ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค]

๑. พรหมายุสูตร

๕. พราหมณวรรค
หมวดว่าด้วยพราหมณ์
๑. พรหมายุสูตร
ว่าด้วยพราหมณ์ชื่อพรหมายุ
[๓๘๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปในแคว้นวิเทหะ พร้อมกับภิกษุสงฆ์ หมู่ใหญ่ประมาณ ๕๐๐ รูป สมัยนั้นแล พราหมณ์ชื่อพรหมายุอาศัยอยู่ในกรุงมิถิลา เป็นคนชรา เป็นคนแก่ เป็นผู้ใหญ่ ล่วงกาลผ่านวัยมาโดยลำดับจนมีอายุถึง ๑๒๐ ปี นับแต่เกิด รู้จบไตรเพท๑- พร้อมทั้งนิฆัณฑุศาสตร์๒- เกฏุภศาสตร์๓- อักษรศาสตร์๔- และประวัติศาสตร์๕- เข้าใจตัวบทและไวยากรณ์ ชำนาญโลกายตศาสตร์๖- และลักษณะ มหาบุรุษ๗- พรหมายุพราหมณ์ได้ฟังข่าวว่า @เชิงอรรถ : @ ไตรเพท หมายถึงคัมภีร์ ๓ ข้างต้น คือ ฤคเวท(อิรุเวท) ยชุรเวท และสามเวท(ส่วนอาถรรพเวท ปรากฏ @ภายหลังจากการปรากฏของพระสูตรนี้) (ม.ม.อ. ๒/๓๘๓/๒๖๒, ที.สี.อ. ๑/๒๕๖/๒๒๒) @ นิฆัณฑุศาสตร์ คัมภีร์ประเภทศัพทมูลวิทยา(Etymology) คลังศัพท์(Lexicon) หรืออภิธานศัพท์ @(Glossary) ที่รวบรวมคำศัพท์ในพระเวทซึ่งเป็นคำยาก หรือคำที่เลิกใช้แล้ว นำมาอธิบายความหมายเป็น @ส่วนหนึ่งของนิรุกติ ซึ่งเป็น ๑ ในเวทางคศาสตร์ ๖ ของศาสนาพราหมณ์ ภาษาสันสกฤตเรียกว่า นิฆัณฏุ @(ม.ม.อ. ๒/๓๘๓/๒๖๒, ที.สี.อ. ๑/๒๕๖/๒๒๒) @ เกฏุภศาสตร์ หมายถึงคัมภีร์ที่ว่าด้วยกฏเกณฑ์การใช้ถ้อยคำให้เหมาะสมแก่การประกอบพิธีกรรมต่างๆ @เป็นส่วนหนึ่งของกัลปะ ซึ่งเป็น ๑ ในเวทางคศาสตร์ ๖ ของศาสนาพราหมณ์ ภาษาสันสกฤตเรียกว่า ไกฏภ @ อักษรศาสตร์ หมายถึงคัมภีร์ว่าด้วยสิกขา(การเปล่งเสียง,การออกเสียง) และนิรุตติ(การอธิบายศัพท์โดย @อาศัยประวัติและกำเนิดของคำ) (ม.ม.อ. ๒/๓๘๓/๒๖๒, ที.สี.อ. ๑/๒๕๖/๒๒๒) @ ประวัติศาสตร์ หมายถึงพงศาวดารเล่าเรื่องเก่าๆ มักจะมีคำว่า สิ่งนี้ได้เป็นมาอย่างนี้ ม.ม.อ. ๒/๓๘๓/๒๖๒, @ที.สี.อ. ๑/๒๕๖/๒๒๒ และ ดู Dawson, John. A classical Dictionary of Hindu Mythology @(London : Routledge and Kegan Paul, 1957) p.222 @ โลกายตศาสตร์ ในที่นี้หมายถึงวิตัณฑวาทศาสตร์ คือศิลปะแห่งการเอาชนะผู้อื่นในเชิงวาทศิลป์โดยการ @อ้างทฤษฎีและประเพณีทางสังคมมาหักล้างสัจธรรม มุ่งแสดงให้เห็นว่าตนฉลาดกว่า มิได้มุ่งสัจธรรมแต่อย่างใด @(ม.ม.อ. ๒/๓๘๓/๒๖๒, ที.สี.อ. ๑/๒๕๖/๒๒๒) @ ลักษณะมหาบุรุษ หมายถึงศาสตร์ว่าด้วยลักษณะของบุคคลสำคัญมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น อันมีอยู่ใน @คัมภีร์พราหมณ์ ซึ่งเรียกว่ามนตร์ เฉพาะส่วนที่ว่าด้วยผู้เป็นพระพุทธเจ้า เรียกว่า พุทธมนตร์ มีอยู่ @๑๖,๐๐๐ คาถา (ม.ม.อ. ๒/๓๘๓/๒๖๒, ที.สี.อ. ๑/๒๕๖/๒๒๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๔๗๑}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค]

๑. พรหมายุสูตร

“ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ได้ยินว่า พระสมณโคดมเป็นศากยบุตรเสด็จออกผนวช จากศากยตระกูล เสด็จจาริกอยู่ในแคว้นวิเทหะพร้อมกับภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประมาณ ๕๐๐ รูป ท่านพระโคดมนั้นมีกิตติศัพท์อันงามขจรไปอย่างนี้ว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ๑- เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึก ได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค๒-’ พระองค์ทรงรู้แจ้งโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก และหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ด้วยพระองค์เองแล้วทรงประกาศ ให้ผู้อื่นรู้ตาม ทรงแสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง และมี ความงามในที่สุด๓- ทรงประกาศพรหมจรรรย์พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะบริสุทธิ์ บริบูรณ์ครบถ้วน การได้พบพระอรหันต์ทั้งหลายเช่นนี้เป็นความดีอย่างแท้จริง” [๓๘๔] สมัยนั้น มาณพชื่ออุตตระเป็นศิษย์ของพรหมายุพราหมณ์ จบไตรเพท พร้อมทั้งนิฆัณฑุศาสตร์ เกฏุภศาสตร์ อักษรศาสตร์ และประวัติศาสตร์ เข้าใจ ตัวบทและไวยากรณ์ ชำนาญโลกายตศาสตร์และลักษณะมหาบุรุษ เวลานั้นพรหมายุ- พราหมณ์เรียกอุตตรมาณพมากล่าวว่า “พ่ออุตตระ ท่านพระสมณโคดมพระองค์นี้เป็นศากยบุตรเสด็จออกผนวช จากศากยตระกูล เสด็จจาริกไปในแคว้นวิเหทะพร้อมกับภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประมาณ ๕๐๐ รูป ท่านพระโคดมนั้นมีกิตติศัพท์อันงามขจรไปอย่างนี้ว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มี พระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ ฯลฯ การได้พบ พระอรหันต์ทั้งหลายเช่นนี้เป็นความดีอย่างแท้จริง มาเถิด พ่ออุตตระ เธอจงเข้าไปเฝ้า ท่านพระสมณโคดมถึงที่ประทับแล้ว จงรู้จักพระสมณโคดมให้ได้ พวกเราจะได้รู้จัก พระองค์ว่า ‘กิตติศัพท์ของท่านพระโคดมที่ขจรไปเช่นนั้นจริงหรือไม่ ท่านพระโคดม ทรงเป็นเช่นนั้นจริงหรือไม่” @เชิงอรรถ : @๑-๓ ดูเชิงอรรถที่ ๒-๓, ๑ ข้อ ๑๐ (กันทรกสูตร) หน้า ๑๐-๑๑ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๔๗๒}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค]

๑. พรหมายุสูตร

อุตตรมาณพเรียนถามว่า “ท่านขอรับ ทำอย่างไร ผมจึงจะรู้จักท่านพระโคดมว่า ‘กิตติศัพท์ของท่านพระโคดมที่ขจรไปเช่นนั้นจริงหรือไม่ ท่านพระโคดมทรงเป็นเช่นนั้น จริงหรือไม่” พรหมายุพราหมณ์ตอบว่า “พ่ออุตตระ พระมหาบุรุษผู้ประกอบด้วยลักษณะ มหาบุรุษ ๓๒ ประการ ที่ปรากฏในมนตร์ของเรา ย่อมมีคติ ๒ อย่าง ไม่เป็น อย่างอื่น คือ ๑. ถ้าทรงอยู่ครองเรือนจะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิผู้ทรงธรรม ครองราชย์ โดยธรรม ทรงเป็นใหญ่ในแผ่นดินมีมหาสมุทรทั้ง ๔ เป็นขอบเขต ทรงได้รับชัยชนะแล้ว มีราชอาณาจักรมั่นคง สมบูรณ์ด้วยแก้ว (รัตนะ) ๗ ประการ คือ (๑) จักรแก้ว (๒) ช้างแก้ว (๓) ม้าแก้ว (๔) มณีแก้ว (๕) นางแก้ว (๖) คหบดีแก้ว (๗) ปริณายกแก้ว มีพระราชโอรสมากกว่า ๑,๐๐๐ องค์ซึ่งล้วนแต่กล้าหาญ มีรูปทรง สมเป็นวีรกษัตริย์ สามารถย่ำยีราชศัตรูได้ พระองค์ทรงชนะโดยธรรม ไม่ต้องใช้อาชญาหรือศัสตรา ครอบครองแผ่นดินนี้มีสาครเป็นขอบเขต ๒. ถ้าเสด็จออกจากพระราชวังไปผนวชเป็นบรรพชิต จะได้เป็นพระอรหันต- สัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ไม่มีกิเลสในโลก พ่ออุตตระ เราเป็นผู้ให้มนตร์ แต่เธอเป็นผู้รับมนตร์” [๓๘๕] อุตตรมาณพรับคำแล้วลุกจากที่นั่ง ไหว้พรหมายุพราหมณ์ กระทำ ประทักษิณ๑- แล้วหลีกจาริกไปทางที่พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในแคว้นวิเทหะ เที่ยว จาริกไปโดยลำดับ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่ บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้พิจารณาดูลักษณะมหาบุรุษ ๓๒ ประการ ในพระวรกายของพระผู้มีพระภาค ก็เห็นลักษณะมหาบุรุษ ๓๒ ประการ โดยมาก เว้นอยู่ ๒ ประการ คือ (๑) พระคุยหฐาน๒- อันเร้นอยู่ในฝัก (๒) พระชิวหาใหญ่ จึงยังมีความเคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ และไม่เลื่อมใสในลักษณะมหาบุรุษทั้ง ๒ ประการนี้ @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ ที.สี. (แปล) ๙/๒๕๖-๒๕๙/๘๘-๙๐ @ พระคุยหฐาน หมายถึงพระองคชาตมีวรรณะเหมือนทองคำที่เร้นอยู่ในฝักเหมือนฝักดอกปทุม @(ม.ม.อ. ๒/๓๘๕/๒๖๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๔๗๓}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค]

๑. พรหมายุสูตร

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้มีพระดำริว่า “ลักษณะ ๓๒ ประการของเรา อุตตรมาณพนี้เห็นโดยมากเว้นอยู่ ๒ ประการ คือ (๑) คุยหฐานอันเร้นอยู่ในฝัก (๒) ชิวหาใหญ่ จึงยังมีความเคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ และไม่เลื่อมใส ลักษณะมหาบุรุษทั้ง ๒ ประการนี้” จากนั้นพระผู้มีพระภาคจึงทรงบันดาลอิทธาภิสังขาร๑- ให้อุตตรมาณพได้เห็น พระคุยหฐานอันเร้นอยู่ในฝัก และทรงแลบพระชิวหาสอดเข้าไปในช่องพระกรรณ ทั้ง ๒ ข้างกลับไปกลับมา ทรงสอดเข้าไปในช่องพระนาสิกทั้ง ๒ ข้างกลับไปกลับมา ทรงแผ่พระชิวหาปิดทั่วมณฑลพระนลาฏ เวลานั้น อุตตรมาณพได้มีความคิดว่า “พระสมณโคดมทรงประกอบด้วยลักษณะ มหาบุรุษ ๓๒ ประการ ทางที่ดี เราพึงติดตามพระสมณโคดมดูพระอิริยาบถของ พระองค์ต่อไป” จากนั้นอุตตรมาณพได้ติดตามพระผู้มีพระภาคตลอด ๗ เดือน ดุจพระฉายา(เงา)ติดตามพระองค์ไปฉะนั้น
ลักษณะมหาบุรุษ ๓๒ ประการ
[๓๘๖] ครั้งนั้น เมื่อล่วงไป ๗ เดือน อุตตรมาณพได้หลีกจาริกไปทางกรุง มิถิลา ในแคว้นวิเทหะ เมื่อเที่ยวจาริกไปตามลำดับ ได้เข้าไปหาพรหมายุพราหมณ์ ถึงที่อยู่ในกรุงมิถิลากราบแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร พรหมายุพราหมณ์ถามอุตตรมาณพ ว่า “พ่ออุตตระ กิตติศัพท์ของท่านพระโคดมที่ขจรไป เป็นเช่นนั้นจริง ไม่เป็นอย่าง อื่นเลยหรือ ท่านพระโคดมทรงเป็นเช่นนั้นจริง ไม่เป็นอย่างอื่นเลยหรือ” อุตตรมาณพตอบว่า “ท่านขอรับ กิตติศัพท์ของท่านพระโคดมที่ขจรไปเป็นเช่น นั้นจริง ไม่เป็นอย่างอื่นเลย ท่านพระโคดมทรงเป็นเช่นนั้นจริง ไม่เป็นอย่างอื่นเลย ทั้งยังทรงประกอบด้วยลักษณะมหาบุรุษ ๓๒ ประการ๒- @เชิงอรรถ : @ อิทธาภิสังขาร หมายถึงการแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง เช่น คนเดียวแสดงเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนแสดง @เป็นคนเดียวก็ได้ แสดงให้ปรากฏหรือให้หายไปก็ได้ ทะลุฝากำแพง และภูเขาเหมือนไปในที่ว่าง ... ใช้อำนาจ @ทางกายไปจนถึงพรหมโลกก็ได้ ดู ที.สี. (แปล) ๙/๒๓๘/๗๙ @ ดูเทียบ ที.ม. (แปล) ๑๐/๓๓-๓๕/๑๕-๒๐, ที.ปา. ๑๑/๑๙๙-๒๐๐/๑๒๓-๒๒๕ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๔๗๔}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค]

๑. พรหมายุสูตร

คือ ท่านพระโคดม ๑. มีฝ่าพระบาทราบเสมอกัน ข้อที่ท่านพระโคดมมีฝ่าพระบาทราบเสมอ กันนี้ เป็นลักษณะมหาบุรุษของมหาบุรุษนั้น ๒. พื้นฝ่าพระบาททั้งสองของท่านพระโคดมนี้ มีจักรซึ่งมีกำข้างละ ๑,๐๐๐ ซี่ มีกง มีดุม และมีส่วนประกอบครบทุกอย่าง ข้อที่พื้น ฝ่าพระบาททั้งสองของท่านพระโคดมนี้ มีจักรซึ่งมีกำข้างละ ๑,๐๐๐ ซี่ มีกง มีดุม และมีส่วนประกอบครบทุกอย่างนี้ เป็นลักษณะมหาบุรุษ ของมหาบุรุษนั้น ๓. มีส้นพระบาทยื่นยาวออกไป ข้อที่ท่านพระโคดมมีส้นพระบาทยื่นยาว ออกไปนี้ เป็นลักษณะมหาบุรุษของมหาบุรุษนั้น ๔. มีพระองคุลียาว ข้อที่ท่านพระโคดมมีพระองคุลียาวนี้ เป็นลักษณะ มหาบุรุษของมหาบุรุษนั้น ๕. มีพระหัตถ์และพระบาทอ่อนนุ่ม ข้อที่ท่านพระโคดมมีพระหัตถ์และ พระบาทอ่อนนุ่มนี้ เป็นลักษณะมหาบุรุษของมหาบุรุษนั้น ๖. ฝ่าพระหัตถ์และฝ่าพระบาทมีเส้นข้อที่พระองคุลีจดกันเป็นรูปตาข่าย ข้อที่ท่านพระโคดมมีฝ่าพระหัตถ์และฝ่าพระบาทมีเส้นที่ข้อพระองคุลี จดกันเป็นรูปตาข่ายนี้ เป็นลักษณะมหาบุรุษของมหาบุรุษนั้น ๗. มีข้อพระบาทสูง ข้อที่ท่านพระโคดมมีข้อพระบาทสูงนี้ เป็นลักษณะ มหาบุรุษของมหาบุรุษนั้น ๘. มีพระชงฆ์เรียวดุจแข้งเนื้อทราย ข้อที่ท่านพระโคดมมีพระชงฆ์เรียว ดุจแข้งเนื้อทรายนี้ เป็นลักษณะมหาบุรุษของมหาบุรุษนั้น ๙. เมื่อประทับยืน ไม่ต้องน้อมพระองค์ลงก็ทรงลูบคลำถึงพระชานุด้วย ฝ่าพระหัตถ์ทั้งสองได้ ข้อที่ท่านพระโคดมเมื่อประทับยืนไม่ต้องน้อม พระองค์ลงก็ทรงลูบถึงพระชานุด้วยฝ่าพระหัตถ์ทั้งสองได้นี้ เป็นลักษณะ มหาบุรุษของมหาบุรุษนั้น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๔๗๕}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค]

๑. พรหมายุสูตร

๑๐. มีพระคุยหฐานอันเร้นอยู่ในฝัก ข้อที่ท่านพระโคดมมีพระคุยหฐาน อันเร้นอยู่ในฝักนี้ เป็นลักษณะมหาบุรุษของมหาบุรุษนั้น ๑๑. มีพระฉวีสีทอง มีพระฉวีเปล่งปลั่งดุจทองคำ ข้อที่ท่านพระโคดมมี พระฉวีสีทอง มีพระฉวีเปล่งปลั่งดุจทองคำนี้ เป็นลักษณะมหาบุรุษ ของมหาบุรุษนั้น ๑๒. มีพระฉวีละเอียดจนละอองธุลีไม่อาจติดพระวรกายได้ ข้อที่ท่าน พระโคดมมีพระฉวีละเอียดจนละอองธุลีไม่อาจติดพระวรกายได้นี้ เป็นลักษณะมหาบุรุษของมหาบุรุษนั้น ๑๓. มีพระโลมชาติเดี่ยว คือ ในแต่ละขุมมีเพียงเส้นเดียว ข้อที่ท่าน พระโคดมมีพระโลมชาติเดี่ยว คือ ในแต่ละขุมมีเพียงเส้นเดียวนี้ เป็นลักษณะมหาบุรุษของมหาบุรุษนั้น ๑๔. มีพระโลมชาติปลายงอนขึ้น คือ พระโลมชาติขอดเป็นวงเวียนขวาดัง กุณฑลสีครามเข้มดังดอกอัญชัน ข้อที่ท่านพระโคดมมีพระโลมชาติ ปลายงอนขึ้น คือ พระโลมชาติขอดเป็นวงเวียนขวาดังกุณฑล สีครามเข้มดังดอกอัญชันนี้ เป็นลักษณะมหาบุรุษของมหาบุรุษนั้น ๑๕. มีพระวรกายตั้งตรงดุจกายพรหม ข้อที่ท่านพระโคดมมีพระวรกาย ตั้งตรงดุจกายพรหมนี้ เป็นลักษณะมหาบุรุษของมหาบุรุษนั้น ๑๖. มีพระมังสะในที่ ๗ แห่ง๑- เต็มบริบูรณ์ ข้อที่ท่านพระโคดมมีพระมังสะ ในที่ ๗ แห่งเต็มบริบูรณ์นี้ เป็นลักษณะมหาบุรุษของมหาบุรุษนั้น ๑๗. มีพระวรกายทุกส่วนบริบูรณ์ดุจลำตัวท่อนหน้าของราชสีห์ ข้อที่ท่าน พระโคดมมีพระวรกายทุกส่วนบริบูรณ์ดุจลำตัวท่อนหน้าของราชสีห์นี้ เป็นลักษณะมหาบุรุษของมหาบุรุษนั้น @เชิงอรรถ : @ ที่ ๗ แห่ง ในที่นี้ คือ หลังพระหัตถ์ทั้ง ๒ ข้าง หลังพระบาททั้ง ๒ ข้าง และลำพระศอ @(ที.ม.อ. ๒/๓๕/๔๓, ม.ม.อ. ๒/๓๘๖/๒๗๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๔๗๖}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค]

๑. พรหมายุสูตร

๑๘. มีร่องพระปฤษฎางค์เต็มเสมอกัน ข้อที่ท่านพระโคดมมีร่องพระ ปฤษฎางค์เต็มเสมอกันนี้ เป็นลักษณะมหาบุรุษของมหาบุรุษนั้น ๑๙. มีพระวรกายเป็นปริมณฑลดุจปริมณฑลของต้นไทร พระวรกายสูง เท่ากับ ๑ วาของพระองค์ ๑ วาของพระองค์เท่ากับส่วนสูงพระวรกาย ข้อที่ท่านพระโคดมมีพระวรกายเป็นปริมณฑลดุจปริมณฑลของต้นไทร พระวรกายสูงเท่ากับ ๑ วาของพระองค์ ๑ วาของพระองค์เท่ากับ ส่วนสูงพระวรกายนี้ เป็นลักษณะมหาบุรุษของมหาบุรุษนั้น ๒๐. มีลำพระศอกลมเท่ากันตลอด ข้อที่ท่านพระโคดมมีลำพระศอกลม เท่ากันตลอดนี้ เป็นลักษณะมหาบุรุษของมหาบุรุษนั้น ๒๑. มีเส้นประสาทรับรสพระกระยาหารได้ดี ข้อที่ท่านพระโคดมมีเส้น ประสาทรับรสพระกระยาหารได้ดีนี้ เป็นลักษณะมหาบุรุษของมหา- บุรุษนั้น ๒๒. มีพระหนุดุจคางราชสีห์ ข้อที่ท่านพระโคดมมีพระหนุดุจคางราชสีห์นี้ เป็นลักษณะมหาบุรุษของมหาบุรุษนั้น ๒๓. มีพระทนต์ ๔๐ ซี่ ข้อที่ท่านพระโคดมมีพระทนต์ ๔๐ ซี่นี้ เป็นลักษณะ มหาบุรุษของมหาบุรุษนั้น ๒๔. มีพระทนต์เรียบเสมอกัน ข้อที่ท่านพระโคดมมีพระทนต์เรียบเสมอ กันนี้ เป็นลักษณะมหาบุรุษของมหาบุรุษนั้น ๒๕. มีพระทนต์ไม่ห่างกัน ข้อที่ท่านพระโคดมมีพระทนต์ไม่ห่างกันนี้ เป็นลักษณะมหาบุรุษของมหาบุรุษนั้น ๒๖. มีพระเขี้ยวแก้วขาวงาม ข้อที่ท่านพระโคดมมีพระเขี้ยวแก้วขาวงามนี้ เป็นลักษณะมหาบุรุษของมหาบุรุษนั้น ๒๗. มีพระชิวหาใหญ่ยาว ข้อที่ท่านพระโคดมมีพระชิวหาใหญ่ยาวนี้ เป็น ลักษณะมหาบุรุษของมหาบุรุษนั้น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๔๗๗}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค]

๑. พรหมายุสูตร

๒๘. มีพระสุรเสียงดุจเสียงพรหม ตรัสดุจเสียงร้องของนกการเวก ข้อที่ ท่านพระโคดมมีพระสุรเสียงดุจเสียงพรหม ตรัสดุจเสียงร้องของนก การเวกนี้ เป็นลักษณะมหาบุรุษของมหาบุรุษนั้น ๒๙. มีพระเนตรดำสนิท ข้อที่ท่านพระโคดมมีพระเนตรดำสนิทนี้ เป็น ลักษณะมหาบุรุษของมหาบุรุษนั้น ๓๐. มีดวงพระเนตรแจ่มใสดุจตาลูกโคเพิ่งคลอด ข้อที่ท่านพระโคดมมี ดวงพระเนตรแจ่มใสดุจตาลูกโคเพิ่งคลอดนี้ เป็นลักษณะมหาบุรุษ ของมหาบุรุษนั้น ๓๑. มีพระอุณาโลมระหว่างพระโขนงสีขาวอ่อนเหมือนปุยนุ่น ข้อที่ท่าน พระโคดมมีพระอุณาโลมระหว่างพระโขนงสีขาวอ่อนเหมือนปุยนุ่นนี้ เป็นลักษณะมหาบุรุษของมหาบุรุษนั้น ๓๒. มีพระเศียรดุจประดับด้วยกรอบพระพักตร์ ข้อที่ท่านพระโคดมมี พระเศียรดุจประดับด้วยกรอบพระพักตร์นี้ เป็นลักษณะมหาบุรุษ ของมหาบุรุษนั้น ท่านผู้เจริญ ท่านพระโคดมพระองค์นั้นทรงประกอบด้วยลักษณะมหาบุรุษ ๓๒ ประการนี้แล [๓๘๗] ท่านพระโคดมพระองค์นั้น เมื่อจะทรงดำเนิน ทรงก้าวพระบาทเบื้องขวาก่อน ไม่ก้าวพระบาทยาวนัก ไม่ก้าวพระบาทสั้นนัก ไม่ทรงดำเนินเร็วนัก ไม่ทรงดำเนินช้านัก ขณะทรงดำเนิน พระชานุกับพระชานุไม่เสียดสีกัน ข้อพระบาทกับข้อพระบาทไม่กระทบกัน ไม่ทรงยก พระอุรุสูง ไม่ทรงทอดพระอุรุไปข้างหลัง ไม่ทรงกระแทกพระอุรุ ไม่ทรงส่ายพระอุรุ เมื่อทรงดำเนินพระวรกายส่วนบนไม่หวั่นไหว ทรงดำเนินไม่ใช้กำลังมาก เมื่อทอด พระเนตร ทรงเหลียวดูไปทั้งพระวรกาย ไม่ทรงแหงนดู ไม่ทรงก้มดู ขณะทรงดำเนิน ไม่ส่าย พระเนตร ทรงทอดพระเนตรประมาณชั่วแอก ยิ่งกว่านั้นพระองค์ทรงมีพระญาณทัสสนะ ไม่มีอะไรขวางกั้นได้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๔๗๘}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค]

๑. พรหมายุสูตร

เมื่อเสด็จเข้าสู่ละแวกบ้าน ไม่ทรงยืดพระวรกาย ไม่ทรงย่อพระวรกาย ไม่ทรง ห่อพระวรกาย ไม่ทรงส่ายพระวรกาย เสด็จเข้าประทับนั่งบนพุทธอาสน์ ไม่ไกลนัก ไม่ใกล้นัก ไม่ประทับนั่งท้าวพระหัตถ์บนพุทธอาสน์ ไม่ทรงพิงพระวรกายที่พุทธอาสน์ เมื่อประทับนั่งในละแวกบ้าน ไม่ทรงคะนองพระหัตถ์ ไม่ทรงคะนองพระบาท ไม่ประทับนั่งชันพระชานุ ไม่ประทับนั่งซ้อนพระบาท ไม่ประทับนั่งเอาฝ่าพระหัตถ์ ยันพระหนุ(เท้าคาง) เมื่อประทับนั่งในละแวกบ้าน ไม่ทรงครั่นคร้าม ไม่ทรงหวั่นไหว ไม่ทรงขลาด ไม่ทรงสะดุ้ง ทรงปราศจากโลมชาติชูชัน ทรงพอพระทัยในวิเวก๑- เมื่อทรงรับน้ำล้างบาตร ไม่ทรงชูบาตรขึ้นรับ ไม่ทรงลดบาตรลงรับ ไม่ทรง ยื่นบาตรคอยรับ ไม่ทรงแกว่งบาตรคอยรับ ทรงรับน้ำล้างบาตรไม่น้อยนักไม่มากนัก ไม่ทรงล้างบาตรดังขลุกๆ ไม่ทรงล้างบาตรด้วยวิธีหมุน ไม่ทรงวางบาตรที่พื้น ทรงล้างบนพระหัตถ์ เมื่อทรงล้างพระหัตถ์ก็เป็นอันทรงล้างบาตร เมื่อทรงล้างบาตรก็เป็นอันทรง ล้างพระหัตถ์ ทรงเทน้ำล้างบาตรไม่ไกลนัก ไม่ใกล้นัก และทรงเทน้ำล้างบาตรไม่ให้ น้ำกระเซ็น เมื่อทรงรับข้าวสุกก็ไม่ทรงชูบาตรขึ้นรับ ไม่ทรงลดบาตรลงรับ ไม่ทรงยื่น บาตรคอยรับ ไม่ทรงแกว่งบาตรคอยรับ ทรงรับข้าวสุกไม่น้อยนักไม่มากนัก ทรงรับ กับข้าว เสวยพระกระยาหารพอประมาณกับข้าว ไม่ทรงทำกับข้าวให้เกินกว่าคำข้าว ทรงเคี้ยวคำข้าวข้างในพระโอษฐ์สองสามครั้งแล้วทรงกลืน ข้าวยังไม่ละเอียด ไม่ทรง กลืนลงไป ไม่มีข้าวเหลืออยู่ในพระโอษฐ์ จึงน้อมคำข้าวอีกคำหนึ่งเข้าไป ทรงมีปกติ กำหนดรสอาหารแล้วเสวยอาหาร แต่ไม่ทรงติดในรส ท่านพระโคดมพระองค์นั้นเสวยพระกระยาหารประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ คือ ๑. ไม่เสวยเพื่อเล่น ๒. ไม่เสวยเพื่อมัวเมา ๓. ไม่เสวยเพื่อประดับ @เชิงอรรถ : @ วิเวก ในที่นี้หมายถึงพระนิพพาน (ม.ม.อ. ๒/๓๘๗/๒๘๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๔๗๙}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค]

๑. พรหมายุสูตร

๔. ไม่เสวยเพื่อตกแต่ง ๕. เสวยเพื่อดำรงพระวรกายนี้ไว้ ๖. เสวยเพื่อยังพระชนม์ให้เป็นไปได้ ๗. เสวยเพื่อป้องกันความลำบาก ๘. เสวยเพื่อทรงอนุเคราะห์พรหมจรรย์ ด้วยทรงพระดำริว่า ‘เพียงเท่านี้ก็จักกำจัดเวทนาเก่า จักไม่ให้เวทนาใหม่เกิดขึ้น ร่างกายของเราจักดำเนินไปสะดวก ไม่มีโทษ และอยู่สำราญ’ ท่านพระโคดมพระองค์นั้น เสวยพระกระยาหารเสร็จแล้ว เมื่อจะทรงรับน้ำล้างบาตรไม่ทรงชูบาตรขึ้นรับ ไม่ทรง ลดบาตรลงรับ ไม่ทรงยื่นบาตรคอยรับ ไม่ทรงแกว่งบาตรรับ ทรงรับน้ำล้างบาตร ไม่น้อยนัก ไม่มากนัก ไม่ทรงล้างบาตรดังขลุกๆ ไม่ทรงล้างบาตรด้วยวิธีหมุน ไม่ทรงวางบาตรที่พื้น ทรงล้างบนพระหัตถ์ เมื่อทรงล้างพระหัตถ์ก็เป็นอันทรงล้าง บาตร เมื่อทรงล้างบาตรก็เป็นอันทรงล้างพระหัตถ์ ทรงเทน้ำล้างบาตรไม่ไกลนัก ไม่ใกล้นัก ทรงเทน้ำล้างบาตรไม่ให้น้ำกระเซ็น เสวยพระกระยาหารเสร็จแล้ว ไม่ทรง วางบาตรที่พื้น ทรงวางไว้ในที่ไม่ไกลนัก ไม่ใกล้นัก จะไม่ทรงต้องการบาตรก็หามิได้ จะตามรักษาบาตรตลอดก็หามิได้ เสวยเสร็จแล้ว ประทับนิ่งเฉยอยู่ครู่หนึ่ง แต่ไม่ ทรงปล่อยเวลาอนุโมทนาให้ล่วงไป เสวยเสร็จแล้วก็ทรงอนุโมทนา ไม่ทรงติเตียน ภัตรนั้น ไม่ทรงมุ่งหวังภัตรอื่น ทรงชี้แจงให้บริษัทเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไป ปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถาแล้ว พระองค์เสด็จลุกจากพุทธอาสน์เสด็จไป ก็ไม่เสด็จเร็วนัก ไม่เสด็จช้านัก ไม่ผลุนผลันเสด็จไป ไม่ทรงจีวรสูงเกินไป ไม่ทรงจีวรต่ำเกินไป ไม่ทรงจีวรแน่นติด พระวรกายเกินไป และไม่ทรงจีวรหลุดลุ่ยจากพระวรกาย ทรงจีวรไม่ให้ลมพัดแหวกได้ ทั้งฝุ่นละอองไม่ติดพระวรกาย เสด็จถึงพระอารามแล้วประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้ จึงทรงล้างพระบาท ไม่ทรงใส่พระทัยเพื่อประดับตกแต่งพระบาทอยู่ ทรงล้างพระบาท แล้วประทับนั่งคู้บัลลังก์ ตั้งพระวรกายตรง ดำรงพระสติไว้เบื้องพระพักตร์ ไม่ทรงดำริ เพื่อเบียดเบียนพระองค์ ไม่ทรงดำริเพื่อเบียดเบียนผู้อื่น ไม่ทรงดำริเพื่อเบียดเบียน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๔๘๐}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค]

๑. พรหมายุสูตร

ทั้งสองฝ่าย ประทับนั่งทรงดำริแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์แก่พระองค์ สิ่งที่เป็นประโยชน์ แก่ผู้อื่น สิ่งที่เป็นประโยชน์ทั้งสองฝ่าย และสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่โลกทั้งปวงเท่านั้น ประทับอยู่ในอาราม ก็ทรงแสดงธรรมในบริษัท ไม่ทรงยกย่องบริษัท ไม่ทรงรุกราน บริษัท โดยที่แท้ ทรงชี้แจงให้บริษัทเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจ ให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถาแล้ว ท่านพระโคดมพระองค์นั้นทรงมีพระสุรเสียงกึกก้องเปล่งออกจากพระโอษฐ์ ประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ คือ ๑. นุ่มนวล ๒. ฟังชัดเจน ๓. ไพเราะ ๔. ฟังง่าย ๕. กลมกล่อม ๖. ไม่พร่า ๗. ลุ่มลึก ๘. มีกังวาน พระสุรเสียงที่พระองค์ทรงสอนบริษัทให้เข้าใจมิได้ก้องออกไปนอกบริษัทนั้น ชนทั้งหลายที่ท่านพระโคดมทรงชี้แจงให้เห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถาแล้ว จึงลุกจาก ที่นั่งจากไปยังเหลียวดูโดยไม่อยากจากไป ต่างรำพึงว่า ‘เราได้เห็นท่านพระโคดม พระองค์นั้นทรงดำเนิน ประทับยืน เสด็จเข้าละแวกบ้าน ประทับนั่งนิ่งในละแวกบ้าน กำลังเสวยพระกระยาหารในละแวกบ้าน เสวยเสร็จแล้วก็ประทับนั่งนิ่ง เสวยเสร็จแล้ว ทรงอนุโมทนา เสด็จกลับมายังพระอาราม เสด็จมาถึงพระอารามแล้วประทับนิ่งอยู่ ประทับอยู่ในพระอารามแล้ว ทรงแสดงธรรมในบริษัท ท่านพระโคดมพระองค์นั้น ทรงพระคุณเช่นนี้ๆ และทรงพระคุณยิ่งกว่าที่กล่าวแล้วนั้น” [๓๘๘] เมื่ออุตตรมาณพกล่าวอย่างนี้แล้ว พรหมายุพราหมณ์ลุกจากที่นั่ง ห่มผ้าเฉวียงบ่า ประนมมือไปทางทิศที่พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ แล้วเปล่งอุทาน ขึ้น ๓ ครั้งว่า “ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๔๘๑}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค]

๑. พรหมายุสูตร

แล้วคิดว่า “ทำอย่างไรหนอ เราจึงจะได้พบท่านพระโคดมพระองค์นั้นสักครั้งหนึ่ง ทำอย่างไร เราจึงจะได้สนทนาปราศรัย(กับท่านพระโคดม) บ้าง” [๓๘๙] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเมื่อเสด็จจาริกไปในแคว้นวิเทหะโดยลำดับ เสด็จถึงกรุงมิถิลา ได้ทราบว่า ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ สวนมะม่วง ของพระเจ้ามฆเทวะ เขตกรุงมิถิลา พราหมณ์และคหบดีชาวกรุงมิถิลาได้สดับข่าวว่า “ได้ยินว่า พระสมณโคดมเป็นศากยบุตร ทรงผนวชจากศากยตระกูล เสด็จจาริก ไปในแคว้นวิเทหะพร้อมกับภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประมาณ ๕๐๐ รูป เสด็จถึงกรุงมิถิลาแล้ว ประทับอยู่ ณ สวนมะม่วงของพระเจ้ามฆเทวะ เขตกรุงมิถิลา ท่านพระโคดม พระองค์นั้นมีกิตติศัพท์อันงามขจรไปอย่างนี้ว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาค พระองค์นั้นเป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชา และจรณะ เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดา ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค’ พระองค์ทรง รู้แจ้งโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก และหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ด้วยพระองค์เองแล้วทรงประกาศให้ผู้อื่นรู้ตาม ทรงแสดงธรรมมี ความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง และมีความงามในที่สุด ทรงประกาศ พรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะบริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วน การได้พบพระ อรหันต์ทั้งหลายเช่นนี้ เป็นความดีอย่างแท้จริง” ครั้งนั้น พราหมณ์และคหบดีชาวกรุงมิถิลาพากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึง ที่ประทับ บางพวกถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่สมควร บางพวก ทูลสนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร บางพวกประนมมือไปทางที่พระผู้มีพระภาคประทับนั่งแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร บางพวกประกาศชื่อและโคตรในสำนักของพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่สมควร บางพวกก็นั่งนิ่งอยู่ ณ ที่สมควร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๔๘๒}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค]

๑. พรหมายุสูตร

พรหมายุพราหมณ์เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า
[๓๙๐] พรหมายุพราหมณ์ได้สดับข่าวว่า “ได้ยินว่า พระสมณโคดม เป็นศากยบุตร ทรงผนวชจากศากยตระกูล เสด็จถึงกรุงมิถิลาแล้วประทับอยู่ ณ สวนมะม่วงของพระเจ้ามฆเทวะ เขตกรุงมิถิลา” ครั้งนั้นแล พรหมายุพราหมณ์ พร้อมด้วยมาณพเป็นอันมาก พากันเข้าไปยังสวนมะม่วงของพระเจ้ามฆเทวะ ลำดับนั้น ในที่ไม่ไกลจากสวนมะม่วงของพระเจ้ามฆเทวะ พรหมายุพราหมณ์ได้ คิดว่า “การที่เราไม่นัดหมายให้ทรงทราบก่อนแล้วเข้าไปเฝ้าพระสมณโคดมไม่ควร แก่เราเลย” ลำดับนั้น พรหมายุพราหมณ์เรียกมาณพคนหนึ่งมาสั่งว่า “มาเถิด พ่อมาณพ พ่อจงเข้าไปเฝ้าพระสมณโคดมถึงที่ประทับ แล้วจงทูลถามพระสมณโคดมถึงพระสุขภาพ ความมีพระโรคาพาธน้อย กระปรี้กระเปร่า มีพระพลานามัยสมบูรณ์ อยู่สำราญ ตามคำของเราว่า ‘ข้าแต่ท่านพระโคดม พรหมายุพราหมณ์ทูลถามท่านพระโคดม ถึงความมีพระสุขภาพ ความมีพระโรคาพาธน้อย กระปรี้กระเปร่า มีพระพลานามัย สมบูรณ์ อยู่สำราญ’ และจงกราบทูลอย่างนี้ว่า ‘ข้าแต่ท่านพระโคดม พรหมายุ- พราหมณ์เป็นคนชรา เป็นคนแก่ เป็นผู้ใหญ่ ล่วงกาลผ่านวัยมาโดยลำดับ จนมีอายุ ๑๒๐ ปี นับแต่เกิด จบไตรเพท พร้อมทั้งนิฆัณฑุศาสตร์ เกฏุภศาสตร์ อักษร- ศาสตร์ และประวัติศาสตร์ เข้าใจตัวบทและไวยากรณ์ ชำนาญโลกายตศาสตร์ และลักษณะมหาบุรุษ ข้าแต่ท่านพระโคดม พราหมณ์และคหบดีมีประมาณเท่าใด อยู่อาศัยในกรุงมิถิลา พรหมายุพราหมณ์ปรากฏว่า เป็นผู้เลิศกว่าพราหมณ์ และคหบดีเหล่านั้น เพราะโภคะ มนตร์ อายุ และยศ ท่านปรารถนาที่จะเข้าเฝ้า ท่านพระโคดม” มาณพนั้นรับคำพรหมายุพราหมณ์แล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว ได้ยืนอยู่ ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๔๘๓}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค]

๑. พรหมายุสูตร

“ข้าแต่ท่านพระโคดม พรหมายุพราหมณ์ทูลถามท่านพระโคดมถึงพระสุขภาพ ความมีพระโรคาพาธน้อย กระปรี้กระเปร่า มีพระพลานามัยสมบูรณ์ อยู่สำราญ และ ฝากกราบทูลอย่างนี้ว่า ‘ข้าแต่ท่านพระโคดม พรหมายุพราหมณ์เป็นคนชรา เป็น คนแก่ เป็นผู้ใหญ่ ล่วงกาลผ่านวัยมาโดยลำดับ จนมีอายุ ๑๒๐ ปี นับแต่เกิด จบไตรเพท พร้อมทั้งนิฆัณฑุศาสตร์ เกฏุภศาสตร์ อักษรศาสตร์ และประวัติศาสตร์ เข้าใจตัวบทและไวยากรณ์ ชำนาญโลกายตศาสตร์และลักษณะมหาบุรุษ ข้าแต่ท่าน พระโคดม พราหมณ์และคหบดีมีประมาณเท่าใด อยู่อาศัยในกรุงมิถิลา พรหมายุ- พราหมณ์ปรากฏว่า เป็นผู้เลิศกว่าพราหมณ์และคหบดีเหล่านั้น เพราะโภคะ มนตร์ อายุ และยศ ท่านปรารถนาจะเข้าเฝ้าท่านพระโคดม พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มาณพ พรหมายุพราหมณ์ จงกำหนดเวลาที่สมควร ณ บัดนี้เถิด” หลังจากนั้น มาณพนั้นจึงเข้าไปหาพรหมายุพราหมณ์ถึงที่อยู่แล้วได้กล่าวกับ พรหมายุพราหมณ์ว่า “ท่านเป็นผู้ที่ท่านพระสมณโคดมทรงประทานโอกาสแล้ว จงไป ในเวลาที่เห็นสมควรเถิด”
พรหมายุพราหมณ์ขอดูพระชิวหาและพระคุยหฐาน
[๓๙๑] ครั้งนั้นแล พรหมายุพราหมณ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ บริษัทนั้นได้เห็นพรหมายุพราหมณ์มาแต่ไกล จึงรีบลุกขึ้นให้โอกาสตามสมควร แก่เขา เปรียบเหมือนลุกขึ้นให้โอกาสแก่ผู้มีชื่อเสียง มียศ ลำดับนั้น พรหมายุ- พราหมณ์ได้กล่าวกับบริษัทนั้นว่า “อย่าเลย ท่านผู้เจริญทั้งหลาย เชิญท่านทั้งหลาย นั่งบนอาสนะของตนเองเถิด เราจักนั่งใกล้ๆ พระสมณโคดมนี้” ครั้งนั้น พรหมายุพราหมณ์ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับได้สนทนา ปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้พิจารณา ดูลักษณะมหาบุรุษ ๓๒ ประการในพระวรกายของพระผู้มีพระภาค ได้เห็นโดยมาก {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๔๘๔}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค]

๑. พรหมายุสูตร

เว้นอยู่ ๒ ประการ คือ (๑) พระคุยหฐานอันเร้นอยู่ในฝัก (๒) พระชิวหาใหญ่ จึงยังเคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในลักษณะมหาบุรุษอีก ๒ ประการ ต่อจากนั้น พรหมายุพราหมณ์ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค ด้วยคาถาว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม ลักษณะมหาบุรุษ ที่ข้าพระองค์ได้สดับมาว่ามี ๓๒ ประการ แต่ยังไม่เห็นอยู่ ๒ ประการในพระวรกายของพระองค์ ข้าแต่พระองค์ผู้สูงสุดกว่านรชน พระคุยหฐานของพระองค์เร้นอยู่ในฝัก ที่ผู้รู้กล่าวกันว่าคล้ายของนารีหรือ พระชิวหาของพระองค์ได้นรลักษณ์หรือ พระองค์มีพระชิวหาใหญ่หรือ ข้าพระองค์จะพึงทราบความข้อนั้นได้อย่างไร ขอพระองค์ทรงค่อยๆ นำพระลักษณะนั้นออกมาเถิด ขอได้โปรดกำจัดความสงสัยของข้าพระองค์ด้วยเถิด ท่านฤาษี ถ้าพระองค์ทรงประทานโอกาส ข้าพระองค์จะขอทูลถามปัญหา ที่ข้าพระองค์ปรารถนาบางอย่าง เพื่อประโยชน์เกื้อกูลในปัจจุบัน และเพื่อความสุขในสัมปรายภพ” [๓๙๒] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคได้ทรงดำริว่า “พรหมายุพราหมณ์นี้เห็น ลักษณะมหาบุรุษ ๓๒ ประการของเราโดยมาก เว้นอยู่ ๒ ประการ คือ (๑) คุยหฐาน อันเร้นอยู่ในฝัก (๒) ชิวหาใหญ่ จึงยังเคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใส ในลักษณะมหาบุรุษอีก ๒ ประการ” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๔๘๕}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค]

๑. พรหมายุสูตร

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคจึงทรงบันดาลอิทธาภิสังขารให้พรหมายุพราหมณ์ ได้เห็นพระคุยหฐานอันเร้นอยู่ในฝัก และทรงแลบพระชิวหา สอดเข้าในช่องพระกรรณ ทั้ง ๒ ข้างกลับไปกลับมา ทรงสอดเข้าในช่องพระนาสิกทั้ง ๒ ข้างกลับไปกลับมา ทรงแผ่พระชิวหาปิดทั่วมณฑลพระนลาฏ ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับ พรหมายุพราหมณ์ด้วยพระคาถาว่า “พราหมณ์ ลักษณะมหาบรุษ ที่ท่านได้สดับมาว่ามี ๓๒ ประการนั้น มีอยู่ในกายของเราครบทุกอย่าง ท่านอย่าสงสัย พราหมณ์ สิ่งที่ควรรู้เราได้รู้ยิ่งแล้ว สิ่งที่ควรเจริญเราได้เจริญแล้ว และสิ่งที่ควรละเราก็ละได้แล้ว เพราะเหตุนั้น เราจึงเป็นพุทธะ ท่านได้รับโอกาสแล้ว จงถามปัญหาบางอย่าง ที่ท่านปรารถนาเถิด เพื่อประโยชน์เกื้อกูลในปัจจุบัน และเพื่อความสุขในสัมปรายภพ” [๓๙๓] ครั้งนั้นแล พรหมายุพราหมณ์ได้คิดว่า“เราเป็นผู้ที่พระสมณโคดม ประทานโอกาสแล้ว จะทูลถามถึงประโยชน์ในปัจจุบันหรือประโยชน์ในสัมปรายภพ” ลำดับนั้น พรหมายุพราหมณ์ได้คิดว่า “เราฉลาดประโยชน์ในปัจจุบัน แม้คนเหล่าอื่น ก็ถามเราถึงประโยชน์ในปัจจุบัน ทางที่ดี เราควรทูลถามประโยชน์ในสัมปรายภพ กับพระสมณโคดมเถิด” ต่อจากนั้น พรหมายุพราหมณ์ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาค ด้วยคาถาว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลเป็นพราหมณ์ได้อย่างไร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๔๘๖}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค]

๑. พรหมายุสูตร

เป็นผู้จบเวท๑- ได้อย่างไร เป็นผู้มีวิชชา ๓ ๒- ได้อย่างไร บัณฑิตเรียกบุคคลผู้มีความสวัสดีว่า อะไร บุคคลเป็นพระอรหันต์ได้อย่างไร บุคคลมีคุณครบถ้วนได้อย่างไร บุคคลเป็นมุนีได้อย่างไร และบัณฑิตเรียกพระพุทธเจ้าว่า อะไร” [๓๙๔] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสตอบพราหมณ์ด้วยพระคาถาว่า “ผู้ใดระลึกชาติก่อนๆ ได้ เห็นสวรรค์และอบาย บรรลุถึงความสิ้นชาติ ผู้นั้นชื่อว่าเป็นมุนีผู้รู้ยิ่งถึงที่สุด มุนีนั้นย่อมรู้จิตอันบริสุทธิ์ อันพ้นจากราคะทั้งหลาย โดยประการทั้งปวง เป็นผู้ละชาติและมรณะได้แล้ว ชื่อว่ามีคุณครบถ้วนแห่งพรหมจรรย์ ชื่อว่าถึงฝั่งแห่งธรรมทั้งปวง บัณฑิตเรียกพระพุทธเจ้าว่า ผู้คงที่” เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว พรหมายุพราหมณ์ลุกขึ้นจากที่นั่ง ห่มผ้า เฉวียงบ่า หมอบลงแทบพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า จุมพิต พระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคด้วยปาก นวดด้วยฝ่ามือทั้ง ๒ และประกาศชื่อ ของตนว่า “ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์เป็นพราหมณ์ชื่อพรหมายุ ข้าแต่ พระโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์เป็นพราหมณ์ชื่อพรหมายุ” @เชิงอรรถ : @ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๓๘๓ (พรหมายุสูตร) หน้า ๔๗๑ ในเล่มนี้ @ ดูเชิงอรรถที่ ๒ ข้อ ๑๐ (กันทรกสูตร) หน้า ๑๐ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๔๘๗}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค]

๑. พรหมายุสูตร

ครั้งนั้นแล บริษัทหมู่นั้นเกิดความอัศจรรย์ใจว่า “น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคย ปรากฏ ท่านผู้เจริญ พระสมณะเป็นผู้มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก พรหมายุพราหมณ์ นี้เป็นผู้มีชื่อเสียง มียศ ยังทำความเคารพยกย่องอย่างยิ่งเช่นนี้” หลังจากนั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับพรหมายุพราหมณ์ว่า “พอละพราหมณ์ เชิญท่านลุกขึ้นนั่งบนที่นั่งของตนเถิด เพราะจิตของท่านเลื่อมใสในเราแล้ว” จากนั้น พรหมายุพราหมณ์จึงลุกขึ้นนั่งบนที่นั่งของตน
ทรงแสดงอนุปุพพีกถา
[๓๙๕] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสอนุปุพพีกถา๑- แก่พรหมายุพราหมณ์ คือ ทรงประกาศเรื่องทาน เรื่องศีล เรื่องสวรรค์ เรื่องโทษ ความต่ำทราม ความเศร้า หมองแห่งกาม และอานิสงส์ในการออกบวช เมื่อทรงทราบว่า พรหมายุพราหมณ์มี จิตควรบรรลุธรรม สงบ อ่อน ปราศจากนิวรณ์ เบิกบาน ผ่องใส จึงทรงประกาศ สามุกกังสิกเทศนา๒- คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ธรรมจักษุอันไร้ธุลีคือกิเลส ปราศจากมลทิน เกิดขึ้นแก่พรหมายุพราหมณ์บนที่นั่งนั่นเองว่า “สิ่งใดสิ่งหนึ่งมี ความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา” เปรียบเหมือน ผ้าขาวสะอาด ปราศจากมลทิน ควรรับน้ำย้อมได้เป็นอย่างดี ลำดับนั้น พรหมายุพราหมณ์เห็นธรรม บรรลุธรรม รู้ธรรม หยั่งลงสู่ธรรม หมดความสงสัย ไม่มีคำถามใดๆ มีความแกล้วกล้า ไม่ต้องเชื่อใครอีก ในหลัก คำสอนของพระศาสดา ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า @เชิงอรรถ : @ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๖๙ (อุปาลิวาทสูตร) หน้า ๖๕ ในเล่มนี้ @ สามุกกังสิกเทศนา หมายถึงพระธรรมเทศนาที่พระพุทธเจ้าทรงยกขึ้นแสดงเอง โดยไม่มีผู้ทูลอาราธนา @หรือทูลถาม (ที.สี.อ. ๑/๒๙๘/๒๕๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๔๘๘}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค]

๑. พรหมายุสูตร

“ข้าแต่ท่านพระโคดม พระภาษิตของท่านพระโคดมชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ข้าแต่ ท่านพระโคดม พระภาษิตของท่านพระโคดมชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ท่านพระโคดม ทรงประกาศธรรมแจ่มแจ้งโดยประการต่างๆ เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่ผู้หลงทาง หรือตามประทีปในที่มืดด้วยตั้งใจว่า ‘คนมีตาดี จักเห็นรูปได้’ ข้าพระองค์นี้ขอถึงท่านพระโคดม พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็น สรณะ ขอท่านพระโคดมจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้ เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต อนึ่ง ขอท่านพระโคดมพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์โปรดรับภัตตาหาร ของข้าพระองค์ในวันพรุ่งนี้ด้วยเถิด” พระผู้มีพระภาคทรงรับนิมนต์โดยดุษณีภาพ พรหมายุพราหมณ์ทราบอาการที่พระผู้มีพระภาคทรงรับนิมนต์แล้ว จึงลุกจาก ที่นั่ง ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค กระทำประทักษิณแล้วจากไป เมื่อล่วงราตรีนั้นไป พรหมายุพราหมณ์ได้ตระเตรียมของควรเคี้ยวควรฉันอันประณีตไว้ในนิเวศน์ของตน แล้วใช้ให้คนไปกราบทูลภัตตกาลกับพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม ถึงเวลาแล้ว พระพุทธเจ้าข้า ภัตตาหารสำเร็จแล้ว” ครั้นในเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวร เสด็จเข้าไปยังนิเวศน์ของพรหมายุพราหมณ์ แล้วประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้ แล้วพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ ต่อมา พรหมายุพราหมณ์ได้อังคาสภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้า เป็นประมุข ให้อิ่มหนำด้วยของควรเคี้ยวควรฉันอันประณีตด้วยมือของตนตลอด ๗ วัน เมื่อล่วง ๗ วันนั้นไป พระผู้มีพระภาคได้เสด็จจาริกไปในแคว้นวิเทหะ เมื่อพระผู้มี พระภาคเสด็จจากไปแล้วไม่นานนัก พรหมายุพราหมณ์ก็ได้สิ้นชีวิตไป ครั้งนั้น ภิกษุเป็นอันมากพากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พรหมายุพราหมณ์สิ้นชีวิตแล้ว คติของเขาเป็นเช่นไร สัมปรายภพของเขาเป็นเช่นไร พระพุทธเจ้าข้า” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๔๘๙}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค]

๒. เสลสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุทั้งหลาย พรหมายุพราหมณ์เป็นบัณฑิต ได้บรรลุธรรมและธรรมตามลำดับ๑- ไม่เบียดเบียนเราให้ลำบากเพราะเหตุแห่งธรรมเลย พรหมายุพราหมณ์เป็นโอปปาติกะ๒- เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการสิ้นไป จักปรินิพพานในภพนั้น ไม่กลับมาจากโลกนั้นอีก” พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมพระภาษิต ของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล
พรหมายุสูตรที่ ๑ จบ
๒. เสลสูตร๓-
ว่าด้วยเสลพราหมณ์
[๓๙๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปในแคว้นอังคุตตราปะ พร้อมกับภิกษุ- สงฆ์หมู่ใหญ่ ประมาณ ๑,๒๕๐ รูป เสด็จถึงนิคมของชาวอังคุตตราปะชื่ออาปณะ ชฎิลชื่อเกณิยะได้สดับข่าวว่า “ได้ยินว่า พระสมณโคดมเป็นศากยบุตรเสด็จออกผนวชจากศากยตระกูล เสด็จจาริกอยู่ในแคว้นอังคุตตราปะพร้อมกับภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประมาณ ๑,๒๕๐ รูป เสด็จถึงอาปณนิคมโดยลำดับ ท่านพระโคดมพระองค์นั้นมีกิตติศัพท์อันงามขจรไป อย่างนี้ว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ @เชิงอรรถ : @ ธรรม ในพระสูตรนี้หมายถึงอรหัตตมรรค ธรรมตามลำดับ ในพระสูตรนี้หมายถึงอริยมรรค ๓ (คือ @โสดาปัตติมรรค สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค) และสามัญญผล (ม.ม.อ. ๒/๓๙๕/๒๘๖) @ ดูเชิงอรรถที่ ๒ ข้อ ๑๙ (อัฏฐกนาครสูตร) หน้า ๒๐ ในเล่มนี้ @ ดูเทียบ ขุ.สุ. (แปล) ๒๕/๕๕๔-๕๗๙/๖๓๐-๖๔๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๔๙๐}

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๓ หน้าที่ ๔๗๑-๔๙๐. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=13&A=13298&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=13&siri=41              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4], [5], [6], [7], [8].              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=13&A=9195&Z=9483&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=584              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=13&item=584&items=20              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=13&item=584&items=20              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu13

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]