ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] วิภังคปกรณ์

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๖. ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์]

๑. สุตตันตภาชนีย์

๖. ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์
๑. สุตตันตภาชนีย์
[๒๒๕] เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปายาสจึงมี กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้ [๒๒๖] บรรดาปัจจยาการเหล่านั้น อวิชชา เป็นไฉน ความไม่รู้ในทุกข์ ความไม่รู้ในทุกขสมุทัย ความไม่รู้ในทุกขนิโรธ ความไม่รู้ ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา นี้เรียกว่า อวิชชา๑- เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี เป็นไฉน ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร อาเนญชาภิสังขาร กายสังขาร วจีสังขาร และจิตตสังขาร๒- @เชิงอรรถ : @ ม.มู. ๑๒/๑๐๓/๗๔, สํ.นิ. ๑๖/๒/๔ @ อภิ.วิ.อ. ๒๒๕/๑๔๕, ๒๒๖/๑๕๒-๑๕๓ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๒๑๙}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๖. ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์]

๑. สุตตันตภาชนีย์

ในสังขารเหล่านั้น ปุญญาภิสังขาร เป็นไฉน เจตนาที่เป็นกุศลซึ่งเป็นกามาวจร เป็นรูปาวจร สำเร็จด้วยทาน ศีล และ ภาวนา นี้เรียกว่า ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร เป็นไฉน เจตนาที่เป็นอกุศลซึ่งเป็นกามาวจร นี้เรียกว่า อปุญญาภิสังขาร อาเนญชาภิสังขาร เป็นไฉน เจตนาที่เป็นกุศลซึ่งเป็นอรูปาวจร นี้เรียกว่า อาเนญชาภิสังขาร กายสังขาร เป็นไฉน กายสัญเจตนาเป็นกายสังขาร วจีสัญเจตนาเป็นวจีสังขาร มโนสัญเจตนาเป็น จิตตสังขาร เหล่านี้เรียกว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี [๒๒๗] เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี เป็นไฉน จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ และมโนวิญญาณ นี้เรียกว่า เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี [๒๒๘] เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี เป็นไฉน นาม ๑ รูป ๑ ในนามและรูปนั้น นาม เป็นไฉน เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ นี้เรียกว่า นาม รูป เป็นไฉน มหาภูตรูป ๔ และรูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ (อุปาทายรูป) นี้เรียกว่า รูป นามและรูปดังที่กล่าวมานี้ นี้เรียกว่า เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี [๒๒๙] เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี เป็นไฉน จักขายตนะ โสตายตนะ ฆานายตนะ ชิวหายตนะ กายายตนะ และมนายตนะ นี้เรียกว่า เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๒๒๐}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๖. ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์]

๑. สุตตันตภาชนีย์

[๒๓๐] เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี เป็นไฉน จักขุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส และมโนสัมผัส นี้เรียกว่า เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี [๒๓๑] เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เป็นไฉน เวทนาที่เกิดแต่จักขุสัมผัส เวทนาที่เกิดแต่โสตสัมผัส เวทนาที่เกิดแต่ฆาน- สัมผัส เวทนาที่เกิดแต่ชิวหาสัมผัส เวทนาที่เกิดแต่กายสัมผัส เวทนาที่เกิดแต่ มโนสัมผัส นี้เรียกว่า เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี [๒๓๒] เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี เป็นไฉน รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา และธัมมตัณหา นี้เรียกว่า เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี [๒๓๓] เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี เป็นไฉน กามุปาทาน ทิฏฐุปาทาน สีลัพพตุปาทาน และอัตตวาทุปาทาน นี้เรียกว่า เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี [๒๓๔] เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี เป็นไฉน ภพ ๒ คือ กรรมภพและอุปปัตติภพ ในภพ ๒ นั้น กรรมภพ เป็นไฉน ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร และอาเนญชาภิสังขาร นี้เรียกว่า กรรมภพ กรรมที่เป็นเหตุให้ไปสู่ภพแม้ทั้งหมดเรียกว่า กรรมภพ อุปปัตติภพ เป็นไฉน กามภพ รูปภพ อรูปภพ สัญญาภพ อสัญญาภพ เนวสัญญานาสัญญาภพ เอกโวการภพ จตุโวการภพ และปัญจโวการภพ นี้เรียกว่า อุปปัตติภพ กรรมภพและอุปปัตติภพดังที่กล่าวมานี้ นี้เรียกว่า เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี [๒๓๕] เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี เป็นไฉน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๒๒๑}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๖. ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์]

๑. สุตตันตภาชนีย์

ความเกิด ความเกิดพร้อม ความหยั่งลง ความบังเกิดเฉพาะ ความปรากฏ แห่งขันธ์ ความได้อายตนะ ในหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ นี้เรียกว่า เพราะ ภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี [๒๓๖] เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี เป็นไฉน ชรา ๑ มรณะ ๑ ในชราและมรณะนั้น ชรา เป็นไฉน ความแก่ ความคร่ำคร่า ความมีฟันหัก ความมีผมหงอก ความมีหนังเหี่ยวย่น ความเสื่อมอายุ ความแก่หง่อมแห่งอินทรีย์ ในหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ นี้เรียกว่า ชรา๑- มรณะ เป็นไฉน ความจุติ ความเคลื่อนไป ความทำลายไป ความหายไป ความตายกล่าวคือ มฤตยู การทำกาละ ความแตกแห่งขันธ์ ความทอดทิ้งร่างกาย ความขาดสูญแห่ง ชีวิตินทรีย์ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ จากหมู่สัตว์นั้นๆ นี้เรียกว่า มรณะ๒- ชราและมรณะดังที่กล่าวมานี้ นี้เรียกว่า เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี [๒๓๗] โสกะ เป็นไฉน ความเศร้าโศก กิริยาที่เศร้าโศก ภาวะที่เศร้าโศก ความแห้งผากภายใน ความแห้งกรอบภายใน ความเกรียมใจ ความโทมนัส ลูกศรคือความโศก ของผู้ที่ถูก ความเสื่อมญาติ ความเสื่อมโภคทรัพย์ ความเสื่อมเกี่ยวด้วยโรค ความเสื่อมศีล หรือความเสื่อมทิฏฐิกระทบ ของผู้ประกอบด้วยความเสื่อมอย่างใดอย่างหนึ่ง (หรือ) ผู้ที่ถูกเหตุแห่งทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งกระทบ นี้เรียกว่า โสกะ๓- [๒๓๘] ปริเทวะ เป็นไฉน @เชิงอรรถ : @ ที.ม. ๑๐/๓๘๙/๒๖๐, ม.มู. ๑๒/๙๒/๖๖-๖๗, ม.อุ. ๑๔/๓๗๓/๓๑๗, สํ.นิ. ๑๖/๒/๓, ๒๗/๔๑, @๒๘/๔๒, ๓๓/๕๕, ขุ.ป. ๓๑/๓๓/๓๙, อภิ.วิ. ๓๕/๑๙๒/๑๑๗ @ ที.ม. ๑๐/๓๙๐/๒๖๐, ม.มู. ๑๒/๙๒/๖๗, ม.อุ. ๑๔/๓๗๓/๓๑๘, สํ.นิ. ๑๖/๒/๓, ๒๗/๔๑, @๒๘/๔๒, ๓๓/๕๕, ขุ.ม. ๒๙/๔๑/๑๐๒, ขุ.ป. ๓๑/๓๓/๓๙, อภิ.วิ. ๓๕/๑๙๓/๑๑๘ @ ขุ.ม. ๒๙/๔๔/๑๐๖, ขุ.จู. ๓๐/๒๑/๗๖, ขุ.ป. ๓๑/๓๓/๓๙ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๒๒๒}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๖. ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์]

๑. สุตตันตภาชนีย์

ความร้องไห้ ความคร่ำครวญ กิริยาที่ร้องไห้ กิริยาที่คร่ำครวญ ภาวะที่ร้องไห้ ภาวะที่คร่ำครวญ ความบ่นถึง ความพร่ำเพ้อ ความร่ำไห้ ความพิไรรำพัน กิริยาที่ พิไรรำพัน ภาวะที่พิไรรำพัน ของผู้ที่ถูกความเสื่อมญาติ ความเสื่อมโภคทรัพย์ ความเสื่อมเกี่ยวด้วยโรค ความเสื่อมศีล หรือความเสื่อมทิฏฐิกระทบ ของผู้ที่ ประกอบด้วยความเสื่อมอย่างใดอย่างหนึ่งกระทบ (หรือ)ผู้ที่ถูกเหตุแห่งทุกข์อย่างใด อย่างหนึ่งกระทบ นี้เรียกว่า ปริเทวะ๑- [๒๓๙] ทุกข์ เป็นไฉน ความไม่สำราญทางกาย ความทุกข์ทางกาย ความเสวยอารมณ์ที่ไม่สำราญ เป็นทุกข์ อันเกิดแต่กายสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่สำราญเป็นทุกข์ อันเกิดแต่ กายสัมผัส นี้เรียกว่า ทุกข์๒- [๒๔๐] โทมนัส เป็นไฉน ความไม่สำราญทางใจ ความทุกข์ทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่ไม่สำราญเป็น ทุกข์ อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่สำราญเป็นทุกข์ อันเกิดแต่ เจโตสัมผัส นี้เรียกว่า โทมนัส๓- [๒๔๑] อุปายาส เป็นไฉน ความแค้น ความคับแค้น ภาวะที่แค้น ภาวะที่คับแค้น ของผู้ที่ถูกความ เสื่อมญาติ ความเสื่อมโภคทรัพย์ ความเสื่อมเกี่ยวด้วยโรค ความเสื่อมศีล หรือ ความเสื่อมทิฏฐิกระทบ ของผู้ที่ประกอบด้วยความเสื่อมอย่างใดอย่างหนึ่งกระทบ (หรือ)ผู้ที่ถูกเหตุแห่งทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งกระทบ นี้เรียกว่า อุปายาส๔- [๒๔๒] คำว่า กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้ นั้นอธิบาย ว่า กองทุกข์ทั้งมวลนี้ไปร่วม มาร่วม ประชุมร่วม ปรากฏขึ้นด้วยอาการอย่างนี้ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า กองทุกข์ทั้งมวลนี้เกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้
สุตตันตภาชนีย์ จบ
@เชิงอรรถ : @ ขุ.ม. ๒๙/๔๔/๑๐๗, ขุ.ป. ๓๑/๓๓/๓๙, อภิ.วิ. ๓๕/๑๙๕/๑๑๘ @ ขุ.ป. ๓๑/๓๓/๓๙, อภิ.สงฺ. ๓๔/๕๕๙/๑๕๘, อภิ.วิ. ๓๕/๑๙๖/๑๑๘ @ ขุ.ป. ๓๑/๓๓/๓๙, อภิ.สงฺ. ๓๔/๔๑๗/๑๑๖, อภิ.วิ. ๓๕/๑๙๗/๑๑๘ @ ขุ.ป. ๓๑/๓๓/๔๐, อภิ.วิ. ๓๕/๑๙๘/๑๑๙ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๒๒๓}

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๕ หน้าที่ ๒๑๙-๒๒๓. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=35&A=6241 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=35&siri=21              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับฉบับหลวง https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=35&A=3732&Z=3845&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=35&i=255              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ https://84000.org/tipitaka/read/?index_35 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu35 https://84000.org/tipitaka/english/?index_35


บันทึก ๑๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]