ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] วิภังคปกรณ์

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๘. สัมมัปปธานวิภังค์]

๑. สุตตันตภาชนีย์

๘. สัมมัปปธานวิภังค์
๑. สุตตันตภาชนีย์
[๓๙๐] สัมมัปปธาน ๔ ๑- ได้แก่ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น เพื่อป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดมิให้เกิด ๒. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น เพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดแล้ว ๓. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น เพื่อยังกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิด ๔. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น เพื่อความดำรงอยู่ ไม่เลือนหาย ภิยโยภาพ ไพบูลย์ เจริญ เต็มที่แห่งกุศลธรรมที่เกิดแล้ว
เพียรป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดมิให้เกิด
[๓๙๑] ภิกษุสร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น เพื่อป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดมิให้เกิด เป็นอย่างไร บรรดาธรรมเหล่านั้น บาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด เป็นไฉน อกุศลมูล ๓ คือ โลภะ โทสะ โมหะ และกิเลสที่ตั้งอยู่ในฐานเดียวกับอกุศลมูล นั้น ได้แก่ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ที่สัมปยุตด้วย อกุศลมูลนั้น และกายกรรม วจีกรรม มโนกรรมที่มีอกุศลมูลนั้นเป็นสมุฏฐาน ธรรมเหล่านี้เรียกว่า บาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ภิกษุสร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อป้องกัน บาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดด้วยประการฉะนี้ @เชิงอรรถ : @ อภิ.สงฺ. ๓๔/๑๓๗๗/๓๐๖ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๓๒๘}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๘. สัมมัปปธานวิภังค์]

๑. สุตตันตภาชนีย์

[๓๙๒] ในคำว่า สร้างฉันทะ นั้น ฉันทะ เป็นไฉน ความพอใจ การทำความพอใจ ความเป็นผู้ประสงค์จะทำ ความฉลาด ความพอใจในธรรม นี้เรียกว่า ฉันทะ ภิกษุทำฉันทะนี้ให้เกิด ให้เกิดด้วยดี ให้ตั้งขึ้น ให้ตั้งขึ้นด้วยดี ให้บังเกิด ให้บังเกิดเฉพาะ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า สร้างฉันทะ [๓๙๓] ในคำว่า พยายาม นั้น ความพยายาม เป็นไฉน การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ นี้เรียกว่า ความพยายาม ภิกษุเป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว เข้าไปถึงแล้วด้วยดี เข้ามาถึงแล้ว เข้ามาถึงแล้วด้วยดี เข้าถึงแล้ว เข้าถึงแล้วด้วยดี ประกอบแล้วด้วยความพยายามนี้ เพราะฉะนั้นจึง เรียกว่า พยายาม [๓๙๔] ในคำว่า ปรารภความเพียร นั้น ความเพียร เป็นไฉน การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ นี้เรียกว่า ความเพียร ภิกษุปรารภ ปรารภด้วยดี เสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งความเพียรนี้ เพราะ ฉะนั้นจึงเรียกว่า ปรารภความเพียร [๓๙๕] ในคำว่า ประคองจิต นั้น จิต เป็นไฉน จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า จิต ภิกษุประคอง ประคองด้วยดี อุปถัมภ์ค้ำชูจิตนี้ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า ประคองจิต [๓๙๖] ในคำว่า มุ่งมั่น นั้น ความมุ่งมั่น๑- เป็นไฉน การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ นี้เรียกว่า ความมุ่งมั่น ภิกษุเป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว ฯลฯ ประกอบแล้วด้วยความมุ่งมั่นนี้ เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า มุ่งมั่น @เชิงอรรถ : @ อรรถกถาขยายเป็น สาตัจจกิริยา หมายถึงการกระทำอย่างต่อเนื่อง (อภิ.วิ.อ. ๓๙๐/๓๑๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๓๒๙}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๘. สัมมัปปธานวิภังค์]

๑. สุตตันตภาชนีย์

เพียรละบาปอกุศลธรรมที่เกิดแล้ว
[๓๙๗] ภิกษุสร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตมุ่งมั่น เพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดแล้ว เป็นอย่างไร บรรดาธรรมเหล่านั้น บาปอกุศลธรรมที่เกิดแล้ว เป็นไฉน อกุศลมูล ๓ คือ โลภะ โทสะ โมหะและกิเลสที่ตั้งอยู่ในฐานเดียวกันกับ อกุศลมูลนั้น ได้แก่ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ที่สัมปยุตด้วย อกุศลมูลนั้น และกายกรรม วจีกรรม มโนกรรมที่มีอกุศลมูลนั้นเป็นสมุฏฐาน ธรรมเหล่านี้เรียกว่า บาปอกุศลธรรมที่เกิดแล้ว ภิกษุสร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อละ บาปอกุศลธรรมที่เกิดแล้วเหล่านี้ด้วยประการฉะนี้ [๓๙๘] ในคำว่า สร้างฉันทะ นั้น ฉันทะ เป็นไฉน ความพอใจ การทำความพอใจ ความเป็นผู้ประสงค์จะทำ ความฉลาด ความ พอใจในธรรม นี้เรียกว่า ฉันทะ ภิกษุทำฉันทะนี้ให้เกิด ให้เกิดด้วยดี ให้ตั้งขึ้น ให้ตั้งขึ้นด้วยดี ให้บังเกิด ให้บังเกิดเฉพาะ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า สร้างฉันทะ [๓๙๙] ในคำว่า พยายาม นั้น ความพยายาม เป็นไฉน การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ นี้เรียกว่า ความพยายาม ภิกษุเป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว ฯลฯ ประกอบแล้วด้วยความพยายามนี้ เพราะ ฉะนั้นจึงเรียกว่า พยายาม [๔๐๐] ในคำว่า ปรารภความเพียร นั้น ความเพียร เป็นไฉน การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ นี้เรียกว่า ความเพียร ภิกษุปรารภ ปรารภด้วยดี เสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งความเพียรนี้ เพราะ ฉะนั้นจึงเรียกว่า ปรารภความเพียร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๓๓๐}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๘. สัมมัปปธานวิภังค์]

๑. สุตตันตภาชนีย์

[๔๐๑] ในคำว่า ประคองจิต นั้น จิต เป็นไฉน จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า จิต ภิกษุประคอง ประคองด้วยดี อุปถัมภ์ค้ำชูจิตนี้ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า ประคองจิต [๔๐๒] ในคำว่า มุ่งมั่น นั้น ความมุ่งมั่น เป็นไฉน การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ นี้เรียกว่า ความมุ่งมั่น ภิกษุเป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว ฯลฯ ประกอบแล้วด้วยการตั้งความเพียรนี้ เพราะ ฉะนั้นจึงเรียกว่า มุ่งมั่น
เพียรสร้างกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิด
[๔๐๓] ภิกษุสร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิด เป็นอย่างไร บรรดาธรรมเหล่านั้น กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด เป็นไฉน กุศลมูล ๓ คือ อโลภะ อโทสะ และอโมหะ ได้แก่ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ที่สัมปยุตด้วยกุศลมูลนั้น และกายกรรม วจีกรรม มโนกรรมที่มีกุศลมูลนั้นเป็นสมุฏฐาน ธรรมเหล่านี้เรียกว่า กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ภิกษุสร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อทำกุศล ธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดด้วยประการฉะนี้ [๔๐๔] ในคำว่า สร้างฉันทะ ฯลฯ ในคำว่า พยายาม ฯลฯ ในคำว่า ปรารภความเพียร ฯลฯ ในคำว่า ประคองจิต ฯลฯ ในคำว่า มุ่งมั่น นั้น ความมุ่งมั่น เป็นไฉน การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ นี้เรียกว่า ความมุ่งมั่น ภิกษุเป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว ฯลฯ ประกอบแล้วด้วยการตั้งความเพียรนี้ เพราะ ฉะนั้นจึงเรียกว่า มุ่งมั่น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๓๓๑}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๘. สัมมัปปธานวิภังค์]

๑. สุตตันตภาชนีย์

เพียรรักษากุศลธรรมที่เกิดแล้วไม่ให้เสื่อม
[๔๐๕] ภิกษุสร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อความดำรงอยู่ ไม่เลือนหาย ภิยโยภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่แห่ง กุศลธรรมที่เกิดแล้ว เป็นไฉน บรรดาธรรมเหล่านั้น กุศลธรรมที่เกิดแล้ว เป็นไฉน กุศลมูล ๓ คือ อโลภะ อโทสะ และอโมหะ ได้แก่ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ที่สัมปยุตด้วยกุศลมูลนั้น และกายกรรม วจีกรรม มโนกรรมที่มีกุศลมูลนั้นเป็นสมุฏฐาน ธรรมเหล่านี้เรียกว่า กุศลธรรมที่เกิดแล้ว ภิกษุสร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อความ ดำรงอยู่ ไม่เลือนหาย ภิยโยภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่แห่งกุศลธรรมที่เกิดแล้วด้วย ประการฉะนี้ [๔๐๖] คำว่า เพื่อความดำรงอยู่ อธิบายว่า ความดำรงอยู่อันใด นั้นเป็น ความไม่เลือนหาย ความไม่เลือนหายอันใด นั้นเป็นความภิยโยภาพ ความ ภิยโยภาพอันใด นั้นเป็นความไพบูลย์ ความไพบูลย์อันใด นั้นเป็นความเจริญ ความเจริญอันใด นั้นเป็นความบริบูรณ์ [๔๐๗] ในคำว่า สร้างฉันทะ ฯลฯ ในคำว่า พยายาม ฯลฯ ในคำว่า ปรารภความเพียร ฯลฯ ในคำว่า ประคองจิต ฯลฯ ในคำว่า มุ่งมั่น นั้น ความมุ่งมั่น เป็นไฉน การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ นี้เรียกว่า ความมุ่งมั่น ภิกษุเป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว ฯลฯ ประกอบแล้วด้วยการตั้งความเพียรนี้ เพราะ ฉะนั้นจึงเรียกว่า มุ่งมั่น
สุตตันตภาชนีย์ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๓๓๒}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๕ หน้าที่ ๓๒๘-๓๓๒. http://84000.org/tipitaka/english/m_siri.php?B=35&siri=31              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/english/v.php?B=35&A=6456&Z=6591                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=35&i=465              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=35&item=465&items=18              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=54&A=7357              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=35&item=465&items=18              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=54&A=7357                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu35              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/vb8/en/thittila



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :