ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๘ ขุททกนิกาย วิมาน-เปตวัตถุ เถร-เถรีคาถา
๑๖. สิริมาวิมาน
ว่าด้วยผลบุญที่ทำให้ไปเกิดในสิริมาวิมาน
[๑๖] พระวังคีสเถระประสงค์จะให้นางสิริมาเทพธิดา ได้ประกาศบุญกรรมที่นางทำไว้ ในครั้งก่อน จึงย้อนถามนางด้วยคาถาสองคาถา ความว่า ดูกรนางงามประจำชั้นไตรทศ ผู้มีร่างกายสะโอดสะอง ฉันจะขอถามท่าน การที่ท่านเข้าถึงความเป็นผู้มีสกลกาย และยานพาหนะอย่างประเสริฐเลิศ ยิ่ง คือ ท่านมีรถถึง ๕๐๐ คัน บุญกรรมเนรมิตมาให้โดยเฉพาะ ทั้งเทียม แล้วด้วยม้าอาชาไนยหลายตัว ทุกๆ ตัวเครื่องประดับประจำ ล้วน เครื่องสูง มันพากันก้มหน้าลง ในขณะที่ท่านจะลงมาจากเทวโลกและ เหินไปตามอากาศได้ มีกำลังฉับเฉี่ยว ม้าอาชาไนยทุกม้า อันบุญกรรม ดังนายสารถีเร่งแล้วก็พาตัวท่านไปได้ ท่านนั้นขณะที่ยืนอยู่บนรถอัน เพริศแพร้วที่บุญกรรมตกแต่งมาให้แล้ว ก็สว่างไสวคล้ายกับไฟกำลังโชติ ช่วงอยู่เช่นนี้ เพราะได้ทำบุญสิ่งใดไว้? นางเทพธิดาอันพระเถระถามแล้ว เมื่อจะประกาศการกระทำของตนให้ประจักษ์ จึงตอบเป็นคาถาความว่า พระคุณเจ้าพูดถึงหมู่ทวยเทพชั้นปรนิมมิตวสวัสดี ซึ่งเป็นผู้เลิศโดยเชิง ภพที่อยู่ และโภคสมบัติหมู่ใดว่า เป็นทวยเทพที่เยี่ยมหาที่เปรียบมิได้ ทวยเทพเหล่านั้น ก็มีความสุขสบายแต่ในภพและโภคสมบัติที่ทวยเทพ พวกอื่นมาเนรมิตให้เท่านั้น เพราะฉะนั้น ทวยเทพที่มีหน้าที่เนรมิต ภพและโภคสมบัติให้ คือพวกที่พระคุณเจ้าพูดถึงอยู่นี้ จึงได้นามว่า "นิมมานรดี" เป็นนางฟ้าที่มีร่างกายและผิวพรรณงดงามอันก่อให้เกิด ความงวยงงเพราะความรัก เดี๋ยวนี้มาถึงมนุษยโลกนี้แล้วเพื่อจะถวาย บังคมพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อนางเทพธิดาประกาศความที่ตนเป็นนิมมานรดีเทพ ให้ปรากฏเช่นนี้แล้ว พระเถระ ใคร่จะถามถึงบุญกรรมที่นางให้ก่อสร้างไว้ในชาติก่อน จึงได้ภาษิตสองคาถาความว่า ชาติก่อนแต่จะเป็นนางเทพธิดานี้ ท่านได้สั่งสมสุจริตกรรมอย่างไรไว้ ท่านมียศบริวารอยู่มากมาย เปี่ยมไปด้วยความสุข สำหรับตัวท่านเล่า ก็มีฤทธิ์และอำนาจพ้นจากสิ่งธรรมดาสูงเยี่ยม และมักเหาะไปในอากาศ ได้ (เช่นนี้) เพราะบุญกรรมอะไร อนึ่ง รัศมีกายของท่านก็สว่างไสวไป ทั่วทุกทิศ และท่านเล่าก็มีมวลเทพเจ้าเกรงกลัวและห้อมล้อมอยู่รอบ ท่านจุติมาจากคติไหนจึงมาถึงสุคตินี้ แม่เทพธิดา อนึ่ง ท่านได้ทำตาม ด้วยอาการยอมรับเอาโอวาทานุสาสนีในศาสนปาพจน์ของพระศาสดาองค์ ไหน หากท่านเป็นสาวิกาของพระพุทธเจ้าจริงไซร้ ขอท่านได้โปรดตอบ คำถามของฉันนี้แก่ฉันด้วย? เมื่อนางเทพธิดา จะตอบเนื้อความตามที่พระเถระถามอย่างนี้ จึงกล่าวตอบด้วยคาถา เหล่านี้ความว่า ดิฉันเป็นพระสนมของพระเจ้าพิมพิสารผู้ประเสริฐ มีศิริ อยู่ในพระนคร ราชคฤห์ ซึ่งตั้งอยู่ในระหว่างภูเขา อันเป็นนครที่แออัดไปด้วยนักปราชญ์ ดิฉันมีความชำนาญในการฟ้อนรำขับร้องชั้นเยี่ยม ชาวเมืองในกรุง ราชคฤห์ เขาพากันเรียกดิฉันว่า "นางสิริมา" พระพุทธเจ้าทรงเป็นผู้ องอาจในจำพวกผู้แสวงหาคุณอันประเสริฐ ผู้แนะนำสัตว์โลกให้เป็นผู้ พิเศษ ได้ทรงแสดงความไม่เที่ยงแห่งของจริง คือ เหตุเกิดของทุกข์ และทางให้ถึงความดับทุกข์ อันเป็นธรรมที่ไม่มีปัจจัยอะไรปรุงแต่ง เป็น ทางถาวร ทางตรง เป็นทางสุขเกษมแก่ดิฉัน ครั้นดิฉันฟังธรรมอัน เป็นทางไม่ตาย ไม่มีเหตุปัจจัยอะไรปรุงแต่งได้ ซึ่งเป็นคำสอนของพระ ตถาคตผู้ประเสริฐแล้ว จึงเป็นผู้สำรวมอย่างเคร่งครัดในศีลทั้งหลาย ดำรงมั่นอยู่ในธรรมปฏิบัติ ที่พระพุทธเจ้าผู้เลิศกว่านรชนทรงแสดงไว้ แล้ว ครั้นดิฉันรู้จักบทอันปราศจากธุลี ซึ่งหาเหตุปัจจัยปรุงแต่งไม่ได้ ที่พระตถาคตผู้ประเสริฐทรงแสดงไว้นั้น ดิฉันจึงได้บรรลุสมาธิอันเกิด จากความสงบจิตใจในอัตภาพนั้นเอง ดิฉันนั้นจึงได้มีความแน่นอนใน มรรคผลอันเป็นธรรมชั้นเยี่ยมขึ้น ครั้นดิฉันได้ฟังธรรมอันประเสริฐ อันไม่เกิดไม่ตายอย่างวิเศษแล้ว จึงหมดความเคลือบแคลงในพระรัตน- ตรัย มีความรู้พิเศษในการรู้อริยสัจธรรม หมดความสงสัยในสิ่งทั้งปวง จึงควรเป็นที่บูชาของชุมนุมชน ได้รับผลคือความสุขอันมั่นคง เป็นเครื่อง ตอบแทนมากมาย โดยทำนองตามที่กราบเรียนมานี้ ดิฉันจึงเป็นนางเทพ ธิดาผู้เห็นนิพพาน เป็นสาวิกาของพระตถาคตผู้ประเสริฐ เป็นผู้ได้เห็น ธรรมตามความเป็นจริง เป็นผู้ตั้งอยู่ในผลขั้นแรก คือ เป็นพระโสดาบัน ก็ทุคติย่อมไม่มีแก่ดิฉันอีก ดิฉันนั้นมาเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ประ- เสริฐ ก็เพื่อจะถวายบังคม และนมัสการภิกษุทั้งหลายที่น่าเลื่อมใส ผู้ยินดีในธรรมอันไม่มีโทษ และเพื่อจะนมัสการสถานที่ๆ พระสมณะ ประชุมกัน อันเป็นสถานที่มีธรรมเกษม ดิฉันเป็นผู้มีความเคารพใน พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ทรงพระศิริ เป็นพระธรรมราชา ครั้นได้เห็น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้เป็นนักปราชญ์แล้ว ก็อิ่มเอิบปลาบปลื้มใจ ดิฉัน ขอถวายบังคมพระตถาคต ผู้เป็นสารถีของบุคคลที่ควรฝึกอย่างยอดเยี่ยม ทรงตัดตัณหาเสียได้ ทรงยินดีแล้วในกุศลธรรม ผู้ทรงแนะนำประชุมชน ให้พ้นจากทุกข์ได้ ผู้ทรงอนุเคราะห์สัตว์โลกในทางที่เป็นประโยชน์ อย่างยิ่ง.
จบ สิริมาวิมานที่ ๑๖.

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๖ บรรทัดที่ ๔๐๒-๔๖๙ หน้าที่ ๑๖-๑๙. http://84000.org/tipitaka/english/v.php?B=26&A=402&Z=469&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/english/r.php?B=26&A=402&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=26&siri=16              ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=26&i=16              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=26&A=437              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=30&A=1753              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=26&A=437              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=30&A=1753              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ http://84000.org/tipitaka/read/?index_26              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://accesstoinsight.org/tipitaka/kn/vv/vv.1.16.irel.html https://suttacentral.net/vv16/en/kiribathgoda

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]