ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
๕. วชิรูปมสูตร
ว่าด้วยบุคคลที่มีจิตเหมือนเพชร
[๒๕] ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก บุคคล ๓ จำพวกไหนบ้าง คือ ๑. บุคคลที่มีจิตเหมือนแผลเก่า ๒. บุคคลที่มีจิตเหมือนฟ้าแลบ ๓. บุคคลที่มีจิตเหมือนเพชร บุคคลที่มีจิตเหมือนแผลเก่า เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นคนมักโกรธ มากไปด้วยความคับแค้นใจ ถูกว่ากล่าวแม้เพียงเล็กน้อยก็ขัดใจ โกรธเคือง พยาบาท ขึ้งเคียด แสดงอาการโกรธ ขัดเคือง และไม่พอใจ เปรียบเหมือนแผลเก่าถูกไม้หรือกระเบื้องกระทบเข้า ย่อม ให้เกิดความเจ็บปวดมากขึ้น แม้ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล เป็นคน มักโกรธ มากไปด้วยความคับแค้นใจ ถูกว่ากล่าวแม้เพียงเล็กน้อยก็ขัดใจ โกรธเคือง พยาบาท ขึ้งเคียด แสดงอาการโกรธ ขัดเคือง และไม่พอใจ นี้เรียกว่า บุคคลที่มีจิตเหมือนแผลเก่า บุคคลที่มีจิตเหมือนฟ้าแลบ เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า “นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา” เปรียบเหมือนคนมีตาดีเห็นรูปได้ในขณะ ฟ้าแลบในเวลากลางคืนที่มืดมิด แม้ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๑๗๓}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๓. ปุคคลวรรค ๖. เสวิตัพพสูตร

รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า “นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินี- ปฏิปทา” นี้เรียกว่า บุคคลที่มีจิตเหมือนฟ้าแลบ บุคคลที่มีจิตเหมือนเพชร๑- เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน เปรียบเหมือนแก้วมณี หรือหินบางชนิดที่เพชรจะทำลายไม่ได้ไม่มี แม้ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉัน นั้นเหมือนกันแล ... เพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน นี้เรียกว่า บุคคลที่มีจิตเหมือนเพชร ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก
วชิรูปมสูตรที่ ๕ จบ
๖. เสวิตัพพสูตร
ว่าด้วยบุคคลที่ควรคบ
[๒๖] ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก บุคคล ๓ จำพวกไหนบ้าง คือ ๑. บุคคลที่ไม่ควรเสพ ไม่ควรคบ ไม่ควรเข้าไปนั่งใกล้ ๒. บุคคลที่ควรเสพ ควรคบ ควรเข้าไปนั่งใกล้ ๓. บุคคลที่ควรสักการะ เคารพแล้วจึงเสพ คบ เข้าไปนั่งใกล้ บุคคลที่ไม่ควรเสพ ไม่ควรคบ ไม่ควรเข้าไปนั่งใกล้ เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ต่ำทรามกว่าตนในด้านศีล สมาธิ ปัญญา บุคคล เช่นนี้ ไม่ควรเสพ ไม่ควรคบ ไม่ควรเข้าไปนั่งใกล้ นอกจากจะเมตตาอนุเคราะห์ บุคคลที่ควรเสพ ควรคบ ควรเข้าไปนั่งใกล้ เป็นอย่างไร @เชิงอรรถ : @ จิตเหมือนเพชร หมายถึงจิตที่มีความแข็งแกร่ง สามารถกำจัดมูลรากแห่งกิเลสทั้งหลาย @(องฺ.ติก.อ. ๒/๒๕/๑๐๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๑๗๔}

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๐ หน้าที่ ๑๗๓-๑๗๔. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=20&A=4737 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=20&siri=69              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับฉบับหลวง https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=20&A=3244&Z=3268&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=464              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ https://84000.org/tipitaka/read/?index_20 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu20 https://84000.org/tipitaka/english/?index_20


บันทึก ๑๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]