ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑. ปาฎิกสูตร]

เรื่องการประกาศทฤษฏีว่าด้วยต้นกำเนิดของโลก

อาจารย์ว่า เกิดขึ้นเอง มีความเป็นมาอย่างไร’ สมณพราหมณ์เหล่านั้นถูกเราถาม อย่างนี้แล้ว ก็ตอบไม่ได้ กลับย้อนถามเรา เราถูกเขาถามแล้วจึงตอบว่า [๔๖] ‘ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย มีเทพชื่ออสัญญีสัตว์๑- จุติ(เคลื่อน)จากชั้นนั้น เพราะเกิดสัญญาขึ้น ข้อที่สัตว์ผู้ใดผู้หนึ่งจุติจากชั้นนั้นแล้วมาเป็นอย่างนี้ เป็นเรื่องที่เป็นไปได้ เมื่อ เขามาเป็นอย่างนี้แล้ว ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต เมื่อออกจากเรือนบวชเป็น บรรพชิตแล้ว อาศัยความเพียรเครื่องเผากิเลส ความเพียรที่ตั้งมั่น ความหมั่น ประกอบ ความไม่ประมาท และอาศัยการใช้ความคิดอย่างถูกวิธีแล้ว บรรลุเจโต- สมาธิที่เป็นเหตุทำจิตให้ตั้งมั่น ระลึกถึงความเกิดแห่งสัญญานั้นได้ ถัดจากนั้นไป ระลึกไม่ได้ เขาจึงพูดอย่างนี้ว่า ‘อัตตาและโลกเกิดขึ้นเอง เพราะเหตุไร เพราะเมื่อก่อน เราไม่ได้มี บัดนี้ก็ไม่มี จึงน้อมไปเพื่อความเป็นผู้สงบ’ ท่านทั้งหลายประกาศทฤษฎีว่าด้วยต้นกำเนิดของโลกตามลัทธิอาจารย์ว่า เกิดขึ้นเอง มีความเป็นมาอย่างนี้ ใช่หรือไม่’ สมณพราหมณ์เหล่านั้นตอบอย่างนี้ว่า ‘ท่านพระโคดม พวกข้าพเจ้าก็ได้ยินมาอย่างที่ท่านพระโคดมตรัสนั่นแหละ’ ภัคควะ ก็เรารู้ชัดทฤษฎีว่าด้วยต้นกำเนิดของโลก เรารู้ชัดความเป็นมาของ ทฤษฎีนั้น และรู้ชัดยิ่งกว่านั้น และเมื่อรู้ชัดยิ่งกว่านั้นจึงไม่ยึดมั่น เมื่อไม่ยึดมั่น จึงรู้ชัดความดับด้วยตนเอง ที่เมื่อรู้ชัด ตถาคตจึงไม่ดำเนินไปสู่ความเสื่อม [๔๗] ภัคควะ สมณพราหมณ์บางพวก กล่าวตู่เราผู้มีวาทะอย่างนี้ ผู้กล่าว อยู่อย่างนี้ ด้วยเรื่องที่ไม่มีอยู่จริง ด้วยคำไร้สาระ เป็นเท็จ ไม่เป็นความจริงว่า @เชิงอรรถ : @ อสัญญีสัตว์ หมายถึงสัตว์จำพวกไม่มีสัญญา ไม่เสวยเวทนา เมื่อมีสัญญาเกิดขึ้นก็เคลื่อนจากภพนั้นทันที @(ที.ปา. ๑๑/๓๕๙/๒๗๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๓๓}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑. ปาฎิกสูตร]

เรื่องการประกาศทฤษฏีว่าด้วยต้นกำเนิดของโลก

‘พระสมณโคดมและภิกษุทั้งหลายวิปริตไปแล้ว พระสมณโคดมตรัสอย่างนี้ว่า ‘ในเวลา ที่พระโยคาวจรเข้าสุภวิโมกข์๑- อยู่ ย่อมรู้ชัดสิ่งทั้งปวงว่า ‘ไม่งาม’ ภัคควะ แท้จริง เราไม่ได้กล่าวอย่างนั้นเลยว่า ‘ในเวลาที่พระโยคาวจรเข้าสุภวิโมกข์อยู่ ย่อมรู้ชัดสิ่ง ทั้งปวงว่า ‘ไม่งาม’ แต่เรากล่าวอย่างนี้ว่า ‘ในเวลาที่พระโยคาวจรเข้าสุภวิโมกข์อยู่ ย่อมรู้ชัดแต่สิ่งที่ดีงามเท่านั้น” ภัคควโคตรปริพาชกกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกสมณพราหมณ์ ที่กล่าวว่าพระสมณโคดมและภิกษุทั้งหลายวิปริตนั้นนั่นแหละเป็นผู้วิปริต ข้าพระองค์ เลื่อมใสในพระผู้มีพระภาคอย่างนี้ว่า ‘พระผู้มีพระภาคทรงสามารถแสดงธรรมให้ ข้าพระองค์เข้าถึงสุภวิโมกข์อยู่ได้” [๔๘] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภัคควะ การที่เธอซึ่งมีทิฏฐิแตกต่างกัน มีความถูกใจแตกต่างกัน มีความพอใจแตกต่างกัน มีความมุ่งหมายแตกต่างกัน มีอาจารย์แตกต่างกัน เข้าถึงสุภวิโมกข์อยู่ได้ นี้เป็นสิ่งที่กระทำได้ยาก ขอให้เธอ รักษาความเลื่อมใสในเราไว้ให้ดีเถิด” ภัคควโคตรปริพาชกกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถึงการที่ข้าพระองค์ ซึ่งมีทิฏฐิแตกต่างกัน มีความถูกใจแตกต่างกัน มีความพอใจแตกต่างกัน มีความ มุ่งหมายแตกต่างกัน มีอาจารย์แตกต่างกัน เข้าถึงสุภวิโมกข์อยู่ นี้เป็นสิ่งที่กระทำได้ ยากก็จริง แต่ข้าพระองค์จักรักษาความเลื่อมใสในพระผู้มีพระภาคไว้ให้ดีให้ได้” พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภัคควโคตรปริพาชกมีใจยินดีชื่นชม พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล้วแล
ปาฏิกสูตรที่ ๑ จบ
@เชิงอรรถ : @ สุภวิโมกข์ ในที่นี้หมายถึงวัณณกสิณ (กสิณที่ใช้เพ่งประเภทที่มีสี) มี ๔ อย่าง คือ (๑) นีลํ (สีเขียว) @(๒) ปีตํ (สีเหลือง) (๓) โลหิตํ (สีแดง) (๔) โอทาตํ (สีขาว) (ที.ปา.อ. ๔๗/๑๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๓๔}

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๑ หน้าที่ ๓๓-๓๔. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=11&A=924&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=11&siri=1              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=11&A=1&Z=707&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=11&i=1              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=11&item=1&items=17              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=11&item=1&items=17              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๑ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu11

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]