ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] วิภังคปกรณ์
๓. ปัญหาปุจฉกะ
[๖๙๙] อัปปมัญญา ๔ ได้แก่ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. มีจิตสหรคตด้วยเมตตาแผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่ ๒ ก็ เช่นนั้น ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ก็เช่นนั้น ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องต่ำ ทิศเฉียงก็เช่นเดียวกัน มีจิตสหรคตด้วยเมตตาอันไพบูลย์ กว้างขวาง หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท แผ่ไปยัง สัตว์โลกทั้งปวง เพราะเป็นผู้มีจิตเสมอในสัตว์ทุกหมู่เหล่าในที่ ทั้งปวงอยู่ ๒. มีจิตสหรคตด้วยกรุณาแผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่ ๒ ก็เช่น นั้น ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ก็เช่นนั้น ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องต่ำ ทิศ เฉียงก็เช่นเดียวกัน มีจิตสหรคตด้วยกรุณาอันไพบูลย์ กว้างขวาง หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท แผ่ไปยังสัตว์โลกทั้งปวง เพราะเป็นผู้มีจิตเสมอในสัตว์ทุกหมู่เหล่าในที่ทั้งปวงอยู่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๔๔๑}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๓. อัปปมัญญาวิภังค์]

๓. ปัญหาปุจฉกะ ๑. ติกมาติกาวิสัชนา

๓. มีจิตสหรคตด้วยมุทิตาแผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่ ๒ ก็เช่น นั้น ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ก็เช่นนั้น ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องต่ำ ทิศเฉียง ก็เช่นเดียวกัน มีจิตสหรคตด้วยมุทิตาอันไพบูลย์ กว้างขวาง หา ประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท แผ่ไปยัง สัตว์โลกทั้งปวง เพราะเป็นผู้มีจิตเสมอในสัตว์ทุกหมู่เหล่าในที่ทั้งปวงอยู่ ๔. มีจิตสหรคตด้วยอุเบกขาแผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่ ๒ ก็ เช่น นั้น ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ก็เช่นนั้น ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องต่ำ ทิศเฉียงก็เช่นเดียวกัน มีจิตสหรคตด้วยอุเบกขาอันไพบูลย์ กว้างขวาง หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท แผ่ไปยัง สัตว์โลกทั้งปวง เพราะเป็นผู้มีจิตเสมอในสัตว์ทุกหมู่เหล่าในที่ ทั้งปวงอยู่๑-
ติกมาติกาปุจฉา ทุกมาติกาปุจฉา
[๗๐๐] บรรดาอัปปมัญญา ๔ อัปปมัญญาเท่าไรเป็นกุศล เท่าไรเป็นอกุศล เท่าไรเป็นอัพยากฤต ฯลฯ เท่าไรเป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้ เท่าไรไม่เป็นเหตุให้สัตว์ ร้องไห้
๑. ติกมาติกาวิสัชนา
๑-๒๒. กุสลติกาทิวิสัชนา
[๗๐๑] อัปปมัญญา ๔ ที่เป็นกุศลก็มี ที่เป็นอัพยากฤตก็มี อัปปมัญญา ๓ สัมปยุตด้วยสุขเวทนา อุเบกขาสัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา อัปปมัญญา ๔ ที่เป็นวิบากก็มี ที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากก็มี ที่ไม่เป็นวิบาก และไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากก็มี @เชิงอรรถ : @ ที.ปา. ๑๑/๓๐๘/๒๐๐, ม.มู. ๑๒/๔๓๘/๓๘๕, อภิ.วิ. ๓๕/๖๙๙/๓๔๖ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๔๔๒}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๓. อัปปมัญญาวิภังค์]

๓. ปัญหาปุจฉกะ ๑. ติกมาติกาวิสัชนา

อัปปมัญญา ๔ ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของ อุปาทานก็มี ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของ อุปาทานก็มี อัปปมัญญา ๔ กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองแต่เป็นอารมณ์ของกิเลส อัปปมัญญา ๓ ที่มีทั้งวิตกและวิจารก็มี ที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจารก็มี ที่ไม่มีทั้งวิตกและวิจารก็มี อุเบกขาไม่มีทั้งวิตกและวิจาร อัปปมัญญา ๓ ที่สหรคตด้วยปีติก็มี ที่สหรคตด้วยสุขก็มี แต่ไม่สหรคตด้วย อุเบกขา ที่กล่าวไม่ได้ว่า สหรคตด้วยปีติก็มี อุเบกขาสหรคตด้วยอุเบกขา อัปปมัญญา ๔ ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน ๓ อัปปมัญญา ๔ ไม่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน ๓ อัปปมัญญา ๔ ที่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิและจุติก็มี ที่ไม่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิ จุติ และนิพพานก็มี อัปปมัญญา ๔ ไม่เป็นของเสขบุคคลและอเสขบุคคล อัปปมัญญา ๔ เป็นมหัคคตะ กล่าวไม่ได้ว่า มีปริตตะเป็นอารมณ์ มีมหัคคตะ เป็นอารมณ์ หรือมีอัปปมาณะเป็นอารมณ์ อัปปมัญญา ๔ เป็นชั้นกลาง อัปปมัญญา ๔ ให้ผลไม่แน่นอน กล่าวไม่ได้ว่า มีมรรคเป็นอารมณ์ มีมรรค เป็นเหตุ หรือมีมรรคเป็นอธิบดี อัปปมัญญา ๔ ที่เกิดขึ้นก็มี ที่ยังไม่เกิดขึ้นก็มี ที่จักเกิดขึ้นแน่นอนก็มี อัปปมัญญา ๔ ที่เป็นอดีตก็มี ที่เป็นอนาคตก็มี ที่เป็นปัจจุบันก็มี กล่าว ไม่ได้ว่า มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์ มีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์ หรือมีปัจจุบันธรรม เป็นอารมณ์ อัปปมัญญา ๔ ที่เป็นภายในตนก็มี ที่เป็นภายนอกตนก็มี ที่เป็นภายในตน และภายนอกตนก็มี อัปปมัญญา ๔ มีธรรมภายนอกตนเป็นอารมณ์ อัปปมัญญา ๔ เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๔๔๓}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๓. อัปปมัญญาวิภังค์]

๓. ปัญหาปุจฉกะ ๒. ทุกมาติกาวิสัชนา

๒. ทุกมาติกาวิสัชนา
๑. เหตุโคจฉกวิสัชนา
[๗๐๒] เมตตาเป็นเหตุ อัปปมัญญา ๓ ไม่เป็นเหตุ อัปปมัญญา ๔ มีเหตุ อัปปมัญญา ๔ สัมปยุตด้วยเหตุ เมตตาเป็นเหตุและมีเหตุ อัปปมัญญา ๓ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นเหตุและมีเหตุ อัปปมัญญา ๓ มีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุ เมตตาเป็นเหตุและสัมปยุตด้วยเหตุ อัปปมัญญา ๓ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นเหตุและสัมปยุตด้วยเหตุ อัปปมัญญา ๓ สัมปยุตด้วยเหตุแต่ไม่เป็นเหตุ อัปปมัญญา ๓ ไม่เป็นเหตุ แต่มีเหตุ เมตตากล่าวไม่ได้ว่า ไม่เป็นเหตุแต่มีเหตุ หรือไม่เป็นเหตุและไม่มีเหตุ
๒. จูฬันตรทุกวิสัชนา
อัปปมัญญา ๔ มีปัจจัยปรุงแต่ง อัปปมัญญา ๔ ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อัปปมัญญา ๔ เห็นไม่ได้ อัปปมัญญา ๔ กระทบไม่ได้ อัปปมัญญา ๔ ไม่เป็นรูป อัปปมัญญา ๔ เป็นโลกิยะ อัปปมัญญา ๔ จิตบางดวงรู้ได้ อัปปมัญญา ๔ จิตบางดวงรู้ไม่ได้
๓. อาสวโคจฉกวิสัชนา
อัปปมัญญา ๔ ไม่เป็นอาสวะ อัปปมัญญา ๔ เป็นอารมณ์ของอาสวะ อัปปมัญญา ๔ วิปปยุตจากอาสวะ อัปปมัญญา ๔ กล่าวไม่ได้ว่า เป็น อาสวะและเป็นอารมณ์ของอาสวะ อัปปมัญญา ๔ เป็นอารมณ์ของอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะ อัปปมัญญา ๔ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอาสวะและสัมปยุตด้วยอาสวะ หรือสัมปยุตด้วยอาสวะแต่ไม่เป็น อาสวะ อัปปมัญญา ๔ วิปปยุตจากอาสวะแต่เป็นอารมณ์ของอาสวะ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๔๔๔}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๓. อัปปมัญญาวิภังค์]

๓. ปัญหาปุจฉกะ ๒. ทุกมาติกาวิสัชนา

๔-๑๒. สัญโญชนโคจฉกาทิวิสัชนา
อัปปมัญญา ๔ ไม่เป็นสังโยชน์ ฯลฯ ไม่เป็นคันถะ ฯลฯ ไม่เป็นโอฆะ ฯลฯ ไม่เป็นโยคะ ฯลฯ ไม่เป็นนิวรณ์ ฯลฯ ไม่เป็นปรามาส ฯลฯ อัปปมัญญา ๔ รับรู้อารมณ์ได้ อัปปมัญญา ๔ ไม่เป็นจิต อัปปมัญญา ๔ เป็นเจตสิก อัปปมัญญา ๔ สัมปยุตด้วยจิต อัปปมัญญา ๔ ระคนกับจิต อัปปมัญญา ๔ มีจิตเป็นสมุฏฐาน อัปปมัญญา ๔ เกิดพร้อมกับจิต อัปปมัญญา ๔ เป็นไปตามจิต อัปปมัญญา ๔ ระคนกับจิตและมีจิตเป็นสมุฏฐาน อัปปมัญญา ๔ ระคนกับจิต มีจิตเป็นสมุฏฐานและเกิดพร้อมกับจิต อัปปมัญญา ๔ ระคนกับจิตมีจิตเป็นสมุฏฐานและเป็นไปตามจิต อัปปมัญญา ๔ เป็นภายนอก อัปปมัญญา ๔ ไม่เป็นอุปาทายรูป อัปปมัญญา ๔ ที่กรรมอันประกอบด้วย ตัณหาและทิฏฐิยึดถือก็มี ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือก็มี
๑๓. ปิฏฐิทุกวิสัชนา
อัปปมัญญา ๔ ไม่เป็นอุปาทาน ฯลฯ ไม่เป็นกิเลส ฯลฯ อัปปมัญญา ๔ ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน ๓ อัปปมัญญา ๔ ไม่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน ๓ อัปปมัญญา ๓ ที่มีวิตกก็มี ที่ไม่มีวิตกก็มี อุเบกขาไม่มีวิตก อัปปมัญญา ๓ ที่มีวิจารก็มี ที่ไม่มีวิจารก็มี อุเบกขาไม่มีวิจาร อัปปมัญญา ๓ ที่มีปีติก็มี ที่ไม่มีปีติก็มี อุเบกขาไม่มีปีติ อัปปมัญญา ๓ ที่สหรคตด้วยปีติก็มี ที่ไม่สหรคตด้วยปีติก็มี อุเบกขาไม่สหรคตด้วยปีติ อัปปมัญญา ๓ สหรคตด้วยสุข อุเบกขาไม่สหรคตด้วยสุข อัปปมัญญา ๓ ไม่สหรคตด้วยอุเบกขา อุเบกขาสหรคตด้วยอุเบกขา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๔๔๕}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๓. อัปปมัญญาวิภังค์]

๓. ปัญหาปุจฉกะ ๒. ทุกมาติกาวิสัชนา

อัปปมัญญา ๔ ไม่เป็นกามาวจร อัปปมัญญา ๔ เป็นรูปาวจร อัปปมัญญา ๔ ไม่เป็นอรูปาวจร อัปปมัญญา ๔ เป็นโลกิยะ อัปปมัญญา ๔ ไม่เป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ อัปปมัญญา ๔ ให้ผลไม่ แน่นอน อัปปมัญญา ๔ มีธรรมอื่นยิ่งกว่า อัปปมัญญา ๔ ไม่เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้
ปัญหาปุจฉกะ จบ
อัปปมัญญาวิภังค์ จบบริบูรณ์
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๔๔๖}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๕ หน้าที่ ๔๔๑-๔๔๖. http://84000.org/tipitaka/english/m_siri.php?B=35&siri=55              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/english/v.php?B=35&A=9709&Z=9794                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=35&i=762              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=35&item=762&items=5              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=54&A=9628              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=35&item=762&items=5              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=54&A=9628                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu35              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/vb13/en/thittila#pts-s699



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :