ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๘ สังยุตตนิกาย นิทานวรรค
๒. ปัญจเวรภยสูตรที่ ๒
[๑๕๖] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่าน อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ... พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย เมื่อใดแล ภัยเวร ๕ ประการของอริยสาวกสงบแล้ว เมื่อนั้น อริยสาวก ย่อมประกอบด้วยธรรมเป็นองค์แห่งโสดาปัตติ ๔ อย่าง และญายธรรมอย่าง ประเสริฐ อันอริยสาวกนั้นเห็นดีแล้ว แทงตลอดดีแล้วด้วยปัญญา อริยสาวกนั้น หวังอยู่ พึงพยากรณ์ตนด้วยตนเองได้ว่า เราเป็นผู้มีนรกสิ้นแล้ว ฯลฯ มีอันไม่ ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงจะตรัสรู้ในภายหน้า ฯ [คำทั้งปวง เป็นต้นว่า "ภิกขเว" ควรให้พิสดาร] [๑๕๗] ภัยเวร ๕ ประการสงบแล้วเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ผู้ฆ่าสัตว์ ย่อมประสพภัยเวรใด อันมีในชาตินี้บ้าง อันมีในชาติหน้าบ้าง ย่อม เสวยเจตสิกทุกข์คือโทมนัสบ้าง เพราะปาณาติบาตเป็นเหตุ ภัยเวรของอริยสาวก ผู้เว้นขาดจากปาณาติบาตสงบแล้วด้วยอาการอย่างนี้ บุคคลผู้ลักทรัพย์ ... บุคคล ผู้ประพฤติผิดในกาม ... บุคคลผู้พูดเท็จ ... บุคคลผู้ตั้งอยู่ในความประมาท เพราะ ดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัย ย่อมประสพภัยเวรใด อันมีในชาตินี้บ้าง อันมีในชาติ หน้าบ้าง ย่อมเสวยเจตสิกทุกข์คือโทมนัสบ้าง เพราะดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ภัยเวรของอริยสาวกผู้เว้นขาดจากการดื่มน้ำเมา คือสุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาทสงบแล้วด้วยอาการอย่างนี้ ภัยเวร ๕ ประการนี้ สงบแล้ว [๑๕๘] อริยสาวกย่อมประกอบด้วยธรรมอันเป็นองค์แห่งโสดาปัตติ ๔ อย่างเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมประกอบด้วย ความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า ... ในพระธรรม ... ในพระสงฆ์ ... และ ประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าปรารถนา ... ย่อมประกอบด้วยธรรมเป็นองค์แห่ง โสดาปัตติ ๔ อย่างนี้ ฯ [๑๕๙] ก็ญายธรรมอันประเสริฐ อันอริยสาวกนั้นเห็นดีแล้ว แทงตลอด ดีแล้วด้วยปัญญาเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ กระทำ ไว้ในใจโดยแยบคาย ถึงปฏิจจสมุปบาทเป็นอย่างดี ฯลฯ ญายธรรมอันประเสริฐนี้ อริยสาวกนั้นเห็นดีแล้ว แทงตลอดดีแล้วด้วยปัญญา ฯ [๑๖๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล ภัยเวร ๕ ประการนี้ ของอริยสาวก สงบแล้ว เมื่อนั้นอริยสาวกย่อมประกอบด้วยธรรมอันเป็นองค์แห่งโสดาปัตติ ๔ อย่างนี้ และญายธรรมอันประเสริฐนี้ อันอริยสาวกนั้นเห็นดีแล้ว แทงตลอดดีแล้ว ด้วยปัญญา อริยสาวกนั้นหวังอยู่ พึงพยากรณ์ตนด้วยตนเองได้ว่า เราย่อมเป็นผู้ มีนรกสิ้นแล้ว มีกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานสิ้นแล้ว มีปิตติวิสัยสิ้นแล้ว มีอบาย ทุคติ วินิบาตสิ้นแล้ว เราย่อมเป็นโสดาบัน มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยง จะตรัสรู้ในภายหน้า ฯ
จบสูตรที่ ๒

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ บรรทัดที่ ๑๘๘๔-๑๙๑๙ หน้าที่ ๗๗-๗๙. https://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=16&A=1884&Z=1919&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka2/m_siri.php?B=16&siri=38              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=16&i=156              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [156-160] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=16&item=156&items=5              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=12&A=1877              The Pali Tipitaka in Roman :- [156-160] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=16&item=156&items=5              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=12&A=1877              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖ https://84000.org/tipitaka/read/?index_16              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/16i151-e.php#sutta2 https://suttacentral.net/sn12.42/en/sujato https://suttacentral.net/sn12.42/en/bodhi

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :