ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
๖. อุปัชฌายสูตร
ว่าด้วยอุปัชฌาย์๓-
[๕๖] ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปหาพระอุปัชฌาย์ของตนถึงที่อยู่ ได้กล่าว ดังนี้ว่า “ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เดี๋ยวนี้ กายของผมหนักขึ้น ทิศทั้งหลายไม่ปรากฏแก่ผม ธรรมทั้งหลาย๔- ก็ไม่แจ่มแจ้งแก่ผม ผมถูกถีนมิทธะครอบงำจิต ไม่ยินดีประพฤติ พรหมจรรย์ และมีความสงสัยในธรรมทั้งหลาย” ต่อมา ภิกษุนั้นพาภิกษุสัทธิวิหาริก เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระพระภาคว่า “ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุนี้กล่าวอย่างนี้ว่า ‘เดี๋ยวนี้ กายของผมหนักขึ้น ทิศทั้งหลาย ไม่ปรากฏแก่ผม ธรรมทั้งหลายก็ไม่แจ่มแจ้งแก่ผม ผมถูกถีนมิทธะครอบงำจิต ไม่ยินดีประพฤติพรหมจรรย์ และมีความสงสัยในธรรมทั้งหลาย” @เชิงอรรถ : @ กำหนดรู้กาม ในที่นี้หมายถึงกำหนดรู้กามทั้งสอง คือ วัตถุกาม และกิเลสกาม ด้วยปริญญา ๓ คือ @(๑) ญาตปริญญา กำหนดรู้ด้วยให้เป็นสิ่งอันรู้แล้ว (๒) ตีรณปริญญา กำหนดรู้ด้วยการพิจารณา @(๓) ปหานปริญญา กำหนดรู้ด้วยการละ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๕๕/๓๐) @ เป็นผู้ถึงฝั่ง ในที่นี้หมายถึงเป็นผู้บรรลุพระนิพพาน (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๕๕/๓๐) @ อุปัชฌาย์ หมายถึงครูผู้คอยเพ่งโทษน้อยใหญ่ ได้แก่ ผู้รับรองกุลบุตรเข้ารับการอุปสมบทในท่ามกลางภิกษุสงฆ์ @และเป็นผู้คอยดูแลผิดและชอบ อบรมให้การศึกษา (วชฺชาวชฺชํ อุปนิชฺฌายตีติ อุปชฺฌาโย) (วิ.อ. ๓/๖๔-๖๕/๓๒, @สารตฺถ.ฏีกา ๓/๖๔/๒๘๑) @ ธรรมทั้งหลาย ในที่นี้หมายถึงสมถะ(การฝึกจิตให้สงบเป็นสมาธิ) และวิปัสสนา(ความเห็นแจ้ง) @(องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๕๕/๓๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๙๗}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๑. นีวรณวรรค ๖. อุปัชฌายสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุ การที่กายของเธอหนักขึ้น ทิศทั้งหลายไม่ ปรากฏแก่เธอ ธรรมทั้งหลายไม่แจ่มแจ้งแก่เธอ เธอถูกถีนมิทธะครอบงำจิต ไม่ยินดี ประพฤติพรหมจรรย์ และมีความสงสัยในธรรมทั้งหลายนี้ ย่อมมีแก่ภิกษุผู้ไม่ คุ้มครองทวารในอินทรีย์ ไม่รู้จักประมาณในการบริโภค ไม่ประกอบความเพียร เป็นเครื่องตื่นอยู่ ไม่เห็นแจ้งกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่ประกอบการเจริญโพธิปักขิย- ธรรมทั้งหลายทุกวันทุกคืน เพราะเหตุนั้นแล เธอพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า ‘เราจัก คุ้มครองทวารในอินทรีย์ รู้จักประมาณในการบริโภค ประกอบความเพียรเป็นเครื่อง ตื่นอยู่ เห็นแจ้งกุศลธรรมทั้งหลาย ประกอบการเจริญโพธิปักขิยธรรมทั้งหลายทุกวัน ทุกคืน’ ภิกษุ เธอพึงสำเหนียกอย่างนี้แล” ครั้งนั้น ภิกษุนั้นอันพระผู้มีพระภาคตรัสสอนด้วยพระโอวาทนี้แล้วก็ลุกจาก อาสนะ ถวายอภิวาท ทำประทักษิณแล้วหลีกไป ลำดับนั้น ภิกษุนั้นหลีกออกไปอยู่ ผู้เดียว ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ ไม่นานนักได้ทำให้แจ้ง ซึ่งประโยชน์ยอดเยี่ยม๑- อันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ที่กุลบุตรออกจากเรือนบวชเป็น บรรพชิตโดยชอบต้องการ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน ได้รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำ๒- เสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความ เป็นอย่างนี้อีกต่อไป๓-’ ก็ภิกษุนั้นได้เป็นพระอรหันต์รูปหนึ่งในจำนวนพระอรหันต์ ทั้งหลาย ครั้นภิกษุนั้นได้บรรลุความเป็นพระอรหันต์แล้ว จึงเข้าไปหาพระอุปัชฌาย์ ของตนถึงที่อยู่แล้วกล่าวว่า “ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เดี๋ยวนี้ กายของผมไม่หนักขึ้น ทิศทั้งหลายปรากฏแก่ผม ธรรมทั้งหลายแจ่มแจ้งแก่ผม ผมไม่ถูกถีนมิทธะ ครอบงำจิต ยินดีประพฤติพรหมจรรย์ และไม่มีความสงสัยในธรรมทั้งหลาย” @เชิงอรรถ : @ ประโยชน์ยอดเยี่ยม ในที่นี้หมายถึงอรหัตตผล หรืออริยผลอันเป็นที่สุดแห่งมัคคพรหมจรรย์ @(องฺ.ทุก.อ. ๒/๕/๗, ม.ม.อ. ๒/๘๒/๘๐) @ กิจที่ควรทำ ในที่นี้หมายถึงกิจ ๔ อย่าง คือ ปริญญากิจ (หน้าที่กำหนดรู้ทุกข์) ปหานกิจ (หน้าที่ละเหตุ @เกิดทุกข์) สัจฉิกิริยากิจ (หน้าที่ทำให้แจ้งความดับทุกข์) และภาวนากิจ (หน้าที่อบรมมรรคมีองค์ ๘ ให้เจริญ) @เป็นกิจในอริยสัจ ๔ (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๔๙/๑๒๘, องฺ.ฉกฺก.ฏีกา ๓/๔๙/๑๔๑, ที.สี.อ. ๒๔๘/๒๐๓) @ ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป ในที่นี้หมายถึงไม่มีหน้าที่ในการบำเพ็ญมัคคญาณ (ญาณในขั้น @อริยมรรค)เพื่อความสิ้นกิเลสอีกต่อไป เพราะพระพุทธศาสนาถือว่าการบรรลุพระอรหัตตผลเป็นจุดหมาย @สูงสุดแล้ว (ที.สี.อ. ๒๔๘/๒๐๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๙๘}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๑. นีวรณวรรค ๗. ฐานสูตร

ลำดับนั้น ภิกษุนั้นพาภิกษุสัทธิวิหาริกนั้นเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุ นี้กล่าวอย่างนี้ว่า “ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เดี๋ยวนี้ กายของผมไม่หนักขึ้น ทิศทั้งหลาย ปรากฏแก่ผม ธรรมทั้งหลายแจ่มแจ้งแก่ผม ผมไม่ถูกถีนมิทธะครอบงำจิต ยินดี ประพฤติพรหมจรรย์ และไม่มีความสงสัยในธรรมทั้งหลาย” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุ การที่กายของเธอไม่หนักขึ้น ทิศทั้งหลาย ปรากฏแก่เธอ ธรรมทั้งหลายแจ่มแจ้งแก่เธอ ถีนมิทธะไม่ครอบงำจิต ยินดีประพฤติ พรหมจรรย์ และไม่มีความสงสัยในธรรมทั้งหลายนี้ ย่อมมีแก่ภิกษุผู้คุ้มครองทวาร ในอินทรีย์ รู้จักประมาณในการบริโภค ประกอบความเพียรเครื่องตื่นอยู่ เห็นแจ้ง กุศลธรรม ประกอบการเจริญโพธิปักขิยธรรมทั้งหลายทุกวันทุกคืน เพราะเหตุ นั้นแล เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า ‘เราจักคุ้มครองทวารในอินทรีย์ รู้จัก ประมาณในการบริโภค ประกอบความเพียรเครื่องตื่นอยู่ เห็นแจ้งกุศลธรรม ประกอบ การเจริญโพธิปักขิยธรรมทุกวันทุกคืน’ ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล”
อุปัชฌายสูตรที่ ๖ จบ

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๒ หน้าที่ ๙๗-๙๙. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=22&A=2775 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=22&siri=56              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับฉบับหลวง https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=22&A=1603&Z=1648&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=56              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ https://84000.org/tipitaka/read/?index_22 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu22 https://84000.org/tipitaka/english/?index_22


บันทึก ๑๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]