ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๔๓ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๑๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ปัฏฐานปกรณ์ ภาค ๔

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]

๘๙. สัปปีติกทุกะ ๗. ปัญหาวาร

๘๙. สัปปีติกทุกะ ๗. ปัญหาวาร
๑. ปัจจยานุโลม ๑. วิภังควาร
เหตุปัจจัย
[๑๔๙] สภาวธรรมที่มีปีติเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีปีติโดยเหตุปัจจัย ได้แก่ เหตุที่มีปีติเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์โดยเหตุปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ สภาวธรรมที่มีปีติเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่มีปีติโดยเหตุปัจจัย ได้แก่ เหตุที่มีปีติเป็นปัจจัยแก่ปีติและจิตตสมุฏฐานรูปโดยเหตุปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ (พึงเพิ่มบทที่เป็นมูล) เหตุที่มีปีติเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ ปีติ และจิตตสมุฏฐาน- รูปโดยเหตุปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ (๓) สภาวธรรมที่ไม่มีปีติเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่มีปีติโดยเหตุปัจจัย ได้แก่ เหตุที่ไม่มีปีติเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูปโดยเหตุปัจจัย ใน ปฏิสนธิขณะ ฯลฯ (๑)
อารัมมณปัจจัย
[๑๕๐] สภาวธรรมที่มีปีติเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีปีติโดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ เพราะปรารภขันธ์ที่มีปีติ ขันธ์ที่มีปีติจึงเกิดขึ้น (พึงเพิ่มบทที่เป็นมูล) เพราะปรารภขันธ์ที่มีปีติ ขันธ์ที่ไม่มีปีติและปีติจึงเกิดขึ้น (พึงเพิ่มบทที่เป็นมูล) เพราะปรารภขันธ์ที่มีปีติ ขันธ์ที่มีปีติและปีติจึงเกิดขึ้น (๓) [๑๕๑] สภาวธรรมที่ไม่มีปีติเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่มีปีติโดยอารัมมณ- ปัจจัย ได้แก่ บุคคลให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถด้วยจิตที่ไม่มีปีติ พิจารณาด้วยจิตที่ไม่มีปีติ ยินดีเพลิดเพลิน เพราะปรารภความยินดีเพลิดเพลิน กุศลนั้น ราคะที่ไม่มีปีติจึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น วิจิกิจฉาจึงเกิดขึ้น อุทธัจจะจึง เกิดขึ้น โทมนัสจึงเกิดขึ้น บุคคลออกจากฌานที่ไม่มีปีติ ฯลฯ พระอริยะออกจาก มรรค ฯลฯ ออกจากผลแล้ว พิจารณาผลด้วยจิตที่ไม่มีปีติ พระอริยะพิจารณา นิพพาน ด้วยจิตที่ไม่มีปีติ นิพพานเป็นปัจจัยแก่โคตรภู โวทาน มรรค ผล {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๓ หน้า : ๕๐๑}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]

๘๙. สัปปีติกทุกะ ๗. ปัญหาวาร

อาวัชชนจิตที่ไม่มีปีติ และปีติโดยอารัมมณปัจจัย พระอริยะพิจารณากิเลสที่ไม่มี ปีติซึ่งละได้แล้วด้วยจิตที่มีปีติ ฯลฯ พิจารณากิเลสที่ข่มได้แล้ว ฯลฯ รู้กิเลสที่ เคยเกิดขึ้น ฯลฯ เห็นแจ้งจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุ ขันธ์ที่ไม่มีปีติและปีติด้วยจิตที่ ไม่มีปีติ โดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ ยินดีเพลิดเพลิน เพราะปรารภความยินดี เพลิดเพลินจักษุเป็นต้นนั้น ราคะที่ไม่มีปีติจึงเกิดขึ้น ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น บุคคล เห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะเป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณโดย อารัมมณปัจจัย ขันธ์ที่ไม่มีปีติเป็นปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณ เจโตปริยญาณ ปุพเพ- นิวาสานุสสติญาณ ยถากัมมูปคญาณ อนาคตังสญาณ อาวัชชนจิตและปีติโดย อารัมมณปัจจัย เพราะปรารภขันธ์ที่ไม่มีปีติและปีติ ขันธ์ที่ไม่มีปีติและปีติจึง เกิดขึ้น (๑) สภาวธรรมที่ไม่มีปีติ เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีปีติโดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ บุคคลให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถด้วยจิตที่ไม่มีปีติ พิจารณาด้วยจิตที่มีปีติ ยินดีเพลิดเพลิน เพราะปรารภความยินดีเพลิดเพลินกุศลนั้น ราคะที่มีปีติจึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น บุคคลออกจากฌานที่ไม่มีปีติ ฯลฯ พระอริยะออกจากมรรค ฯลฯ ออกจากผลแล้ว พิจารณาผล ด้วยจิตที่มีปีติ พระอริยะพิจารณานิพพาน ด้วยจิต ที่มีปีติ นิพพานเป็นปัจจัยแก่โคตรภู โวทาน มรรค และผลที่มีปีติ โดยอารัมมณ- ปัจจัย พระอริยะพิจารณากิเลสที่ไม่มีปีติซึ่งละได้แล้ว ฯลฯ พิจารณากิเลสที่ข่มได้ แล้ว ฯลฯ รู้กิเลสที่เคยเกิดขึ้น ฯลฯ เห็นแจ้งจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุ ขันธ์ที่ไม่มี ปีติและปีติด้วยจิตที่มีปีติโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ ยินดีเพลิดเพลิน เพราะ ปรารภความยินดีเพลิดเพลินจักษุเป็นต้นนั้น ราคะที่มีปีติจึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น เพราะปรารภขันธ์ที่ไม่มีปีติและปีติ ขันธ์ที่มีปีติจึงเกิดขึ้น (๒) สภาวธรรมที่ไม่มีปีติ เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีปีติและไม่มีปีติโดยอารัมมณ- ปัจจัย ได้แก่ บุคคลให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถด้วยจิตที่ไม่มีปกติ พิจารณา ด้วยจิตที่มีปีติ ยินดีเพลิดเพลิน เพราะปรารภความยินดีเพลิดเพลินกุศลนั้น ขันธ์ที่มีปีติและปีติจึงเกิดขึ้น บุคคลออกจากฌานที่ไม่มีปีติ ฯลฯ ออกจากมรรค ฯลฯ ออกจากผลแล้วพิจารณาผลด้วยจิตที่มีปีติ พระอริยะพิจารณานิพพานด้วย จิตที่มีปีติ นิพพานเป็นปัจจัยแก่โคตรภู โวทาน มรรค ผลที่มีปีติ และปีติโดย อารัมมณปัจจัย พระอริยะพิจารณากิเลสที่ไม่มีปีติซึ่งละได้แล้ว พิจารณากิเลสที่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๓ หน้า : ๕๐๒}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]

๘๙. สัปปีติกทุกะ ๗. ปัญหาวาร

ข่มได้แล้ว ฯลฯ รู้กิเลสที่เคยเกิดขึ้น ฯลฯ เห็นแจ้งจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุ ขันธ์ ที่ไม่มีปีติและปีติด้วยจิตที่มีปีติโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ ยินดีเพลิดเพลิน เพราะปรารภความยินดีเพลิดเพลินจักษุเป็นต้นนั้น ราคะที่มีปีติจึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึง เกิดขึ้นเพราะปรารภขันธ์ที่ไม่มีปีติและปีติ ขันธ์ที่มีปีติและปีติจึงเกิดขึ้น เพราะ ปรารภขันธ์ที่ไม่มีปีติและปีติ ขันธ์ที่มีปีติและปีติจึงเกิดขึ้น (๓) [๑๕๒] สภาวธรรมที่มีปีติและไม่มีปีติเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีปีติโดย อารัมมณปัจจัย ได้แก่ เพราะปรารภขันธ์ที่มีปีติและปีติ ขันธ์ที่มีปีติจึงเกิดขึ้น (พึงเพิ่มบทที่เป็นมูล) เพราะปรารภขันธ์ที่มีปีติและปีติ ขันธ์ที่ไม่มีปีติและปีติจึงเกิด ขึ้น (พึงเพิ่มบทที่เป็นมูล) เพราะปรารภขันธ์ที่มีปีติและปีติ ขันธ์ที่มีปีติและปีติจึง เกิดขึ้น (๓)
อธิปติปัจจัย
[๑๕๓] สภาวธรรมที่มีปีติเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีปีติโดยอธิปติปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณาธิปติและสหชาตาธิปติ อารัมมณาธิปติ ได้แก่ เพราะทำขันธ์ที่มีปีติให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ขันธ์ที่มีปีติจึงเกิดขึ้น สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่มีปีติเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์โดย อธิปติปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่มีปีติเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่มีปีติโดยอธิปติปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณาธิปติและสหชาตาธิปติ อารัมมณาธิปติ ได้แก่ เพราะทำขันธ์ที่มีปีติให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ขันธ์ที่ไม่มีปีติและปีติจึงเกิดขึ้น สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่มีปีติเป็นปัจจัยแก่ปีติและจิตตสมุฏฐานรูป โดยอธิปติปัจจัย (๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๓ หน้า : ๕๐๓}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]

๘๙. สัปปีติกทุกะ ๗. ปัญหาวาร

สภาวธรรมที่มีปีติเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีปีติและไม่มีปีติโดยอธิปติปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณาธิปติและสหชาตาธิปติ อารัมมณาธิปติ ได้แก่ เพราะทำขันธ์ที่มีปีติให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ขันธ์ที่ไม่มีปีติและปีติจึงเกิดขึ้น สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่มีปีติเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ปีติและ จิตตสมุฏฐานรูปโดยอธิปติปัจจัย (๓) [๑๕๔] สภาวธรรมที่ไม่มีปีติเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่มีปีติโดยอธิปติปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณาธิปติและสหชาตาธิปติ อารัมมณาธิปติ ได้แก่ บุคคลให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถด้วยจิตที่ไม่ มีปีติ ฯลฯ พิจารณากุศลนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ด้วยจิตที่ไม่มีปีติ ยินดี เพลิดเพลิน เพราะทำความยินดีเพลิดเพลินกุศลนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะที่ไม่มีปีติจึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น บุคคลออกจากฌานที่ไม่มีปีติ ฯลฯ ออกจากมรรค ฯลฯ ออกจากผลแล้วพิจารณาผลให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ด้วยจิตที่ไม่มีปีติ พระอริยะพิจารณานิพพานให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ด้วย จิตที่ไม่มีปีติ นิพพานเป็นปัจจัยแก่โคตรภู โวทาน มรรค ผลสมาบัติที่ไม่มีปีติ และปีติโดยอธิปติปัจจัย บุคคลยินดีเพลิดเพลินจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุ ขันธ์ที่ไม่มี ปีติและปีติให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ด้วยจิตที่ไม่มีปีติ เพราะทำความยินดี เพลิดเพลินจักษุเป็นต้นนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะที่ไม่มีปีติจึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึงเกิดขึ้นเพราะทำขันธ์ที่ไม่มีปีติและปีติให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ขันธ์ที่ ไม่มีปีติและปีติจึงเกิดขึ้น สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่ไม่มีปีติเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และ จิตตสมุฏฐานรูปโดยอธิปติปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่ไม่มีปีติเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีปีติโดยอธิปติปัจจัย มีอย่าง เดียว คือ อารัมมณาธิปติ ได้แก่ บุคคลให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถด้วย จิตที่ไม่มีปีติ ฯลฯ (ย่อ) นิพพานเป็นปัจจัยแก่โคตรภู โวทาน มรรค และผลที่มีปีติ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๓ หน้า : ๕๐๔}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]

๘๙. สัปปีติกทุกะ ๗. ปัญหาวาร

โดยอธิปติปัจจัย บุคคลยินดีเพลิดเพลินจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุ ขันธ์ที่ไม่มีปีติและ ปีติให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ด้วยจิตที่มีปีติ เพราะทำความยินดีเพลิดเพลิน จักษุเป็นต้นนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะที่มีปีติจึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น เพราะทำขันธ์ที่ไม่มีปีติและปีติให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ขันธ์ที่มีปีติจึงเกิดขึ้น (๒) สภาวธรรมที่มีปีติ เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีปีติและไม่มีปีติโดยอธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ อารัมมณาธิปติ ได้แก่ บุคคลให้ทาน ฯลฯ (ย่อ) นิพพานเป็น ปัจจัยแก่โคตรภู โวทาน มรรค ผลที่มีปีติ และปีติโดยอธิปติปัจจัย บุคคลยินดี เพลิดเพลินจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุ ขันธ์ที่ไม่มีปีติและปีติให้เป็นอารมณ์อย่างหนัก แน่นด้วยจิตที่มีปีติ เพราะทำความยินดีเพลิดเพลินจักษุเป็นต้นนั้นให้เป็นอารมณ์ อย่างหนักแน่น ราคะที่มีปีติ ฯลฯ ทิฏฐิจึงเกิดขึ้นเพราะทำขันธ์ที่ไม่มีปีติและปีติ ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ขันธ์ที่มีปีติและปีติจึงเกิดขึ้น (๓) [๑๕๕] สภาวธรรมที่มีปีติและไม่มีปีติเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีปีติโดย อธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ อารัมมณาธิปติ ได้แก่ เพราะทำขันธ์ที่มีปีติและ ปีติให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ขันธ์ที่มีปีติจึงเกิดขึ้น (พึงเพิ่มบทที่เป็นมูล) เพราะทำขันธ์ที่มีปีติและปีติให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นขันธ์ที่ไม่มีปีติและปีติจึงเกิดขึ้น (พึงเพิ่มบทที่เป็นมูล) เพราะทำขันธ์ที่มีปีติและปีติให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ขันธ์ที่มีปีติและปีติจึงเกิดขึ้น (๓)
อนันตรปัจจัยเป็นต้น
[๑๕๖] สภาวธรรมที่มีปีติเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีปีติโดยอนันตรปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่มีปีติซึ่งเกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่มีปีติซึ่งเกิดหลังๆ โดยอนันตร- ปัจจัย (พึงเพิ่มบทที่เป็นมูล) ขันธ์ที่มีปีติซึ่งเกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่ไม่มีปีติ และปีติที่เกิดหลังๆ โดยอนันตรปัจจัย จุติจิตที่มีปีติเป็นปัจจัยแก่อุปปัตติจิตที่ไม่มี ปีติ ภวังคจิตที่มีปีติเป็นปัจจัยแก่อาวัชชนจิต ขันธ์ที่มีปีติเป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะที่ไม่ มีปีติ มโนวิญญาณธาตุที่เป็นวิบากซึ่งสหรคตด้วยปีติเป็นปัจจัยแก่มโนวิญญาณธาตุ ที่เป็นกิริยา ภวังคจิตที่มีปีติเป็นปัจจัยแก่ภวังคจิตที่ไม่มีปีติ กุศลและอกุศลที่มี {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๓ หน้า : ๕๐๕}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]

๘๙. สัปปีติกทุกะ ๗. ปัญหาวาร

ปีติเป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะที่ไม่มีปีติ กิริยาเป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะ ผลเป็นปัจจัยแก่ วุฏฐานะโดยอนันตรปัจจัย (พึงเพิ่มบทที่เป็นมูล) ขันธ์ที่มีปีติซึ่งเกิดก่อนๆ เป็น ปัจจัยแก่ขันธ์ที่มีปีติและปีติที่เกิดหลังๆ โดยอนันตรปัจจัย (๓) [๑๕๗] สภาวธรรมที่ไม่มีปีติเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่มีปีติโดยอนันตร- ปัจจัย ได้แก่ ปีติที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่ปีติที่เกิดหลังๆ โดยอนันตรปัจจัย ขันธ์ที่ไม่มีปีติซึ่งเกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่ไม่มีปีติซึ่งเกิดหลังๆ โดย อนันตรปัจจัย อนุโลมเป็นปัจจัยแก่โคตรภู ฯลฯ ผลสมาบัติที่ไม่มีปีติและปีติโดย อนันตรปัจจัย (พึงเพิ่มบทที่เป็นมูล) ปีติที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่มีปีติ ซึ่งเกิดหลังๆ โดยอนันตรปัจจัย จุติจิตที่ไม่มีปีติเป็นปัจจัยแก่อุปปัตติจิตที่มีปีติ อาวัชชนจิตเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่มีปีติ ขันธ์ที่ไม่มีปีติเป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะที่มีปีติ มโนธาตุที่เป็นวิบากเป็นปัจจัยแก่มโนวิญญาณธาตุที่เป็นวิบากซึ่งมีปีติ ภวังคจิตที่ ไม่มีปีติเป็นปัจจัย แก่ภวังคจิตที่มีปีติ กุศลและอกุศลที่ไม่มีปีติเป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะ ที่มีปีติ กิริยาเป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะ ผลเป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะโดยอนันตรปัจจัย เนวสัญญานาสัญญายตนะของท่านผู้ออกจากนิโรธเป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติที่มีปีติ โดยอนันตรปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่ไม่มีปีติเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีปีติและไม่มีปีติโดยอนันตรปัจจัย ได้แก่ ปีติที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่มีปีติและปีติที่เกิดหลังๆ โดย อนันตรปัจจัย (๓) [๑๕๘] สภาวธรรมที่มีปีติและไม่มีปีติเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีปีติโดย อนันตรปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่มีปีติและปีติที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่มีปีติซึ่ง เกิดหลังๆ โดยอนันตรปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่มีปีติและไม่มีปีติ เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่มีปีติโดยอนันตร- ปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่มีปีติและปีติซึ่งเกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่ปีติที่เกิดหลังๆ โดยอนันตรปัจจัย จุติจิตที่มีปีติและปีติเป็นปัจจัยแก่อุปปัตติจิตที่ไม่มีปีติ ภวังคจิต ที่มีปีติและปีติเป็นปัจจัยแก่อาวัชชนจิต ขันธ์ที่มีปีติและปีติเป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะ ที่ไม่มีปีติ มโนวิญญาณธาตุที่เป็นวิบากซึ่งมีปีติและปีติเป็นปัจจัยแก่มโนวิญญาณธาตุ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๓ หน้า : ๕๐๖}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]

๘๙. สัปปีติกทุกะ ๗. ปัญหาวาร

ที่เป็นกิริยา ภวังคจิตที่มีปีติและปีติเป็นปัจจัยแก่ภวังคจิตที่ไม่มีปีติ กุศลและอกุศล ที่มีปีติและปีติเป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะที่ไม่มีปีติ กิริยาเป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะ ผลเป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะโดยอนันตรปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่มีปีติและไม่มีปีติเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีปีติและไม่มีปีติโดย อนันตรปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่มีปีติและปีติที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่มีปีติและ ปีติที่เกิดหลังๆ โดยอนันตรปัจจัย (๓) ... เป็นปัจจัยโดยสมนันตรปัจจัย มี ๙ วาระ ... เป็นปัจจัยโดยสหชาตปัจจัย มี ๙ วาระ ... เป็นปัจจัยโดยอัญญมัญญปัจจัย มี ๙ วาระ ... เป็นปัจจัยโดยนิสสยปัจจัย มี ๙ วาระ
อุปนิสสยปัจจัย
[๑๕๙] สภาวธรรมที่มีปีติเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีปีติโดยอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และปกตูปนิสสยะ ฯลฯ ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ ขันธ์ที่มีปีติเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่มีปีติโดยอุปนิสสย- ปัจจัย (พึงเพิ่มบทที่เป็นมูล) ขันธ์ที่มีปีติเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่ไม่มีปีติและปีติโดย อุปนิสสยปัจจัย (พึงเพิ่มบทที่เป็นมูล) ขันธ์ที่มีปีติเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่มีปีติและปีติ โดยอุปนิสสยปัจจัย (๓) [๑๖๐] สภาวธรรมที่ไม่มีปีติเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่มีปีติโดยอุปนิสสย- ปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และปกตูปนิสสยะ ฯลฯ ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลอาศัยศรัทธาที่ไม่มีปีติ ให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถด้วยจิตที่ไม่มีปีติ ทำฌานที่ไม่มีปีติ ฯลฯ วิปัสสนา ฯลฯ มรรค ฯลฯ อภิญญา ฯลฯ สมาบัติให้เกิดขึ้น มีมานะ ถือทิฏฐิ อาศัยศีลที่ไม่มีปีติ ฯลฯ ปัญญา ฯลฯ อภิญญา ... ราคะ ... โทสะ ... โมหะ ... มานะ ... ทิฏฐิ ... ความปรารถนา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๓ หน้า : ๕๐๗}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]

๘๙. สัปปีติกทุกะ ๗. ปัญหาวาร

... สุขทางกาย ... ทุกข์ทางกาย ... อุตุ ... โภชนะ ฯลฯ เสนาสนะ และปีติแล้ว ให้ทานด้วยจิตที่ไม่มีปีติ ฯลฯ ทำสมาบัติให้เกิดขึ้น ฆ่าสัตว์ ฯลฯ ทำลายสงฆ์ ศรัทธาที่ไม่มีปีติ ฯลฯ เสนาสนะและปีติเป็นปัจจัยแก่ศรัทธาที่ไม่มีปีติ ฯลฯ ความปรารถนา ... สุขทางกาย ... ทุกข์ทางกาย ... มรรค ... ผลสมาบัติและ ปีติโดยอุปนิสสยปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่ไม่มีปีติเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีปีติโดยอุปนิสสยปัจจัย (อุปนิสสยปัจจัย มี ๓ อย่าง) ได้แก่ บุคคลอาศัยศรัทธาที่ไม่มีปีติแล้ว ให้ทาน ด้วยจิตที่มีปีติ ฯลฯ ออกจากฌานที่ไม่มีปีติ ฯลฯ มีมานะ ถือทิฏฐิ อาศัยศีลที่ ไม่มีปีติ ฯลฯ เสนาสนะ และปีติแล้ว ให้ทาน ด้วยจิตที่มีปีติ ฯลฯ ทำสมาบัติ ให้เกิดขึ้น ลักทรัพย์ด้วยจิตที่มีปีติ ฯลฯ พูดเท็จ ฯลฯ พูดส่อเสียด ฯลฯ พูดเพ้อเจ้อ ฯลฯ งัดแงะ ฯลฯ ปล้นไม่ให้เหลือ ฯลฯ ปล้นเรือนหลังเดียว ฯลฯ ดักจี้ ในทางเปลี่ยว ฯลฯ ล่วงเกินภรรยาผู้อื่น ฯลฯ ฆ่าชาวบ้าน ฯลฯ ฆ่าชาวนิคม ศรัทธาที่ไม่มีปีติ ฯลฯ เสนาสนะและปีติเป็นปัจจัยแก่ศรัทธาที่มีปีติ ฯลฯ ปัญญา ... ราคะ ... โทสะ ... โมหะ ... มานะ ... ทิฏฐิ ... ความปรารถนา ... มรรค และผลสมาบัติ โดยอุปนิสสยปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่ไม่มีปีติเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีปีติและไม่มีปีติโดยอุปนิสสย- ปัจจัย (อุปนิสสยปัจจัย มี ๓ อย่าง) ได้แก่ บุคคลอาศัยศรัทธาที่ไม่มีปีติแล้ว ให้ทานด้วยจิตที่มีปีติ ฯลฯ ทำสมาบัติให้เกิดขึ้น มีมานะ ถือทิฏฐิ อาศัยศีลที่ไม่มี ปีติ ฯลฯ เสนาสนะ และปีติแล้ว ให้ทาน ด้วยจิตที่มีปีติ ฯลฯ ทำสมาบัติให้เกิดขึ้น ลักทรัพย์ด้วยจิตที่มีปีติ ฯลฯ (เหมือนกับทุติยวาร) ฆ่าชาวนิคม ศรัทธาที่ไม่มีปีติ ฯลฯ เสนาสนะและปีติเป็นปัจจัยแก่ศรัทธาที่มีปีติ ฯลฯ ปัญญา ฯลฯ ราคะ ฯลฯ โมหะ ฯลฯ มานะ ฯลฯ ทิฏฐิ ฯลฯ ความปรารถนา ฯลฯ มรรค ... ผลสมาบัติและปีติโดยอุปนิสสยปัจจัย (๓) สภาวธรรมที่มีปีติและไม่มีปีติ เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีปีติโดยอุปนิสสยปัจจัย (อุปนิสสยปัจจัย มี ๓ อย่าง) ได้แก่ ศรัทธาที่มีปีติและปีติเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่ไม่ มีปีติโดยอุปนิสสยปัจจัย (พึงเพิ่มบทที่เป็นมูล) ขันธ์ที่มีปีติและปีติเป็นปัจจัยแก่ ขันธ์ที่มีปีติและปีติโดยอุปนิสสยปัจจัย (พึงเพิ่มบทที่เป็นมูล) ขันธ์ที่มีปีติและปีติ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่มีปีติและปีติโดยอุปนิสสยปัจจัย (๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๓ หน้า : ๕๐๘}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]

๘๙. สัปปีติกทุกะ ๗. ปัญหาวาร

ปุเรชาตปัจจัย
[๑๖๑] สภาวธรรมที่ไม่มีปีติเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่มีปีติโดยปุเรชาตปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาตะและวัตถุปุเรชาตะ อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่ บุคคลเห็นแจ้งจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุด้วยจิตที่ไม่มี ปีติโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ ยินดีเพลิดเพลิน เพราะปรารถความยินดี เพลิดเพลินจักษุเป็นต้นนั้น ราคะที่ไม่มีปีติ ฯลฯ โทมนัส ฯลฯ ปีติจึงเกิดขึ้น บุคคลเห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะเป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ ฯลฯ วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่ จักขายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ กายายตนะเป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ ฯลฯ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่ไม่มีปีติ และปีติโดยปุเรชาตปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่ไม่มีปีติเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีปีติโดยปุเรชาตปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาตะ และวัตถุปุเรชาตะ อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่ บุคคลเห็นแจ้งจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุ ด้วยจิตที่ไม่ มีปีติโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ ยินดีเพลิดเพลิน เพราะปรารถความยินดี เพลิดเพลินจักษุเป็นต้นนั้น ราคะที่มีปีติจึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่มีปีติโดยปุเรชาตปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่ไม่มีปีติเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีปีติและไม่มีปีติโดยปุเรชาตปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาตะและวัตถุปุเรชาตะ อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่ บุคคลเห็นแจ้งจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุ ด้วยจิตที่ ไม่มีปีติ โดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ ยินดีเพลิดเพลิน เพราะปรารถความยินดี เพลิดเพลินจักษุเป็นต้นนั้น ปีติและสัมปยุตตขันธ์จึงเกิดขึ้น วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่มีปีติและปีติโดยปุเรชาต- ปัจจัย (๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๓ หน้า : ๕๐๙}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]

๘๙. สัปปีติกทุกะ ๗. ปัญหาวาร

ปัจฉาชาตปัจจัยเป็นต้น
[๑๖๒] สภาวธรรมที่มีปีติเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่มีปีติโดยปัจฉาชาต- ปัจจัย มี ๓ วาระ ... เป็นปัจจัยโดยอาเสวนปัจจัย มี ๙ วาระ ... เป็นปัจจัยโดยกัมมปัจจัย มี ๖ วาระ (พึงเพิ่มสหชาตะและนานาขณิกะ นานาขณิกะ มี ๒ วาระ) ... เป็นปัจจัยโดยวิปากปัจจัย มี ๙ วาระ ... เป็นปัจจัยโดยอาหารปัจจัย มี ๔ วาระ ... เป็นปัจจัยโดยอินทรียปัจจัย มี ๔ วาระ ... เป็นปัจจัยโดยฌานปัจจัย มี ๙ วาระ ... เป็นปัจจัยโดยมัคคปัจจัย มี ๔ วาระ ... เป็นปัจจัยโดยสัมปยุตตปัจจัย มี ๖ วาระ ... เป็นปัจจัยโดยวิปปยุตตปัจจัย มี ๕ วาระ ... เป็นปัจจัยโดยอัตถิปัจจัย มี ๙ วาระ (ย่อ พึงเพิ่มให้เหมือนกับสวิตักกทุกะ) ... เป็นปัจจัยโดยนัตถิปัจจัย ... เป็นปัจจัยโดยวิคตปัจจัย ... เป็นปัจจัยโดยอวิคตปัจจัย มี ๙ วาระ
๑. ปัจจยานุโลม ๒. สังขยาวาร
[๑๖๓] เหตุปัจจัย มี ๔ วาระ อารัมมณปัจจัย มี ๙ วาระ อธิปติปัจจัย มี ๙ วาระ อนันตรปัจจัย มี ๙ วาระ สมนันตรปัจจัย มี ๙ วาระ สหชาตปัจจัย มี ๙ วาระ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๓ หน้า : ๕๑๐}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]

๘๙. สัปปีติกทุกะ ๗. ปัญหาวาร

อัญญมัญญปัจจัย มี ๙ วาระ นิสสยปัจจัย มี ๙ วาระ อุปนิสสยปัจจัย มี ๙ วาระ ปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ปัจฉาชาตปัจจัย มี ๓ วาระ อาเสวนปัจจัย มี ๙ วาระ กัมมปัจจัย มี ๖ วาระ วิปากปัจจัย มี ๙ วาระ อาหารปัจจัย มี ๔ วาระ อินทรียปัจจัย มี ๔ วาระ ฌานปัจจัย มี ๙ วาระ มัคคปัจจัย มี ๔ วาระ สัมปยุตตปัจจัย มี ๖ วาระ วิปปยุตตปัจจัย มี ๕ วาระ อัตถิปัจจัย มี ๙ วาระ นัตถิปัจจัย มี ๙ วาระ วิคตปัจจัย มี ๙ วาระ อวิคตปัจจัย มี ๙ วาระ
อนุโลม จบ
๒. ปัจจนียุทธาร
[๑๖๔] สภาวธรรมที่มีปีติเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีปีติโดยอารัมมณปัจจัย สหชาตปัจจัย อุปนิสสยปัจจัย และกัมมปัจจัย สภาวธรรมที่มีปีติเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่มีปีติโดยอารัมมณปัจจัย สหชาตปัจจัย อุปนิสสยปัจจัย ปัจฉาชาตปัจจัย และกัมมปัจจัย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๓ หน้า : ๕๑๑}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]

๙๐. สุขสหคตทุกะ ๑. ปฎิจจวาร

สภาวธรรมที่มีปีติเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีปีติและไม่มีปีติโดยอารัมมณปัจจัย สหชาตปัจจัย อุปนิสสยปัจจัย และกัมมปัจจัย (๓) [๑๖๕] สภาวธรรมที่ไม่มีปีติเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่มีปีติโดยอารัมมณ- ปัจจัย สหชาตปัจจัย อุปนิสสยปัจจัย ปุเรชาตปัจจัย ปัจฉาชาตปัจจัย กัมมปัจจัย อาหารปัจจัย และอินทรียปัจจัย สภาวธรรมที่ไม่มีปีติเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีปีติโดยอารัมมณปัจจัย สหชาตปัจจัย อุปนิสสยปัจจัย และปุเรชาตปัจจัย สภาวธรรมที่ไม่มีปีติเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีปีติและไม่มีปีติโดยอารัมมณ- ปัจจัย สหชาตปัจจัย อุปนิสสยปัจจัย และปุเรชาตปัจจัย (๓) [๑๖๖] สภาวธรรมที่มีปีติและไม่มีปีติเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีปีติโดย อารัมมณปัจจัย สหชาตปัจจัย และอุปนิสสยปัจจัย สภาวธรรมที่มีปีติและไม่มีปีติเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่มีปีติโดยอารัมมณ- ปัจจัย สหชาตปัจจัย อุปนิสสยปัจจัย และปัจฉาชาตปัจจัย สภาวธรรมที่มีปีติและไม่มีปีติเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีปีติและไม่มีปีติโดย อารัมมณปัจจัย สหชาตปัจจัย อุปนิสสยปัจจัย และปุเรชาตปัจจัย (แม้การนับปัจจนียวิภังค์ ก็เหมือนกับสวิตักกทุกะ แม้ถ้ายังไม่สมกัน ก็พึง พิจารณาเอาอนุโลมนี้นับเข้าไว้ด้วย พึงทำการนับ ๒ อย่างนอกนี้ด้วย)
สัปปีติกทุกะ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๔๓ หน้าที่ ๕๐๑-๕๑๒. http://84000.org/tipitaka/english/m_siri.php?B=43&siri=94              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/english/v.php?B=43&A=11333&Z=11670                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=43&i=0              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=43&item=683&items=9              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=43&item=683&items=9                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๔๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu43



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :