ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๔๓ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๑๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ปัฏฐานปกรณ์ ภาค ๔

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]

๙๒. อุเปกขาสหคตทุกะ ๗. ปัญหาวาร

๙๒. อุเปกขาสหคตทุกะ ๗. ปัญหาวาร
๑. ปัจจยานุโลม ๑. วิภังควาร
เหตุปัจจัยเป็นต้น
[๑๘๖] สภาวธรรมที่สหรคตด้วยอุเบกขาเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สหรคต ด้วยอุเบกขาโดยเหตุปัจจัย ได้แก่ เหตุที่สหรคตด้วยอุเบกขาเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตต- ขันธ์โดยเหตุปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ (ทั้ง ๔ วาระ เหมือนกับสวิตักกทุกะ) สภาวธรรมที่สหรคตด้วยอุเบกขาเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สหรคตด้วยอุเบกขา โดยอารัมมณปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอธิปติปัจจัย (อารัมมณปัจจัยและอธิปติปัจจัย พึงขยายให้พิสดารเหมือนกับสัปปีติกทุกะ ต่างกันเฉพาะคำว่าอุเบกขา)
อนันตรปัจจัยเป็นต้น
[๑๘๗] สภาวธรรมที่สหรคตด้วยอุเบกขาเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สหรคต ด้วยอุเบกขาโดยอนันตรปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่สหรคตด้วยอุเบกขาซึ่งเกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่สหรคตด้วยอุเบกขาซึ่งเกิดหลังๆ โดยอนันตรปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่สหรคตด้วยอุเบกขาเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่สหรคตด้วย อุเบกขาโดยอนันตรปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่สหรคตด้วยอุเบกขาซึ่งเกิดก่อนๆ เป็น ปัจจัยแก่อุเบกขาซึ่งเกิดหลังๆ โดยอนันตรปัจจัย จุติจิตที่สหรคตด้วยอุเบกขา เป็นปัจจัยแก่อุปปัตติจิตที่ไม่สหรคตด้วยอุเบกขา อาวัชชนจิตเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่ไม่ สหรคตด้วยอุเบกขา มโนธาตุที่เป็นวิบากเป็นปัจจัยแก่มโนวิญญาณธาตุที่เป็นวิบาก ซึ่งไม่สหรคตด้วยอุเบกขา ภวังคจิตที่สหรคตด้วยอุเบกขาเป็นปัจจัยแก่ภวังคจิตที่ไม่ สหรคตด้วยอุเบกขา กุศลและอกุศลที่สหรคตด้วยอุเบกขาเป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะที่ ไม่สหรคตด้วยอุเบกขา กิริยาเป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะ ผลเป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะ เนวสัญญานาสัญญายตนะของท่านผู้ออกจากนิโรธ เป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติที่ไม่ สหรคตด้วยอุเบกขาโดยอนันตรปัจจัย (๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๓ หน้า : ๕๒๙}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]

๙๒. อุเปกขาสหคตทุกะ ๗. ปัญหาวาร

สภาวธรรมที่สหรคตด้วยอุเบกขาเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สหรคตด้วยอุเบกขา และไม่สหรคตด้วยอุเบกขาโดยอนันตรปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่สหรคตด้วยอุเบกขาซึ่ง เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่สหรคตด้วยอุเบกขา และอุเบกขาที่เกิดหลังๆ โดยอนันตรปัจจัย (๓) [๑๘๘] สภาวธรรมที่ไม่สหรคตด้วยอุเบกขาเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่ สหรคตด้วยอุเบกขาโดยอนันตรปัจจัย ได้แก่ อุเบกขาที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่ อุเบกขาที่เกิดหลังๆ โดยอนันตรปัจจัย ขันธ์ที่ไม่สหรคตด้วยอุเบกขาซึ่งเกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่ไม่สหรคตด้วยอุเบกขาซึ่งเกิดหลังๆ โดยอนันตรปัจจัย อนุโลม เป็นปัจจัยแก่โคตรภู ฯลฯ อนุโลมเป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติโดยอนันตรปัจจัย (พึง เพิ่มบทที่เป็นมูล) อุเบกขาที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่สหรคตด้วยอุเบกขาซึ่ง เกิดหลังๆ โดยอนันตรปัจจัย จุติจิตที่ไม่สหรคตด้วยอุเบกขาเป็นปัจจัยแก่อุปปัตติ- จิตที่สหรคตด้วยอุเบกขา ภวังคจิตที่ไม่สหรคตด้วยอุเบกขาเป็นปัจจัยแก่อาวัชชนจิต กายวิญญาณธาตุเป็นปัจจัยแก่มโนธาตุที่เป็นวิบาก มโนวิญญาณธาตุที่เป็นวิบากซึ่ง ไม่สหรคตด้วยอุเบกขาเป็นปัจจัยแก่มโนวิญญาณธาตุที่เป็นกิริยา ภวังคจิตที่ไม่ สหรคตด้วยอุเบกขาเป็นปัจจัยแก่ภวังคจิตที่สหรคตด้วยอุเบกขา กุศลและอกุศลที่ไม่ สหรคตด้วยอุเบกขาเป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะที่สหรคตด้วยอุเบกขา กิริยาเป็นปัจจัยแก่ วุฏฐานะ ผลเป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะโดยอนันตรปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่ไม่สหรคตด้วยอุเบกขาเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สหรคตด้วย อุเบกขาและไม่สหรคตด้วยอุเบกขาโดยอนันตรปัจจัย ได้แก่ อุเบกขาที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่สหรคตด้วยอุเบกขาและอุเบกขาซึ่งเกิดหลังๆ โดยอนันตรปัจจัย (๓) [๑๘๙] สภาวธรรมที่สหรคตด้วยอุเบกขาและไม่สหรคตด้วยอุเบกขา เป็น ปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สหรคตด้วยอุเบกขาโดยอนันตรปัจจัย ได้แก่ ขันธ์สหรคต ด้วยอุเบกขาและอุเบกขาซึ่งเกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่สหรคตด้วยอุเบกขาซึ่ง เกิดหลังๆ โดยอนันตรปัจจัย (พึงเพิ่มบทที่เป็นมูล) ขันธ์ที่สหรคตด้วยอุเบกขาและ อุเบกขาซึ่งเกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่อุเบกขาที่เกิดหลังๆ โดยอนันตรปัจจัย จุติจิตที่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๓ หน้า : ๕๓๐}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]

๙๒. อุเปกขาสหคตทุกะ ๗. ปัญหาวาร

สหรคตด้วยอุเบกขาและอุเบกขาเป็นปัจจัยแก่อุปปัตติจิตที่ไม่สหรคตด้วยอุเบกขา อาวัชชนจิตและอุเบกขาเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่ไม่สหรคตด้วยอุเบกขา มโนธาตุที่เป็น วิบากและอุเบกขาเป็นปัจจัยแก่มโนวิญญาณธาตุที่เป็นวิบากซึ่งไม่สหรคตด้วยอุเบกขา ภวังคจิตที่ไม่สหรคตด้วยอุเบกขาและอุเบกขาเป็นปัจจัยแก่ภวังคจิตที่ไม่สหรคตด้วย อุเบกขา กุศลและอกุศลที่สหรคตด้วยอุเบกขาและอุเบกขาเป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะที่ไม่ สหรคตด้วยอุเบกขา กิริยาและอุเบกขาเป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะ ผลและอุเบกขาเป็น ปัจจัยแก่วุฏฐานะ เนวสัญญานาสัญญายตนะของท่านผู้ออกจากนิโรธและอุเบกขา เป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติที่ไม่สหรคตด้วยอุเบกขาโดยอนันตรปัจจัย (พึงเพิ่มบทที่เป็นมูล) ขันธ์ที่สหรคตด้วยอุเบกขาและอุเบกขาซึ่งเกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่สหรคตด้วย อุเบกขาและอุเบกขาซึ่งเกิดหลังๆ โดยอนันตรปัจจัย (๓) ... เป็นปัจจัยโดยสมนันตรปัจจัย มี ๙ วาระ ... เป็นปัจจัยโดยสหชาตปัจจัย มี ๙ วาระ ... เป็นปัจจัยโดยอัญญมัญญปัจจัย มี ๙ วาระ ... เป็นปัจจัยโดยนิสสยปัจจัย มี ๙ วาระ
อุปนิสสยปัจจัย
[๑๙๐] สภาวธรรมที่สหรคตด้วยอุเบกขาเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สหรคต ด้วยอุเบกขาโดยอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ วาระ สภาวธรรมที่ไม่สหรคตด้วยอุเบกขาเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่สหรคตด้วย อุเบกขาโดยอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และปกตูปนิสสยะ ฯลฯ ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลอาศัยศรัทธาที่ไม่สหรคตด้วยอุเบกขาแล้วให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถด้วยจิตที่ไม่สหรคตด้วยอุเบกขา ฯลฯ ทำฌานที่ไม่ สหรคตด้วยอุเบกขา ฯลฯ วิปัสสนา ฯลฯ มรรค ฯลฯ ทำสมาบัติให้เกิดขึ้น มีมานะ ถือทิฏฐิ อาศัยศีลที่ไม่สหรคตด้วยอุเบกขา ฯลฯ ปัญญา ฯลฯ ราคะ ... โทสะ ... โมหะ ... มานะ ... ทิฏฐิ ... ความปรารถนา ... สุขทางกาย ... {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๓ หน้า : ๕๓๑}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]

๙๒. อุเปกขาสหคตทุกะ ๗. ปัญหาวาร

ทุกข์ทางกาย ... อุตุ ... โภชนะ ฯลฯ เสนาสนะ และอุเบกขาแล้ว ให้ทาน ด้วยจิตที่ไม่สหรคตด้วยอุเบกขา ฯลฯ ทำสมาบัติให้เกิดขึ้น ฆ่าสัตว์ ฯลฯ ทำ ลายสงฆ์ ศรัทธาที่ไม่สหรคตด้วยอุเบกขา ฯลฯ เสนาสนะและอุเบกขาเป็นปัจจัย แก่ศรัทธาที่ไม่สหรคตด้วยอุเบกขา ฯลฯ ปัญญา ฯลฯ ราคะ ฯลฯ ความปรารถนา ฯลฯ สุขทางกาย ฯลฯ ทุกข์ทางกาย ฯลฯ มรรค ... ผลสมาบัติและอุเบกขา โดยอุปนิสสยปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่ไม่สหรคตด้วยอุเบกขา เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สหรคตด้วย อุเบกขาโดยอุปนิสสยปัจจัย (อุปนิสสยปัจจัย มี ๓ อย่าง) ได้แก่ บุคคลอาศัย ศรัทธาที่ไม่สหรคตด้วยอุเบกขาแล้ว ให้ทานด้วยจิตที่สหรคตด้วยอุเบกขา ฯลฯ ทำสมาบัติให้เกิดขึ้น มีมานะ ถือทิฏฐิ อาศัยศีลที่ไม่สหรคตด้วยอุเบกขา ฯลฯ เสนาสนะ และอุเบกขาแล้ว ให้ทาน ด้วยจิตที่สหรคตด้วยอุเบกขา ฯลฯ ทำ สมาบัติให้เกิดขึ้น บุคคลมีจิตที่สหรคตด้วยอุเบกขาลักทรัพย์ พูดเท็จ พูดส่อเสียด ฯลฯ พูดคำหยาบ ฯลฯ พูดเพ้อเจ้อ ฯลฯ งัดแงะ ฯลฯ ปล้นไม่ให้เหลือ ฯลฯ ปล้นเรือนหลังเดียว ฯลฯ ดักจี้ในทางเปลี่ยว ฯลฯ ล่วงเกินภรรยาผู้อื่น ฯลฯ ฆ่าชาวบ้าน ฯลฯ ฆ่าชาวนิคม ศรัทธาที่ไม่สหรคตด้วยอุเบกขา ฯลฯ เสนาสนะ เป็นปัจจัยแก่ศรัทธาที่สหรคตด้วยอุเบกขา ฯลฯ ความปรารถนา ฯลฯ มรรค และผลสมาบัติโดยอุปนิสสยปัจจัย สภาวธรรมที่ไม่สหรคตด้วยอุเบกขาเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สหรคตด้วย อุเบกขาและไม่สหรคตด้วยอุเบกขาโดยอุปนิสสยปัจจัย (อุปนิสสยปัจจัย มี ๓ อย่าง เหมือนกับข้อความตอนที่ ๒) (๓) สภาวธรรมที่สหรคตด้วยอุเบกขาและไม่สหรคตด้วยอุเบกขาเป็นปัจจัยแก่ สภาวธรรมที่สหรคตด้วยอุเบกขาโดยอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ วาระ
ปุเรชาตปัจจัย
[๑๙๑] สภาวธรรมที่ไม่สหรคตด้วยอุเบกขาเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่ สหรคตด้วยอุเบกขาโดยปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ (เหมือนกับสัปปีติกทุกะ) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๓ หน้า : ๕๓๒}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]

๙๒. อุเปกขาสหคตทุกะ ๗. ปัญหาวาร

ปัจฉาชาตปัจจัยเป็นต้น
[๑๙๒] สภาวธรรมที่สหรคตด้วยอุเบกขาเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่สหรคต ด้วยอุเบกขาโดยปัจฉาชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ... เป็นปัจจัยโดยอาเสวนปัจจัย มี ๙ วาระ ... เป็นปัจจัยโดยกัมมปัจจัย มี ๖ วาระ (พึงเพิ่มสหชาตะ และนานาขณิกะ เป็น ๔ วาระ และเพิ่มนานาขณิกะ เป็น ๒ วาระ) ... เป็นปัจจัยโดยวิปากปัจจัย มี ๙ วาระ ... เป็นปัจจัยโดยอาหารปัจจัย มี ๔ วาระ ... เป็นปัจจัยโดยอินทรียปัจจัย มี ๙ วาระ ... เป็นปัจจัยโดยฌานปัจจัย มี ๙ วาระ ... เป็นปัจจัยโดยมัคคปัจจัย มี ๔ วาระ ... เป็นปัจจัยโดยสัมปยุตตปัจจัย มี ๖ วาระ ... เป็นปัจจัยโดยวิปปยุตตปัจจัย มี ๕ วาระ ... เป็นปัจจัยโดยอัตถิปัจจัย มี ๙ วาระ ... เป็นปัจจัยโดยนัตถิปัจจัย มี ๙ วาระ ... เป็นปัจจัยโดยวิคตปัจจัย มี ๙ วาระ ... เป็นปัจจัยโดยอวิคตปัจจัย มี ๙ วาระ (พึงจำแนกปัจจัยเหล่านี้ โดยนัยแห่งสัปปีติกทุกะ)
๑. ปัจจยานุโลม ๒. สังขยาวาร
สุทธนัย
[๑๙๓] เหตุปัจจัย มี ๔ วาระ อารัมมณปัจจัย มี ๙ วาระ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๓ หน้า : ๕๓๓}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]

๙๒. อุเปกขาสหคตทุกะ ๗. ปัญหาวาร

อธิปติปัจจัย มี ๙ วาระ อนันตรปัจจัย มี ๙ วาระ สมนันตรปัจจัย มี ๙ วาระ สหชาตปัจจัย มี ๙ วาระ อัญญมัญญปัจจัย มี ๙ วาระ นิสสยปัจจัย มี ๙ วาระ อุปนิสสยปัจจัย มี ๙ วาระ ปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ปัจฉาชาตปัจจัย มี ๓ วาระ อาเสวนปัจจัย มี ๙ วาระ กัมมปัจจัย มี ๖ วาระ วิปากปัจจัย มี ๙ วาระ อาหารปัจจัย มี ๔ วาระ อินทรียปัจจัย มี ๙ วาระ ฌานปัจจัย มี ๙ วาระ มัคคปัจจัย มี ๔ วาระ สัมปยุตตปัจจัย มี ๖ วาระ วิปปยุตตปัจจัย มี ๕ วาระ อัตถิปัจจัย มี ๙ วาระ นัตถิปัจจัย มี ๙ วาระ วิคตปัจจัย มี ๙ วาระ อวิคตปัจจัย มี ๙ วาระ (ปัจจนียวิภังค์ และการนับ ๓ อย่างนอกนี้ พึงทำให้เหมือนกับสัปปีติกทุกะ อย่างนี้)
อุเปกขาสหคตทุกะ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๓ หน้า : ๕๓๔}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๔๓ หน้าที่ ๕๒๙-๕๓๔. http://84000.org/tipitaka/english/m_siri.php?B=43&siri=101              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/english/v.php?B=43&A=12055&Z=12202                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=43&i=0              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=43&item=715&items=7              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=43&item=715&items=7                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๔๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu43



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :