ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๔๒ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาปัฏฐานปกรณ์ ภาค ๓
๒๖. คันถทุกะ ๗. ปัญหาวาร
๑. ปัจจยานุโลม ๑. วิภังควาร
เหตุปัจจัย
[๑๘] สภาวธรรมที่เป็นคันถะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นคันถะโดยเหตุปัจจัย ได้แก่ เหตุที่เป็นคันถะเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตคันถะโดยเหตุปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่เป็นคันถะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นคันถะโดยเหตุปัจจัย ได้แก่ เหตุที่เป็นคันถะเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูปโดยเหตุปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่เป็นคันถะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นคันถะและที่ไม่เป็นคันถะโดย เหตุปัจจัย ได้แก่ เหตุที่เป็นคันถะเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ คันถะ และจิตต- สมุฏฐานรูปโดยเหตุปัจจัย (๓) [๑๙] สภาวธรรมที่ไม่เป็นคันถะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นคันถะโดย เหตุปัจจัย ได้แก่ เหตุที่ไม่เป็นคันถะเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูป โดยเหตุปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ (๑) สภาวธรรมที่ไม่เป็นคันถะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นคันถะโดยเหตุปัจจัย ได้แก่ เหตุที่ไม่เป็นคันถะเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตคันถะโดยเหตุปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่ไม่เป็นคันถะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นคันถะและที่ไม่เป็นคันถะ โดยเหตุปัจจัย ได้แก่ เหตุที่ไม่เป็นคันถะเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ คันถะ และ จิตตสมุฏฐานรูปโดยเหตุปัจจัย (๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๒ หน้า : ๓๓๘}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]

๒๖. คันถทุกะ ๗. ปัญหาวาร

[๒๐] สภาวธรรมที่เป็นคันถะและที่ไม่เป็นคันถะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ เป็นคันถะโดยเหตุปัจจัย ได้แก่ เหตุที่เป็นคันถะและที่ไม่เป็นคันถะเป็นปัจจัยแก่ สัมปยุตตคันถะโดยเหตุปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่เป็นคันถะและที่ไม่เป็นคันถะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นคันถะ โดยเหตุปัจจัย ได้แก่ เหตุที่เป็นคันถะและที่ไม่เป็นคันถะเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูปโดยเหตุปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่เป็นคันถะและที่ไม่เป็นคันถะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นคันถะ และที่ไม่เป็นคันถะโดยเหตุปัจจัย ได้แก่ เหตุที่เป็นคันถะและที่ไม่เป็นคันถะเป็น ปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ คันถะ และจิตตสมุฏฐานรูปโดยเหตุปัจจัย (๓)
อารัมมณปัจจัย
[๒๑] สภาวธรรมที่เป็นคันถะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นคันถะโดยอารัมมณ- ปัจจัย ได้แก่ เพราะปรารภคันถะ คันถะจึงเกิดขึ้น (พึงเพิ่มบทที่เป็นมูล) เพราะ ปรารภคันถะ ขันธ์ที่ไม่เป็นคันถะจึงเกิดขึ้น (พึงเพิ่มบทที่เป็นมูล) เพราะปรารภ คันถะ คันถะและสัมปยุตตขันธ์จึงเกิดขึ้น (๓) [๒๒] สภาวธรรมที่ไม่เป็นคันถะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นคันถะโดย อารัมมณปัจจัย ได้แก่ บุคคลให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถแล้วพิจารณากุศล นั้น พิจารณากุศลที่เคยสั่งสมไว้ดีแล้ว ออกจากฌานแล้วพิจารณาฌาน พระอริยะ ออกจากมรรคแล้วพิจารณามรรค พิจารณาผล พิจารณานิพพาน นิพพานเป็น ปัจจัยแก่โคตรภู โวทาน มรรค ผล และอาวัชชนจิตโดยอารัมมณปัจจัย พระ อริยะพิจารณากิเลสที่ไม่เป็นคันถะซึ่งละได้แล้ว ฯลฯ พิจารณากิเลสที่ข่มได้แล้ว รู้กิเลสที่เคยเกิดขึ้น ฯลฯ เห็นแจ้งจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุ และขันธ์ที่ไม่เป็นคันถะ โดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น บุคคลเห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ฟัง เสียงด้วยทิพพโสตธาตุ รู้จิตของบุคคลผู้มีความพรั่งพร้อมด้วยจิตที่ไม่เป็นคันถะ ด้วยเจโตปริยญาณ อากาสานัญจายตนะเป็นปัจจัยแก่วิญญาณัญจายตนะ ฯลฯ อากิญจัญญายตนะเป็นปัจจัยแก่เนวสัญญานาสัญญายตนะ ฯลฯ รูปายตนะเป็น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๒ หน้า : ๓๓๙}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]

๒๖. คันถทุกะ ๗. ปัญหาวาร

ปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะเป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ ฯลฯ ขันธ์ ที่ไม่เป็นคันถะเป็นปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณ เจโตปริยญาณ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ยถากัมมูปคญาณ อนาคตังสญาณ และอาวัชชนจิตโดยอารัมมณปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่ไม่เป็นคันถะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นคันถะโดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ บุคคลให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถแล้ว ยินดีเพลิดเพลินกุศลนั้น เพราะ ปรารภความยินดีเพลิดเพลินกุศลนั้น ราคะจึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น โทมนัสจึง เกิดขึ้น บุคคลยินดีเพลิดเพลินกุศลที่เคยสั่งสมไว้ดีแล้ว ฯลฯ ออกจากฌานแล้ว ยินดีเพลิดเพลินฌาน ฯลฯ จักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุ ฯลฯ ขันธ์ที่ไม่เป็นคันถะ เพราะปรารภความยินดีเพลิดเพลินฌานเป็นต้นนั้น ราคะจึงเกิดขึ้น ฯลฯ โทมนัส จึงเกิดขึ้น (๒) สภาวธรรมที่ไม่เป็นคันถะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นคันถะและที่ไม่เป็นคันถะ โดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ บุคคลให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถแล้ว ยินดีเพลิด เพลินกุศลนั้น เพราะปรารภความยินดีเพลิดเพลินกุศลนั้น คันถะและสัมปยุตตขันธ์ จึงเกิดขึ้น ยินดีเพลิดเพลินกุศลที่เคยสั่งสมไว้ดีแล้ว ฯลฯ ออกจาฌานแล้วยินดีเพลิด เพลินฌาน ฯลฯ จักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุ ฯลฯ ขันธ์ที่ไม่เป็นคันถะ เพราะปรารภ ความยินดีเพลิดเพลินฌานเป็นต้นนั้น คันถะและสัมปยุตตขันธ์จึงเกิดขึ้น (๓) สภาวธรรมที่เป็นคันถะและที่ไม่เป็นคันถะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นคันถะ โดยอารัมมณปัจจัย มี ๓ วาระ (พึงเพิ่มคำว่า เพราะปรารภด้วย)
อธิปติปัจจัย
[๒๓] สภาวธรรมที่เป็นคันถะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นคันถะโดยอธิปติ- ปัจจัย มี ๓ วาระ (ปัจจัยนี้เหมือนกับอารัมมณปัจจัย พึงทำให้เป็นอารมณ์ อย่างหนักแน่น) สภาวธรรมที่ไม่เป็นคันถะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นคันถะโดยอธิปติปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณาธิปติและสหชาตาธิปติ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๒ หน้า : ๓๔๐}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]

๒๖. คันถทุกะ ๗. ปัญหาวาร

อารัมมณาธิปติ ได้แก่ บุคคลให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถ ฯลฯ พิจารณากุศลที่เคยสั่งสมไว้ดีแล้ว ฯลฯ ออกจากฌาน ฯลฯ พระอริยะออกจาก มรรค ฯลฯ พิจารณาผล พิจารณานิพพาน นิพพานเป็นปัจจัยแก่โคตรภู โวทาน มรรค และผลโดยอธิปติปัจจัย บุคคลยินดีเพลิดเพลินจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุ ฯลฯ ขันธ์ที่ไม่เป็นคันถะให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น เพราะทำความยินดีเพลิดเพลิน จักษุเป็นต้นนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะจึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่ไม่เป็นคันถะเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูปโดยอธิปติปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่ไม่เป็นคันถะ เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นคันถะโดยอธิปติปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณาธิปติและสหชาตาธิปติ อารัมมณาธิปติ ได้แก่ บุคคลให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถ ฯลฯ พิจารณากุศลที่เคยสั่งสมไว้ดีแล้ว ฯลฯ ออกจากฌาน ฯลฯ ยินดีเพลิดเพลินจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุ ขันธ์ที่ไม่เป็นคันถะให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น เพราะทำความ ยินดีเพลิดเพลินจักษุเป็นต้นนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะจึงเกิดขึ้น ทิฏฐิ จึงเกิดขึ้น สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่ไม่เป็นคันถะเป็นปัจจัยแก่คันถะโดย อธิปติปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่ไม่เป็นคันถะ เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นคันถะและที่ไม่เป็น คันถะโดยอธิปติปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณาธิปติและสหชาตาธิปติ อารัมมณาธิปติ ได้แก่ บุคคลให้ทาน ฯลฯ ยินดีเพลิดเพลินขันธ์ที่ไม่เป็น คันถะให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น เพราะทำความยินดีเพลิดเพลินขันธ์นั้นให้เป็น อารมณ์อย่างหนักแน่น คันถะและสัมปยุตตขันธ์จึงเกิดขึ้น สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่ไม่เป็นคันถะเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ คันถะและจิตตสมุฏฐานรูปโดยอธิปติปัจจัย (๓) [๒๔] สภาวธรรมที่เป็นคันถะและที่ไม่เป็นคันถะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็น คันถะโดยอธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ อารัมมณาธิปติ มี ๓ วาระ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๒ หน้า : ๓๔๑}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]

๒๖. คันถทุกะ ๗. ปัญหาวาร

อนันตรปัจจัย
[๒๕] สภาวธรรมที่เป็นคันถะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นคันถะโดยอนันตรปัจจัย ได้แก่ คันถะที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่คันถะที่เกิดหลังๆ โดยอนันตรปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่เป็นคันถะ เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นคันถะโดยอนันตรปัจจัย ได้แก่ คันถะที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่ไม่เป็นคันถะซึ่งเกิดหลังๆ โดยอนันตรปัจจัย คันถะเป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะโดยอนันตรปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่เป็นคันถะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นคันถะและที่ไม่เป็นคันถะโดย อนันตรปัจจัย ได้แก่ คันถะที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่คันถะและสัมปยุตตขันธ์ที่ เกิดหลังๆ โดยอนันตรปัจจัย (๓) [๒๖] สภาวธรรมที่ไม่เป็นคันถะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นคันถะโดย อนันตรปัจจัย มี ๓ วาระ (พึงเพิ่มอาวัชชนจิตทั้ง ๒ ไม่มีนัยที่ ๑) สภาวธรรมที่เป็นคันถะและที่ไม่เป็นคันถะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นคันถะโดย อนันตรปัจจัย มี ๓ วาระ (พึงเพิ่มวุฏฐานะอย่างเดียว ในท่ามกลางก็พึงเพิ่ม)
สมนันตรปัจจัยเป็นต้น
[๒๗] สภาวธรรมที่เป็นคันถะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นคันถะโดย สมนันตรปัจจัย มี ๙ วาระ เป็นปัจจัยโดยสหชาตปัจจัย มี ๙ วาระ เป็นปัจจัย โดยอัญญมัญญปัจจัย มี ๙ วาระ เป็นปัจจัยโดยนิสสยปัจจัย มี ๙ วาระ
อุปนิสสยปัจจัย
[๒๘] สภาวธรรมที่เป็นคันถะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นคันถะโดย อุปนิสสยปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และ ปกตูปนิสสยะ ฯลฯ ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ คันถะเป็นปัจจัยแก่คันถะโดยอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ วาระ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๒ หน้า : ๓๔๒}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]

๒๖. คันถทุกะ ๗. ปัญหาวาร

[๒๙] สภาวธรรมที่ไม่เป็นคันถะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นคันถะโดย อุปนิสสยปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และ ปกตูปนิสสยะ ฯลฯ ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลอาศัยศรัทธาแล้ว ให้ทาน ฯลฯ มีมานะ ถือทิฏฐิ อาศัยศีล ฯลฯ เสนาสนะแล้วให้ทาน ฯลฯ ทำลายสงฆ์ ศรัทธา ฯลฯ เสนาสนะเป็นปัจจัยแก่ศรัทธา ฯลฯ ผลสมาบัติโดยอุปนิสสยปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่ไม่เป็นคันถะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นคันถะโดยอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และปกตูปนิสสยะ ฯลฯ ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลอาศัยศรัทธาแล้ว ถือทิฏฐิ อาศัยศีล ฯลฯ เสนาสนะแล้วฆ่าสัตว์ ฯลฯ ทำลายสงฆ์ ศรัทธา ฯลฯ เสนาสนะเป็นปัจจัยแก่ราคะ ฯลฯ ความปรารถนาโดยอุปนิสสยปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่ไม่เป็นคันถะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นคันถะและที่ไม่เป็นคันถะ โดยอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และ ปกตูปนิสสยะ ฯลฯ ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลอาศัยศรัทธาแล้ว มีมานะ ถือทิฏฐิ อาศัยศีล ฯลฯ เสนาสนะแล้วฆ่าสัตว์ ฯลฯ ทำลายสงฆ์ ศรัทธา ฯลฯ เสนาสนะเป็น ปัจจัยแก่คันถะและสัมปยุตตขันธ์โดยอุปนิสสยปัจจัย (๓) สภาวธรรมที่เป็นคันถะและที่ไม่เป็นคันถะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นคันถะโดย อุปนิสสยปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และ ปกตูปนิสสยะ ฯลฯ ปกตูปนิสสยะ มี ๓ วาระ (พึงเพิ่มไว้ตามนัยแห่งอารัมมณปัจจัย)
ปุเรชาตปัจจัยเป็นต้น
[๓๐] สภาวธรรมที่ไม่เป็นคันถะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นคันถะโดย ปุเรชาตปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาตะและวัตถุปุเรชาตะ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๒ หน้า : ๓๔๓}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]

๒๖. คันถทุกะ ๗. ปัญหาวาร

อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่ บุคคลเห็นแจ้งจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุโดยเป็น สภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น บุคคลเห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ฟังเสียงด้วย ทิพพโสตธาตุ รูปายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะเป็น ปัจจัยแก่กายวิญญาณ ฯลฯ วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่ จักขายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ กายายตนะ เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ ฯลฯ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่ไม่เป็นคันถะ โดยปุเรชาตปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่ไม่เป็นคันถะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นคันถะโดยปุเรชาตปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาตะและวัตถุปุเรชาตะ อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่ บุคคลยินดีเพลิดเพลินจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุ เพราะปรารภความยินดีเพลิดเพลินจักษุเป็นต้นนั้น ราคะจึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น โทมนัสจึงเกิดขึ้น วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่คันถะโดยปุเรชาตปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่ไม่เป็นคันถะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นคันถะและที่ไม่เป็นคันถะ โดยปุเรชาตปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาตะและวัตถุปุเรชาตะ อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่ บุคคลยินดีเพลิดเพลินจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุ เพราะ ปรารภความยินดีเพลิดเพลินจักษุเป็นต้นนั้น คันถะและสัมปยุตตขันธ์จึงเกิดขึ้น วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่คันถะและสัมปยุตตขันธ์โดย ปุเรชาตปัจจัย (๓) ... เป็นปัจจัยโดยปัจฉาชาตปัจจัย มี ๓ วาระ เป็นปัจจัยโดยอาเสวนปัจจัย มี ๙ วาระ
กัมมปัจจัย
[๓๑] สภาวธรรมที่ไม่เป็นคันถะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นคันถะโดย กัมมปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาตะและนานาขณิกะ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๒ หน้า : ๓๔๔}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]

๒๖. คันถทุกะ ๗. ปัญหาวาร

สหชาตะ ได้แก่ เจตนาที่ไม่เป็นคันถะเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และจิตต- สมุฏฐานรูปโดยกัมมปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ นานาขณิกะ ได้แก่ เจตนาที่ไม่เป็นคันถะเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นวิบากและ กฏัตตารูปโดยกัมมปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่ไม่เป็นคันถะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นคันถะโดยกัมมปัจจัย ได้แก่ เจตนาที่ไม่เป็นคันถะเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์โดยกัมมปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่ไม่เป็นคันถะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นคันถะและที่ไม่เป็นคันถะ โดยกัมมปัจจัย ได้แก่ เจตนาที่ไม่เป็นคันถะเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ คันถะ และจิตตสมุฏฐานรูปโดยกัมมปัจจัย (๓)
วิปากปัจจัยเป็นต้น
[๓๒] สภาวธรรมที่ไม่เป็นคันถะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นคันถะโดย วิปากปัจจัย มี ๑ วาระ เป็นปัจจัยโดยอาหารปัจจัย มี ๓ วาระ เป็นปัจจัย โดยอินทรียปัจจัย มี ๓ วาระ เป็นปัจจัยโดยฌานปัจจัย มี ๓ วาระ เป็น ปัจจัยโดยมัคคปัจจัย มี ๙ วาระ เป็นปัจจัยโดยสัมปยุตตปัจจัย มี ๙ วาระ
วิปปยุตตปัจจัย
[๓๓] สภาวธรรมที่เป็นคันถะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นคันถะโดย วิปปยุตตปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาตะและปัจฉาชาตะ (ย่อ) (๑) สภาวธรรมที่ไม่เป็นคันถะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นคันถะโดยวิปปยุตต- ปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ สหชาตะ ปุเรชาตะ และปัจฉาชาตะ (ย่อ) (๑) สภาวธรรมที่ไม่เป็นคันถะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นคันถะโดยวิปปยุตตปัจจัย มีอย่างเดียว คือ ปุเรชาตะ ได้แก่ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่คันถะโดยวิปปยุตต- ปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่ไม่เป็นคันถะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นคันถะและที่ไม่เป็น คันถะโดยวิปปยุตตปัจจัย มีอย่างเดียว คือ ปุเรชาตะ ได้แก่ หทัยวัตถุเป็นปัจจัย แก่คันถะและสัมปยุตตขันธ์โดยวิปปยุตตปัจจัย (๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๒ หน้า : ๓๔๕}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]

๒๖. คันถทุกะ ๗. ปัญหาวาร

สภาวธรรมที่เป็นคันถะและที่ไม่เป็นคันถะ เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็น คันถะโดยวิปปยุตตปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาตะและปัจฉาชาตะ (ย่อ) (๑)
อัตถิปัจจัย
[๓๔] สภาวธรรมที่เป็นคันถะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นคันถะโดยอัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ (เหมือนกับปฏิจจวาร) สภาวธรรมที่เป็นคันถะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นคันถะโดยอัตถิปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาตะและปัจฉาชาตะ สหชาตะ ได้แก่ คันถะเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูปโดย อัตถิปัจจัย ปัจฉาชาตะ ได้แก่ คันถะเป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อนโดยอัตถิปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่เป็นคันถะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นคันถะและที่ไม่เป็นคันถะ โดยอัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ (เหมือนกับปฏิจจวาร) (๓) [๓๕] สภาวธรรมที่ไม่เป็นคันถะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นคันถะโดย อัตถิปัจจัย มี ๕ อย่าง คือ สหชาตะ ปุเรชาตะ ปัจฉาชาตะ อาหาระ และอินทรียะ (ย่อ) (๑) สภาวธรรมที่ไม่เป็นคันถะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นคันถะโดยอัตถิปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาตะและปุเรชาตะ สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่ไม่เป็นคันถะเป็นปัจจัยแก่คันถะโดยอัตถิปัจจัย ปุเรชาตะ ได้แก่ บุคคลยินดีเพลิดเพลินจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุ เพราะปรารภ ความยินดีเพลิดเพลินจักษุเป็นต้นนั้น ราคะจึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น โทมนัสจึง เกิดขึ้น หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่คันถะโดยอัตถิปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่ไม่เป็นคันถะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นคันถะและที่ไม่เป็น คันถะโดยอัตถิปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาตะและปุเรชาตะ สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ ๑ ที่ไม่เป็นคันถะเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ คันถะและ จิตตสมุฏฐานรูปโดยอัตถิปัจจัย ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๒ หน้า : ๓๔๖}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]

๒๖. คันถทุกะ ๗. ปัญหาวาร

ปุเรชาตะ ได้แก่ บุคคลยินดีเพลิดเพลินจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุ เพราะปรารภ ความยินดีเพลิดเพลินจักษุเป็นต้นนั้น คันถะและสัมปยุตตขันธ์จึงเกิดขึ้น หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่คันถะและสัมปยุตตขันธ์โดยอัตถิปัจจัย (๓) [๓๖] สภาวธรรมที่เป็นคันถะและที่ไม่เป็นคันถะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ เป็นคันถะโดยอัตถิปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาตะและปุเรชาตะ สหชาตะ ได้แก่ สีลัพพตปรามาสกายคันถะและสัมปยุตตขันธ์เป็นปัจจัยแก่ อภิชฌากายคันถะโดยอัตถิปัจจัย (พึงผูกเป็นจักกนัย) สหชาตะ ได้แก่ สีลัพพตปรามาสกายคันถะและหทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ อภิชฌากายคันถะโดยอัตถิปัจจัย (พึงผูกเป็นจักกนัย) (๑) สภาวธรรมที่เป็นคันถะและที่ไม่เป็นคันถะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นคันถะ โดยอัตถิปัจจัย มี ๕ อย่าง คือ สหชาตะ ปุเรชาตะ ปัจฉาชาตะ อาหาระ และอินทรียะ สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ ๑ ที่ไม่เป็นคันถะและคันถะเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูปโดยอัตถิปัจจัย ฯลฯ ขันธ์ ๒ ฯลฯ สหชาตะ ได้แก่ คันถะและหทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่ไม่เป็นคันถะโดย อัตถิปัจจัย สหชาตะ ได้แก่ คันถะและมหาภูตรูปเป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปโดย อัตถิปัจจัย ปัจฉาชาตะ ได้แก่ คันถะและสัมปยุตตขันธ์เป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อน โดยอัตถิปัจจัย ปัจฉาชาตะ ได้แก่ คันถะและกวฬิงการาหารเป็นปัจจัยแก่กายนี้โดย อัตถิปัจจัย ปัจฉาชาตะ ได้แก่ คันถะและรูปชีวิตินทรีย์เป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูปโดย อัตถิปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่เป็นคันถะและที่ไม่เป็นคันถะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นคันถะ และที่ไม่เป็นคันถะโดยอัตถิปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาตะและปุเรชาตะ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๒ หน้า : ๓๔๗}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]

๒๖. คันถทุกะ ๗. ปัญหาวาร

สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ ๑ ที่ไม่เป็นคันถะและสีลัพพตปรามาสกายคันถะเป็น ปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ อภิชฌากายคันถะและจิตตสมุฏฐานรูปโดยอัตถิปัจจัย ฯลฯ (พึง ผูกเป็นจักกนัย) สหชาตะ ได้แก่ สีลัพพตปรามาสกายคันถะและหทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ อภิชฌากายคันถะและสัมปยุตตขันธ์โดยอัตถิปัจจัย (พึงผูกเป็นจักกนัย) (๓)
๑. ปัจจยานุโลม ๒. สังขยาวาร
สุทธนัย
[๓๗] เหตุปัจจัย มี ๙ วาระ อารัมมณปัจจัย มี ๙ วาระ (ทุกปัจจัย มีปัจจัยละ ๙ วาระ) อุปนิสสยปัจจัย มี ๙ วาระ ปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ปัจฉาชาตปัจจัย มี ๓ วาระ อาเสวนปัจจัย มี ๙ วาระ กัมมปัจจัย มี ๓ วาระ วิปากปัจจัย มี ๑ วาระ อาหารปัจจัย มี ๓ วาระ อินทรียปัจจัย มี ๓ วาระ ฌานปัจจัย มี ๓ วาระ มัคคปัจจัย มี ๙ วาระ สัมปยุตตปัจจัย มี ๙ วาระ วิปปยุตตปัจจัย มี ๕ วาระ อัตถิปัจจัย มี ๙ วาระ นัตถิปัจจัย มี ๙ วาระ วิคตปัจจัย มี ๙ วาระ อวิคตปัจจัย มี ๙ วาระ
อนุโลม จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๒ หน้า : ๓๔๘}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]

๒๖. คันถทุกะ ๗. ปัญหาวาร

๒. ปัจจนียุทธาร
[๓๘] สภาวธรรมที่เป็นคันถะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นคันถะโดย อารัมมณปัจจัย สหชาตปัจจัย และอุปนิสสยปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่เป็นคันถะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นคันถะโดยอารัมมณปัจจัย สหชาตปัจจัย อุปนิสสยปัจจัย และปัจฉาชาตปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่เป็นคันถะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นคันถะและที่ไม่เป็นคันถะ โดยอารัมมณปัจจัย สหชาตปัจจัย และอุปนิสสยปัจจัย (๓) [๓๙] สภาวธรรมที่ไม่เป็นคันถะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นคันถะโดย อารัมมณปัจจัย สหชาตปัจจัย อุปนิสสยปัจจัย ปุเรชาตปัจจัย ปัจฉาชาตปัจจัย กัมมปัจจัย อาหารปัจจัย และอินทรียปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่ไม่เป็นคันถะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นคันถะโดยอารัมมณปัจจัย สหชาตปัจจัย อุปนิสสยปัจจัย และปุเรชาตปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่ไม่เป็นคันถะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นคันถะและที่ไม่เป็นคันถะ โดยอารัมมณปัจจัย สหชาตปัจจัย อุปนิสสยปัจจัย และปุเรชาตปัจจัย (๓) [๔๐] สภาวธรรมที่เป็นคันถะและที่ไม่เป็นคันถะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ เป็นคันถะโดยอารัมมณปัจจัย สหชาตปัจจัย และอุปนิสสยปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่เป็นคันถะและที่ไม่เป็นคันถะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นคันถะ โดยอารัมมณปัจจัย สหชาตปัจจัย อุปนิสสยปัจจัย และปัจฉาชาตปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่เป็นคันถะและที่ไม่เป็นคันถะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นคันถะ และที่ไม่เป็นคันถะโดยอารัมมณปัจจัย สหชาตปัจจัย และอุปนิสสยปัจจัย (๓)
๒. ปัจจยปัจจนียะ ๒. สังขยาวาร
[๔๑] นเหตุปัจจัย มี ๙ วาระ นอารัมมณปัจจัย มี ๙ วาระ (ทุกปัจจัย มีปัจจัยละ ๙ วาระ) โนอวิคตปัจจัย มี ๙ วาระ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๒ หน้า : ๓๔๙}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]

๒๗. คันถนิยทุกะ ๑-๗. วารสัตตกนัย

๓. ปัจจยานุโลมปัจจนียะ
เหตุทุกนัย
[๔๒] นอารัมมณปัจจัย กับเหตุปัจจัย มี ๙ วาระ ฯลฯ นสมนันตรปัจจัย ” มี ๙ วาระ นอัญญมัญญปัจจัย ” มี ๓ วาระ นอุปนิสสยปัจจัย ” มี ๙ วาระ (ทุกปัจจัย มีปัจจัยละ ๙ วาระ) นมัคคปัจจัย ” มี ๙ วาระ นสัมปยุตตปัจจัย ” มี ๓ วาระ นวิปปยุตตปัจจัย ” มี ๙ วาระ โนนัตถิปัจจัย ” มี ๙ วาระ โนวิคตปัจจัย ” มี ๙ วาระ
๔. ปัจจยปัจจนียานุโลม
[๔๓] อารัมมณปัจจัย กับนเหตุปัจจัย มี ๙ วาระ อธิปติปัจจัย ” มี ๙ วาระ (พึงเพิ่มบทอนุโลมให้บริบูรณ์) อวิคตปัจจัย ” มี ๙ วาระ
คันถทุกะ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๔๒ หน้าที่ ๓๓๘-๓๕๐. http://84000.org/tipitaka/english/m_siri.php?B=42&siri=65              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/english/v.php?B=42&A=9255&Z=9632                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=42&i=512              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=42&item=512&items=14              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=42&item=512&items=14                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๔๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu42



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :