ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๖ พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๓ ธาตุกถา-ปุคคลบัญญัติปกรณ์
             [๗๔] บุคคลมีทวารอันคุ้มครองแล้วในอินทรีย์ทั้งหลาย เป็นไฉน
             ความเป็นผู้มีทวารอันคุ้มครองแล้วในอินทรีย์ทั้งหลาย ในข้อนั้น
เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ เห็นรูปด้วยตา เป็นผู้ไม่ถือเอาซึ่งนิมิต เป็น
ผู้ไม่ถือเอาซึ่งอนุพยัญชนะ อกุศลธรรมทั้งหลายอันลามก คืออภิชฌาและ
โทมนัส พึงซ่านไปตามบุคคลผู้ไม่สำรวมอินทรีย์คือจักษุนี้อยู่ เพราะการไม่สำรวม
อินทรีย์คือจักษุใดเป็นเหตุ ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมอินทรีย์คือจักษุนั้น ย่อมรักษา
อินทรีย์คือจักษุ ย่อมถึงความสำรวมอินทรีย์คือจักษุ ฟังเสียงด้วยหู ฯลฯ
สูดกลิ่นด้วยจมูก ฯลฯ ลิ้มรสด้วยลิ้น ฯลฯ ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย ฯลฯ รู้
ธรรมารมณ์ด้วยใจ ไม่เป็นผู้ถือเอาซึ่งนิมิต ไม่เป็นผู้ถือเอาซึ่งอนุพยัญชนะ อกุศล
ธรรมทั้งหลายอันลามก คืออภิชฌาและโทมนัส พึงซ่านไปตามบุคคลผู้ไม่สำรวม
อินทรีย์คือใจนี้อยู่ เพราะความไม่สำรวมอินทรีย์คือใจใดเป็นเหตุ ย่อมปฏิบัติ
เพื่อสำรวมอินทรีย์คือใจนั้น ย่อมรักษาอินทรีย์คือใจ ย่อมถึงความสำรวมอินทรีย์
คือใจ การคุ้มครอง การปกครอง การรักษา การสำรวมอินทรีย์ทั้ง ๖ เหล่านี้
ใด นี้เรียกว่า ความเป็นผู้มีทวารอันคุ้มครองแล้วในอินทรีย์ทั้งหลาย บุคคลผู้
ประกอบแล้วด้วยความเป็นผู้มีทวารอันคุ้มครองแล้วในอินทรีย์ทั้งหลาย นี้ชื่อว่า
เป็นผู้มีทวารอันคุ้มครองแล้วในอินทรีย์ทั้งหลาย
             บุคคลผู้รู้จักประมาณในโภชนะ เป็นไฉน
             ความเป็นผู้รู้จักประมาณในโภชนะ ในข้อนั้นเป็นไฉน บุคคลบาง
คนในโลกนี้ พิจารณาโดยแยบคายแล้วบริโภคอาหาร ไม่บริโภคเพื่อจะเล่น
ไม่บริโภคเพื่อมัวเมา ไม่บริโภคเพื่อประดับ ไม่บริโภคเพื่อตกแต่งประเทืองผิว
บริโภคเพียงเพื่อความตั้งอยู่แห่งกายนี้ เพื่อให้กายเป็นไป เพื่อจะกำจัดความ
เบียดเบียนลำบาก คือความหิวอาหารเสีย เพื่อจะอนุเคราะห์พรหมจรรย์ ด้วย
คิดว่า ด้วยการเสพเฉพาะอาหารนี้ เราจักกำจัดเวทนาเก่าเสีย ไม่ให้เวทนา
ใหม่เกิดขึ้นด้วย ความที่กายจักเป็นไปได้นานจักมีแก่เรา ความเป็นผู้ไม่มีโทษ
ความอยู่สบายด้วย จักมีแก่เรา ความเป็นผู้สันโดษ ความเป็นผู้รู้จักประมาณ
ในโภชนะนั้น ความพิจารณาในโภชนะนั้นอันใด นี้เรียกว่า ความเป็นผู้รู้จัก
ประมาณในโภชนะ บุคคลผู้ประกอบแล้วด้วยความเป็นผู้รู้จักประมาณในโภชนะ นี้
ชื่อว่า เป็นผู้รู้จักประมาณในโภชะ

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๖ บรรทัดที่ ๓๑๔๑-๓๑๖๘. หน้าที่ ๑๒๙ - ๑๓๐. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=36&A=3141&Z=3168&pagebreak=0              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย[เลขข้อ] เป็นเกณฑ์แบ่งข้อ :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/item.php?book=36.2&item=74&items=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=36&siri=28              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=36&i=573              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item.php?book=36.2&item=74&items=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item.php?book=36.2&item=74&items=1              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๖ http://84000.org/tipitaka/read/?สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่_๓๖ http://84000.org/tipitaka/read/?index_36

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]