ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๔๒ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาปัฏฐานปกรณ์ ภาค ๓

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]

๑๒. โลกิยทุกะ ๗. ปัญหาวาร

๑๒. โลกิยทุกะ ๗. ปัญหาวาร
๑. ปัจจยานุโลม ๑. วิภังควาร
เหตุปัจจัย
[๑๔๘] สภาวธรรมที่เป็นโลกิยะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นโลกิยะโดยเหตุ- ปัจจัย ได้แก่ เหตุที่เป็นโลกิยะเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูปโดย เหตุปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ (๑) สภาวธรรมที่เป็นโลกุตตระเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นโลกุตตระโดยเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ
อารัมมณปัจจัย
[๑๔๙] สภาวธรรมที่เป็นโลกิยะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นโลกิยะโดย อารัมมณปัจจัย ได้แก่ บุคคลให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถแล้วพิจารณากุศล นั้น พิจารณากุศลที่เคยสั่งสมไว้ดีแล้ว ออกจากฌาน ฯลฯ พระอริยะพิจารณา โคตรภู พิจารณาโวทาน พิจารณากิเลสที่ละได้แล้ว พิจารณากิเลสที่ข่มได้แล้ว รู้กิเลสที่เคยเกิดขึ้น บุคคลเห็นแจ้งจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุ ฯลฯ ขันธ์ที่เป็นโลกิยะ โดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น บุคคลเห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ฟัง เสียงด้วยทิพพโสตธาตุ รู้จิตของบุคคผู้มีความพรั่งพร้อมด้วยจิตที่เป็นโลกิยะด้วย เจโตปริยญาณ อากาสานัญจายตนะเป็นปัจจัยแก่วิญญาณัญจายตนะ ฯลฯ อากิญจัญญายตนะเป็นปัจจัยแก่เนวสัญญานาสัญญายตนะ ฯลฯ รูปายตนะเป็น ปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะเป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ ขันธ์ที่ เป็นโลกิยะเป็นปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณ เจโตปริยญาณ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ยถากัมมูปคญาณ อนาคตังสญาณ และอาวัชชนจิตโดยอารัมมณปัจจัย (๑) [๑๕๐] สภาวธรรมที่เป็นโลกุตตระเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นโลกุตตระ โดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ นิพพานเป็นปัจจัยแก่มรรคและผลโดยอารัมมณปัจจัย (๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๒ หน้า : ๑๘๘}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]

๑๒. โลกิยทุกะ ๗. ปัญหาวาร

สภาวธรรมที่เป็นโลกุตตระเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นโลกิยะโดยอารัมมณ- ปัจจัย ได้แก่ พระอริยะออกจากมรรคแล้ว พิจารณามรรค พิจารณาผล พิจารณานิพพาน นิพพานเป็นปัจจัยแก่โคตรภู โวทานและอาวัชชนจิตโดย อารัมมณปัจจัย พระอริยะรู้จิตของบุคคลผู้มีความพรั่งพร้อมด้วยจิตที่เป็นโลกุตตระ ด้วยเจโตปริยญาณ ขันธ์ที่เป็นโลกุตตระเป็นปัจจัยแก่เจโตปริยญาณ ปุพเพ- นิวาสานุสสติญาณ อนาคตังสญาณ และอาวัชชนจิตโดยอารัมมณปัจจัย (๒)
อธิปติปัจจัย
[๑๕๑] สภาวธรรมที่เป็นโลกิยะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นโลกิยะโดย อธิปติปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณาธิปติและสหชาตาธิปติ อารัมมณาธิปติ ได้แก่ บุคคลให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถแล้ว ฯลฯ พิจารณากุศลที่เคยสั่งสมไว้ดีแล้ว ฯลฯ ออกจากฌานแล้ว ฯลฯ พระเสขะ พิจารณาโคตรภูให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น พิจารณาโวทานให้เป็นอารมณ์อย่าง หนักแน่น บุคคลยินดีเพลิดเพลินจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุ ฯลฯ ขันธ์ที่เป็นโลกิยะ ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น เพราะทำความยินดีเพลิดเพลินจักษุเป็นต้นนั้นให้ เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะจึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่เป็นโลกิยะเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และ จิตตสมุฏฐานรูปโดยอธิปติปัจจัย (๑) [๑๕๒] สภาวธรรมที่เป็นโลกุตตระเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นโลกุตตระ โดยอธิปติปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณาธิปติและสหชาตาธิปติ อารัมมณาธิปติ ได้แก่ นิพพานเป็นปัจจัยแก่มรรคและผลโดยอธิปติปัจจัย สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่เป็นโลกุตตระเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ โดยอธิปติปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่เป็นโลกุตตระเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นโลกิยะโดยอธิปติปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณาธิปติและสหชาตาธิปติ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๒ หน้า : ๑๘๙}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]

๑๒. โลกิยทุกะ ๗. ปัญหาวาร

อารัมมณาธิปติ ได้แก่ พระอริยะออกจากมรรคแล้ว พิจารณามรรคให้เป็น อารมณ์อย่างหนักแน่น พิจารณาผลให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น พิจารณา นิพพานให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น นิพพานเป็นปัจจัยแก่โคตรภูและโวทานโดย อธิปติปัจจัย สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่เป็นโลกุตตระเป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป โดยอธิปติปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่เป็นโลกุตตระเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นโลกิยะและที่เป็น โลกุตตระโดยอธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่เป็น โลกุตตระเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูปโดยอธิปติปัจจัย (๓)
อนันตรปัจจัย
[๑๕๓] สภาวธรรมที่เป็นโลกิยะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นโลกิยะโดย อนันตรปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นโลกิยะซึ่งเกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็น โลกิยะซึ่งเกิดหลังๆ ฯลฯ อนุโลมเป็นปัจจัยแก่โคตรภู อนุโลมเป็นปัจจัยแก่โวทาน โดยอนันตรปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่เป็นโลกิยะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นโลกุตตระโดยอนันตรปัจจัย ได้แก่ โคตรภูเป็นปัจจัยแก่มรรค โวทานเป็นปัจจัยแก่มรรค อนุโลมเป็นปัจจัยแก่ ผลสมาบัติ เนวสัญญานาสัญญายตนะของท่านผู้ออกจากนิโรธเป็นปัจจัยแก่ผล- สมาบัติโดยอนันตรปัจจัย (๒) [๑๕๔] สภาวธรรมที่เป็นโลกุตตระเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นโลกุตตระ โดยอนันตรปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นโลกุตตระซึ่งเกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่ เป็นโลกุตตระซึ่งเกิดหลังๆ โดยอนันตรปัจจัย มรรคเป็นปัจจัยแก่ผล ผลเป็น ปัจจัยแก่ผลโดยอนันตรปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่เป็นโลกุตตระเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นโลกิยะโดยอนันตรปัจจัย ได้แก่ ผลเป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะโดยอนันตรปัจจัย (๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๒ หน้า : ๑๙๐}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]

๑๒. โลกิยทุกะ ๗. ปัญหาวาร

สมนันตรปัจจัยเป็นต้น
[๑๕๕] สภาวธรรมที่เป็นโลกิยะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นโลกิยะโดย สมนันตรปัจจัย เป็นปัจจัยโดยสหชาตปัจจัย (มี ๕ วาระ ไม่มีฆฏนา) เป็นปัจจัย โดยอัญญมัญญปัจจัย มี ๒ วาระ เป็นปัจจัยโดยนิสสยปัจจัย มี ๗ วาระ
อุปนิสสยปัจจัย
[๑๕๖] สภาวธรรมที่เป็นโลกิยะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นโลกิยะโดย อุปนิสสยปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และปกตูป- นิสสยะ ฯลฯ ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลอาศัยศรัทธาที่เป็นโลกิยะแล้วให้ทาน ฯลฯ ทำ วิปัสสนาให้เกิดขึ้น ทำอภิญญาให้เกิดขึ้น ทำสมาบัติให้เกิดขึ้น มีมานะ ถือทิฏฐิ อาศัยศีลที่เป็นโลกิยะ ฯลฯ เสนาสนะแล้วให้ทาน ฯลฯ ทำลายสงฆ์ ศรัทธาที่เป็น โลกิยะ ฯลฯ เสนาสนะเป็นปัจจัยแก่ศรัทธาที่เป็นโลกิยะ ฯลฯ ทุกข์ทางกายโดย อุปนิสสยปัจจัย กรรมที่เป็นกุศลและอกุศลเป็นปัจจัยแก่วิบากโดยอุปนิสสยปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่เป็นโลกิยะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นโลกุตตระโดยอุปนิสสย- ปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อนันตรูปนิสสยะและปกตูปนิสสยะ ฯลฯ ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บริกรรมปฐมมรรคเป็นปัจจัยแก่ปฐมมรรคโดยอุปนิสสย- ปัจจัย ฯลฯ บริกรรมจตุตถมรรคเป็นปัจจัยแก่จตุตถมรรคโดยอุปนิสสยปัจจัย (๒) [๑๕๗] สภาวธรรมที่เป็นโลกุตตระเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นโลกุตตระ โดยอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และ ปกตูปนิสสยะ ฯลฯ ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ ปฐมมรรคเป็นปัจจัยแก่ทุติยมรรคโดยอุปนิสสยปัจจัย ฯลฯ ตติยมรรคเป็นปัจจัยแก่จตุตถมรรคโดยอุปนิสสยปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่เป็นโลกุตตระเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นโลกิยะโดยอุปนิสสย- ปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และปกตูปนิสสยะ ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๒ หน้า : ๑๙๑}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]

๑๒. โลกิยทุกะ ๗. ปัญหาวาร

ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ พระอริยะอาศัยมรรคแล้วทำสมาบัติที่ยังไม่เกิดให้ เกิดขึ้น เข้าสมาบัติที่เกิดขึ้นแล้ว เห็นแจ้งสังขารโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา มรรคของพระอริยะ ฯลฯ มรรคของพระอริยะเหล่านั้น ฯลฯ เป็น ปัจจัยแก่ความเป็นผู้ฉลาดในฐานะและมิใช่ฐานะโดยอุปนิสสยปัจจัย ผลสมาบัติเป็น ปัจจัยแก่สุขทางกายโดยอุปนิสสยปัจจัย (๒)
ปุเรชาตปัจจัย
[๑๕๘] สภาวธรรมที่เป็นโลกิยะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นโลกิยะโดยปุเร- ชาตปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาตะและวัตถุปุเรชาตะ อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่ บุคคลเห็นแจ้งจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุโดยเป็น สภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น บุคคลเห็นรูปด้วย ทิพพจักขุ ฟังเสียงด้วยทิพพโสตธาตุ รูปายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะเป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณโดยปุเรชาตปัจจัย วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่ จักขายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ กายายตนะ เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ ฯลฯ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นโลกิยะโดย ปุเรชาตปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่เป็นโลกิยะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นโลกุตตระโดยปุเรชาตปัจจัย มีอย่างเดียว คือ วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นโลกุตตระ โดยปุเรชาตปัจจัย (๒)
ปัจฉาชาตปัจจัย
[๑๕๙] สภาวธรรมที่เป็นโลกิยะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นโลกิยะโดย ปัจฉาชาตปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นโลกิยะซึ่งเกิดภายหลังเป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิด ก่อนโดยปัจฉาชาตปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่เป็นโลกุตตระเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นโลกิยะโดยปัจฉาชาต- ปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นโลกุตตระซึ่งเกิดภายหลังเป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อน โดยปัจฉาชาตปัจจัย (๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๒ หน้า : ๑๙๒}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]

๑๒. โลกิยทุกะ ๗. ปัญหาวาร

อาเสวนปัจจัย
[๑๖๐] สภาวธรรมที่เป็นโลกิยะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นโลกิยะโดย อาเสวนปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นโลกิยะซึ่งเกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นโลกิยะ ซึ่งเกิดหลังๆ โดยอาเสวนปัจจัย อนุโลมเป็นปัจจัยแก่โคตรภู ฯลฯ อนุโลมเป็น ปัจจัยแก่โวทานโดยอาเสวนปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่เป็นโลกิยะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นโลกุตตระโดยอาเสวน- ปัจจัย ได้แก่ โคตรภูเป็นปัจจัยแก่มรรค ฯลฯ โวทานเป็นปัจจัยแก่มรรคโดย อาเสวนปัจจัย (๒)
กัมมปัจจัย
[๑๖๑] สภาวธรรมที่เป็นโลกิยะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นโลกิยะโดย กัมมปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาตะและนานาขณิกะ สหชาตะ ได้แก่ เจตนาที่เป็นโลกิยะเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และจิตต- สมุฏฐานรูปโดยกัมมปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ นานาขณิกะ ได้แก่ เจตนาที่เป็นโลกิยะเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นวิบากและ กฏัตตารูปโดยกัมมปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่เป็นโลกุตตระเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นโลกุตตระโดยกัมมปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาตะและนานาขณิกะ สหชาตะ ได้แก่ เจตนาที่เป็นโลกุตตระเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์โดยกัมมปัจจัย นานาขณิกะ ได้แก่ เจตนาที่เป็นโลกุตตระเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นวิบากโดย กัมมปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่เป็นโลกุตตระเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นโลกิยะโดยกัมมปัจจัย ได้แก่ เจตนาที่เป็นโลกุตตระเป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปโดยกัมมปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่เป็นโลกุตตระเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นโลกิยะและที่เป็น โลกุตตระโดยกัมมปัจจัย ได้แก่ เจตนาที่เป็นโลกุตตระเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูปโดยกัมมปัจจัย (๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๒ หน้า : ๑๙๓}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]

๑๒. โลกิยทุกะ ๗. ปัญหาวาร

วิปากปัจจัย
[๑๖๒] สภาวธรรมที่เป็นโลกิยะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นโลกิยะโดย วิปากปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๑ ที่เป็นวิบากซึ่งเป็นโลกิยะเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ และ จิตตสมุฏฐานรูปโดยวิปากปัจจัย ฯลฯ ขันธ์ ๒ ฯลฯ ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ (๑) สภาวธรรมที่เป็นโลกุตตระเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นโลกุตตระโดยวิปากปัจจัย มี ๓ วาระ
อาหารปัจจัย
[๑๖๓] สภาวธรรมที่เป็นโลกิยะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นโลกิยะโดย อาหารปัจจัย ได้แก่ อาหารที่เป็นโลกิยะเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และจิตต- สมุฏฐานรูปโดยอาหารปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ กวฬิงการาหารเป็นปัจจัยแก่ กายนี้โดยอาหารปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่เป็นโลกุตตระเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นโลกุตตระโดยอาหาร- ปัจจัย มี ๓ วาระ
อินทรียปัจจัย
[๑๖๔] สภาวธรรมที่เป็นโลกิยะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นโลกิยะโดย อินทรียปัจจัย (พึงเพิ่มปฏิสนธิ) จักขุนทรีย์เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ กายินทรีย์เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณโดยอินทรียปัจจัย รูปชีวิตินทรีย์เป็นปัจจัยแก่ กฏัตตารูปโดยอินทรียปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่เป็นโลกุตตระเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นโลกุตตระโดยอินทรีย- ปัจจัย มี ๓ วาระ
ฌานปัจจัยเป็นต้น
[๑๖๕] สภาวธรรมที่เป็นโลกิยะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นโลกิยะโดย ฌานปัจจัย มี ๑ วาระ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๒ หน้า : ๑๙๔}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]

๑๒. โลกิยทุกะ ๗. ปัญหาวาร

สภาวธรรมที่เป็นโลกุตตระ ฯลฯ มี ๓ วาระ เป็นปัจจัยโดยมัคคปัจจัย สภาวธรรมที่เป็นโลกิยะ มี ๑ วาระ สภาวธรรมที่เป็นโลกุตตระ มี ๓ วาระ สภาวธรรมที่เป็นโลกิยะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นโลกิยะโดยสัมปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ สภาวธรรมที่เป็นโลกุตตระ ฯลฯ มี ๑ วาระ
วิปปยุตตปัจจัย
[๑๖๖] สภาวธรรมที่เป็นโลกิยะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นโลกิยะโดย วิปปยุตตปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ สหชาตะ ปุเรชาตะ และปัจฉาชาตะ สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นโลกิยะเป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปโดยวิปปยุตต- ปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ ขันธ์เป็นปัจจัยแก่หทัยวัตถุโดยวิปปยุตตปัจจัย หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์โดยวิปปยุตตปัจจัย ปุเรชาตะ ได้แก่ จักขายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ กายายตนะ เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ ฯลฯ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นโลกิยะโดย วิปปยุตตปัจจัย ปัจฉาชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นโลกิยะเป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อนโดย วิปปยุตตปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่เป็นโลกิยะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นโลกุตตระโดยวิปปยุตต- ปัจจัย มีอย่างเดียว คือ ปุเรชาตะ ได้แก่ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นโลกุตตระ โดยวิปปยุตตปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่เป็นโลกุตตระเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นโลกิยะโดยวิปปยุตต- ปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาตะและปัจฉาชาตะ สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นโลกุตตระเป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปโดย วิปปยุตตปัจจัย ปัจฉาชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นโลกุตตระเป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อนโดย วิปปยุตตปัจจัย (๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๒ หน้า : ๑๙๕}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]

๑๒. โลกิยทุกะ ๗. ปัญหาวาร

อัตถิปัจจัยเป็นต้น
[๑๖๗] สภาวธรรมที่เป็นโลกิยะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นโลกิยะโดยอัตถิ- ปัจจัย มี ๕ อย่าง คือ สหชาตะ ปุเรชาตะ ปัจฉาชาตะ อาหาระ และอินทรียะ สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ ๑ ที่เป็นโลกิยะเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ และจิตต- สมุฏฐานรูป ฯลฯ (พึงเพิ่มข้อความจนถึงอสัญญสัตตพรหม) ปุเรชาตะ ได้แก่ บุคคลเห็นแจ้งจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุ ฯลฯ (ปัจจัยนี้เหมือน กับปุเรชาตปัจจัย) หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นโลกิยะโดยอัตถิปัจจัย ปัจฉาชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นโลกิยะเป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อนโดยอัตถิ- ปัจจัย กวฬิงการาหารเป็นปัจจัยแก่กายนี้โดยอัตถิปัจจัย รูปชีวิตินทรีย์เป็นปัจจัย แก่กฏัตตารูปโดยอัตถิปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่เป็นโลกิยะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นโลกุตตระโดยอัตถิปัจจัย มีอย่างเดียว คือ ปุเรชาตะ ได้แก่ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นโลกุตตระโดย อัตถิปัจจัย (๒) [๑๖๘] สภาวธรรมที่เป็นโลกุตตระเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นโลกุตตระ โดยอัตถิปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๑ ที่เป็นโลกุตตระเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ โดยอัตถิปัจจัย ฯลฯ ขันธ์ ๒ ฯลฯ (๑) สภาวธรรมที่เป็นโลกุตตระเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นโลกิยะโดยอัตถิปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาตะและปัจฉาชาตะ สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นโลกุตตระเป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปโดยอัตถิ- ปัจจัย ปัจฉาชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นโลกุตตระเป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อนโดย อัตถิปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่เป็นโลกุตตระเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นโลกิยะและที่เป็น โลกุตตระโดยอัตถิปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๑ ที่เป็นโลกุตตระเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ และ จิตตสมุฏฐานรูปโดยอัตถิปัจจัย ฯลฯ ขันธ์ ๒ ฯลฯ (๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๒ หน้า : ๑๙๖}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]

๑๒. โลกิยทุกะ ๗. ปัญหาวาร

[๑๖๙] สภาวธรรมที่เป็นโลกิยะและที่เป็นโลกุตตระเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม ที่เป็นโลกิยะโดยอัตถิปัจจัย มี ๔ อย่าง คือ สหชาตะ ปัจฉาชาตะ อาหาระ และอินทรียะ สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นโลกุตตระและมหาภูตรูปเป็นปัจจัยแก่จิตต- สมุฏฐานรูปโดยอัตถิปัจจัย ปัจฉาชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นโลกุตตระและกวฬิงการาหารเป็นปัจจัยแก่กาย นี้โดยอัตถิปัจจัย ปัจฉาชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นโลกุตตระและรูปชีวิตินทรีย์เป็นปัจจัยแก่ กฏัตตารูปโดยอัตถิปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่เป็นโลกิยะและที่เป็นโลกุตตระเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็น โลกุตตระโดยอัตถิปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาตะและปุเรชาตะ สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ ๑ ที่เป็นโลกุตตระและหทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ โดยอัตถิปัจจัย ฯลฯ ขันธ์ ๒ ฯลฯ เป็นปัจจัยโดยนัตถิปัจจัย เป็นปัจจัยโดย วิคตปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอวิคตปัจจัย (๒)
๑. ปัจจยานุโลม ๒. สังขยาวาร
สุทธนัย
[๑๗๐] เหตุปัจจัย มี ๔ วาระ อารัมมณปัจจัย มี ๗ วาระ อธิปติปัจจัย มี ๔ วาระ อนันตรปัจจัย มี ๔ วาระ สมนันตรปัจจัย มี ๔ วาระ สหชาตปัจจัย มี ๕ วาระ อัญญมัญญปัจจัย มี ๒ วาระ นิสสยปัจจัย มี ๗ วาระ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๒ หน้า : ๑๙๗}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]

๑๒. โลกิยทุกะ ๗. ปัญหาวาร

อุปนิสสยปัจจัย มี ๔ วาระ ปุเรชาตปัจจัย มี ๒ วาระ ปัจฉาชาตปัจจัย มี ๒ วาระ อาเสวนปัจจัย มี ๒ วาระ กัมมปัจจัย มี ๔ วาระ วิปากปัจจัย มี ๔ วาระ อาหารปัจจัย มี ๔ วาระ อินทรียปัจจัย มี ๔ วาระ ฌานปัจจัย มี ๔ วาระ มัคคปัจจัย มี ๔ วาระ สัมปยุตตปัจจัย มี ๒ วาระ วิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ อัตถิปัจจัย มี ๗ วาระ นัตถิปัจจัย มี ๔ วาระ วิคตปัจจัย มี ๔ วาระ อวิคตปัจจัย มี ๗ วาระ
อนุโลม จบ
๒. ปัจจนียุทธาร
[๑๗๑] สภาวธรรมที่เป็นโลกิยะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นโลกิยะโดย อารัมมณปัจจัย สหชาตปัจจัย อุปนิสสยปัจจัย ปุเรชาตปัจจัย ปัจฉาชาตปัจจัย กัมมปัจจัย อาหารปัจจัย และอินทรียปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่เป็นโลกิยะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นโลกุตตระโดยอุปนิสสย- ปัจจัยและปุเรชาตปัจจัย (๒) [๑๗๒] สภาวธรรมที่เป็นโลกุตตระเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นโลกุตตระ โดยอารัมมณปัจจัย สหชาตปัจจัย และอุปนิสสยปัจจัย (๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๒ หน้า : ๑๙๘}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]

๑๒. โลกิยทุกะ ๗. ปัญหาวาร

สภาวธรรมที่เป็นโลกุตตระเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นโลกิยะโดยอารัมมณ- ปัจจัย สหชาตปัจจัย อุปนิสสยปัจจัย และปัจฉาชาตปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่เป็นโลกุตตระเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นโลกิยะและที่เป็น โลกุตตระโดยสหชาตปัจจัย (๓) สภาวธรรมที่เป็นโลกิยะและที่เป็นโลกุตตระเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็น โลกิยะโดยสหชาตปัจจัย ปัจฉาชาตปัจจัย อาหารปัจจัย และอินทรียปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่เป็นโลกิยะและที่เป็นโลกุตตระเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็น โลกุตตระโดยสหชาตปัจจัยและปุเรชาตปัจจัย (๒)
๒. ปัจจยปัจจนียะ ๒. สังขยาวาร
สุทธนัย
[๑๗๓] นเหตุปัจจัย มี ๗ วาระ ฯลฯ นสมนันตรปัจจัย มี ๗ วาระ นสหชาตปัจจัย มี ๕ วาระ นอัญญมัญญปัจจัย มี ๕ วาระ นนิสสยปัจจัย มี ๕ วาระ นอุปนิสสยปัจจัย มี ๗ วาระ นปุเรชาตปัจจัย มี ๖ วาระ นปัจฉาชาตปัจจัย มี ๗ วาระ ฯลฯ นมัคคปัจจัย มี ๗ วาระ นสัมปยุตตปัจจัย มี ๕ วาระ นวิปปยุตตปัจจัย มี ๔ วาระ โนอัตถิปัจจัย มี ๔ วาระ โนนัตถิปัจจัย มี ๗ วาระ โนวิคตปัจจัย มี ๗ วาระ โนอวิคตปัจจัย มี ๔ วาระ
ปัจจนียะ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๒ หน้า : ๑๙๙}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]

๑๒. โลกิยทุกะ ๗. ปัญหาวาร

๓. ปัจจยานุโลมปัจจนียะ
เหตุทุกนัย
[๑๗๔] นอารัมมณปัจจัย กับเหตุปัจจัย มี ๔ วาระ ฯลฯ นสมนันตรปัจจัย ” มี ๔ วาระ นอัญญมัญญปัจจัย ” มี ๒ วาระ นอุปนิสสยปัจจัย ” มี ๔ วาระ ฯลฯ นมัคคปัจจัย ” มี ๔ วาระ นสัมปยุตตปัจจัย ” มี ๒ วาระ นวิปปยุตตปัจจัย ” มี ๒ วาระ โนนัตถิปัจจัย ” มี ๔ วาระ โนวิคตปัจจัย ” มี ๔ วาระ
อนุโลมปัจจนียะ จบ
๔. ปัจจยปัจจนียานุโลม
นเหตุทุกนัย
[๑๗๕] อารัมมณปัจจัย กับนเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ อธิปติปัจจัย ” มี ๔ วาระ (พึงเพิ่มอนุโลมมาติกา) อวิคตปัจจัย ” มี ๗ วาระ
ปัจจนียานุโลม จบ
โลกิยทุกะ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๒ หน้า : ๒๐๐}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๔๒ หน้าที่ ๑๘๘-๒๐๐. http://84000.org/tipitaka/english/m_siri.php?B=42&siri=33              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/english/v.php?B=42&A=5146&Z=5474                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=42&i=303              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=42&item=303&items=20              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=42&item=303&items=20                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๔๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu42



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :