ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค
ปัญญาวรรค ปาฏิหาริยกถา
[๗๑๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปาฏิหาริย์ ๓ ประการนี้ ๓ ประการ เป็นไฉน คือ อิทธิปาฏิหาริย์ ๑ อาเทศนาปฏิหาริย์ ๑ อนุศาสนี ปาฏิหาริย์ ๑ ฯ [๗๑๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อิทธิปาฏิหาริย์เป็นไฉน ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ ย่อมแสดงฤทธิ์ ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนเป็นคนคนเดียวก็ได้ ทำให้ปรากฏก็ได้ ทำให้หายไปก็ได้ ฯลฯ ใช้อำนาจทางกายไปตลอดพรหมโลก ก็ได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าอิทธิปาฏิหาริย์ ฯ [๗๒๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อาเทศนาปาฏิหาริย์เป็นไฉน ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ ย่อมทายใจได้ตามเหตุ ที่กำหนดว่า ใจของท่านเป็นอย่างนี้ ใจของท่านเป็นประการนี้ จิตของท่าน เป็นดังนี้ ถึงแม้ภิกษุนั้นจะทายใจเป็นอันมาก การทายใจนั้นก็คงเป็นอย่างนั้น ไม่เป็นอย่างอื่น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ ไม่ทายใจ ตามเหตุที่กำหนดเลย แต่เมื่อได้ฟังเสียงของมนุษย์ก็ดี ของอมนุษย์ก็ดี หรือ ของเทวดาก็ดี ก็ทายใจได้ว่า ใจของท่านเป็นอย่างนี้ ใจของท่านเป็นประการนี้ จิตของท่านเป็นดังนี้ ถึงแม้ภิกษุนั้นจะทายใจเป็นอันมาก การทายใจนั้นก็คง เป็นอย่างนั้น ไม่เป็นอย่างอื่น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ ไม่ทายใจตามเหตุที่กำหนดเลย และหาได้ฟังเสียงของมนุษย์ ของอมนุษย์ หรือ ของเทวดาแล้วทายใจไม่ แต่เมื่อได้ฟังเสียงตรึกตรองของผู้กำลังตรึกตรองอยู่ ก็ทาย ใจได้ว่า ใจของท่านเป็นอย่างนี้ ใจของท่านเป็นประการนี้ จิตของท่านเป็นดังนี้ ถึงแม้ภิกษุนั้นจะทายใจเป็นอันมาก การทายใจนั้นก็คงเป็นอย่างนั้น ไม่เป็นอย่างอื่น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ ไม่ทายใจตามเหตุที่กำหนดเลย หาได้ฟังเสียงของมนุษย์ ของอมนุษย์ หรือของเทวดาแล้วทายใจไม่ และหา ได้ฟังเสียงตรึกตรองของผู้กำลังตรึกตรองแล้วทายใจไม่ แต่เมื่อกำหนดใจของ ผู้เข้าสมาธิอันไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร ด้วยใจของตนแล้วก็รู้ได้ว่า ท่านผู้นี้ตั้งมโน สังขารไว้อย่างใด ก็จักตรึกถึงวิตกชื่อโน้นในระหว่างจิตนี้อย่างนั้น ถึงแม้ภิกษุนั้น จะทายใจเป็นอันมาก การทายใจนั้นก็คงเป็นอย่างนั้น ไม่เป็นอย่างอื่น ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย นี้เรียกว่าอาเทศนาปาฏิหาริย์ ฯ [๗๒๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อนุศาสนีปาฏิหาริย์เป็นไฉน ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ ย่อมพร่ำสอนอย่างนี้ว่า จงตรึกอย่างนี้ อย่าตรึกอย่างนั้น จงมนสิการอย่างนี้ อย่ามนสิการอย่างนั้น จง ละธรรมนี้ จงเข้าถึงธรรมนี้อยู่เถิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าอนุศาสนีปาฏิหาริย์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปาฏิหาริย์ ๓ ประการนี้แล ฯ [๗๒๒] เนกขัมมะย่อมสำเร็จ เพราะฉะนั้น เป็นอิทธิ เนกขัมมะย่อม กำจัดกามฉันทะได้ เพราะฉะนั้น เป็นปาฏิหาริย์ ชนเหล่าใดประกอบด้วย เนกขัมมะนั้น ชนเหล่านั้นทั้งหมดเป็นผู้มีจิตหมดจด มีความดำริไม่ขุ่นมัว เพราะ ฉะนั้น เนกขัมมะจึงเป็นอาเทศนาปาฏิหาริย์ และเนกขัมมะนั้น ท่านทั้งหลายพึง เสพอย่างนี้ พึงเจริญอย่างนี้ พึงทำให้มากอย่างนี้ พึงตั้งสติอันเป็นธรรมสมควร แก่เนกขัมมะนั้นไว้ให้มั่นอย่างนี้ เพราะฉะนั้น เนกขัมมะจึงเป็นอนุศาสนี- *ปาฏิหาริย์ ฯ ความไม่พยาบาทย่อมสำเร็จ เพราะฉะนั้น เป็นอิทธิ ความไม่พยาบาท ย่อมกำจัดพยาบาทได้ เพราะฉะนั้น เป็นปาฏิหาริย์ ชนเหล่าใดประกอบด้วยความ ไม่พยาบาทนั้น ชนเหล่านั้นทั้งหมดเป็นผู้มีจิตหมดจด มีความดำริไม่ขุ่นมัว เพราะฉะนั้น ความไม่พยาบาทจึงเป็นอาเทศนาปาฏิหาริย์ และความไม่พยาบาทนั้น ท่านทั้งหลายพึงเสพอย่างนี้ พึงเจริญอย่างนี้ พึงทำให้มากอย่างนี้ พึงตั้งสติอัน เป็นธรรมสมควรแก่ความไม่พยาบาทนั้นไว้ให้มั่นอย่างนี้ เพราะฉะนั้น ความไม่ พยาบาทจึงเป็นอนุศาสนีปาฏิหาริย์ ฯ อาโลกสัญญาย่อมสำเร็จ เพราะฉะนั้น เป็นอิทธิ อาโลกสัญญาย่อม กำจัดถีนมิทธะได้ เพราะฉะนั้น เป็นปาฏิหาริย์ ชนเหล่าใดประกอบด้วยอาโลก- *สัญญานั้น ชนเหล่านั้นทั้งหมดเป็นผู้มีจิตหมดจด มีความดำริไม่ขุ่นมัว เพราะ ฉะนั้น อาโลกสัญญาจึงเป็นอาเทศนาปาฏิหาริย์ และอาโลกสัญญานั้น ท่าน ทั้งหลายพึงเสพอย่างนี้ พึงเจริญอย่างนี้ พึงทำให้มากอย่างนี้ พึงตั้งสติอันเป็น ธรรมสมควรแก่อาโลกสัญญานั้นไว้ให้มั่นอย่างนี้ เพราะฉะนั้น อาโลกสัญญาจึง เป็นอนุศาสนีปาฏิหาริย์ ฯ ความไม่ฟุ้งซ่านย่อมสำเร็จ เพราะฉะนั้น เป็นอิทธิ ความไม่ฟุ้งซ่านย่อม กำจัดอุทธัจจะได้ เพราะฉะนั้น เป็นปาฏิหาริย์ ชนเหล่าใดประกอบด้วยความไม่ ฟุ้งซ่านนั้น ชนเหล่านั้นทั้งหมดเป็นผู้มีจิตหมดจด มีความดำริไม่ขุ่นมัว เพราะ ฉะนั้น ความไม่ฟุ้งซ่าน จึงเป็นอาเทศนาปาฏิหาริย์ และความไม่ฟุ้งซ่านนั้น ท่านทั้งหลาย พึงเสพอย่างนี้ พึงเจริญอย่างนี้ พึงทำให้มากอย่างนี้ พึงตั้งสติ อันเป็นธรรมสมควรแก่ความไม่ฟุ้งซ่านนั้นไว้ให้มั่นอย่างนี้ เพราะฉะนั้น ความไม่ ฟุ้งซ่านจึงเป็นอนุศาสนีปาฏิหาริย์ ฯลฯ ฯ อรหัตมรรคย่อมสำเร็จ เพราะฉะนั้น เป็นอิทธิ อรหัตมรรคย่อมกำจัด กิเลสได้หมด เพราะฉะนั้น เป็นปาฏิหาริย์ ชนเหล่าใดประกอบด้วยอรหัตมรรค นั้น ชนเหล่านั้นทั้งหมดเป็นผู้มีจิตหมดจด มีความดำริไม่ขุ่นมัว เพราะฉะนั้น อรหัตมรรคจึงเป็นอาเทศนาปาฏิหาริย์ และอรหัตมรรคนั้น ท่านทั้งหลายพึงเสพ อย่างนี้ พึงเจริญอย่างนี้ พึงทำให้มากอย่างนี้ พึงตั้งสติอันเป็นธรรมสมควรแก่ อรหัตมรรคนั้นไว้ให้มั่นอย่างนี้ เพราะฉะนั้น อรหัตมรรคจึงเป็นอนุศาสนี ปาฏิหาริย์ ฯ เนกขัมมะย่อมสำเร็จ เพราะฉะนั้น เป็นอิทธิ ย่อมกำจัดกามฉันทะได้ เพราะฉะนั้น เป็นปาฏิหาริย์ อิทธิและปาฏิหาริย์นี้ ท่านเรียกว่าอิทธิปาฏิหาริย์ ความไม่พยาบาทย่อมสำเร็จ เพราะฉะนั้น เป็นอิทธิ ย่อมกำจัดพยาบาทได้ เพราะฉะนั้น เป็นปาฏิหาริย์ อิทธิและปาฏิหาริย์นี้ ท่านเรียกว่าอิทธิปาฏิหาริย์ อาโลกสัญญาย่อมสำเร็จ เพราะฉะนั้น เป็นอิทธิ ย่อมกำจัดถีนมิทธะได้ เพราะ ฉะนั้น เป็นปาฏิหาริย์ ฯลฯ อรหัตมรรคย่อมสำเร็จ เพราะฉะนั้น เป็นอิทธิ ย่อมกำจัดกิเลสได้หมด เพราะฉะนั้น เป็นปาฏิหาริย์ อิทธิและปาฏิหาริย์นี้ ท่านเรียกว่าอิทธิปาฏิหาริย์ ฉะนี้แล ฯ
จบปาฏิหาริยกถา ฯ
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ บรรทัดที่ ๑๐๕๙๓-๑๐๖๗๑ หน้าที่ ๔๔๒-๔๔๕. http://84000.org/tipitaka/english/v.php?B=31&A=10593&Z=10671&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/english/r.php?B=31&A=10593&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=31&siri=85              ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=31&i=718              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=31&A=12399              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=48&A=8137              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=31&A=12399              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=48&A=8137              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ http://84000.org/tipitaka/read/?index_31

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]