามะ เป็นไฉน การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ วิริยสัมโพชฌงค์ อันเป็น องค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า สัมมาวายามะ สัมมาสติ เป็นไฉน สติ ความตามระลึก ฯลฯ สัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์มรรค นับ เนื่องในมรรค นี้เรียกว่า สัมมาสติ สัมมาสมาธิ เป็นไฉน ความตั้งอยู่แห่งจิต ฯลฯ สัมมาสมาธิ สมาธิสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา สภาวธรรมที่เหลือสัมปยุตด้วยทุกขนิโรธ- คามินีปฏิปทา [๒๑๒] บรรดาสัจจะ ๔ นั้น ทุกขสมุทัย เป็นไฉน ตัณหา กิเลสที่เหลือ สภาวธรรมที่เป็นอกุศลที่เหลือ กุศลมูล ๓ ที่เป็นอารมณ์ ของอาสวะ และสภาวธรรมที่เป็นกุศลที่เหลือซึ่งเป็นอารมณ์ของอาสวะ นี้เรียกว่า ทุกขสมุทัย ทุกข์ เป็นไฉน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๑๗๙}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๔. สัจจวิภังค์]

๒. อภิธรรมภาชนีย์ สัพพสังคาหิกวาร

วิบากแห่งสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอกุศลซึ่งเป็นอารมณ์ของอาสวะ สภาว- ธรรมที่เป็นกิริยา ไม่เป็นกุศล ไม่เป็นอกุศล ไม่เป็นวิบากแห่งกรรมและรูปทั้งหมด นี้เรียกว่า ทุกข์ ทุกขนิโรธ เป็นไฉน การละตัณหา ละกิเลสที่เหลือ ละสภาวธรรมที่เป็นอกุศลที่เหลือ ละกุศลมูล ๓ ที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ และละสภาวธรรมที่เป็นกุศลที่เหลือซึ่งเป็นอารมณ์ของ อาสวะ นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานที่ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น มรรคมีองค์ ๕ คือ สัมมา- ทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ และสัมมาสมาธิ ก็เกิดขึ้น นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา สภาวธรรมที่เหลือสัมปยุตด้วยทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๕ หน้าที่ ๑๗๘-๑๘๐. http://84000.org/tipitaka/english/m_siri.php?B=35&siri=16              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/english/v.php?B=35&A=2987&Z=3043                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=35&i=200              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=35&item=200&items=14              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=35&item=200&items=14                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu35              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/vb4/en/thittila#pts-s211



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :