ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๐ ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๒
                          งูเห่า มีอยู่ที่ใกล้สระนั้น เป็นอันมาก กระบือ หมาไน หมาจิ้งจอก
                          กิ้งก่า จะกวด เหี้ย เสือดาว เสือเหลือง มีอยู่โดยรอบ กระต่าย
                          แร้ง ราชสีห์ และเสือปลา มีอยู่มากหลาย มีสกุณชาติมากมาย คือ
                          นกกวัก นกยูง หงส์ขาว ไก่ฟ้า ไก่ป่า ไก่เถื่อน นกหัสดีลิงค์
                          ร่ำร้องหากันและกัน นกยางโทน นกยางกรอก นกโพระดก นกต้อยตีวิด
                          นกกระเรียน เหยี่ยวดำ เหยี่ยวแดง นกช้อนหอย นกพริก นกคับแค
                          นกแขวก นกกด นกกระเต็นใหญ่ นกนางแอ่น นกคุ่ม นกกะทา
                          นกกระทุง นกกระจอก นกกระจาบ นกกระเต็นน้อย นกกางเขน
                          นกการเวก นกแอ่นลม นกเงือก นกออก สระมุจลินท์ เกลื่อนกล่น
                          ไปด้วยฝูงนกนานาชนิด กึกก้องไปด้วยเสียงสัตว์ต่างๆ.
             [๑๑๕๖] 	อนึ่ง  ที่ใกล้สระนั้น มีนกมากมาย มีขนปีกงามวิจิตร มีเสียงไพเราะ
                          เสนาะโสต ย่อมปราโมทย์อยู่กับคู่เคียงส่งเสียงกู่ก้องร้องหากันและกัน
                          อนึ่ง  ที่ใกล้สระนั้น มีฝูงสกุณาทิชาชาติส่งเสียงร้องไพเราะไม่ขาดสาย
                          มีตางามประกอบด้วยเบ้าตาขาว มีขนปีกขนหางงามวิจิตร อนึ่ง ที่ใกล้
                          สระนั้นมีฝูงนกยูง  ส่งเสียงร้องไพเราะไม่ขาดสาย  มีสร้อยคอเขียว
                          ส่งเสียงร้องหากันและกัน ไก่เถื่อน ไก่ฟ้า นกเปล้า นกนางนวล
                          เหยี่ยวดำ เหยี่ยวนกเขา นกกาน้ำ นกแขกเต้า นกสาลิกา อนึ่ง
                          ที่ใกล้สระนั้น มีนกเป็นอันมาก เป็นพวกๆ คือ เหลือง แดง ขาว
                          นกหัสดีลิงค์   พระยาหงส์ทอง นกกาน้ำ นกแขกเต้า นกดุเหว่า
                          นกออก  หงส์ขาว  นกช้อนหอย นกเค้าแมว  ห่าน นกยาง
                          นกโพระดก นกต้อยตีวิด นกพิราบ หงส์แดง  นกจากพราก
                          นกเป็ดน้ำ นกหัสดีลิงค์ ส่งเสียงร้องน่ารื่นรมย์ใจ เหล่าสกุณาทิชาชาติ
                          ดังกล่าวแล้ว ต่างก็ส่งเสียงร้องกู่ก้องหากันทั้งเช้าและเย็นเป็นนิรันดร์
                          อนึ่ง ที่ใกล้สระนั้นมีสกุณาทิชาชาติมากมายสีต่างๆ กัน ย่อมบันเทิง
                          อยู่กับคู่เคียง ส่งเสียงกู่ก้องร้องเข้าหากันและกัน อนึ่ง ที่ใกล้สระนั้น
                          มีสกุณาทิชาชาติ มากมายสีต่างๆ กัน ทุกๆ ตัวต่างส่งเสียงอันไพเราะ
                          ระงมไพร ที่ใกล้สองฝั่งสระมุจลินท์ อนึ่ง ที่ใกล้สระนั้นมีสกุณาทิชาชาติ
                          ชื่อว่าการเวกมากมาย ย่อมปราโมทย์อยู่กับคู่เคียง ส่งเสียงกู่ก้องร้องหา
                          กันและกัน อนึ่ง ที่ใกล้สระนั้นมีสกุณาทิชาชาติชื่อว่าการเวก ทุกๆ
                          ตัวต่างส่งเสียงอันไพเราะระงมไพร  อยู่ที่สองฝั่งสระมุจลินท์ ป่านั้น
                          เกลื่อนกลาดไปด้วยเนื้อทรายและเนื้อฟาน เป็นสถานที่เสพอาศัยของ
                          ช้างพลายและช้างพัง  ดาษดื่นไปด้วยเถาวัลย์นานาชนิด  และเป็นที่
                          อาศัยของฝูงชะมด อนึ่ง ที่ป่านั้น มีธัญญาชาติมากมาย คือ หญ้ากับแก้
                          ลูกเดือย ข้าวสาลี อ้อย  มิใช่น้อยเกิดเองในที่ไม่ได้ไถ  ทางนี้เป็น
                          ทางเดินได้คนเดียว เป็นทางตรงไปจนถึงอาศรม คนผู้ไปถึงอาศรมของ
                          พระเวสสันดรนั้นแล้ว  ย่อมไม่มีความหิวกระหายหรือความไม่ยินดี
                          พระเวสสันดรเจ้าพร้อมด้วยพระโอรสพระธิดา และมเหสี ทรงเพศนัก
                          บวชอันประเสริฐ ทรงขอสำหรับสอยผลไม้  เครื่องบูชาไฟและชะฎา
                          ทรงนุ่งห่มหนังเสือ บรรทมเหนือแผ่นดิน ทรงบูชาไฟ ประทับอยู่
                          ณ อาศรมใด เมื่อท่านบ่ายหน้าไปทางทิศอุดรจะได้เห็นอาศรมนั้น.

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ บรรทัดที่ ๗๔๒๒-๗๔๖๑. หน้าที่ ๒๘๓ - ๒๘๕. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=28&A=7422&Z=7461&pagebreak=0              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย[เลขข้อ] เป็นเกณฑ์แบ่งข้อ :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/item.php?book=28&item=1156&items=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=28&siri=22              ศึกษาอรรถกถาชาดกนี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=28&i=1045              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item.php?book=28&item=1156&items=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item.php?book=28&item=1156&items=1              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ http://84000.org/tipitaka/read/?สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่_๒๘ http://84000.org/tipitaka/read/?index_28

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]