ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๔๓ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๑๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ปัฏฐานปกรณ์ ภาค ๔
๖๙. อุปาทานทุกะ ๓. ปัจจยวาร
๑. ปัจจยานุโลมเป็นต้น
เหตุปัจจัย
[๑๒] สภาวธรรมที่เป็นอุปาทานทำสภาวธรรมที่เป็นอุปาทานให้เป็นปัจจัย เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ กามุปาทานทำทิฏฐุปาทานให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น มี ๓ วาระ (เหมือนกับปฏิจจวาร) สภาวธรรมที่ไม่เป็นอุปาทานทำสภาวธรรมที่ไม่เป็นอุปาทานให้เป็นปัจจัยเกิด ขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูปทำขันธ์ ๑ ที่ไม่เป็น อุปาทานให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ฯลฯ ทำขันธ์ ๒ ฯลฯ ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ หทัยวัตถุทำขันธ์ให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ฯลฯ (พึงเพิ่มข้อความจนถึงมหาภูตรูปภายใน) ขันธ์ที่ไม่เป็นอุปาทานทำหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น (๑) สภาวธรรมที่เป็นอุปาทานทำสภาวธรรมที่ไม่เป็นอุปาทานให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ อุปาทานทำขันธ์ที่ไม่เป็นอุปาทานให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น อุปาทานทำหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น (๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๓ หน้า : ๒๙๒}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]

๖๙. อุปาทานทุกะ ๓. ปัจจยวาร

สภาวธรรมที่เป็นอุปาทานและที่ไม่เป็นอุปาทานทำสภาวธรรมที่ไม่เป็น อุปาทานให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ อุปาทาน และ จิตตสมุฏฐานรูปทำขันธ์ ๑ ที่ไม่เป็นอุปาทานให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ฯลฯ ทำขันธ์ ๒ ฯลฯ อุปาทานทำหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น จิตตสมุฏฐานรูปทำมหาภูตรูปให้ เป็นปัจจัยเกิดขึ้น อุปาทานและสัมปยุตตขันธ์ทำหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น (๓) [๑๓] สภาวธรรมที่เป็นอุปาทานทำสภาวธรรมที่เป็นอุปาทานและที่ไม่เป็น อุปาทานให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ กามุปาทานทำทิฏฐุปาทาน และสัมปยุตตขันธ์ให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ทิฏฐุปาทานทำกามุปาทานและสัมปยุตตขันธ์ ให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น (พึงทำเป็นจักกนัย) กามุปาทานทำทิฏฐุปาทานและหทัยวัตถุ ให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น (พึงทำเป็นจักกนัย) (๑) สภาวธรรมที่ไม่เป็นอุปาทานทำสภาวธรรมที่เป็นอุปาทานและที่ไม่เป็นอุปาทาน ให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูปทำขันธ์ ๑ ที่ไม่เป็นอุปาทานและทำอุปาทานให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ฯลฯ ทำขันธ์ ๒ ฯลฯ (พึงทำเป็นจักกนัย) จิตตสมุฏฐานรูปทำอุปาทานและมหาภูตรูปให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ขันธ์ที่ไม่เป็นอุปาทานทำอุปาทานและหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น (๒) สภาวธรรมที่เป็นอุปาทานและที่ไม่เป็นอุปาทานทำสภาวธรรมที่เป็นอุปาทาน และที่ไม่เป็นอุปาทานให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ กามุปาทาน และจิตตสมุฏฐานรูปทำขันธ์ ๑ ที่ไม่เป็นอุปาทานและทำทิฏฐุปาทานให้เป็นปัจจัย เกิดขึ้น ฯลฯ (พึงทำเป็นจักกนัย) กามุปาทานและสัมปยุตตขันธ์ทำทิฏฐุปาทาน และหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ฯลฯ (พึงทำเป็นจักกนัย) (๓) ... เพราะอารัมมณปัจจัย (ในอารัมมณปัจจัย บทที่มีสภาวธรรมซึ่งไม่มี อุปาทานเป็นมูล พึงเพิ่มอายตนะ ๕ และหทัยวัตถุ) เหตุปัจจัย มี ๙ วาระ อารัมมณปัจจัย มี ๙ วาระ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๓ หน้า : ๒๙๓}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]

๖๙. อุปาทานทุกะ ๓. ปัจจยวาร

อธิปติปัจจัย มี ๙ วาระ (ทุกปัจจัยมีปัจจัยละ ๙ วาระ) วิปากปัจจัย มี ๑ วาระ ฯลฯ อวิคตปัจจัย มี ๙ วาระ
อนุโลม จบ
[๑๔] สภาวธรรมที่ไม่เป็นอุปาทานทำสภาวธรรมที่ไม่เป็นอุปาทานให้เป็น ปัจจัยเกิดขึ้นเพราะนเหตุปัจจัย ได้แก่ ... ทำขันธ์ ๑ ที่ไม่มีเหตุซึ่งไม่เป็นอุปาทาน ฯลฯ ในปฏิสนธิขณะที่เป็นอเหตุกะ ฯลฯ (พึงเพิ่มข้อความจนถึงอสัญญสัตตพรหม) จักขุวิญญาณทำจักขายตนะให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ฯลฯ กายวิญญาณทำกายายตนะให้ เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ขันธ์ที่ไม่มีเหตุซึ่งไม่เป็นอุปาทานทำหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น โมหะที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาและที่สหรคตด้วยอุทธัจจะทำขันธ์ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา และที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ และทำหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น นเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ นอารัมมณปัจจัย มี ๓ วาระ นอธิปติปัจจัย มี ๙ วาระ นอนันตรปัจจัย มี ๓ วาระ นสมนันตรปัจจัย มี ๓ วาระ ฯลฯ นปุเรชาตปัจจัย มี ๙ วาระ ฯลฯ นกัมมปัจจัย มี ๓ วาระ นวิปากปัจจัย มี ๙ วาระ (เหมือนกับปฏิจจวาร) ฯลฯ โนวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ
ปัจจนียะ จบ
(การนับ ๒ อย่างนอกนี้และนิสสยวาร พึงทำอย่างนี้)
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๓ หน้า : ๒๙๔}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๔๓ หน้าที่ ๒๙๒-๒๙๔. http://84000.org/tipitaka/english/m_siri.php?B=43&siri=45              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/english/v.php?B=43&A=6480&Z=6542                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=43&i=0              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=43&item=399&items=4              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=43&item=399&items=4                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๔๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu43



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :