ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
๑๐. ปัตตปิณฑิกสูตร
[๑๙๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ถือฉันเฉพาะในบาตรเป็นวัตร ๕ จำพวก นี้ ๕ จำพวกเป็นไฉน คือ ภิกษุเป็นผู้ถือฉันเฉพาะในบาตรเป็นวัตร เพราะโง่ เขลา เพราะหลงงมงาย ๑ มีความปรารถนาลามก ถูกความอยากครอบงำ จึงเป็น ผู้ถือฉันเฉพาะในบาตรเป็นวัตร ๑ เป็นผู้ถือฉันเฉพาะในบาตรเป็นวัตรเพราะเป็นบ้า เพราะจิตฟุ้งซ่าน ๑ เป็นผู้ถือฉันเฉพาะในบาตรเป็นวัตร เพราะรู้ว่าเป็นวัตรอัน พระพุทธเจ้าและสาวกแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายสรรเสริญ ๑ เป็นผู้ถือฉันเฉพาะ ในบาตรเป็นวัตร เพราะอาศัยความเป็นผู้มีความปรารถนาน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความสงัด ความเป็นผู้มีความต้องการด้วยข้อปฏิบัติอันงามเช่นนี้ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ถือฉันเฉพาะในบาตรเป็นวัตร ๕ จำพวกนี้แล ดูกรภิกษุ- *ทั้งหลาย บรรดาภิกษุผู้ถือฉันเฉพาะในบาตรเป็นวัตร ๕ จำพวกนี้ ภิกษุผู้ถือฉัน เฉพาะในบาตรเป็นวัตร เพราะอาศัยความเป็นผู้มีความปรารถนาน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความสงัด ความเป็นผู้มีความต้องการด้วยข้อปฏิบัติอันงามเช่นนี้ เป็นผู้เลิศ ประเสริฐ เป็นประธาน สูงสุด และดีกว่าภิกษุผู้ถือฉันเฉพาะในบาตร เป็นวัตร ๕ จำพวกนี้ เปรียบเหมือนนมสดเกิดจากโค นมส้มเกิดจากนมสด เนยข้นเกิดจากนมส้ม เนยใสเกิดจากเนยข้น หัวเนยใสเกิดจากเนยใส หัวเนย ใสชาวโลกย่อมกล่าวว่าเป็นเลิศในจำพวกโครส ๕ เหล่านั้น ฉันใด ดูกรภิกษุ- *ทั้งหลาย บรรดาภิกษุผู้ถือฉันเฉพาะในบาตรเป็นวัตร ๕ จำพวกนี้ ภิกษุผู้ถือฉัน เฉพาะในบาตรเป็นวัตร เพราะอาศัยความเป็นผู้มีความปรารถนาน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความสงัด ความเป็นผู้มีความต้องการด้วยข้อปฏิบัติอันงามเช่นนี้ เป็นผู้เลิศ ประเสริฐ เป็นประธาน สูงสุด และดีกว่าภิกษุผู้ถือฉันเฉพาะในบาตร เป็นวัตร ๕ จำพวกนี้ ฉันนั้นเหมือนกัน ฯ
จบสูตรที่ ๑๐
จบอรัญญวรรคที่ ๔
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. อารัญญกสูตร ๒. ปังสุกูลิกสูตร ๓. รุกขมูลิกสูตร ๔. โสสานิกสูตร ๕. อัพโภกาสิกสูตร ๖. เนสัชชิกสูตร ๗. ยถาสันถติก- *สูตร ๘. เอกาสนิกสูตร ๙. ขลุปัจฉาภัตติกสูตร ๑๐. ปัตตปิณฑิกสูตร ฯ
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒ บรรทัดที่ ๕๑๕๔-๕๑๘๓ หน้าที่ ๒๒๕-๒๒๖. http://84000.org/tipitaka/english/v.php?B=22&A=5154&Z=5183&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/english/r.php?B=22&A=5154&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=22&siri=190              ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=190              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=22&A=5196              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=22&A=5196              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_22              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- http://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/22i181-e.php#sutta10 https://suttacentral.net/an5.190/en/sujato

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]