ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๓ ภิกขุนีวิภังค์
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔
เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์
[๒๖] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ- *บิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี. ครั้งนั้น ภิกษุณีฉัพพัคคีย์มีความกำหนัดยินดีการที่บุรุษบุคคล ผู้กำหนัดจับมือบ้าง จับชายผ้าสังฆาฏิบ้าง ยืนด้วยบ้าง สนทนาด้วยบ้าง ไปสู่ที่นัดแนะบ้าง ยินดี การที่บุรุษมาหาตามนัดบ้าง เข้าไปสู่ที่มุงด้วยกันบ้าง ทอดกายเพื่อประโยชน์แก่บุรุษนั้น เพื่อประสงค์ จะเสพอสัทธรรมนั้นบ้าง. บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน ภิกษุณีฉัพพัคคีย์ จึงได้มีความกำหนัดยินดีการที่บุรุษบุคคลผู้กำหนัดจับมือบ้าง จับชายผ้าสังฆาฏิบ้าง ยืนด้วยบ้าง สนทนาด้วยบ้าง ไปสู่ที่นัดแนะกันบ้าง ยินดีการที่บุรุษมาหาตามนัดบ้าง เข้าไปสู่ที่ มุงด้วยกันบ้าง ทอดกายเพื่อประโยชน์แก่บุรุษนั้น เพื่อประสงค์จะเสพอสัทธรรมนั้นบ้างเล่า ... แล้ว กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.
ทรงสอบถาม
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า ภิกษุณีฉัพพัคคีย์มี ความกำหนัด ยินดีการที่บุรุษบุคคลผู้กำหนัดจับมือบ้าง จับชายผ้าสังฆาฏิบ้าง ยืนด้วยบ้าง สนทนา ด้วยบ้าง ไปสู่ที่นัดแนะกันบ้าง ยินดีการที่บุรุษมาหาตามนัดบ้าง เข้าไปสู่ที่มุงด้วยกันบ้าง ทอดกาย เพื่อประโยชน์แก่บุรุษนั้น เพื่อประสงค์จะเสพอสัทธรรมนั้นบ้าง จริงหรือ? ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคทรงติเตียนว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุณีฉัพพัคคีย์จึงมีความกำหนัด ยินดีการที่บุรุษบุคคลผู้กำหนัดจับมือบ้าง จับชายผ้าสังฆาฏิบ้าง ยืนด้วยบ้าง สนทนาด้วยบ้าง ไป สู่ที่นัดแนะกันบ้าง ยินดีการที่บุรุษมาหาตามนัดบ้าง เข้าไปสู่ที่มุงด้วยกันบ้าง ทอดกายเพื่อประโยชน์ แก่บุรุษนั้น เพื่อประสงค์จะเสพอสัทธรรมนั้นบ้าง การกระทำของพวกนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความ เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลาย จงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๘.๔. อนึ่ง ภิกษุณีใด มีความกำหนัด ยินดีการที่บุรุษบุคคลผู้กำหนัดจับมือก็ดี จับ ชายผ้าสังฆาฏิก็ดี ยืนด้วยก็ดี สนทนาด้วยก็ดี ไปสู่ที่นัดหมายกันก็ดี ยินดีการที่บุรุษมาหาตาม นัดก็ดี เข้าไปสู่ที่มุงด้วยกันก็ดี ทอดกายเพื่อประโยชน์แก่บุรุษนั้น เพื่อประสงค์จะเสพ อสัทธรรมนั้นก็ดี แม้ภิกษุณีนี้เป็นปาราชิก ชื่ออัฏฐวัตถุกา หาสังวาสมิได้.
เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์ จบ.
สิกขาบทวิภังค์
[๒๗] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ... บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ ทรงประสงค์ในอรรถนี้. ที่ชื่อว่า มีความกำหนัด คือ มีความยินดียิ่ง มีความเพ่งเล็ง มีจิตปฏิพัทธ์. ที่ชื่อว่า ผู้กำหนัด คือ กำหนัดนักแล้ว มีความเพ่งเล็ง มีจิตปฏิพัทธ์. ที่ชื่อว่า บุรุษบุคคล ได้แก่ มนุษย์ผู้ชาย ไม่ใช่ยักษ์ผู้ชาย ไม่ใช่เปรตผู้ชาย ไม่ใช่สัตว์ ดิรัจฉานตัวผู้ เป็นผู้รู้ความ เป็นผู้สามารถเพื่อถึงความเคล้าคลึงด้วยกาย. บทว่า ยินดีการจับมือก็ดี ความว่า ที่ชื่อว่า มือ กำหนดตั้งแต่ข้อศอก ถึงปลายเล็บ ภิกษุณียินดีการจับอวัยวะเหนือรากขวัญขึ้นไป ใต้เข่าลงมา เพื่อประสงค์จะเสพอสัทธรรมนั่น ต้องอาบัติถุลลัจจัย. บทว่า ยินดีการจับชายผ้าสังฆาฏิก็ดี คือ ยินดีการจับผ้านุ่งก็ดี ผ้าห่มก็ดี เพื่อประสงค์ จะเสพอสัทธรรมนั่น ต้องอาบัติถุลลัจจัย. บทว่า ยืนด้วยก็ดี ความว่า ยืนอยู่ในระยะช่วงมือของบุรุษ เพื่อประสงค์จะเสพ อสัทธรรมนั่น ต้องอาบัติถุลลัจจัย. บทว่า สนทนาด้วยก็ดี ความว่า ยืนพูดอยู่ในระยะช่วงมือของบุรุษ เพื่อประสงค์จะ เสพอสัทธรรมนั่น ต้องอาบัติถุลลัจจัย. บทว่า ไปสู่ที่นัดแนะกันก็ดี ความว่า บุรุษพูดนัดว่า โปรดมาสู่สถานที่ชื่อนี้ ดังนี้ ภิกษุณีไปเพื่อประสงค์จะเสพอสัทธรรมนั่น ต้องอาบัติทุกกฏทุกๆ ก้าว พอย่างเข้าระยะช่วงมือของ บุรุษ ต้องอาบัติถุลลัจจัย. บทว่า ยินดีการที่บุรุษมาหาตามนัดก็ดี ความว่า ยินดีการมาตามนัดของบุรุษ เพื่อ ประสงค์จะเสพอสัทธรรมนั่น ต้องอาบัติทุกกฏ พอย่างเข้าระยะช่วงมือ ต้องอาบัติถุลลัจจัย. บทว่า เข้าไปสู่ที่มุงด้วยกันก็ดี ความว่า พอย่างเข้าสู่สถานที่อันมุงไว้ด้วยวัตถุอย่างใด อย่างหนึ่ง เพื่อประสงค์จะเสพอสัทธรรมนั่น ต้องอาบัติถุลลัจจัย. บทว่า ทอดกายเพื่อประโยชน์แก่บุรุษนั้นก็ดี ความว่า อยู่ในระยะช่วงมือของบุรุษ แล้ว ทอดกายเพื่อประสงค์จะเสพอสัทธรรมนั่น ต้องอาบัติถุลลัจจัย. [๒๘] บทว่า แม้ภิกษุณีนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสเทียบเคียงภิกษุณีรูปก่อน. บทว่า เป็นปาราชิก มีอธิบายว่า ต้นตาลมียอดด้วนแล้วไม่อาจงอกอีกได้ ชื่อแม้ฉันใด ภิกษุณีก็ฉันนั้นเหมือนกัน ทำวัตถุถึงที่ ๘ ไม่ใช่สมณะ ไม่ใช่ธิดาของพระศากยบุตร เพราะเหตุนั้น จึงตรัสว่า เป็นปาราชิก. บทว่า หาสังวาสมิได้ ความว่า ที่ชื่อว่าสังวาส ได้แก่กรรมที่พึงทำร่วมกัน อุเทศที่ พึงสวดร่วมกัน ความเป็นผู้มีสิกขาเสมอกัน นี้ชื่อว่าสังวาส สังวาสนั้นไม่มีร่วมกับภิกษุณีนั้น เพราะเหตุนั้น จึงตรัสว่า หาสังวาสมิได้.
อนาปัตติวาร
[๒๙] ไม่จงใจ ๑ เผลอสติ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ ไม่ยินดี ๑ วิกลจริต ๑ มีจิตฟุ้งซ่าน ๑ กระสับกระส่ายเพราะเวทนา ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ จบ.
[๓๐] แม่เจ้าทั้งหลาย ธรรมคือปาราชิก ๘ สิกขาบท ๑- ดิฉันยกขึ้นแสดงแล้วแล ภิกษุณี ต้องอาบัติปาราชิกอย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว ย่อมไม่ได้อยู่ร่วมกับภิกษุณีทั้งหลาย ในภายหลัง เหมือน ในกาลก่อน เป็นปาราชิก หาสังวาสมิได้ ดิฉันขอถามแม่เจ้าทั้งหลาย ในอาบัติปาราชิกเหล่านั้นว่า แม่เจ้าทั้งหลายบริสุทธิ์แล้วหรือ ดิฉันขอถามแม้ครั้งที่สองว่า แม่เจ้าทั้งหลายบริสุทธิ์แล้วหรือ ดิฉันขอถามแม้ครั้งที่สามว่า แม่เจ้าทั้งหลายบริสุทธิ์แล้วหรือ? แม่เจ้าทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธิ์ใน อาบัติปาราชิกเหล่านี้แล้ว เหตุนั้น จึงนิ่ง ดิฉันทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้แล.
ปาราชิกกัณฑ์ จบ
-----------------------------------------------------
@ สิกขาบทที่ ๕ ถึง ๘ เหมือนของภิกษุ แต่ใช้สำนวนต่างโดยควรแก่เพศ ส่วนใน อุภโตปาติโมกข์ นับส่วนที่เหมือน @ของภิกษุ ตั้งเป็นจำนวนครบ ๔ แล้ว จึงนับส่วนของภิกษุณีต่อจนครบ ๘

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓ บรรทัดที่ ๓๒๕-๔๐๑ หน้าที่ ๑๕-๑๗. http://84000.org/tipitaka/english/v.php?B=3&A=325&Z=401&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/english/r.php?B=3&A=325&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=3&siri=4              ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=3&i=26              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=3&A=340              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=2&A=10810              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=3&A=340              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=2&A=10810              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_3              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- http://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/03i001-e.php#3.026 https://suttacentral.net/pli-tv-bi-vb-pj8/en/brahmali https://suttacentral.net/pli-tv-bi-vb-pj8/en/horner

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]