ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค
๓. อภิญญาปริญญาปหานสูตร
ว่าด้วยธรรมเพื่อรู้ยิ่งกำหนดรู้แล้วละสิ่งทั้งปวง
[๒๕] “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมเพื่อรู้ยิ่ง กำหนดรู้แล้วละสิ่งทั้งปวงแก่ เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ธรรมเพื่อรู้ยิ่ง กำหนดรู้แล้วละสิ่งทั้งปวง เป็นอย่างไร คือ จักขุเป็นสิ่งที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้แล้วละ รูปเป็นสิ่งที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้ แล้วละ จักขุวิญญาณเป็นสิ่งที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้แล้วละ จักขุสัมผัสเป็นสิ่งที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้แล้วละ แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่ เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย ก็เป็นสิ่งที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้แล้วละ ฯลฯ @เชิงอรรถ : @ มโน ในที่นี้หมายถึงภวังคจิต (สํ.สฬา.อ. ๓/๒๔/๖) @ มโนวิญญาณ ในที่นี้หมายถึงชวนจิตที่เกิดร่วมกับอาวัชชนจิต (สํ.สฬา.อ. ๓/๒๔/๖) @ มโนสัมผัส ในที่นี้หมายถึงผัสสะที่เกิดพร้อมกับภวังคจิต (สํ.สฬา.อ. ๓/๒๔/๖) @ ความเสวยอารมณ์ ในที่นี้หมายถึงเวทนาที่เกิดพร้อมกับชวนจิต (สํ.สฬา.อ. ๓/๒๔/๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๒๓}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]

๑. ปฐมปัณณาสก์ ๓. สัพพวรรค ๔. ปฐมอปริชานนสูตร

ชิวหาเป็นสิ่งที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้แล้วละ รสเป็นสิ่งที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้แล้วละ ชิวหาวิญญาณเป็นสิ่งที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้แล้วละ ชิวหาสัมผัสเป็นสิ่งที่ควรรู้ยิ่ง กำหนด รู้แล้วละ แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะ ชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัยก็เป็นสิ่งที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้แล้วละ กายเป็นสิ่งที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้แล้วละ ฯลฯ มโนเป็นสิ่งที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้แล้วละ ธรรมารมณ์เป็นสิ่งที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้แล้วละ มโนวิญญาณเป็นสิ่งที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้แล้วละ มโนสัมผัสเป็น สิ่งที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้แล้วละ แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุข มิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ก็เป็นสิ่งที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้แล้วละ ภิกษุทั้งหลาย ธรรมเพื่อรู้ยิ่ง กำหนดรู้แล้วละสิ่งทั้งปวง เป็นอย่างนี้แล”
อภิญญาปริญญาปหานสูตรที่ ๓ จบ

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๘ หน้าที่ ๒๓-๒๔. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=18&A=622 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=18&siri=23              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับฉบับหลวง https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=18&A=319&Z=330&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=18&i=26              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ https://84000.org/tipitaka/read/?index_18 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu18 https://84000.org/tipitaka/english/?index_18


บันทึก ๑๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]