ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
*พระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ให้บุคคลนั้นออกไปแล้ว บริษัท
บริสุทธิ์แล้ว ขอพระผู้มีพระภาคทรงแสดงปาติโมกข์แก่ภิกษุทั้งหลายเถิด พระ-
*ผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรโมคคัลลานะ น่าอัศจรรย์ ดูกรโมคคัลลานะ ไม่เคย
มีมาแล้ว โมฆบุรุษนี้อยู่จนกระทั่งต้องจับแขนฉุดออกไป ลำดับนั้นแล พระ-
*ผู้มีพระภาคตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ ตั้งแต่นี้ไป เรา
จักไม่กระทำอุโบสถ แสดงปาติโมกข์ ตั้งแต่นี้ไป เธอทั้งหลายนั่นแลพึงกระทำ
อุโบสถ แสดงปาติโมกข์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย การที่ตถาคตจะพึงกระทำอุโบสถ
แสดงปาติโมกข์ ในเมื่อบริษัทไม่บริสุทธิ์นั้น มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส ฯ
             [๑๑๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในมหาสมุทร มีธรรมอันน่าอัศจรรย์ ไม่
เคยมีมา ๘ ประการนี้ ที่พวกอสูรเห็นแล้วๆ พากันยินดีอยู่ในมหาสมุทร ๘
ประการเป็นไฉน
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย มหาสมุทรลาดลุ่มลึกลงไปตามลำดับไม่โกรกชันเหมือน
เหว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่มหาสมุทรลาดลุ่มลึกลงไปตามลำดับ ไม่โกรกชัน
เหมือนเหว นี้เป็นธรรมอันน่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีมา ประการที่ ๑ มีอยู่ใน
มหาสมุทร ที่พวกอสูรเห็นแล้วๆ พากันยินดีอยู่ในมหาสมุทร ฯ
             อีกประการหนึ่ง มหาสมุทรเต็มเปี่ยมอยู่เสมอ ไม่ล้นฝั่ง ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย แม้ข้อที่มหาสมุทรเต็มเปี่ยมอยู่เสมอ ไม่ล้นฝั่งนี้ก็เป็นธรรมอันน่า
อัศจรรย์ ไม่เคยมีมาประการที่ ๒ ... ฯ
             อีกประการหนึ่ง มหาสมุทรย่อมไม่เกลื่อนกล่นด้วยซากศพเพราะคลื่น
ย่อมซัดเอาซากศพเข้าหาฝั่งให้ขึ้นบก ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ข้อที่มหาสมุทรไม่

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๓๓.

เกลื่อนกล่นด้วยซากศพ เพราะคลื่นย่อมซัดเอาซากศพเข้าหาฝั่งให้ขึ้นบก นี้ก็ เป็นธรรมอันน่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีมา ประการที่ ๓ ... ฯ อีกประการหนึ่ง แม่น้ำสายใหญ่ๆ คือ แม่น้ำคงคา ยมุนา อจิรวดี สรภู มหี แม่น้ำเหล่านั้นไหลไปถึงมหาสมุทรแล้ว ย่อมละชื่อและโคตรเดิม หมด ถึงการนับว่ามหาสมุทรนั่นเอง ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ข้อที่แม่น้ำสายใหญ่ๆ คือ แม่น้ำคงคา ยมุนา อจิรวดี สรภู มหี แม่น้ำเหล่านั้นไหลไปถึง มหาสมุทรแล้ว ย่อมละชื่อและโคตรเดิมหมด ถึงการนับว่ามหาสมุทรนั่นเอง นี้ก็เป็นธรรมอันน่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีมา ประการที่ ๔ ... ฯ อีกประการหนึ่ง แม่น้ำทุกสายในโลกย่อมไหลไปรวมลงในมหาสมุทร และสายฝนก็ตกลงสู่มหาสมุทร มหาสมุทรก็มิได้ปรากฏว่าจะพร่องหรือเต็มเพราะ น้ำนั้นๆ ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ข้อที่แม่น้ำทุกสายในโลกไหลไปรวมลงใน มหาสมุทร และสายฝนก็ตกลงสู่มหาสมุทร แต่มหาสมุทรก็มิได้ปรากฏว่าจะ พร่องหรือเต็มเพราะน้ำนั้นๆ นี้ก็เป็นธรรมอันน่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีมา ประการ ที่ ๕ ... ฯ อีกประการหนึ่ง มหาสมุทรมีรสเดียว คือ รสเค็ม ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ข้อที่มหาสมุทรทั้งหลายมีรสเดียว คือ รสเค็ม นี้ก็เป็นธรรมอันน่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีมา ประการที่ ๖ ... ฯ อีกประการหนึ่ง มหาสมุทรมีรัตนะมากมายหลายชนิด ในมหาสมุทร นั้นมีรัตนะเหล่านี้ คือ แก้วมุกดา แก้วมณี แก้วไพฑูรย์ สังข์ ศิลา แก้ว ประพาฬ เงิน ทอง ทับทิม แก้วมรกต ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ข้อที่ มหาสมุทรมีรัตนะมากมายหลายชนิด ... นี้ก็เป็นธรรมอันน่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีมา ประการที่ ๗ ... ฯ อีกประการหนึ่ง มหาสมุทรเป็นที่พำนักอาศัยของสิ่งที่มีชีวิตใหญ่ๆ สิ่ง มีชีวิตใหญ่ๆ ในมหาสมุทรนั้น คือ ปลาติมิ ปลามิงคละ ปลาติมิติมิงคละ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๓๔.

พวกอสูร นาค คนธรรพ์ แม้ที่มีร่างกายใหญ่ประมาณร้อยโยชน์ สองร้อย โยชน์ สามร้อยโยชน์ สี่ร้อยโยชน์ ห้าร้อยโยชน์ ก็มีอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ข้อที่มหาสมุทรเป็นที่พำนักของสิ่งที่มีชีวิตใหญ่ๆ ... นี้ก็เป็นธรรมอันน่า อัศจรรย์ ไม่เคยมีมา ประการที่ ๘ ที่พวกอสูรเห็นแล้วๆ พากันยินดีอยู่ใน มหาสมุทร ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในมหาสมุทรมีธรรมอันน่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีมา ๘ ประการนี้แล ที่พวกอสูรเห็นแล้วๆ พากันยินดีอยู่ในมหาสมุทร ฯ

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ บรรทัดที่ ๓๐๒๖-๓๐๗๕. หน้าที่ ๑๓๒ - ๑๓๔. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=25&A=3026&Z=3075&pagebreak=1              อ่านโดยใช้เนื้อความเป็นเกณฑ์แบ่งข้อ :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/item.php?book=25&item=117&items=1&pagebreak=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=25&siri=80              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=116              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item.php?book=25&item=117&items=1&pagebreak=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item.php?book=25&item=117&items=1&pagebreak=1&mode=bracket              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ http://84000.org/tipitaka/read/?สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่_๒๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_25

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]