ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต
๓. พรหมสูตร๑-
ว่าด้วยสกุลที่มีพรหม
[๖๓] ภิกษุทั้งหลาย บุตรของสกุลใดบูชามารดาบิดาภายในเรือนตน สกุล นั้นชื่อว่ามีพรหม บุตรของสกุลใดบูชามารดาบิดาภายในเรือนตน สกุลนั้นชื่อว่ามี บุรพาจารย์ บุตรของสกุลใดบูชามารดาบิดาภายในเรือนตน สกุลนั้นชื่อว่ามีบุรพเทพ บุตรของสกุลใดบูชามารดาบิดาภายในเรือนตน สกุลนั้นชื่อว่ามีอาหุไนยบุคคล คำว่า “พรหม” นี้เป็นชื่อของมารดาบิดา คำว่า “บุรพาจารย์” นี้เป็นชื่อ ของมารดาบิดา คำว่า “บุรพเทพ” นี้เป็นชื่อของมารดาบิดา คำว่า “อาหุไนยบุคคล” นี้เป็นชื่อของมารดาบิดา๒- ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะมารดาบิดามีอุปการะมาก บำรุงเลี้ยง แสดงโลกนี้แก่บุตร มารดาบิดาผู้อนุเคราะห์ประชา ท่านเรียกว่าพรหม บุรพาจารย์ และอาหุไนยบุคคลของบุตรทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น บัณฑิตพึงนมัสการ และสักการะมารดาบิดานั้นด้วยข้าว น้ำ ผ้า ที่นอน การอบกลิ่น การให้อาบน้ำ และการชำระเท้า @เชิงอรรถ : @ องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๓๑/๑๘๓ @ มารดาบิดาชื่อว่า พรหม เพราะมีพรหมวิหารธรรม ๔ ประการ คือ เมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา @ชื่อว่า บุรพาจารย์ เพราะเป็นอาจารย์คนแรกที่สอนลูกให้เรียนรู้การนั่ง การยืน การเดิน การนอน @การเคี้ยว การกิน รวมทั้งสอนให้รู้จักพูด และรู้จักอะไรควรอะไรมิควร ชื่อว่า อาหุไนยบุคคล เพราะ @เป็นผู้ควรแก่ปฏิการคุณที่บุตรพึงทำตอบแทน เช่น การปรนนิบัติท่านด้วยอาหาร เครื่องนุ่งห่ม @(องฺ.ติก.อ. ๒/๓๑/๑๑๑-๑๑๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๑๐๗}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๒. ปัตตกัมมวรรค ๕. รูปสูตร

เพราะการปรนนิบัติมารดาบิดานั้นแล บัณฑิตทั้งหลายจึงสรรเสริญเขาในโลกนี้เอง เขาตายไปแล้วย่อมบันเทิงในสวรรค์
พรหมสูตรที่ ๓ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๑ หน้าที่ ๑๐๗-๑๐๘. http://84000.org/tipitaka/pitaka2/m_siri.php?B=21&siri=63              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=21&A=1879&Z=1897                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=21&i=63              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=21&item=63&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=15&A=8201              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=21&item=63&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=15&A=8201                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu21              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/21i061-e.php#sutta3 https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/21i061-e2.php#sutta3 https://suttacentral.net/an4.63/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :