ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๓ อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต
อริยวังสสูตร
[๒๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยวงศ์ ๔ ประการนี้ นักปราชญ์สรรเสริญ ว่าเป็นเลิศ มีมานาน เป็นเชื้อสายแห่งพระอริยะ เป็นของเก่า ไม่กระจัดกระจาย ไม่เคยกระจัดกระจาย อันบัณฑิตย่อมไม่รังเกียจ จักไม่รังเกียจ วิญญูชนทั้งสมณะ และพราหมณ์ไม่เกลียด อริยวงศ์ ๔ ประการเป็นไฉน คือภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้สันโดษด้วยจีวรตามมีตามได้ มีปรกติกล่าวสรรเสริญคุณแห่งสันโดษ ด้วยจีวรตามมีตามได้ ย่อมไม่ถึงการแสวงหาอันไม่สมควรเพราะจีวรเป็นเหตุ เมื่อ ไม่ได้ก็ไม่ตกใจ ครั้นได้แล้วก็ไม่ยึดถือ ไม่หมกมุ่น ไม่ห่วงใย มีปรกติ เห็นโทษ มีปัญญาเครื่องรื้อออกใช้สอยอยู่ ไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะ สันโดษด้วยจีวรตามมีตามได้นั้น จริงอยู่ ภิกษุใดเป็นผู้ขยัน ไม่เกียจคร้าน ในการสันโดษด้วยจีวรตามมีตามได้นั้น มีสัมปชัญญะ มีสติเฉพาะหน้า ดูกรภิกษุ- *ทั้งหลาย ภิกษุนี้เรากล่าวว่าเป็นผู้ตั้งอยู่ในอริยวงศ์อันเป็นของเก่า ซึ่งนักปราชญ์ สรรเสริญว่าเป็นเลิศ ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมเป็นผู้สันโดษด้วยบิณฑบาตตามมีตามได้ มีปรกติกล่าวสรรเสริญคุณแห่งสันโดษด้วยบิณฑบาตตามมีตามได้ ย่อมไม่ถึงการ แสวงหาอันไม่สมควรเพราะบิณฑบาตเป็นเหตุ เมื่อไม่ได้ก็ไม่ตกใจ ครั้นได้แล้ว ก็ไม่ยึดถือ ไม่หมกมุ่น ไม่ห่วงใย มีปรกติเห็นโทษ มีปัญญาเครื่องรื้อออก บริโภคอยู่ และย่อมไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะความสันโดษด้วยบิณฑบาต ตามมีตามได้นั้น จริงอยู่ ภิกษุใดเป็นผู้ขยัน ไม่เกียจคร้านในการสันโดษด้วย บิณฑบาตตามมีตามได้นั้น มีสัมปชัญญะ มีสติเฉพาะหน้า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้เรากล่าวว่า เป็นผู้ตั้งอยู่ในอริยวงศ์อันเป็นของเก่า ซึ่งนักปราชญ์สรรเสริญ ว่าเป็นเลิศ ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมเป็นผู้สันโดษด้วยเสนาสนะตามมีตามได้ มีปรกติกล่าวสรรเสริญคุณแห่งการสันโดษด้วยเสนาสนะตามมีตามได้ ย่อมไม่ ถึงการแสวงหาอันไม่สมควรเพราะเสนาสนะเป็นเหตุ เมื่อไม่ได้ก็ไม่ตกใจ ครั้น ได้แล้วย่อมไม่ยึดถือ ไม่หมกมุ่น ไม่ห่วงใย มีปรกติเห็นโทษ มีปัญญา เครื่องรื้อออกบริโภคอยู่และย่อมไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะความสันโดษด้วย เสนาสนะตามมีตามได้นั้น จริงอยู่ ภิกษุใดเป็นผู้ขยัน ไม่เกียจคร้านในการ สันโดษด้วยเสนาสนะตามมีตามได้นั้น มีสัมปชัญญะ มีสติเฉพาะหน้า ดูกรภิกษุ- *ทั้งหลาย ภิกษุนี้เรากล่าวว่า เป็นผู้ตั้งอยู่ในอริยวงศ์อันเป็นของเก่า ซึ่งนักปราชญ์ สรรเสริญว่าเป็นเลิศ ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมเป็นผู้มีภาวนาเป็นที่มายินดี ยินดีแล้ว ในภาวนา มีปหานะเป็นที่มายินดี ยินดีแล้วในปหานะ ย่อมไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะมีภาวนาเป็นที่มายินดี เพราะยินดีในภาวนา เพราะมีปหานะเป็นที่มายินดี เพราะยินดีในปหานะนั้น จริงอยู่ ภิกษุใดเป็นผู้ขยัน ไม่เกียจคร้านในภาวนา และปหานะนั้น มีสัมปชัญญะ มีสติเฉพาะหน้า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้เรา กล่าวว่า เป็นผู้ตั้งอยู่ในอริยวงศ์อันเป็นของเก่า ซึ่งนักปราชญ์สรรเสริญว่า เป็นเลิศ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยวงศ์ ๔ ประการนี้แล นักปราชญ์รู้ว่าเลิศ มีมานาน เป็นเชื้อสายแห่งพระอริยะเป็นของเก่า ไม่กระจัดกระจาย และไม่เคย กระจัดกระจาย อันบัณฑิตย่อมไม่รังเกียจ จักไม่รังเกียจ วิญญูชนทั้งสมณะ และพราหมณ์ไม่เกลียด ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยอริยวงศ์ ๔ ประการนี้ ถึงแม้อยู่ใน ทิศตะวันออก เธอย่อมครอบงำความไม่ยินดีเสียได้ ความไม่ยินดีย่อมไม่ครอบงำ เธอได้ ถึงแม้เธออยู่ในทิศตะวันตก ... ในทิศเหนือ ... ในทิศใต้ เธอ ก็ย่อมครอบงำความไม่ยินดีเสียได้ ความไม่ยินดีย่อมไม่ครอบงำเธอได้ ข้อนั้น เพราะเหตุไร เพราะเธอเป็นธีรชนครอบงำความไม่ยินดีและความยินดีได้ ฯ ความยินดีย่อมครอบงำธีรชนไม่ได้ ความไม่ยินดีไม่อาจ ครอบงำธีรชน ธีรชนย่อมครอบงำความไม่ยินดีได้ เพราะ ธีรชนเป็นผู้ครอบงำความไม่ยินดี กิเลสอะไรจะมากั้นกาง บุคคลผู้บรรเทากิเลสเสียได้ มีปรกติละกรรมทั้งปวงได้เด็ดขาด ใครควรเพื่อจะติเตียนบุคคลนั้นผู้เป็นประดุจแท่งทองชมพูนุท แม้เทวดาก็เชยชม แม้พรหมก็สรรเสริญ ฯ
จบสูตรที่ ๘

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๑ บรรทัดที่ ๗๑๔-๗๖๖ หน้าที่ ๓๑-๓๓. http://84000.org/tipitaka/english/v.php?B=21&A=714&Z=766&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/english/r.php?B=21&A=714&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=21&siri=28              ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=21&i=28              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=21&A=720              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=15&A=7205              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=21&A=720              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=15&A=7205              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ http://84000.org/tipitaka/read/?index_21              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- http://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/21i021-e.php#sutta8 http://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/21i021-e2.php#sutta8 https://accesstoinsight.org/tipitaka/an/an04/an04.028.than.html https://suttacentral.net/an4.28/en/sujato https://suttacentral.net/an4.28/en/bodhi

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]