ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
๓. สารีปุตตสูตร
ว่าด้วยพระสารีบุตรกราบทูลพระผู้มีพระภาค
[๓๓] ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสกับท่านพระสารีบุตรดังนี้ว่า “สารีบุตร เราแสดงธรรมโดยย่อก็ได้ เราแสดงธรรมโดยพิสดารก็ได้ เรา แสดงธรรมทั้งโดยย่อและโดยพิสดารก็ได้ แต่บุคคลผู้รู้ทั่วถึงธรรมหาได้ยาก” ท่านพระสารีบุตรกราบทูลว่า “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค บัดนี้เป็นกาล ข้าแต่ พระสุคต บัดนี้เป็นเวลาที่พระผู้มีพระภาคพึงแสดงธรรมโดยย่อ พึงแสดงธรรมโดย พิสดาร พึงแสดงธรรมทั้งโดยย่อและโดยพิสดาร จักมีผู้รู้ทั่วถึงธรรมได้” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สารีบุตร เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายพึงสำเหนียก อย่างนี้ว่า “จักไม่มีอหังการ มมังการ และมานานุสัยทั้งในกายที่มีวิญญาณนี้ และ ในนิมิตภายนอกทั้งปวง และเราทั้งหลายจักเข้าถึงเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ ไม่มี อหังการ มมังการ และมานานุสัยอยู่” เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล เพราะภิกษุไม่มีอหังการ มมังการ และมานานุสัยทั้งในกายที่มีวิญญาณนี้และ ในนิมิตภายนอกทั้งปวง และเพราะภิกษุผู้เข้าถึงเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติไม่มีอหังการ มมังการ และมานานุสัยอยู่ เราจึงเรียกว่า ภิกษุนี้ตัดตัณหา ถอนสังโยชน์ ทำที่สุด แห่งทุกข์ เพราะรู้ยิ่งด้วยการละมานะได้โดยชอบ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๑๘๕}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๔. เทวทูตวรรค ๔. นิทานสูตร

เราหมายเอาเช่นนี้จึงกล่าวไว้ในอุทยปัญหาในปารายนวรรค ดังนี้ว่า เรากล่าวอัญญาวิโมกข์๑- ซึ่งเป็นธรรม สำหรับละธรรมทั้งสองคือกามสัญญา๒- และโทมนัส เป็นธรรมบรรเทาถีนะ(ความง่วง) เป็นธรรมปิดกั้นกุกกุจจะ(ความร้อนใจ) ซึ่งบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาและสติ มีการตรึกตรองธรรม๓- เป็นธรรมเกิดก่อน และเป็นธรรมเครื่องทำลายอวิชชา(ความไม่รู้แจ้ง)
สารีปุตตสูตรที่ ๓ จบ
๔. นิทานสูตร
ว่าด้วยเหตุเกิดแห่งกรรม
[๓๔] ภิกษุทั้งหลาย เหตุให้เกิดกรรม ๓ ประการนี้ เหตุให้เกิดกรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. โลภะ (ความอยากได้) เป็นเหตุให้เกิดกรรม ๒. โทสะ (ความคิดประทุษร้าย) เป็นเหตุให้เกิดกรรม ๓. โมหะ (ความหลง) เป็นเหตุให้เกิดกรรม กรรมที่ถูกโลภะครอบงำ เกิดจากโลภะ มีโลภะเป็นเหตุ มีโลภะเป็นแดนเกิด๔- ย่อมให้ผลในที่ซึ่งอัตภาพของเขาเกิด บุคคลต้องเสวยผลกรรมนั้นในขันธ์ที่กรรมนั้น ให้ผลในปัจจุบัน ในลำดับที่เกิด หรือในระยะต่อไป @เชิงอรรถ : @ อัญญาวิโมกข์ หมายถึงอรหัตตผล (องฺ.ติก.อ. ๒/๓๓/๑๑๕-๑๑๖) @ กามสัญญา หมายถึงสัญญาที่เกิดขึ้นปรารภกาม หรือสัญญาที่สหรคตด้วยโลภจิต ๘ ดวง @(องฺ.ติก.อ. ๒/๓๓/๑๑๕) @ การตรึกตรองธรรม (ธัมมตักกะ) ในที่นี้หมายถึงสัมมาสังกัปปะในอริยมรรคมีองค์ ๘ @(องฺ.ติก.อ. ๒/๓๓/๑๑๖) @ มีโลภะเป็นแดนเกิด หมายถึงมีโลภะเป็นปัจจัย กล่าวคือมีโลภะเป็นเหตุให้เกิด (องฺ.ติก.อ. ๒/๓๔/๑๑๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๑๘๖}

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๐ หน้าที่ ๑๘๕-๑๘๖. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=20&A=5095 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=20&siri=77              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับฉบับหลวง https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=20&A=3512&Z=3534&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=472              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ https://84000.org/tipitaka/read/?index_20 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu20 https://84000.org/tipitaka/english/?index_20


บันทึก ๑๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]