ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] วิภังคปกรณ์

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [ ๔. สัจจวิภังค์]

๑. สุตตันตภาชนีย์

๔. สัจจวิภังค์
๑. สุตตันตภาชนีย์
[๑๘๙] อริยสัจ๑- ๔ คือ ๑. ทุกขอริยสัจ (อริยสัจคือทุกข์) ๒. ทุกขสมุทยอริยสัจ (อริยสัจคือเหตุเกิดแห่งทุกข์) ๓. ทุกขนิโรธอริยสัจ (อริยสัจคือความดับทุกข์) ๔. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ (อริยสัจคือข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์)
๑. ทุกขสัจ
[๑๙๐] บรรดาอริยสัจ ๔ นั้น ทุกขอริยสัจ เป็นไฉน ชาติเป็นทุกข์ ชราเป็นทุกข์ มรณะเป็นทุกข์ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปายาสเป็นทุกข์ การประสบกับอารมณ์อันไม่เป็นที่รักเป็นทุกข์ ความพลัดพราก จากอารมณ์อันเป็นที่รักเป็นทุกข์ การไม่ได้สิ่งที่ต้องการเป็นทุกข์ โดยย่อ อุปาทาน- ขันธ์๒- ๕ เป็นทุกข์๓- [๑๙๑] บรรดาทุกขอริยสัจนั้น ชาติ เป็นไฉน ความเกิด ความเกิดพร้อม ความหยั่งลง ความบังเกิดเฉพาะ ความปรากฏ แห่งขันธ์ ความได้อายตนะ ในหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ นี้เรียกว่า ชาติ๔- @เชิงอรรถ : @ ความจริงของพระอริยะ, ความจริงที่ทำให้ผู้เข้าถึงกลายเป็นพระอริยะ, สัจจะที่พระอริยะพึงรู้ @(วิภงฺคมูลฏี. ๑๘๙/๕๘) @ อภิธัมมัตถวิ. ๒๒๗ @ วิ.ม. ๔/๑๔/๑๔, ม.มู. ๑๒/๙๑/๖๖, ม.อุ. ๑๔/๓๗๓/๓๑๗, ขุ.ป. ๓๑/๓๓/๓๘, อภิ.วิ.อ. ๑๙๐/๑๐๐ @ ที.ม. ๑๐/๓๘๗/๒๖๑, ม.มู. ๑๒/๙๓/๖๗, ม.อุ. ๑๔/๓๗๓/๓๑๗, สํ.นิ. ๑๖/๒/๓, ขุ.ป. ๓๑/๓๓/๓๙, @อภิ.วิ. ๓๕/๒๓๕/๑๖๓ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๑๖๓}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๔. สัจจวิภังค์]

๑. สุตตันตภาชนีย์ ๑. ทุกขสัจ

[๑๙๒] ชรา เป็นไฉน ความแก่ ความคร่ำคร่า ความมีฟันหลุด ความมีผมหงอก ความมีหนังเหี่ยว ย่น ความเสื่อมอายุ ความแก่หง่อมแห่งอินทรีย์ ในหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์ นั้นๆ นี้เรียกว่า ชรา๑- [๑๙๓] มรณะ เป็นไฉน ความจุติ ความเคลื่อนไป ความทำลายไป ความหายไป ความตายกล่าวคือ มฤตยู การทำกาละ ความแตกแห่งขันธ์ ความทอดทิ้งร่างกาย ความขาดสูญแห่ง ชีวิตินทรีย์ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ จากหมู่สัตว์นั้นๆ นี้เรียกว่า มรณะ๒- [๑๙๔] โสกะ เป็นไฉน ความเศร้าโศก กิริยาที่เศร้าโศก ภาวะที่เศร้าโศก ความแห้งผากภายใน ความแห้งกรอบภายใน ความเกรียมใจ ความโทมนัส ลูกศรคือความโศก ของผู้ที่ ถูกความเสื่อมญาติ ความเสื่อมโภคทรัพย์ ความเสื่อมเกี่ยวด้วยโรค ความเสื่อมศีล หรือความเสื่อมทิฏฐิกระทบ ของผู้ประกอบด้วยความเสื่อมอย่างใดอย่างหนึ่ง (หรือ)ผู้ที่ถูกเหตุแห่งทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งกระทบ นี้เรียกว่า โสกะ๓- [๑๙๕] ปริเทวะ เป็นไฉน ความร้องไห้ ความคร่ำครวญ กิริยาที่ร้องไห้ กิริยาที่คร่ำครวญ ภาวะที่ร้องไห้ ภาวะที่คร่ำครวญ ความบ่นถึง ความพร่ำเพ้อ ความร่ำไห้ ความพิไรรำพัน กิริยาที่ พิไรรำพัน ภาวะที่พิไรรำพัน ของผู้ที่ถูกความเสื่อมญาติ ความเสื่อมโภคทรัพย์ ความเสื่อมเกี่ยวด้วยโรค ความเสื่อมศีล หรือความเสื่อมทิฏฐิกระทบ ของผู้ที่ ประกอบด้วยความเสื่อมอย่างใดอย่างหนึ่ง (หรือ)ผู้ที่ถูกเหตุแห่งทุกข์อย่างใดอย่าง หนึ่งกระทบ นี้เรียกว่า ปริเทวะ๔- @เชิงอรรถ : @ ที.ม. ๑๐/๓๘๙/๒๖๐, ม.มู. ๑๒/๙๒/๖๖-๖๗, ม.อุ. ๑๔/๓๗๓/๓๑๗, สํ.นิ. ๑๖/๒/๓, ๒๗/๔๑, ๒๘/๔๒, ๓๓/๕๕, @ขุ.ป. ๓๑/๓๓/๓๙, อภิ.วิ. ๓๕/๒๓๖/๑๖๓ @ ที.ม. ๑๐/๓๙๐/๒๖๐, ม.มู. ๑๒/๙๒/๖๗, ม.อุ. ๑๔/๓๗๓/๓๑๘, สํ.นิ. ๑๖/๒/๓, ๒๗/๔๑, ๒๘/๔๒, ๓๓/๕๕, @ขุ.ม. ๒๙/๔๑/๑๐๒, ขุ.ป. ๓๑/๓๓/๓๙, อภิ.วิ. ๓๕/๒๓๖/๑๖๔ @ ขุ.ม. ๒๙/๔๔/๑๐๖, ๙๗/๒๑๐, ขุ.จู. ๓๐/๒๑/๗๖, ขุ.ป. ๓๑/๓๓/๓๙, อภิ.วิ. ๓๕/๒๓๗/๑๖๔ @ ขุ.ม. ๒๙/๔๔/๑๐๖, ๙๗/๒๑๐, ขุ.จู. ๓๐/๒๑/๗๖, ขุ.ป. ๓๑/๓๓/๓๙, อภิ.วิ. ๓๕/๒๓๘/๑๖๔ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๑๖๔}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๔. สัจจวิภังค์]

๑. สุตตันตภาชนีย์ ๑. ทุกขสัจ

[๑๙๖] ทุกข์ เป็นไฉน ความไม่สำราญทางกาย ความทุกข์ทางกาย ความเสวยอารมณ์ที่ไม่สำราญ เป็นทุกข์ อันเกิดแต่กายสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่สำราญเป็นทุกข์ อันเกิดแต่ กายสัมผัส นี้เรียกว่า ทุกข์๑- [๑๙๗] โทมนัส เป็นไฉน ความไม่สำราญทางใจ ความทุกข์ทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่ไม่สำราญ เป็นทุกข์ อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่สำราญเป็นทุกข์ อันเกิดแต่ เจโตสัมผัส นี้เรียกว่า โทมนัส๒- [๑๙๘] อุปายาส เป็นไฉน ความแค้น ความคับแค้น ภาวะที่แค้น ภาวะที่คับแค้น ของผู้ที่ถูกความ เสื่อมญาติ ความเสื่อมโภคทรัพย์ ความเสื่อมเกี่ยวด้วยโรค ความเสื่อมศีล หรือ ความเสื่อมทิฏฐิกระทบ ของผู้ที่ประกอบด้วยความเสื่อมอย่างใดอย่างหนึ่งกระทบ (หรือ)ผู้ที่ถูกเหตุแห่งทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งกระทบ นี้เรียกว่า อุปายาส๓- [๑๙๙] การประสบกับอารมณ์อันไม่เป็นที่รักเป็นทุกข์ เป็นไฉน การไปร่วม การมาร่วม การประชุมร่วม การอยู่ร่วมกับอารมณ์อันไม่เป็นที่ ปรารถนา ไม่เป็นที่รักใคร่ ไม่เป็นที่ชอบใจของเขาในโลกนี้ เช่น รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ หรือจากบุคคลผู้ปรารถนาแต่สิ่งที่มิใช่ประโยชน์ ปรารถนาแต่สิ่งที่ไม่ เกื้อกูล ปรารถนาแต่สิ่งที่ไม่ผาสุก ไม่ปรารถนาความหลุดพ้นจากโยคะ๔- ของเขา นี้เรียกว่า การประสบกับอารมณ์อันไม่เป็นที่รักเป็นทุกข์๕- [๒๐๐] การพลัดพรากจากอารมณ์อันเป็นที่รักเป็นทุกข์ เป็นไฉน การไม่ไปร่วม การไม่มาร่วม การไม่ประชุมร่วม การไม่อยู่ร่วมกับอารมณ์อัน เป็นที่ปรารถนาเป็นที่รักใคร่ชอบใจของเขาในโลกนี้ เช่น รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ @เชิงอรรถ : @ ขุ.ป. ๓๑/๓๓/๓๙, อภิ.สงฺ. ๓๔/๕๕๙/๑๕๘, อภิ.วิ. ๓๕/๒๓๙/๑๖๔ @ ขุ.ป. ๓๑/๓๓/๓๙, อภิ.สงฺ. ๓๔/๔๑๗/๑๑๖, อภิ.วิ. ๓๕/๒๔๐/๑๖๔ @ ขุ.ป. ๓๑/๓๓/๓๙-๔๐, อภิ.วิ. ๓๕/๒๔๑/๑๖๕ @ ดู โยคะ ๔ ข้อ ๙๓๘ หน้า ๕๘๘ ในเล่มนี้ @ ขุ.ป. ๓๑/๓๓/๔๐, อภิ.วิ. ๓๕/๒๔๑/๑๖๕ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๑๖๕}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๔. สัจจวิภังค์]

๑. สุตตันตภาชนีย์ ๑. ทุกขสัจ

หรือจากบุคคลผู้ที่มุ่งประโยชน์ มุ่งความเกื้อกูล มุ่งความผาสุก มุ่งความเกษมจาก โยคะของเขา เช่น มารดา บิดา พี่ชาย น้องชาย พี่หญิง น้องหญิง มิตร อำมาตย์ ญาติ หรือสายโลหิต นี้เรียกว่า การพลัดพรากจากอารมณ์อันเป็นที่รักเป็นทุกข์๑- [๒๐๑] การไม่ได้สิ่งที่ต้องการเป็นทุกข์ เป็นไฉน เหล่าสัตว์ผู้มีความเกิดเป็นธรรมดา เกิดความปรารถนาขึ้นอย่างนี้ว่า ไฉนหนอ ขอเราอย่าได้มีความเกิดเป็นธรรมดา หรือขอความเกิดอย่าได้มาถึงเราเลยนะ ข้อนี้ ไม่พึงสำเร็จได้ตามความปรารถนา นี้เรียกว่า การไม่ได้สิ่งที่ต้องการเป็นทุกข์ เหล่าสัตว์ผู้มีความแก่เป็นธรรมดา ฯลฯ เหล่าสัตว์ผู้มีความเจ็บเป็นธรรมดา ฯลฯ เหล่าสัตว์ผู้มีความตายเป็นธรรมดา ฯลฯ เหล่าสัตว์ผู้มีความเศร้าโศก ความพิไรรำพัน ความทุกข์ ความโทมนัส และความคับแค้นเป็นธรรมดา ต่างก็เกิด ความปรารถนาขึ้นอย่างนี้ว่า ไฉนหนอ ขอเราอย่าได้เป็นผู้มีความเศร้าโศก ความ พิไรรำพัน ความทุกข์ ความโทมนัส และความคับแค้นเป็นธรรมดาเลย ขอ ความเศร้าโศก ความพิไรรำพัน ความทุกข์ ความโทมนัส และความคับแค้น อย่า ได้มาถึงเราเลยนะ ข้อนี้ไม่พึงสำเร็จได้ตามความต้องการ นี้เรียกว่า การไม่ได้สิ่งที่ ต้องการเป็นทุกข์๒- [๒๐๒] โดยย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ เป็นไฉน รูปูปาทานขันธ์ (กองรูปที่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน) เวทนูปาทานขันธ์ (กอง เวทนาที่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน) สัญญูปาทานขันธ์ (กองสัญญาที่เป็นอารมณ์ ของอุปาทาน) สังขารูปาทานขันธ์ (กองสังขารที่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน) และ วิญญาณูปาทานขันธ์ (กองวิญญาณที่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน) เหล่านี้เรียกว่า โดยย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์๓- นี้เรียกว่า ทุกขอริยสัจ @เชิงอรรถ : @ ขุ.ป. ๓๑/๓๓/๔๐ @ ม.อุ. ๑๔/๓๗๓/๓๑๘, ขุ.ป. ๓๑/๓๓/๔๐ @ ม.อุ. ๑๔/๓๗๓/๓๑๘, ขุ.ป. ๓๑/๓๓/๔๐-๔๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๑๖๖}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๔. สัจจวิภังค์]

๑. สุตตันตภาชนีย์ ๒. สมุทยสัจ

๒. สมุทยสัจ
[๒๐๓] ทุกขสมุทยอริยสัจ เป็นไฉน ตัณหานี้เป็นเหตุเกิดในภพใหม่ สหรคตด้วยความกำหนัดยินดี เป็นเหตุ เพลิดเพลินในอารมณ์นั้นๆ คือ กามตัณหา ภวตัณหา และวิภวตัณหา ก็ตัณหานี้แหละเมื่อเกิด เกิดที่ไหน เมื่อตั้งอยู่ ตั้งอยู่ที่ไหน ปิยรูปสาตรูป๑- เป็นสภาวะที่มีอยู่ในโลก ตัณหานี้เมื่อเกิด ก็เกิดที่ปิยรูป- สาตรูปนี้ เมื่อตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ที่ปิยรูปสาตรูปนี้ ก็อะไรเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก จักษุเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้เมื่อเกิด ก็เกิดที่จักษุนี้ เมื่อตั้งอยู่ ก็ตั้ง อยู่ที่จักษุนี้ โสตะ ฯลฯ ในโลก ฆานะ ... ในโลก ชิวหา ... ในโลก กาย ... ในโลก มโนเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้เมื่อเกิด ก็เกิดที่มโนนี้ เมื่อตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ที่ มโนนี้ รูปเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้เมื่อเกิด ก็เกิดที่รูปนี้ เมื่อตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ที่ รูปนี้ เสียง ฯลฯ ในโลก กลิ่น ... ในโลก รส ... ในโลก โผฏฐัพพะ ... ในโลก ธรรมเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้เมื่อเกิด ก็เกิดที่ธรรมนี้ เมื่อตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ ที่ธรรมนี้ จักขุวิญญาณเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้เมื่อเกิด ก็เกิดที่จักขุวิญญาณ นี้ เมื่อตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ที่จักขุวิญญาณนี้ โสตวิญญาณ ฯลฯ ในโลก ฆานวิญญาณ ... ในโลก ชิวหาวิญญาณ ... ในโลก กายวิญญาณ ... ในโลก มโนวิญญาณเป็น ปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้เมื่อเกิด ก็เกิดที่มโนวิญญาณนี้ เมื่อตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ที่ มโนวิญญาณนี้ จักขุสัมผัสเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้เมื่อเกิด ก็เกิดที่จักขุสัมผัสนี้ เมื่อตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ที่จักขุสัมผัสนี้ โสตสัมผัส ฯลฯ ในโลก ฆานสัมผัส ... ในโลก @เชิงอรรถ : @ ปิยรูปสาตรูป สภาวะที่น่ารักน่าชื่นใจ ส่วนที่เป็นอิฏฐารมณ์ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดตัณหา (อภิ.วิ.อ. ๒๐๓/๑๑๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๑๖๗}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๔. สัจจวิภังค์]

๑. สุตตันตภาชนีย์ ๒. สมุทยสัจ

ชิวหาสัมผัส ... ในโลก กายสัมผัส ... ในโลก มโนสัมผัสเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้เมื่อเกิด ก็เกิดที่มโนสัมผัสนี้ เมื่อตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ที่มโนสัมผัสนี้ เวทนาที่เกิดแต่จักขุสัมผัสเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้เมื่อเกิด ก็เกิด ที่เวทนาที่เกิดแต่จักขุสัมผัสนี้ เมื่อตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ที่เวทนาที่เกิดแต่จักขุสัมผัสนี้ เวทนาที่เกิดแต่โสตสัมผัส ฯลฯ ในโลก เวทนาที่เกิดแต่ฆานสัมผัส ... ในโลก เวทนาที่เกิดแต่ชิวหาสัมผัส... ในโลก เวทนาที่เกิดแต่กายสัมผัส ... ในโลก เวทนา ที่เกิดแต่มโนสัมผัสเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้เมื่อเกิด ก็เกิดที่เวทนาที่เกิด แต่มโนสัมผัสนี้ เมื่อตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ที่เวทนาที่เกิดแต่มโนสัมผัสนี้ รูปสัญญา (ความหมายรู้รูป) เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้เมื่อเกิด ก็เกิด ที่รูปสัญญานี้ เมื่อตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ที่รูปสัญญานี้ สัททสัญญา ฯลฯ ในโลก คันธ- สัญญา ... ในโลก รสสัญญา ... ในโลก โผฏฐัพพสัญญา ... ในโลก ธัมมสัญญาเป็น ปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้เมื่อเกิด ก็เกิดที่ธัมมสัญญานี้ เมื่อตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ที่ ธัมมสัญญานี้ รูปสัญเจตนา (ความคิดอ่านในรูป) เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้เมื่อเกิด ก็เกิดที่รูปสัญเจตนานี้ เมื่อตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ที่รูปสัญเจตนานี้ สัททสัญเจตนา ฯลฯ ในโลก คันธสัญเจตนา ... ในโลก รสสัญเจตนา ... ในโลก โผฏฐัพพสัญเจตนา ... ในโลก ธัมมสัญเจตนาเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้เมื่อเกิด ก็เกิดที่ธัมมสัญเจตนานี้ เมื่อตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ที่ธัมมสัญเจตนานี้ รูปตัณหา (ความติดใจในรูป) เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้เมื่อเกิด ก็เกิด ที่รูปตัณหานี้ เมื่อตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ที่รูปตัณหานี้ สัททตัณหา ฯลฯ ในโลก คันธ- ตัณหา ... ในโลก รสตัณหา ... ในโลก โผฏฐัพพตัณหา ... ในโลก ธัมมตัณหาเป็น ปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้เมื่อเกิด ก็เกิดที่ธัมมตัณหานี้ เมื่อตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ที่ ธัมมตัณหานี้ รูปวิตก (ความตรึกถึงรูป) เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้เมื่อเกิด ก็เกิดที่ รูปวิตกนี้ เมื่อตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ที่รูปวิตกนี้ สัททวิตก ฯลฯ ในโลก คันธวิตก ... ในโลก {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๑๖๘}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๔. สัจจวิภังค์]

๑. สุตตันตภาชนีย์ ๓. นิโรธสัจ

รสวิตก ... ในโลก โผฏฐัพพวิตก ... ในโลก ธัมมวิตก เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้เมื่อเกิด ก็เกิดที่ธัมมวิตกนี้ เมื่อตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ที่ธัมมวิตกนี้ รูปวิจาร (ความตรองถึงรูป) เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้เมื่อเกิด ก็เกิด ที่รูปวิจารนี้ เมื่อตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ที่รูปวิจารนี้ สัททวิจาร ฯลฯ ในโลก คันธวิจาร ... ในโลก รสวิจาร ... ในโลก โผฏฐัพพวิจาร ... ในโลก ธัมมวิจารเป็นปิยรูปสาตรูป ในโลก ตัณหานี้เมื่อเกิด ก็เกิดที่ธัมมวิจารนี้ เมื่อตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ที่ธัมมวิจารนี้๑- นี้เรียกว่า ทุกขสมุทยอริยสัจ
๓. นิโรธสัจ
[๒๐๔] ทุกขนิโรธอริยสัจ เป็นไฉน ความสำรอกและความดับตัณหานั้นนั่นแลโดยไม่เหลือ ความปล่อยวาง ความ ส่งคืน ความพ้น ความไม่ติดอยู่ ก็ตัณหานี้เมื่อละ ละที่ไหน เมื่อดับ ดับที่ไหน ปิยรูปสาตรูปใดมีอยู่ในโลก ตัณหานี้เมื่อละ ก็ละที่ปิยรูปสาตรูปนี้ เมื่อดับ ก็ ดับที่ปิยรูปสาตรูปนี้ ก็อะไรเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก จักษุเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้เมื่อละ ก็ละที่จักษุนี้ เมื่อดับก็ดับที่ จักษุนี้ โสตะ ฯลฯ ในโลก ฆานะ ... ในโลก ชิวหา ... ในโลก กาย ... ในโลก มโนเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้เมื่อละ ก็ละที่มโนนี้ เมื่อดับ ก็ดับที่มโนนี้ รูปเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้เมื่อละ ก็ละที่รูปนี้ เมื่อดับก็ดับที่รูปนี้ เสียง ฯลฯ ในโลก กลิ่น ... ในโลก รส ... ในโลก โผฏฐัพพะ ... ในโลก ธรรม เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อละ ก็ละที่ธรรมนี้ เมื่อดับ ก็ดับที่ธรรมนี้ @เชิงอรรถ : @ ขุ.ป. ๓๑/๓๔/๔๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๑๖๙}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๔. สัจจวิภังค์]

๑. สุตตันตภาชนีย์ ๓. นิโรธสัจ

จักขุวิญญาณเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้เมื่อละ ก็ละที่จักขุวิญญาณนี้ เมื่อดับ ก็ดับที่จักขุวิญญาณนี้ โสตวิญญาณ ฯลฯ ในโลก ฆานวิญญาณ ... ในโลก ชิวหาวิญญาณ ... ในโลก กายวิญญาณ ... ในโลก มโนวิญญาณเป็นปิยรูปสาตรูปใน โลก ตัณหานี้เมื่อละ ก็ละที่มโนวิญญาณนี้ เมื่อดับ ก็ดับที่มโนวิญญาณนี้ จักขุสัมผัสเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้เมื่อละ ก็ละที่จักขุสัมผัสนี้ เมื่อ ดับ ก็ดับที่จักขุสัมผัสนี้ โสตสัมผัส ฯลฯ ในโลก ฆานสัมผัส ... ในโลก ชิวหาสัมผัส ... ในโลก กายสัมผัส ... ในโลก มโนสัมผัสเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้เมื่อ ละ ก็ละที่มโนสัมผัสนี้ เมื่อดับ ก็ดับที่มโนสัมผัสนี้ เวทนาที่เกิดแต่จักขุสัมผัสเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้เมื่อละ ก็ละ ที่เวทนาที่เกิดแต่จักขุสัมผัสนี้ เมื่อดับ ก็ดับที่เวทนาที่เกิดแต่จักขุสัมผัสนี้ เวทนาที่ เกิดแต่โสตสัมผัส ฯลฯ ในโลก เวทนาที่เกิดแต่ฆานสัมผัส ... ในโลก เวทนาที่เกิด แต่ชิวหาสัมผัส ... ในโลก เวทนาที่เกิดแต่กายสัมผัส ... ในโลก เวทนาที่เกิดแต่ มโนสัมผัสเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้เมื่อละ ก็ละที่เวทนาที่เกิดแต่มโนสัมผัสนี้ เมื่อดับ ก็ดับที่เวทนาที่เกิดแต่มโนสัมผัสนี้ รูปสัญญาเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้เมื่อละ ก็ละที่รูปสัญญานี้ เมื่อ ดับ ก็ดับที่รูปสัญญานี้ สัททสัญญา ฯลฯ ในโลก คันธสัญญา ... ในโลก รสสัญญา ... ในโลก โผฏฐัพพสัญญา ... ในโลก ธัมมสัญญาเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหา นี้เมื่อละ ก็ละที่ธัมมสัญญานี้ เมื่อดับ ก็ดับที่ธัมมสัญญานี้ รูปสัญเจตนาเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้เมื่อละ ก็ละที่รูปสัญเจตนา นี้ เมื่อดับ ก็ดับที่รูปสัญเจตนานี้ สัททสัญเจตนา ฯลฯ ในโลก คันธสัญเจตนา ... ในโลก รสสัญเจตนา ... ในโลก โผฏฐัพพสัญเจตนา ... ในโลก ธัมมสัญเจตนา เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้เมื่อละ ก็ละที่ธัมมสัญเจตนานี้ เมื่อดับ ก็ดับที่ ธัมมสัญเจตนานี้ รูปตัณหาเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้เมื่อละ ก็ละที่รูปตัณหานี้ เมื่อ ดับ ก็ดับที่รูปตัณหานี้ สัททตัณหา ฯลฯ ในโลก คันธตัณหา ... ในโลก รสตัณหา ... ในโลก โผฏฐัพพตัณหา ... ในโลก ธัมมตัณหาเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อละ ก็ละที่ธัมมตัณหานี้ เมื่อดับ ก็ดับที่ธัมมตัณหานี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๑๗๐}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๔. สัจจวิภังค์]

๑. สุตตันตภาชนีย์ ๔. มัคคสัจ

รูปวิตกเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้เมื่อละ ก็ละที่รูปวิตกนี้ เมื่อดับ ก็ดับที่รูปวิตกนี้ สัททวิตก ฯลฯ ในโลก คันธวิตก ... ในโลก รสวิตก ... ในโลก โผฏฐัพพวิตก ... ในโลก ธัมมวิตกเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้เมื่อละ ก็ละ ที่ธัมมวิตกนี้ เมื่อดับ ก็ดับที่ธัมมวิตกนี้ รูปวิจารเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้เมื่อละ ก็ละที่รูปวิจารนี้ เมื่อ ดับก็ดับที่รูปวิจารนี้ สัททวิจาร ฯลฯ ในโลก คันธวิจาร ... ในโลก รสวิจาร ... ใน โลก โผฏฐัพพวิจาร ... ในโลก ธัมมวิจารเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้เมื่อละ ก็ละที่ธัมมวิจารนี้ เมื่อดับ ก็ดับที่ธัมมวิจารนี้๑- นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธอริยสัจ
๔. มัคคสัจ
[๒๐๕] ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ เป็นไฉน อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้นั่นแล คือ ๑. สัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ) ๒. สัมมาสังกัปปะ (ดำริชอบ) ๓. สัมมาวาจา (เจรจาชอบ) ๔. สัมมากัมมันตะ (กระทำชอบ) ๕. สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ) ๖. สัมมาวายามะ (พยายามชอบ) ๗. สัมมาสติ (ระลึกชอบ) ๘. สัมมาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นชอบ) บรรดาอริยมรรคมีองค์ ๘ นั้น สัมมาทิฏฐิ เป็นไฉน ความรู้ในทุกข์ (ความทุกข์) ความรู้ในทุกขสมุทัย (เหตุเกิดแห่งทุกข์) ความรู้ ในทุกขนิโรธ (ความดับทุกข์) ความรู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา (ข้อปฏิบัติให้ถึง ความดับทุกข์) นี้เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ (๑) สัมมาสังกัปปะ เป็นไฉน ความดำริในการออกจากกาม ความดำริในการไม่พยาบาท ความดำริในการ ไม่เบียดเบียน นี้เรียกว่า สัมมาสังกัปปะ (๒) @เชิงอรรถ : @ ขุ.ป. ๓๑/๓๔/๔๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๑๗๑}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๔. สัจจวิภังค์]

๑. สุตตันตภาชนีย์ ๔. มัคคสัจ

สัมมาวาจา เป็นไฉน เจตนาเป็นเหตุงดเว้นจากการพูดเท็จ เจตนาเป็นเหตุงดเว้นจากการพูดส่อเสียด เจตนาเป็นเหตุงดเว้นจากการพูดคำหยาบ เจตนาเป็นเหตุงดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ นี้เรียกว่า สัมมาวาจา (๓) สัมมากัมมันตะ เป็นไฉน เจตนาเป็นเหตุงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ เจตนาเป็นเหตุงดเว้นจากการลักทรัพย์ เจตนาเป็นเหตุงดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม นี้เรียกว่า สัมมากัมมันตะ (๔) สัมมาอาชีวะ เป็นไฉน ข้อที่พระอริยสาวกในธรรมวินัยนี้ละมิจฉาอาชีวะแล้ว สำเร็จการเลี้ยงชีพด้วย สัมมาอาชีวะ นี้เรียกว่า สัมมาอาชีวะ (๕) สัมมาวายามะ เป็นไฉน ข้อที่ภิกษุในธรรมวินัยนี้สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น ฯลฯ เพื่อละบาปอกุศล- ธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ เพื่อทำบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นมิให้เกิดขึ้น ฯลฯ สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อความดำรงอยู่ไม่ เลือนหาย ภิยโยภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว นี้เรียกว่า สัมมาวายามะ (๖) สัมมาสติ เป็นไฉน ข้อที่ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พิจารณา เห็นกายในกายอยู่ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ พิจารณาเห็นเวทนา ในเวทนาอยู่ ฯลฯ พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ฯลฯ เป็นผู้มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ นี้เรียกว่า สัมมาสติ (๗) สัมมาสมาธิ เป็นไฉน ข้อที่ภิกษุในธรรมวินัยนี้สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย บรรลุปฐมฌาน ที่มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไปแล้ว {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๑๗๒}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๔. สัจจวิภังค์]

๒. อภิธรรมภาชนีย์ อัฏฐังคิกวาร

บรรลุทุติยฌานที่มีความผ่องใสภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิอยู่ เพราะปีติจางคลายไป มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติ มี สัมปชัญญะอยู่และเสวยสุขด้วยกาย (นามกาย) บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลาย กล่าวสรรเสริญว่า ผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะ โสมนัสและโทมนัสดับไปก่อนแล้ว บรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์ เพราะอุเบกขาอยู่ นี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ๑- (๘) นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ
สุตตันตภาชนีย์ จบ
๒. อภิธรรมภาชนีย์
อัฏฐังคิกวาร
[๒๐๖] สัจจะ ๔ คือ ๑. ทุกข์ (ทุกข์) ๒. ทุกขสมุทัย (เหตุเกิดแห่งทุกข์) ๓. ทุกขนิโรธ (ความดับทุกข์) ๔. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา (ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์) บรรดาสัจจะ ๔ นั้น ทุกขสมุทัย เป็นไฉน ตัณหา นี้เรียกว่า ทุกขสมุทัย ทุกข์ เป็นไฉน กิเลสที่เหลือ สภาวธรรมที่เป็นอกุศลที่เหลือ กุศลมูล ๓ ที่เป็นอารมณ์ของ อาสวะ สภาวธรรมที่เป็นกุศลที่เหลือซึ่งเป็นอารมณ์ของอาสวะ วิบากแห่งสภาว- ธรรมที่เป็นกุศลและอกุศลซึ่งเป็นอารมณ์ของอาสวะ สภาวธรรมที่เป็นกิริยา ไม่เป็น กุศล ไม่เป็นอกุศล ไม่เป็นวิบากแห่งกรรม และรูปทั้งหมด นี้เรียกว่า ทุกข์๒- @เชิงอรรถ : @ ม.อุ. ๑๔/๓๗๕/๓๑๙, ขุ.ป. ๓๑/๓๖/๔๒, อภิ.วิ. ๓๕/๔๘๗/๒๘๒ @ ในอภิธรรมภาชนีย์ท่านยกทุกขสมุทัยขึ้นอธิบายก่อน (อภิ.วิ.อ. ๒๐๖-๒๑๔/๑๓๐-๑๓๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๑๗๓}

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๕ หน้าที่ ๑๖๓-๑๗๓. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=35&A=4642 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=35&siri=14              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับฉบับหลวง https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=35&A=2637&Z=2865&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=35&i=144              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ https://84000.org/tipitaka/read/?index_35 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu35 https://84000.org/tipitaka/english/?index_35


บันทึก ๑๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]