ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
๑๐. พลสูตร
[๓๓๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กำลังของตถาคต ๖ ประการนี้ ที่พระตถาคต ประกอบแล้ว เป็นเหตุให้ปฏิญาณฐานะของผู้เป็นโจก บันลือสีหนาทในบริษัท ประกาศพรหมจักร กำลัง ๖ ประการเป็นไฉน คือ ตถาคตย่อมทราบชัดตามเป็น จริง ซึ่งฐานะโดยความเป็นฐานะ และเหตุที่มิใช่ฐานะโดยความเป็นเหตุมิใช่ ฐานะในโลกนี้ แม้การที่ตถาคตย่อมทราบชัดตามเป็นจริง ซึ่งฐานะโดยความเป็น ฐานะ และเหตุที่มิใช่ฐานะโดยความเป็นเหตุมิใช่ฐานะ นี้ย่อมเป็นกำลังของ ตถาคต ซึ่งตถาคตได้อาศัยปฏิญาณฐานะของผู้เป็นโจก บันลือสีหนาทในบริษัท ประกาศพรหมจักร ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ตถาคตย่อมทราบชัดตามเป็นจริง ซึ่งวิบากแห่งกรรมสมาทานที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน โดยปัจจัย โดย เหตุ แม้การที่ตถาคตย่อมทราบชัดตามเป็นจริง ซึ่งวิบากแห่งกรรมสมาทานที่เป็น อดีต อนาคต และปัจจุบัน โดยปัจจัย โดยเหตุ นี้ย่อมเป็นกำลังของตถาคต ซึ่งตถาคตได้อาศัยปฏิญาณฐานะของผู้เป็นโจก บันลือสีหนาทในบริษัท ประกาศ พรหมจักร ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ตถาคตย่อมทราบชัดตามเป็นจริง ซึ่งความเศร้าหมอง ความผ่องแผ้ว ความออกแห่งฌาน วิโมกข์ สมาธิ และ สมาบัติ แม้การที่ตถาคตย่อมทราบชัดตามเป็นจริง ซึ่งความเศร้าหมอง ความ ผ่องแผ้ว ความออกแห่งฌาน วิโมกข์ สมาธิ และสมาบัติ นี้ย่อมเป็นกำลัง ของตถาคต ซึ่งตถาคตได้อาศัยปฏิญาณฐานะของผู้เป็นโจก บันลือสีหนาทใน บริษัท ประกาศพรหมจักร ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ตถาคตย่อมระลึกถึงชาติก่อนได้เป็น อันมาก คือ ระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง ฯลฯ ตถาคตย่อมระลึกถึง ชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้ แม้ การที่ตถาคตย่อมระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือ ระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติ บ้าง ฯลฯ ระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้ นี้ย่อมเป็นกำลังของตถาคต ซึ่งตถาคตได้อาศัยปฏิญาณฐานะ ของผู้เป็นโจก บันลือสีหนาทในบริษัท ประกาศพรหมจักร ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ตถาคตย่อมพิจารณาเห็นหมู่สัตว์ที่ กำลังจุติ กำลังอุบัติ ฯลฯ ด้วยทิพจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัด ซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ฯลฯ แม้การที่ตถาคตย่อมพิจารณาเห็นหมู่สัตว์ที่กำลัง จุติ กำลังอุบัติ ฯลฯ ด้วยทิพจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่ สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ฯลฯ นี้ย่อมเป็นกำลังของตถาคต ซึ่งตถาคตได้อาศัย ปฏิญาณฐานะของผู้เป็นโจก บันลือสีหนาทในบริษัท ประกาศพรหมจักร ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ตถาคตย่อมทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ แม้การที่ตถาคตย่อมทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่นี้ย่อมเป็นกำลังของตถาคต ซึ่งตถาคตได้อาศัยปฏิญาณฐานะของผู้เป็นโจก บันลือสีหนาทในบริษัท ประกาศพรหมจักร ดูกรภิกษุทั้งหลาย กำลังของตถาคต ๖ ประการนี้แล ที่ตถาคตประกอบแล้วเป็นเหตุให้ปฏิญาณฐานะของผู้โจก บันลือ สีหนาทในบริษัท ประกาศพรหมจักร ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในกำลังของตถาคต ๖ ประการเหล่านั้น หากว่าชน เหล่าอื่นย่อมเข้ามาถามปัญหากับตถาคต ด้วยความรู้ตามเป็นจริง ซึ่งฐานะโดย ความเป็นฐานะ และเหตุที่มิใช่ฐานะโดยความเป็นเหตุมิใช่ฐานะไซร้ ความรู้ตาม เป็นจริง ซึ่งฐานะโดยความเป็นฐานะ และเหตุที่มิใช่ฐานะโดยความเป็นเหตุมิใช่ ฐานะ อันตถาคตทราบชัดด้วยประการใดๆ ตถาคตถูกถามปัญหาแล้ว ย่อม พยากรณ์ด้วยความรู้ตามเป็นจริง ซึ่งฐานะโดยความเป็นฐานะ และเหตุที่มิใช่ ฐานะโดยความเป็นเหตุมิใช่ฐานะ แก่ชนเหล่านั้น ด้วยประการนั้นๆ ฯ หากว่า ชนเหล่าอื่นย่อมเข้ามาถามปัญหากับตถาคต ด้วยความรู้ตามเป็น จริง ซึ่งวิบากแห่งกรรมสมาทาน ที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน โดยปัจจัย โดยเหตุไซร้ ความรู้ตามความเป็นจริง ซึ่งวิบากแห่งกรรมสมาทานที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบันอันตถาคตทราบชัดด้วยประการใดๆ ตถาคตถูกถามปัญหาแล้ว ย่อมพยากรณ์ ด้วยความรู้ตามเป็นจริง ซึ่งวิบากแห่งกรรมสมาทานที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน แก่ชนเหล่านั้น ด้วยประการนั้นๆ ฯ หากว่า ชนเหล่าอื่นย่อมเข้ามาถามปัญหากับตถาคต ด้วยความรู้ตามเป็น จริง ซึ่งความเศร้าหมอง ความผ่องแผ้ว ความออกแห่งฌาน วิโมกข์ สมาธิ และสมาบัติไซร้ ความรู้ตามเป็นจริงซึ่งความเศร้าหมอง ความผ่องแผ้ว ความ ออกแห่งฌาน วิโมกข์ สมาธิ และสมาบัติ อันตถาคตทราบชัดด้วยประการใดๆ ตถาคตถูกถามปัญหาแล้ว ย่อมพยากรณ์ด้วยความรู้ตามเป็นจริง ซึ่งความเศร้าหมอง ความผ่องแผ้ว ความออกแห่งฌาน วิโมกข์ สมาธิ และสมาบัติ แก่ชนเหล่านั้น ด้วยประการนั้นๆ ฯ หากว่า ชนเหล่าอื่นย่อมเข้ามาถามปัญหากับตถาคต ด้วยความรู้ตามเป็น จริง ซึ่งความระลึกชาติก่อนได้ไซร้ ความรู้ตามเป็นจริง ซึ่งความระลึกชาติก่อนได้ อันตถาคตทราบชัดด้วยประการใดๆ ตถาคตถูกถามปัญหาแล้ว ย่อมพยากรณ์ด้วย ความรู้ตามเป็นจริง ซึ่งความระลึกชาติก่อนได้ แก่ชนเหล่านั้น ด้วยประการนั้นๆ ฯ หากว่า ชนเหล่าอื่นย่อมเข้ามาถามปัญหากับตถาคต ด้วยความรู้ตามเป็น จริงซึ่งจุติและอุบัติของสัตว์ทั้งหลายไซร้ ความรู้ตามเป็นจริง ซึ่งจุติและอุบัติของ สัตว์ทั้งหลาย อันตถาคตทราบชัดด้วยประการใดๆ ตถาคตถูกถามปัญหาแล้ว ย่อม พยากรณ์ด้วยความรู้ตามเป็นจริง ซึ่งจุติและอุบัติของสัตว์ทั้งหลาย แก่ชนเหล่านั้น ด้วยประการนั้นๆ ฯ หากว่า ชนเหล่าอื่นย่อมเข้ามาถามปัญหากับตถาคต ด้วยความรู้ตามเป็น จริง ซึ่งความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายไซร้ ความรู้ตามเป็นจริง ซึ่งความสิ้นไป แห่งอาสวะทั้งหลาย อันตถาคตทราบชัดด้วยประการใดๆ ตถาคตถูกถามปัญหาแล้ว ย่อมพยากรณ์ด้วยความรู้ตามเป็นจริง ซึ่งความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย แก่ชน เหล่านั้น ด้วยประการนั้นๆ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมกล่าวแม้ซึ่งความรู้ตามเป็นจริงซึ่งฐานะ โดย ความเป็นฐานะ และเหตุที่มิใช่ฐานะโดยความเป็นเหตุมิใช่ฐานะนั้นว่า เป็นของ บุคคลผู้มีใจตั้งมั่น ย่อมไม่กล่าวว่า เป็นของบุคคลผู้มีใจไม่ตั้งมั่น เราย่อมกล่าว แม้ความรู้ตามเป็นจริงซึ่งวิบากแห่งกรรมสมาทาน ที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน โดยปัจจัยโดยเหตุนั้นว่า เป็นของบุคคลผู้มีใจตั้งมั่น ย่อมไม่กล่าวว่า เป็นของ บุคคลผู้มีใจไม่ตั้งมั่น เราย่อมกล่าวแม้ความรู้ตามเป็นจริง ซึ่งความเศร้าหมอง ความผ่องแผ้ว ความออกแห่งฌาน วิโมกข์ สมาธิ และสมาบัตินั้นว่า เป็นของ บุคคลผู้มีใจตั้งมั่น ย่อมไม่กล่าวว่า เป็นของบุคคลผู้มีใจไม่ตั้งมั่น เราย่อมกล่าว แม้ความรู้ตามเป็นจริง ซึ่งความระลึกชาติก่อนได้นั้นว่าเป็นของบุคคลผู้มีใจตั้งมั่น ย่อมไม่กล่าวว่า เป็นของบุคคลผู้มีใจไม่ตั้งมั่น เราย่อมกล่าวแม้ความรู้ตามเป็นจริง ซึ่งจุติและอุบัติของสัตว์ทั้งหลายนั้นว่า เป็นของบุคคลผู้มีใจตั้งมั่น ย่อมไม่กล่าวว่า เป็นของบุคคลผู้มีใจไม่ตั้งมั่น เราย่อมกล่าวแม้ความรู้ตามเป็นจริงซึ่งความสิ้นไป แห่งอาสวะทั้งหลายนั้นว่าเป็นของบุคคลผู้มีใจตั้งมั่น ย่อมไม่กล่าวว่าเป็นของบุคคล ผู้มีใจไม่ตั้งมั่น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความตั้งใจมั่นเป็นทางถูก ความไม่ตั้งใจมั่นเป็น ทางผิด ด้วยประการฉะนี้แล ฯ
จบสูตรที่ ๑๐
จบมหาวรรคที่ ๑
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. โสณสูตร ๒. ผัคคุณสูตร ๓. ฉฬาภิชาติยสูตร ๔. อาสวสูตร ๕. ทารุกัมมิกสูตร ๖. จิตตหัตถิสาริปุตตสูตร ๗. ปรายนสูตร ๘. อุทกสูตร ๙. นิพเพธิกสูตร ๑๐. พลสูตร ฯ
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒ บรรทัดที่ ๙๗๕๔-๙๘๕๒ หน้าที่ ๔๒๔-๔๒๘. http://84000.org/tipitaka/english/v.php?B=22&A=9754&Z=9852&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/english/r.php?B=22&A=9754&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=22&siri=315              ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=335              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=22&A=9849              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=3386              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=22&A=9849              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=3386              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_22              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- http://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/22i326-e.php#sutta10 https://suttacentral.net/an6.64/en/sujato

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]