ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค
             [๒๔๕] ปัญญาในการรวมธรรม เป็นปเทสวิหารญาณอย่างไร เพราะ
มิจฉาทิฐิเป็นปัจจัย ก็ย่อมมีอกุศลเวทนา เพราะความสงบแห่งมิจฉาทิฐิเป็นปัจจัย
ก็ย่อมมีกุศลเวทนา เพราะสัมมาทิฐิเป็นปัจจัย ก็ย่อมมีกุศลเวทนา เพราะความ
สงบแห่งสัมมาทิฐิเป็นปัจจัย ก็ย่อมมีอกุศลเวทนา เพราะมิจฉาสังกัปปะเป็น
ปัจจัย ก็ย่อมมีอกุศลเวทนา เพราะความสงบแห่งมิจฉาสังกัปปะเป็นปัจจัย ก็
ย่อมมีกุศลเวทนา เพราะสัมมาสังกัปปะเป็นปัจจัย ก็ย่อมมีกุศลเวทนา เพราะ
ความสงบแห่งสัมมาสังกัปปะเป็นปัจจัย ก็ย่อมมีอกุศลเวทนา ฯลฯ เพราะมิจฉา-
*วิมุติเป็นปัจจัย ก็ย่อมมีอกุศลเวทนา เพราะความสงบแห่งมิจฉาวิมุติเป็นปัจจัย
ก็ย่อมมีกุศลเวทนา เพราะสัมมาวิมุติเป็นปัจจัย ก็ย่อมมีกุศลเวทนา เพราะความ
สงบแห่งสัมมาวิมุติเป็นปัจจัย ก็ย่อมมีอกุศลเวทนา เพราะฉันทะเป็นปัจจัย ก็
ย่อมมีกุศลเวทนา เพราะความสงบแห่งฉันทะเป็นปัจจัย ก็ย่อมมีกุศลเวทนา
เพราะวิตกเป็นปัจจัย ก็ย่อมมีอกุศลเวทนา เพราะความสงบแห่งวิตกเป็นปัจจัย
ก็ย่อมมีกุศลเวทนา เพราะสัญญาเป็นปัจจัย ก็ย่อมมีอกุศลเวทนา เพราะความ
สงบแห่งสัญญาเป็นปัจจัย ก็ย่อมมีกุศลเวทนา เพราะฉันทะ วิตก และสัญญา
เป็นธรรมไม่สงบเป็นปัจจัย ก็ย่อมมีอกุศลเวทนา เพราะฉันทะเป็นธรรมสงบ แต่
เพราะวิตกและสัญญาเป็นธรรมไม่สงบเป็นปัจจัย ก็ย่อมมีอกุศลเวทนา เพราะ
ฉันทะและวิตกเป็นธรรมสงบ แต่เพราะสัญญาเป็นธรรมไม่สงบเป็นปัจจัย ก็ย่อม
มีอกุศลเวทนา เพราะฉันทะ วิตก และสัญญา เป็นธรรมสงบเป็นปัจจัย
ก็ย่อมมีกุศลเวทนา ความเพียรเพื่อจะบรรลุอรหัตผลที่ยังไม่บรรลุมีอยู่ แม้เพราะ
เมื่อยังไม่ได้บรรลุอริยมรรคอันเป็นเหตุแห่งอรหัตผลนั้นเป็นปัจจัย ก็ย่อมมีกุศล
เวทนา ฯ
             ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด
เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการรวมธรรม เป็นปเทสวิหารญาณ ฯ

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ บรรทัดที่ ๒๖๗๗-๒๖๙๙ หน้าที่ ๑๐๙-๑๑๐. http://84000.org/tipitaka/english/v.php?B=31&A=2677&Z=2699&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/english/r.php?B=31&A=2677&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=31&siri=46              ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=31&i=245              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=31&A=3118              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=47&A=7732              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=31&A=3118              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=47&A=7732              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ http://84000.org/tipitaka/read/?index_31

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]