ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๒ ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส
                          แสวงหายัญให้แก่เทวดาทั้งหลาย? ข้าแต่พระผู้มีพระภาค
                          ข้าพระองค์ขอทูลถามปัญหานั้น ขอพระองค์จงตรัสบอกปัญหา
                          นั้นแก่ข้าพระองค์เถิด.
             [๑๑๗] คำว่า ผู้ไม่มีตัณหาเครื่องหวั่นไหว ผู้เห็นมูล ความว่า ตัณหา ราคะ
สาราคะ ฯลฯ อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล เรียกว่า ความหวั่นไหว. ตัณหาอันเป็นความหวั่นไหว
นั้น พระผู้มีพระภาคผู้ตรัสรู้แล้ว ทรงละขาดแล้ว ตัดรากขาดแล้ว ทำไม่ให้มีที่ตั้งดุจตาลยอดด้วน
ถึงความไม่มี มีความไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา เพราะเหตุนั้น พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่าไม่มี
ความหวั่นไหว. พระผู้มีพระภาคชื่อว่าอเนชะ เพราะพระองค์ทรงละตัณหาเครื่องหวั่นไหวขาดแล้ว
ย่อมไม่ทรงหวั่นไหวเพราะลาภ แม้เพราะความเสื่อมลาภ แม้เพราะยศ แม้เพราะความเสื่อมยศ
แม้เพราะสรรเสริญ แม้เพราะนินทา แม้เพราะสุข แม้เพราะทุกข์ ... ไม่หวั่น ไม่ไหว
ไม่คลอนแคลน เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า อเนชะ.
             คำว่า มูลทสฺสาวี ความว่า พระผู้มีพระภาคทรงเห็นมูล คือ ทรงเห็นเหตุ ทรงเห็น
นิทาน ทรงเห็นสมภพ ทรงเห็นสมุฏฐาน ทรงเห็นอาหาร ทรงเห็นอารมณ์ ทรงเห็นปัจจัย
ทรงเห็นสมุทัย. อกุศลมูล ๓ คือ โลภะอกุศลมูล ๑ โทสะอกุศลมูล ๑ โมหะอกุศลมูล ๑.
สมจริงตามพระพุทธพจน์ที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหตุแห่งความเกิดขึ้น
แห่งกรรม ๓ ประการนี้ คือ โลภะ ๑ โทสะ ๑ โมหะ ๑. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เทวดา มนุษย์
หรือสุคติอย่างใดอย่างหนึ่งแม้อื่น ย่อมไม่ปรากฏเพราะกรรมเกิดแต่โลภะ เพราะกรรมเกิดแต่
โทสะ เพราะกรรมเกิดแต่โมหะ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย โดยที่แท้ นรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน
ปิตติวิสัย หรือทุคติ อย่างใดอย่างหนึ่งแม้อื่น ย่อมปรากฏ เพราะกรรมเกิดแต่โลภะ เพราะ
กรรมเกิดแต่โทสะ เพราะกรรมเกิดแต่โมหะ. อกุศลมูล ๓ ประการนี้ เพื่อความเกิดแห่งอัตภาพ
ในนรก ในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ในปิตติวิสัย. พระผู้มีพระภาคย่อมทรงรู้ทรงเห็นดังนี้. พระผู้มี-
*พระภาคทรงเห็นมูล ฯลฯ ทรงเห็นสมุทัย แม้ด้วยประการอย่างนี้.
             กุศลมูล ๓ ประการ คือ อโลภะกุศลมูล ๑ อโทสะกุศลมูล ๑ อโมหะกุศลมูล ๑.
สมจริงตามพระพุทธพจน์ที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า กุศลมูล ๓ ประการนี้ ฯลฯ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย
นรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ปิตติวิสัย หรือทุคติอย่างใดอย่างหนึ่งแม้อื่น ย่อมไม่ปรากฏเพราะ
กรรมเกิดแต่อโลภะ เพราะกรรมเกิดแต่อโทสะ เพราะกรรมเกิดแต่อโมหะ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย
โดยที่แท้ เทวดา มนุษย์ หรือสุคติอย่างใดอย่างหนึ่งแม้อื่น ย่อมปรากฏเพราะกรรมเกิดแต่อโลภะ
เพราะกรรมเกิดแต่อโทสะ เพราะกรรมเกิดแต่อโมหะ. กุศลมูล ๓ ประการนี้ เพื่อความเกิด
แห่งอัตภาพในเทวดา และในมนุษย์. พระผู้มีพระภาคย่อมทรงรู้ทรงเห็นดังนี้. พระผู้มีพระภาค
ย่อมทรงเห็นมูล ฯลฯ ทรงเห็นสมุทัย แม้ด้วยประการอย่างนี้.
             และสมจริงตามพระพุทธพจน์ที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมอย่างใด
อย่างหนึ่งที่เป็นอกุศล เป็นส่วนอกุศล เป็นฝ่ายอกุศล ธรรมทั้งหมดนั้นมีอวิชชาเป็นมูล
มีอวิชชาเป็นที่รวม มีอวิชชาอันอรหัตมรรคกำจัดได้ ย่อมถึงความเพิกถอนทั้งหมด. พระผู้มี-
*พระภาคย่อมทรงรู้ทรงเห็นดังนี้ พระผู้มีพระภาคทรงเห็นมูล ฯลฯ ทรงเห็นสมุทัย แม้ด้วยประการ
อย่างนี้.
             และสมจริงตามพระพุทธพจน์ที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมอย่างใด
อย่างหนึ่งที่เป็นกุศล เป็นส่วนกุศล เป็นฝ่ายกุศล ธรรมทั้งหมดนั้น มีความไม่ประมาทเป็นมูล
มีความไม่ประมาทเป็นที่รวม ความไม่ประมาท บัณฑิตกล่าวว่าเป็นยอดแห่งธรรมเหล่านั้น.
พระผู้มีพระภาคย่อมทรงรู้ทรงเห็นดังนี้. พระผู้มีพระภาคทรงเห็นมูล ฯลฯ ทรงเห็นสมุทัย แม้
ด้วยประการอย่างนี้.
             อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคย่อมทรงรู้ทรงเห็นว่า อวิชชาเป็นมูลแห่งสังขาร สังขาร
เป็นมูลแห่งวิญญาณ วิญญาณเป็นมูลแห่งนามรูป นามรูปเป็นมูลแห่งสฬายตนะ สฬายตนะ-
*เป็นมูลแห่งผัสสะ ผัสสะเป็นมูลแห่งเวทนา เวทนาเป็นมูลแห่งตัณหา ตัณหาเป็นมูลแห่งอุปาทาน
อุปาทานเป็นมูลแห่งภพ ภพเป็นมูลแห่งชาติ ชาติเป็นมูลแห่งชราและมรณะ. พระผู้มีพระภาค
ย่อมทรงรู้ทรงเห็นดังนี้. พระผู้มีพระภาคทรงเห็นมูล ฯลฯ ทรงเห็นสมุทัย แม้ด้วยประการ
อย่างนี้.
             และสมจริงตามพระพุทธพจน์ ที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม
อย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นอกุศล เป็นส่วนอกุศล เป็นฝ่ายอกุศล ธรรมทั้งหมดนั้นมีอวิชชาเป็นมูล
มีอวิชชาเป็นที่รวม มีอวิชชาอันอรหัตมรรคกำจัดได้ ย่อมถึงความเพิกถอนทั้งหมด. พระผู้มี-
*พระภาคทรงเห็นมูล ทรงเห็นเหตุ ทรงเห็นนิทาน ทรงเห็นสมภพ ทรงเห็นสมุฏฐาน ทรงเห็น
อาหาร ทรงเห็นอารมณ์ ทรงเห็นปัจจัย ทรงเห็นสมุทัย แม้ด้วยประการอย่างนี้ เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า ไม่ทรงหวั่นไหว ทรงเห็นมูล.
             คำว่า อิติ ในอุเทศว่า อิจจฺายสฺมา ปุณฺณโก เป็นบทสนธิ. คำว่า อายสฺมา
เป็นเครื่องกล่าวด้วยความรัก. คำว่า ปุณฺณโก เป็นชื่อของพราหมณ์นั้น.

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๐ บรรทัดที่ ๘๐๘-๘๖๑. หน้าที่ ๓๓ - ๓๕. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=30&A=808&Z=861&pagebreak=0              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย[เลขข้อ] เป็นเกณฑ์แบ่งข้อ :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/item.php?book=30&item=117&items=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=30&siri=22              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=30&i=116              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item.php?book=30&item=117&items=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item.php?book=30&item=117&items=1              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๐ http://84000.org/tipitaka/read/?สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่_๓๐ http://84000.org/tipitaka/read/?index_30

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]