ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] วิภังคปกรณ์

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗. ขุททกวัตถุวิภังค์]

๑. เอกกมาติกา

๑๗. ขุททกวัตถุวิภังค์
๑. เอกกมาติกา
[๘๓๒] (๑) ชาติมทะ (ความเมาเพราะอาศัยชาติ) (๘๔๓) (๒) โคตตมทะ (ความเมาเพราะอาศัยโคตร) (๘๔๔) (๓) อาโรคยมทะ (ความเมาในความไม่มีโรค) (๘๔๔) (๔) โยพพนมทะ (ความเมาในความเป็นหนุ่มสาว) (๘๔๔) (๕) ชีวิตมทะ (ความเมาในชีวิต) (๘๔๔) (๖) ลาภมทะ (ความเมาในลาภ) (๘๔๔) (๗) สักการมทะ (ความเมาในสักการะ) (๘๔๔) (๘) ครุการมทะ (ความเมาในความเคารพ) (๘๔๔) (๙) ปุเรกขารมทะ (ความเมาในความเป็นหัวหน้า) (๘๔๔) (๑๐) ปริวารมทะ (ความเมาในบริวาร) (๘๔๔) (๑๑) โภคมทะ (ความเมาในโภคสมบัติ) (๘๔๔) (๑๒) วัณณมทะ (ความเมาเพราะอาศัยผิวพรรณและคุณความดี) (๘๔๔) (๑๓) สุตมทะ (ความเมาในการการสดับตรับฟัง) (๘๔๔) (๑๔) ปฏิภาณมทะ (ความเมาในปฏิภาณ) (๘๔๔) (๑๕) รัตตัญญูมทะ (ความเมาในความเป็นผู้รัตตัญญู) (๘๔๔) (๑๖) ปิณฑปาติกมทะ (ความเมาในการถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร) (๘๔๔) (๑๗) อนวัญญาตมทะ ความเมาเพราะไม่ถูกใครดูหมิ่น (๘๔๔) (๑๘) อิริยาปถมทะ ความเมาในอิริยาบถ (๘๔๔) (๑๙) อิทธิมทะ ความเมาในฤทธิ์ (๘๔๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๕๓๔}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗. ขุททกวัตถุวิภังค์]

๑. เอกกมาติกา

(๒๐) ยสมทะ (ความเมาในยศ) (๘๔๔) (๒๑) สีลมทะ (ความเมาในศีล) (๘๔๔) (๒๒) ฌานมทะ (ความเมาในฌาน) (๘๔๔) (๒๓) สิปปมทะ (ความเมาในศิลปะ) (๘๔๔) (๒๔) อาโรหมทะ (ความเมาในความมีทรวดทรงสูง) (๘๔๔) (๒๕) ปริณาหมทะ (ความเมาในความมีทรวดทรงสันทัด) (๘๔๔) (๒๖) สัณฐานมทะ (ความเมาในความมีทรวดทรงงาม) (๘๔๔) (๒๗) ปาริปูริมทะ (ความเมาในความมีร่างกายสมบูรณ์) (๘๔๔) (๒๘) มทะ (ความเมา) (๘๔๕) (๒๙) ปมาทะ (ความประมาท) (๘๔๖) (๓๐) ถัมภะ (ความหัวดื้อ) (๘๔๗) (๓๑) สารัมภะ (ความแข่งดี) (๘๔๘) (๓๒) อติริจฉตา (ความอยากได้เกินประมาณ) (๘๔๙) (๓๓) มหิจฉตา (ความมักมาก) (๘๕๐) (๓๔) ปาปิจฉตา (ความปรารถนาลามก) (๘๕๑) (๓๕) สิงคะ (ความยั่วยวน) (๘๕๒) (๓๖) ตินติณะ (การพูดเกียดกัน) (๘๕๓) (๓๗) จาปัลยะ (การชอบตกแต่ง) (๘๕๔) (๓๘) อสภาควุตติ (ความประพฤติไม่เหมาะสม) (๘๕๕) (๓๙) อรติ (ความไม่ยินดี) (๘๕๖) (๔๐) ตันที (ความโงกง่วง) (๘๕๗) (๔๑) วิชัมภิตา (ความบิดกาย) (๘๕๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๕๓๕}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗. ขุททกวัตถุวิภังค์]

๑. เอกกมาติกา

(๔๒) ภัตตสัมมทะ (ความเมาในอาหาร) (๘๕๙) (๔๓) เจตโสลีนัตตะ (ความหดหู่จิต) (๘๖๐) (๔๔) กุหนา (ความหลอกลวง) (๘๖๑) (๔๕) ลปนา (การพูดประจบ) (๘๖๒) (๔๖) เนมิตติกตา (การทำนิมิต) (๘๖๓) (๔๗) นิปเปสิกตา (การพูดลบล้างความดีของคนอื่น) (๘๖๔) (๔๘) ลาเภนลาภังนิชิคิงสนตา (การแลกเปลี่ยนลาภด้วยลาภ) (๘๖๕) (๔๙) ความถือตัวว่า เป็นผู้เลิศกว่าเขา (๘๖๖) (๕๐) ความถือตัวว่า เป็นผู้เสมอเขา (๘๖๗) (๕๑) ความถือตัวว่า เป็นผู้ด้อยกว่าเขา (๘๖๘) (๕๒) เป็นผู้เลิศกว่าเขา ถือตัวว่าเลิศกว่าเขา (๘๖๙) (๕๓) เป็นผู้เลิศกว่าเขา ถือตัวว่าเสมอเขา (๘๗๐) (๕๔) เป็นผู้เลิศกว่าเขา ถือตัวว่าด้อยกว่าเขา (๘๗๑) (๕๕) เป็นผู้เสมอเขา ถือตัวว่าเลิศกว่าเขา (๘๗๒) (๕๖) เป็นผู้เสมอเขา ถือตัวว่าเสมอเขา (๘๗๓) (๕๗) เป็นผู้เสมอเขา ถือตัวว่าด้อยกว่าเขา (๘๗๔) (๕๘) เป็นผู้ด้อยกว่าเขา ถือตัวว่าเลิศกว่าเขา (๘๗๕) (๕๙) เป็นผู้ด้อยกว่าเขา ถือตัวว่าเสมอเขา (๘๗๖) (๖๐) เป็นผู้ด้อยกว่าเขา ถือตัวว่าด้อยกว่าเขา (๘๗๗) (๖๑) มานะ (ความถือตัว) (๘๗๘) (๖๒) อติมานะ (ความดูหมิ่นผู้อื่น (๘๗๙) (๖๓) มานาติมานะ (ความเย่อหยิ่งถือตัว) (๘๘๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๕๓๖}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗. ขุททกวัตถุวิภังค์]

๒. ทุกมาติกา

(๖๔) โอมานะ (ความดูหมิ่นตนเอง) (๘๘๑) (๖๕) อธิมานะ (ความสำคัญว่าได้บรรลุ) (๘๘๒) (๖๖) อัสมิมานะ (ความสำคัญว่ามีตัวตน) (๘๘๓) (๖๗) มิจฉามานะ (ความถือตัวผิด) (๘๘๔) (๖๘) ญาติวิตักกะ (ความตรึกถึงญาติ) (๘๘๕) (๖๙) ชนปทวิตักกะ (ความตรึกถึงชนบท) (๘๘๖) (๗๐) อมรวิตักกะ (ความตรึกเพื่อเอาตัวรอด) (๘๘๗) (๗๑) ปรานุททยตาปฏิสังยุตตวิตักกะ (ความตรึกเกี่ยวด้วยความ เอ็นดูผู้อื่น) (๘๘๘) (๗๒) ลาภสักการสิโลกปฏิสังยุตตวิตักกะ (ความตรึกเกี่ยวด้วยลาภ สักการะและชื่อเสียง) (๘๘๙) (๗๓) อนวัญญัตติปฏิสังยุตตวิตักกะ (ความตรึกเกี่ยวด้วยความไม่ ต้องการให้ใครดูหมิ่น) (๘๙๐)
เอกกมาติกา จบ
๒. ทุกมาติกา
[๘๓๓] (๑) โกธะ (ความโกรธ) (๘๙๑) อุปนาหะ (ความผูกโกรธ) (๘๙๑) (๒) มักขะ (ความลบหลู่) (๘๙๒) ปลาสะ (ความตีตัวเสมอ) (๙๘๒) (๓) อิสสา (ความริษยา) (๘๙๓) มัจฉริยะ (ความตระหนี่) (๘๙๓) (๔) มายา (ความเจ้าเล่ห์) (๘๙๔) สาเถยยะ (ความโอ้อวด) (๘๙๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๕๓๗}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗. ขุททกวัตถุวิภังค์]

๒. ทุกมาติกา

(๕) อวิชชา (ความไม่รู้) (๘๙๕) ภวตัณหา (ความปรารถนาภพ) (๘๙๕) (๖) ภวทิฏฐิ (ความเห็นว่าเกิดอีก) (๘๙๖) วิภวทิฏฐิ (ความเห็นว่าไม่เกิดอีก) (๘๙๖) (๗) สัสสตทิฏฐิ (ความเห็นว่าเที่ยง) (๘๙๗) อุจเฉททิฏฐิ (ความเห็นว่าขาดสูญ) (๘๙๗) (๘) อันตวาทิฏฐิ (ความเห็นว่ามีที่สุด) (๘๙๘) อนันตวาทิฏฐิ (ความเห็นว่าไม่มีที่สุด) (๘๙๘) (๙) ปุพพันตานุทิฏฐิ (ความเห็นปรารภส่วนอดีต) (๘๙๙) อปรันตานุทิฏฐิ (ความเห็นปรารภส่วนอนาคต) (๘๙๙) (๑๐) อหิริกะ (ความไม่ละอายต่อการประพฤติทุจริต) (๙๐๐) อโนตตัปปะ (ความไม่สะดุ้งกลัวต่อการประพฤติทุจริต) (๙๐๐) (๑๑) โทวจัสสตา (ความเป็นผู้ว่ายาก) (๙๐๑) ปาปมิตตตา (ความเป็นผู้มีมิตรชั่ว) (๙๐๑) (๑๒) อนัชชวะ (ความไม่ซื่อตรง) (๙๐๒) อมัททวะ (ความไม่อ่อนโยน) (๙๐๒) (๑๓) อขันติ (ความไม่อดทน) (๙๐๓) อโสรัจจะ (ความไม่เสงี่ยม) (๙๐๓) (๑๔) อสาขัลยะ (ความไม่มีวาจานิ่มนวล) (๙๐๔) อัปปฏิสันถาระ (ความไม่มีปฏิสันถาร) (๙๐๔) (๑๕) ความเป็นผู้ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย (๙๐๕) ความไม่รู้จักประมาณในการบริโภค (๙๐๕) (๑๖) มุฏฐสัจจะ (ความหลงลืมสติ) (๙๐๖) อสัมปชัญญะ (ความเป็นผู้ไม่มีสัมปชัญญะ) (๙๐๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๕๓๘}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗. ขุททกวัตถุวิภังค์]

๓. ติกมาติกา

(๑๗) สีลวิปัตติ (ความวิบัติแห่งศีล) (๙๐๗) ทิฏฐิวิปัตติ (ความวิบัติแห่งทิฏฐิ) (๙๐๗) (๑๘) อัชฌัตตสัญโญชนะ (สังโยชน์ภายใน) (๙๐๘) พหิทธาสัญโญชนะ (สังโยชน์ภายนอก) (๙๐๘)
ทุกมาติกา จบ
๓. ติกมาติกา
[๘๓๔] (๑) อกุศลมูล (รากเหง้าแห่งอกุศล) ๓ (๙๐๙) (๒) อกุศลวิตก (ความตรึกที่เป็นอกุศล) ๓ (๙๑๐) (๓) อกุศลสัญญา (การกำหนดหมายที่เป็นอกุศล) ๓ (๙๑๑) (๔) อกุศลธาตุ (ธาตุที่เป็นอกุศล) ๓ (๙๑๒) (๕) ทุจริต (ความประพฤติชั่ว) ๓ (๙๑๓) (๖) อาสวะ (สภาวะที่หมักดองสันดาน) ๓ (๙๑๔) (๗) สังโยชน์ (กิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพ) ๓ (๙๑๕) (๘) ตัณหา (ความทะยานอยาก) ๓ (๙๑๖) (๙) ตัณหา ๓ อีกนัยหนึ่ง (๙๑๗) (๑๐) ตัณหา ๓ แม้อีกนัยหนึ่ง (๙๑๘) (๑๑) เอสนา (ความพอใจ) ๓ (๙๑๙) (๑๒) วิธา ๓ (๙๒๐) (๑๓) ภัย ๓ (๙๒๑) (๑๔) ตมะ (ความมืด) ๓ (๙๒๒) (๑๕) ติตถายตนะ (ถิ่นเกิดของทิฏฐิ) ๓ (๙๒๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๕๓๙}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗. ขุททกวัตถุวิภังค์]

๓. ติกมาติกา

(๑๖) กิญจนะ (กิเลสเครื่องกังวล) ๓ (๙๒๔) (๑๗) อังคณะ (กิเลสเพียงดังเนิน) ๓ (๙๒๔) (๑๘) มละ (มลทิน) ๓ (๙๒๔) (๑๙) วิสมะ (ความประพฤติไม่สม่ำเสมอ) ๓ (๙๒๔) (๒๐) วิสมะ ๓ อีกนัยหนึ่ง (๙๒๔) (๒๑) อัคคิ (ไฟ) ๓ (๙๒๔) (๒๒) กสาวะ (กิเลสดุจน้ำฝาด) ๓ (๙๒๔) (๒๓) กสาวะ ๓ อีกนัยหนึ่ง (๙๒๔) (๒๔) อัสสาททิฏฐิ (ความเห็นผิดที่ประกอบด้วยความยินดี ) (๙๒๕) อัตตานุทิฏฐิ (ความเห็นผิดว่ามีตัวตน) (๙๒๕) มิจฉาทิฏฐิ (ความเห็นผิด) (๙๒๕) (๒๕) อรติ (ความไม่ยินดี) (๙๒๖) วิเหสา (ความเบียดเบียน) (๙๒๖) อธรรมจริยา (ความประพฤติไม่เป็นธรรม) (๙๒๖) (๒๖) โทวจัสสตา (ความเป็นผู้ว่ายาก) (๙๒๗) ปาปมิตตตา (ความเป็นผู้มีมิตรชั่ว) (๙๒๗) นานัตตสัญญา (สัญญาที่แตกต่างกัน) (๙๒๗) (๒๗) อุทธัจจะ (ความฟุ้งซ่าน) (๙๒๘) โกสัชชะ (ความเกียจคร้าน) (๙๒๘) ปมาทะ (ความประมาท) (๙๒๘) (๒๘) อสันตุฏฐิตา (ความไม่สันโดษ) (๙๒๙) อสัมปชัญญตา (ความไม่มีสัมปชัญญะ) (๙๒๙) มหิจฉตา (ความมักมาก) (๙๒๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๕๔๐}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗. ขุททกวัตถุวิภังค์]

๓. ติกมาติกา

(๒๙) อหิริกะ (ความไม่ละอายต่อการประพฤติทุจริต) (๙๓๐) อโนตตัปปะ (ความไม่สะดุ้งกลัวต่อการประพฤติทุจริต) (๙๓๐) ปมาทะ (ความประมาท) (๙๓๐) (๓๐) อนาทริยะ (ความไม่เอื้อเฟื้อ) (๙๓๑) โทวจัสสตา (ความเป็นผู้ว่ายาก) (๙๓๑) ปาปมิตตตา (ความเป็นผู้มีมิตรชั่ว) (๙๓๑) (๓๑) อัสสัทธิยะ (ความไม่เชื่อ) (๙๓๒) อวทัญญุตา (ความเป็นผู้ไม่โอบอ้อมอารี) (๙๓๒) โกสัชชะ (ความเกียจคร้าน) (๙๓๒) (๓๒) อุทธัจจะ (ความฟุ้งซ่าน) (๙๓๓) อสังวร (ความไม่สำรวม) (๙๓๓) ทุสสีลยะ (ความเป็นผู้ทุศีล) (๙๓๓) (๓๓) อริยานัง อทัสสนกัมยตา (ความไม่อยากเห็นพระอริยะ) (๙๓๔) สัทธัมมัง อโสตุกัมยตา (ความไม่อยากฟังพระสัทธรรม) (๙๓๔) อุปารัมภจิตตตา (ความคิดแข่งดี) (๙๓๔) (๓๔) มุฏฐัสสัจจะ (ความเป็นผู้มีสติฟั่นเฟือน) (๙๓๕) อสัมปชัญญะ (ความเป็นผู้ไม่มีสัมปชัญญะ) (๙๓๕) เจตโสวิกเขปะ (ความฟุ้งซ่านแห่งจิต) (๙๓๕) (๓๕) อโยนิโสมนสิการ (การไม่พิจารณาโดยแยบคาย) (๙๓๖) กุมมัคคเสวนา (การยึดถือทางผิด) (๙๓๖) เจตโสลีนัตตะ (ความหดหู่จิต) (๙๓๖)
ติกมาติกา จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๕๔๑}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗. ขุททกวัตถุวิภังค์]

๔. จตุกกมาติกา

๔. จตุกกมาติกา
[๘๓๕] (๑) อาสวะ (สภาวะที่หมักดองในสันดาน) ๔ (๙๓๗) (๒) คันถะ (กิเลสเครื่องร้อยรัดใจ) ๔ (๙๓๘) (๓) โอฆะ (กิเลสดุจห้วงน้ำ) ๔ (๙๓๘) (๔) โยคะ (กิเลสเป็นเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพ) ๔ (๙๓๘) (๕) อุปาทาน (ความยึดมั่น) ๔ (๙๓๘) (๖) ตัณหุปาทาน (ความยึดมั่นด้วยตัณหา) ๔ (๙๓๙) (๗) อคติคมนะ (การถึงอคติ) ๔ (๙๓๙) (๘) วิปริเยสะ (การแสวงหาผิด) ๔ (๙๓๙) (๙) อนริยโวหาร (โวหารของผู้มิใช่พระอริยะ) ๔ (๙๓๙) (๑๐) อนริยโวหาร ๔ อีกนัยหนึ่ง (๙๓๙) (๑๑) ทุจริต (ความประพฤติชั่ว) ๔ (๙๓๙) (๑๒) ทุจริต ๔ อีกนัยหนึ่ง (๙๓๙) (๑๓) ภัย ๔ (๙๓๙) (๑๔) ภัย ๔ อีกนัยหนึ่ง (๙๓๙) (๑๕) ภัย ๔ อื่นอีกนัยหนึ่ง (๙๓๙) (๑๖) ภัย ๔ อื่นต่อไปอีกนัยหนึ่ง (๙๓๙) (๑๗) ทิฏฐิ (ความเห็นผิด) ๔ (๙๓๙)
จตุกกมาติกา จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๕๔๒}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗. ขุททกวัตถุวิภังค์]

๖. ฉักกมาติกา

๕. ปัญจกมาติกา
[๘๓๖] (๑) โอรัมภาคิยสังโยชน์ (สังโยชน์เบื้องต่ำ) ๕ (๙๔๐) (๒) อุทธัมภาคิยสังโยชน์ (สังโยชน์เบื้องสูง) ๕ (๙๔๐) (๓) มัจฉริยะ (ความตระหนี่) ๕ (๙๔๐) (๔) สังคะ (กิเลสเครื่องข้อง) ๕ (๙๔๐) (๕) สัลละ (กิเลสดุจลูกศร) ๕ (๙๔๐) (๖) เจโตขีละ (กิเลสดุจตะปูตรึงใจ) ๕ (๙๔๑) (๗) เจตโสวินิพันธะ (กิเลสเครื่องผูกพันใจ) ๕ (๙๔๑) (๘) นิวรณ์ (กิเลสเครื่องกั้นความดี) ๕ (๙๔๑) (๙) อนันตริยกรรม (กรรมหนัก) ๕ (๙๔๑) (๑๐) ทิฏฐิ (ความเห็นผิด) ๕ (๙๔๑) (๑๑) เวร (ความแค้นเคือง) ๕ (๙๔๒) (๑๒) พยสนะ (ความพินาศ) ๕ (๙๔๒) (๑๓) โทษแห่งความไม่อดทน ๕ (๙๔๒) (๑๔) ภัย ๕ (๙๔๒) (๑๕) ทิฏฐธัมมนิพพานวาทะ (วาทะว่านิพพานมีในชีวิตปัจจุบัน) ๕ (๙๔๓)
ปัญจกมาติกา จบ
๖. ฉักกมาติกา
[๘๓๗] (๑) วิวาทมูล (เหตุก่อวิวาท) ๖ (๙๔๔) (๒) ฉันทราคเคหสิตธรรม (สภาวธรรมคือฉันทราคะซึ่งอาศัยกามคุณ) (๙๔๔) (๓) วิโรธวัตถุ ๖ (๙๔๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๕๔๓}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗. ขุททกวัตถุวิภังค์]

๗. สัตตกมาติกา

(๔) ตัณหากาย (กองตัณหา) ๖ (๙๔๔) (๕) อคารวะ (ความไม่เคารพ) ๖ (๙๔๕) (๖) ปริหานิยธรรม (ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความเสื่อม) ๖ (๙๔๕) (๗) ปริหานิยธรรม ๖ อีกนัยหนึ่ง (๙๔๖) (๘) โสมนัสสุปวิจาร (ความครุ่นคิดเกี่ยวด้วยโสมนัส) ๖ (๙๔๖) (๙) โทมนัสสุปวิจาร (ความครุ่นคิดเกี่ยวด้วยโทมนัส) ๖ (๙๔๖) (๑๐) อุเปกขูปวิจาร (ความครุ่นคิดเกี่ยวด้วยอุเบกขา) ๖ (๙๔๖) (๑๑) เคหสิตโสมนัส (โสมนัสที่อาศัยกามคุณ) ๖ (๙๔๗) (๑๒) เคหสิตโทมนัส (โทมนัสที่อาศัยกามคุณ) ๖ (๙๔๗) (๑๓) เคหสิตอุเบกขา (อุเบกขาที่อาศัยกามคุณ) ๖ (๙๔๖) (๑๔) ทิฏฐิ (ความเห็นผิด) ๖ (๙๔๘)
ฉักกมาติกา จบ
๗. สัตตกมาติกา
[๘๓๘] (๑) อนุสัย (กิเลสที่นอนเนื่อง) ๗ (๙๔๙) (๒) สังโยชน์ (กิเลสที่ประกอบสัตว์ไว้ในภพ) ๗ (๙๔๙) (๓) ปริยุฏฐาน (กิเลสเครื่องกลุ้มรุมใจ) ๗ (๙๔๙) (๔) อสัทธรรม (ธรรมของคนพาล) ๗ (๙๕๐) (๕) ทุจริต (ความประพฤติชั่ว) ๗ (๙๕๐) (๖) มานะ (ความถือตัว) ๗ (๙๕๐) (๗) ทิฏฐิ (ความเห็นผิด) ๗ (๙๕๑)
สัตตกมาติกา จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๕๔๔}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗. ขุททกวัตถุวิภังค์]

๙. นวกมาติกา

๘. อัฏฐกมาติกา
[๘๓๙] (๑) กิเลสวัตถุ (สิ่งก่อความเศร้าหมอง) ๘ (๙๕๒) (๒) กุสีตวัตถุ (เหตุเกิดความเกียจคร้าน) ๘ (๙๕๒) (๓) จิตกระทบในโลกธรรม ๘ (๙๕๔) (๔) อนริยโวหาร (คำพูดของผู้มิใช่พระอริยะ) ๘ (๙๕๕) (๕) มิจฉัตตะ (ความเห็นผิด) ๘ (๙๕๖) (๖) บุรุษโทษ (โทษของคน) ๘ (๙๕๗) (๗) อสัญญีวาทะ (วาทะว่าอัตตาไม่มีสัญญา) ๘ (๙๕๘) (๘) เนวสัญญีนาสัญญีวาทะ (วาทะว่ามีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่) ๘ (๙๕๘)
อัฏฐกมาติกา จบ
๙. นวกมาติกา
[๘๔๐] (๑) อาฆาตวัตถุ (เรื่องให้เกิดความอาฆาต) ๙ (๙๖๑) (๒) ปุริสมละ (มลทินของคน) ๙ (๙๖๒) (๓) มานะ (ความถือตัว) ๙ (๙๖๓) (๔) ตัณหามูลกธรรม (ธรรมที่มีตัณหาเป็นมูล) ๙ (๙๖๔) (๕) อิญชิตะ ๙ (๙๖๔) (๖) มัญญิตะ ๙ (๙๖๕) (๗) ผันทิตะ ๙ (๙๖๕) (๘) ปปัญจิตะ ๙ (๙๖๕) (๙) สังขตะ ๙ (๙๖๕)
นวกมาติกา จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๕๔๕}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗. ขุททกวัตถุวิภังค์]

๑. เอกกนิทเทส

๑๐. ทสกมาติกา
[๘๔๑] (๑) กิเลสวัตถุ (สิ่งก่อความเศร้าหมอง) ๑๐ (๙๖๖) (๒) อาฆาตวัตถุ (สิ่งก่อความอาฆาต) ๑๐ (๙๖๗) (๓) อกุศลกรรมบถ (ทางแห่งอกุศลกรรม) ๑๐ (๙๖๘) (๔) สังโยชน์ (กิเลสที่ประกอบสัตว์ไว้ในภพ) ๑๐ (๙๖๙) (๕) มิจฉัตตะ (ความเห็นผิด) ๑๐ (๙๗๐) (๖) มิจฉาทิฏฐิมีวัตถุ (ความเห็นผิดมี ๑๐ อย่าง) ๑๐ (๙๗๑) (๗) อันตัคคาหิกทิฏฐิมีวัตถุ (ความเห็นที่ยึดเอาที่สุดมี ๑๐ อย่าง) ๑๐ (๙๗๒)
ทสกมาติกา จบ
[๘๔๒] ตัณหาวิจริตอาศัยอายตนะภายใน ๑๘ อาศัยอายตนะภายนอก ๑๘ รวมเข้าด้วยกันเป็นตัณหาวิจริต ๓๖ ตัณหาวิจริตที่เป็นอดีต ๓๖ ที่เป็นอนาคต ๓๖ ที่เป็นปัจจุบัน ๓๖ รวม เข้าด้วยกันเป็นตัณหาวิจริต ๑๐๘ ด้วยประการฉะนี้ ทิฏฐิ ๖๒ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ในพรหมชาลสูตร
มาติกา จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๕ หน้าที่ ๕๓๔-๕๔๖. http://84000.org/tipitaka/english/m_siri.php?B=35&siri=65              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/english/v.php?B=35&A=11722&Z=11820                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=35&i=849              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=35&item=849&items=11              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=54&A=11816              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=35&item=849&items=11              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=54&A=11816                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu35              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/vb17/en/thittila



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :