ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
             อีกประการหนึ่ง มหาสมุทรเป็นที่พำนักอาศัยของสิ่งที่มีชีวิตใหญ่ๆ สิ่ง
มีชีวิตใหญ่ๆ ในมหาสมุทรนั้น คือ ปลาติมิ ปลามิงคละ ปลาติมิติมิงคละ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๓๔.

พวกอสูร นาค คนธรรพ์ แม้ที่มีร่างกายใหญ่ประมาณร้อยโยชน์ สองร้อย โยชน์ สามร้อยโยชน์ สี่ร้อยโยชน์ ห้าร้อยโยชน์ ก็มีอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ข้อที่มหาสมุทรเป็นที่พำนักของสิ่งที่มีชีวิตใหญ่ๆ ... นี้ก็เป็นธรรมอันน่า อัศจรรย์ ไม่เคยมีมา ประการที่ ๘ ที่พวกอสูรเห็นแล้วๆ พากันยินดีอยู่ใน มหาสมุทร ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในมหาสมุทรมีธรรมอันน่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีมา ๘ ประการนี้แล ที่พวกอสูรเห็นแล้วๆ พากันยินดีอยู่ในมหาสมุทร ฯ [๑๑๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในธรรมวินัยนี้ ก็มีธรรมอันน่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีมา ๘ ประการ ที่ภิกษุทั้งหลายเห็นแล้วๆ พากันยินดีอยู่ในธรรมวินัย ฉันนั้นเหมือนกัน ๘ ประการเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในธรรมวินัยนี้ มีการศึกษาไปตามลำดับ มีการ กระทำไปตามลำดับ มีการปฏิบัติไปตามลำดับ มิใช่ว่าจะมีการบรรลุอรหัตผลโดย ตรง เปรียบเหมือนมหาสมุทรลาดลุ่มลึกไปตามลำดับ ไม่โกรกชันเหมือนเหว ฉะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ในธรรมวินัยนี้มีการศึกษาไปตามลำดับ มีการ กระทำไปตามลำดับ มีการปฏิบัติไปตามลำดับ มิใช่ว่าจะมีการบรรลุอรหัตผลโดย ตรง นี้เป็นธรรมอันน่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีมาประการที่ ๑ ในธรรมวินัยนี้ ที่ ภิกษุทั้งหลายเห็นแล้วๆ พากันยินดีอยู่ในธรรมวินัยนี้ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สาวกทั้งหลายของเรา ไม่ล่วงสิกขาบทที่เราบัญญัติ แล้วแม้เพราะเหตุแห่งชีวิต เปรียบเสมือนมหาสมุทรเต็มเปี่ยมอยู่เสมอ ไม่ล้น ฝั่ง ฉะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลายแม้ข้อที่สาวกทั้งหลายของเรา ไม่ล่วงสิกขาบทที่ เราบัญญัติแล้ว นี้ก็เป็นธรรมอันน่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีมา ประการที่ ๒ ... ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ทุศีล มีบาปธรรม มีความประพฤติไม่ สะอาดน่ารังเกียจ ปกปิดกรรมชั่ว ไม่ใช่สมณะปฏิญาณว่าเป็นสมณะ ไม่ใช่ ผู้ประพฤติพรหมจรรย์ปฏิญาณว่าประพฤติพรหมจรรย์ เสียใน ชุ่มด้วยราคะ เป็นดุจหยากเยื่อ สงฆ์ไม่ยอมอยู่ร่วมกับบุคคลนั้น ประชุมกันยกวัตรเธอเสีย

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๓๕.

ทันที แม้เขาจะนั่งอยู่ในท่ามกลางภิกษุสงฆ์ แต่เขาก็ชื่อว่าห่างไกลจากสงฆ์ และสงฆ์ก็ห่างไกลจากเขา เปรียบเหมือนมหาสมุทร ไม่เกลื่อนกล่นด้วยซากศพ เพราะคลื่นย่อมซัดเอาซากศพในมหาสมุทรเข้าหาฝั่ง ให้ขึ้นบก ฉะนั้น ดูกร- *ภิกษุทั้งหลาย แม้ข้อที่บุคคลผู้ทุศีล มีบาปธรรม ... และสงฆ์ก็ห่างไกลจากเขา นี้ก็เป็นธรรมอันน่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีมาประการที่ ๓ ... ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย วรรณะ ๔ จำพวก คือ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร ออกบวชเป็นบรรพชิตในธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้วย่อมละ ชื่อและโคตรเดิม ถึงการนับว่าพระสมณศากยบุตรทั้งนั้น เปรียบเหมือนแม่น้ำ ใหญ่ๆ คือ แม่น้ำคงคา ยมุนา อจิรวดี สรภู มหี แม่น้ำเหล่านั้นไหลไป ถึงมหาสมุทรแล้ว ย่อมละชื่อและโคตรเดิมหมด ถึงการนับว่ามหาสมุทรนั่นเอง ฉะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ข้อที่วรรณะ ๔ จำพวก คือ กษัตริย์ พราหมณ์ ... ถึงการนับว่าพระสมณศากยบุตรทั้งนั้น นี้ก็เป็นธรรมอันน่าอัศจรรย์ ไม่เคย มีมา ประการที่ ๔ ... ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ภิกษุเป็นอันมากจะปรินิพพาน ด้วยอนุปาทิเสส- *นิพพานธาตุ นิพพานธาตุก็มิได้ปรากฏว่าพร่องหรือเต็มด้วยภิกษุนั้น เปรียบเหมือน แม่น้ำทุกสายในโลก ย่อมไหลไปรวมลงในมหาสมุทร และสายฝนก็ตกลงสู่ มหาสมุทร มหาสมุทรก็ไม่ปรากฏว่าพร่องหรือเต็ม ฉะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ข้อที่ภิกษุทั้งหลายจะปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ นิพพานธาตุก็มิได้ ปรากฏว่าพร่องหรือเต็มด้วยภิกษุนั้น นี้เป็นธรรมอันน่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีมา ประการที่ ๕ ... ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมวินัยนี้มีรสเดียว คือวิมุตติรส เปรียบเหมือน มหาสมุทรมีรสเดียว คือ รสเค็มฉะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ข้อธรรมวินัยนี้มีรส เดียว คือ วิมุตติรส นี้ก็เป็นธรรมอันน่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีมา ประการ ที่ ๖ ... ฯ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๓๖.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมวินัยนี้มีรัตนะมากมายหลายชนิด ในธรรมวินัย นั้นมีรัตนะเหล่านี้ คือ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ เปรียบเหมือนมหาสมุทรมีรัตนะมากมาย หลายชนิด ในมหาสมุทรนั้นมีรัตนะเหล่านี้ คือ แก้วมุกดา แก้วมณี แก้ว ไพฑูรย์ สังข์ ศิลา แก้วประพาฬ เงิน ทอง ทับทิม แก้วมรกต ฉะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ข้อที่ธรรมวินัยนี้มีรัตนะมากมายหลายชนิด ... อริยมรรคมี องค์ ๘ นี้ก็เป็นธรรมอันน่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีมา ประการที่ ๗ ... ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมวินัยนี้เป็นที่พำนักอาศัยสิ่งมีชีวิตใหญ่ๆ ใน ธรรมวินัยนั้น มีสิ่งที่มีชีวิตใหญ่ๆ เหล่านี้ คือ พระโสดาบัน ท่านผู้ปฏิบัติ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล พระสกทาคามี ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่ง สกทาคามิผล พระอนาคามี ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอนาคามิผล พระ- *อรหันต์ ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อความเป็นพระอรหันต์ เปรียบเหมือนมหาสมุทรเป็นที่ พำนักอาศัยของสิ่งมีชีวิตใหญ่ๆ ในมหาสมุทรนั้นมีสิ่งที่มีชีวิตใหญ่ๆ เหล่านี้ คือ ปลาติมิ ปลาติมิงคละ ปลาติมิติมิงคละ อสูร นาค คนธรรพ์ แม้มีร่างกาย ใหญ่ประมาณร้อยโยชน์ สองร้อยโยชน์ สามร้อยโยชน์ สี่ร้อยโยชน์ ห้าร้อยโยชน์ฉะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ข้อที่ธรรมวินัยนี้เป็นที่พำนักอาศัยสิ่งที่ มีชีวิตใหญ่ๆ ... ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อความเป็นพระอรหันต์ นี้ก็เป็นธรรมอันน่า อัศจรรย์ ไม่เคยมีมา ประการที่ ๘ ในธรรมวินัยนี้ ที่ภิกษุทั้งหลายเห็นแล้วๆ พากันยินดีอยู่ในธรรมวินัย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในธรรมวินัยนี้ มีธรรมอันน่า อัศจรรย์ ไม่เคยมีมา ๘ ประการนี้แล ที่ภิกษุทั้งหลายเห็นแล้วๆ พากันยินดี อยู่ในธรรมวินัยนี้ ฯ ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว ได้ทรงเปล่ง อุทานนี้ในเวลานั้นว่า ฝน คือ กิเลสย่อมรั่วรดสิ่งที่ปกปิด ย่อมไม่รั่วรดสิ่งที่เปิด

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๓๗.

เพราะฉะนั้น พึงเปิดสิ่งที่ปกปิดไว้เสีย ฝน คือ กิเลส ย่อมไม่รั่วรดสิ่งที่เปิดนั้นอย่างนี้ ฯ
จบสูตรที่ ๕
๖. โสณสูตร

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ บรรทัดที่ ๓๐๖๘-๓๑๔๕. หน้าที่ ๑๓๓ - ๑๓๗. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=25&A=3068&Z=3145&pagebreak=1              อ่านโดยใช้เนื้อความเป็นเกณฑ์แบ่งข้อ :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/item.php?book=25&item=118&items=1&pagebreak=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=25&siri=80              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=116              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item.php?book=25&item=118&items=1&pagebreak=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item.php?book=25&item=118&items=1&pagebreak=1&mode=bracket              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ http://84000.org/tipitaka/read/?สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่_๒๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_25

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]